Thursday, October 21, 2010

เรื่องกล้วยๆ ที่รัฐบาลนี้ทำไม่ได้

วิถีชีวิตประชาธิปไตย

ลักษณะของวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย อาจจำแนกได้ดังนี้
1. เคารพเหตุผลมากกว่าบุคคล โดยไม่ศรัทธาบุคคลใดถึงขั้นปูชนียะบุคคล (แต่ก็ต้องกตัญญูต่อญาติผู้ใหญ่และผู้มีพระคุณ) จะต้องไม่เคร่งครัดเรื่องระบบอาวุโส (แต่ต้องให้ความเคารพผู้อาวุโส) ประชาธิปไตยจะดำเนินไปด้วยดีก็ต่อเมื่อมีการรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย เพื่อค้นหาเหตุผลและความถูกต้องที่แท้จริง เพราะเหตุผลเท่านั้นที่จะจรรโลงให้ประชาธิปไตยดำเนินไปได้ และประชาธิปไตยเชื่อว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่มีเหตุผลรู้จักประนีประนอม ต้องรู้จักยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่ยึดมั่นหรือดึงดันแต่ความคิดเห็นของตนเองโดยไม่ยอมผ่อนปรนแก้ไข และต้องยอมเปลี่ยนแปลงแก้ไขความคิดเห็นของตนเองเมื่อผู้อื่นมีความคิดเห็นที่ดีกว่า

2. ปรัชญาประชาธิปไตยโดยพื้นฐานไม่ปรารถนาให้มีการใช้กำลังและการล้มล้างด้วยวิธีการรุนแรงเพราะถ้ามีการใช้กำลังและความรุนแรงแล้ว ก็แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ไม่มีหรือไม่ใช่เหตุผล ซึ่งก็ขัดกับหลักความเชื่อข้อมูลฐานของประชาธิปไตยที่ถือว่ามนุษย์มีเหตุผล

3. มีระเบียบวินัย คือ ต้องปฏิบัติตามกฎหมายของบ้านเมืองอย่างสม่ำเสมอ และช่วยทำให้กฎหมายของบ้านเมืองมีความศักดิ์สิทธิ์โดยไม่ยอมให้ผู้ใดมาละเมิดตามอำเภอใจ แต่ถ้ามีความรู้สึกว่ากฎหมายที่ใช้อยู่ไม่เป็นธรรม ก็ต้องหาทางเรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมายนั้น มิใช่ฝ่าผืนหรือไม่ยอมรับการใช้เสรีภาพเกินขอบเขตจนละเมิดหรือก้าวก่ายในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ย่อมทำให้เกิดความไม่สงบขึ้นในสังคม เพราะสังคมที่ไม่มีการจำกัดในเรื่องสิทธิเสรีภาพเลยนั้นหาใช่สังคมประชาธิปไตยไม่แต่เป็นสังคมอนาธิปไตยที่เปรียบเสมือนไม่มีรัฐบาล ไม่มีกฎหมาย ไร้ระเบียบวินัยทางสังคมโดยสิ้นเชิง

4. มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม จะเกิดขึ้นจากความรู้สึกของคนในสังคมว่า ตนเป็นเจ้าของประเทศและประเทศในของคนทุกคน โดยสำนึกว่า การที่ตนได้รับการศึกษา สามารถทำมาหาเลี้ยงชีพและดำรงชีวิตอยู่ได้ก็เพราะสังคมอันเป็นส่วนรวมของทุกคน ดังนั้นจึงต้องมีหน้าที่ทำประโยชน์ให้เป็นการตอบแทน
นอกจากนี้ลักษณะวิถีชีวิตประชาธิปไตยยังมีอีกหลายประเด็น เช่น ต้องเป็นคนหนักแน่นหูไม่เบา มีทัศนคติต่อคนอื่น มีน้ำใจเป็นนักกีฬาคือรู้แพ้ รู้ชนะ เป็นต้น

หลักประชาธิปไตย
ลักษณะการปกครองแบบประชาธิปไตย คือ การยึดหลักว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน หรืออำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศของประชาชน

ระบอบประชาธิปไตยเริ่มมีครั้งแรกในพื้นที่บริเวณหุบเขากรีกและชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอันเป็นที่ตั้งของนครรัฐกรีซโบราณเมื่อประมาณ 500 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นประชาธิปไตยแบบโดยตรง การที่นครรัฐกรีซสามารถปฏิบัติระบอบประชาธิปไตยได้โดยตรงก็เป็นเพราะนครรัฐมีอาณาเขตไม่กว้างขวางและมีจำนวนประชากรไม่มากนัก แต่ในปัจจุบันนี้ไม่สามารถนำมาใช้ได้ เพราะจำนวนประชากรมีมากเกินกว่าที่จะให้โอกาสพลเมืองทุกคนเข้ามาใช้สิทธิตัดสินปัญหาของประเทศได้โดยตรง ดังนั้นระบอบประชาธิปไตยที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้จึงเป็นระบอบประชาธิปไตยโดยผู้แทนหรือประชาธิปไตยโดยอ้อม

ประชาธิปไตยโดยตรง หมายถึง การให้ประชาชนผู้เป็นพลเมืองมีสิทธิโดยตรงในการปกครองหรือการวินิจฉัยตัดสินปัญหาของประเทศ กล่าวคือ พลเมืองมีสิทธิเข้าร่วมเป็นสมาชิกสภาพประชาชนซึ่งทำหน้าที่เป็นสถาบันสูงสุดในการแสดงเจตจำนงของรัฐ
ประชาธิปไตยโดยอ้อม หรือประชาธิปไตยโดยผู้แทนหรือประชาธิปไตยแบบดตัวแทน หมายถึง การให้ประชาชนผู้เป็นพลเมืองมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้แทนราษฎรเข้าไปทำหน้าที่แทนตัวเองในสภาและเจตจำนงของสภาถือเป็นความต้องการของประชาชน เช่น ประชาธิปไตยแบรัฐสภาของไทย อังกฤษ หรือประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดีของสหรัฐเมริกา ฯลฯ

หลักประชาธิปไตยมีประเด็นที่ต้องพิจารณา 3 ประการคือ
๑.อุดมการณ์ประชาธิปไตย
๒.การปกครองแบบประชาธิปไตย
๓.วิถีชีวิตประชาธิปไตย

1 comment:

  1. อหิงสา อโหสิ สันติเกิด
    จิตเตลิด มิขันติ โสรัจจะ
    สมาธิ มิตั้งมั่น วิวาทะ
    หิริ โอตตัปปะ ไม่งอกงาม

    ทุกสนาม การต่อสู้ ผู้ได้เปรียบ
    คงเดินเหยียบ เส้นชัยชนะ น่าเกรงขาม
    ผู้พ่ายแพ้ แน่แล้วต้อง ถูกติดตาม
    คดีความ ซัดสาดใส่ ให้จำนน

    สันติภาพ มิอาจมี ให้มุ่งหมาย
    จากการตาย และเจ็บปวด บนถนน
    อำนาจแฝง ร้อนแรงกล้า อิทธิพล
    บันดาลดล สันติธรรม มิได้เลย

    คงความคิด ทำสงคราม เพื่อสันติภาพ
    จึงไล่ปราบ ปวงประชา อย่างเปิดเผย
    อนิจจา ยังโฉดเขลา เหมือนเช่นเคย
    เวรกรรมเอ๋ย ประเทศไทย ในกำมือ

    ReplyDelete