Saturday, October 30, 2010

"ชะนี......ผู้ปลูกป่า....."

                      สัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยนมที่คุ้นหน้าคุ้นตามนุษย์มากชนิดหนึ่งนั้นก็คือ  "ชะนี" เพราะชะนี
ถูกจับออกมาจากป่า  และพยายามทำให้เป็นสัตว์เลี้ยงมานานแล้ว

                       ชะนี นั้นเป็นสัตว์สังคม  คืออาศัยอยู่เป็นครอบรัว  มีพ่อ  แม่  และลูก  แต่ละครอบครัวจะมี
อณาเขตเป็นของตนเอง  จะเป็นเขตหวงห้ามไม่ให้มีการบุกรุกจากครอบครัวอื่นโดยเด็ดขาด

                        ถ้ามีการบุกรุกอาณาเขต  พ่อชะนีจะทำหน้าที่ป้องกัน โดยส่งเสียงร้องขู่  ลูกเมียก็คอยส่ง
กำลังใจอยู่ใกล้ ๆ   โดยส่วนใหญ่แล้วจะไม่ถึงขั้นต้องลงไม้ลงมือกันหรอก   เพียงส่งเสียงร้องโต้ตอบกัน
สักพักพอต่างฝ่ายต่างเหนื่อย  ก็เลิกลากันไป

                        อาณาเขตของ "ชะนี"  ครอบครัวหนึ่ง ๆ  จะกว้างขวางแตกต่างกันออกไปตั้งแต่ 60 - 200
ไร่   ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของป่าด้วย

                        ในบ้านเรามีชะนีอยู่ 3 ชนิด คือ  ชะนีมงกุฎ   ชะนีมือดำ   และชะนีมือขาว   ตัวที่คุ้นหน้า
มนุษย์นั้น คือชะนีธรรมดานี่เอง

                         อาหารของชะนี  คือ  ผลไม้ป่า  ยอดไม้  ใบไม้อ่อน  ดอกไม้และแมลง  ดังนั้นอาชีพที่แท้
จริงของชะนีก็คือ  "การปลูกป่า"   เพราะชะนีกินผลไม้หลากหลายชนิด   และจะถ่ายมูลในเนื้อที่กระจาย
ออกไปทั่วอาณาเขตของตน

                        มูลชะนี  คือ  ปุ๋ยธรรมชาติชั้นดี  คิดกันง่าย ๆ ก็คือถ้าป่าไหนมีชะนีมาก  การปลูกป่าก็ย่อม
ได้ผลดีตามธรรมชาติ  และป่าที่มีชะนีอาศัยอยู่ย่อมเป็นป่าที่มีความสมบูรณ์  นอกจากปลูกป่าแล้วชะนียัง
ช่วยจัดแต่งยอดไม้  ใบไม้  แถมยังช่วยกำจัดแมลงให้ต้นไม้อีกด้วย

                         เวลาทำงานนั้นจะทำกันทั้งครอบครัว  พ่อ  แม่  และลูกเล็ก ๆ ที่เกาะติดกับหน้าอกแม่
ลูกชะนีที่มีอายุมากกว่า 8 ปี   ถึงจะแยกตัวออกไปหาคู่เพื่อตั้งครอบครัวขยายอาณาเขตใหม่   ส่วนตอน
เล็ก ๆ นั้นจะกินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดไปจนอายุประมาณ 2 ปีโน่น จึงจะหย่านม

                         ส่วนการเกาะติดอยู่กับอกแม่นั้น  หลังจากคลอดใหม่ไปถึงประมาณ 2 เดือน  ลูกชะนีจะ
เกาะติดอกแม่ตลอด  และจะกินนมอย่างเดียวไม่ทำอะไรเลย

                         แต่หลังจาก 2 เดือน จะเริ่มมีอาการอย่างอื่นบ้าง  เช่น  ห้อยโหน  ร้องเรียก  ทำความสะ
อาดร่างกาย  ความจริงลูกชะนีก็ถือความสะดวกเป็นใหญ่ในการเกาะติดอยู่กับอกแม่  เพราะจะได้ไปไหน
มาไหนและกินนมได้โดยสะดวก  เลิกกินนมแล้วนั่นแหละจึงเลิกเกาะติดอกแม่

                         แต่แม่ชะนีก็ต้องฝึกให้ลูกไปไหน ๆ ด้วยตนเองบ้าง  เพื่อช่วยให้รู้จักวิธีและให้กล้ามเนื้อ
ของลูกแข็งแรง  ชะนีจะเคลื่อนที่ไปโดยการห้อยโหนไปตามยอดไม้  บางครั้งถ้ายอดไม้อยู่ห่างกันเกินไป
แม่ชะนีจะยึดกิ่งไม้ทำตัวเองเป็นสะพานให้ลูกข้ามไปได้

                         ลูกชะนีก็เช่นเดียวกับลูกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น ๆ คือ  ชอบเล่นสนุก พูดตรง ๆ
ก็คือซนนั่นแหละ  บางทีก็เล่นตามลำพัง  หกคะเมน  ตีลังกา  ห้อยโหน  กระโดดจากกิ่งไม้กิ่งโน้นมากิ่งนี้
บางทีไล่จับนก  หรือสัตว์เล็ก ๆ   พอเล่นตัวเดียวเบื่อแล้วก็จะมาแล่นกํบพี่ ๆ หรือพ่อ  แม่

                          โดยปกติชะนีรักความสะอาด  เพราะเวลาที่พวกเขาโหนไปตามกิ่งไม้นั้น  จะถูกมด  เห็บ
หรือแมลง่ต่าง ๆ เกาะติดตามลำตัว  ชะนีจึงมักจะใช้เวลาทำความสะอาดร่างกายอยู่บ่อย ๆ  บางทีก็ทำ
เอง  แต่ส่วนใหญ่แล้วจะหลัดกันทำความสะอาดให้กันและกัน

                           ส่วนลูกชะนีก็นอนให้ พ่อ  แม่  ทำให้สบาย ๆ การทำความสะอาดร่างกายให้กันและกันนี่
แหละทำให้ครอบครัวของชะนีมีความสัมพันธ์กันแน่นแฟ้นเพิ่มขึ้น  เปฌนครอบครัวที่มีความรัก  ความห่วงใยกันอย่างลึกซึ้ง

                           และความสัมพันธ์ทั้งหลายนั้นจะขาดสะบั้นลงด้วย "ลูกปืน"  ราคาถูก ๆ เพียงนัดเดียว
เพราะความนิยมเลี้ยงชะนีของคน  การที่จะได้ลูกชะนีออกมาจากป่านั้นมีวิธีเดียว คือ ต้องยิงแม่ชะนีเพื่อ
จะจับลูกที่ติดอยู่กับอกแม่ได้  ไม่ต้องนึกว่าลูกชะนีจะตกในประสาทเสีย  และชะตากรรมจะเป็นเช่นไร

                           ความสัมพันธ์ของครอบครัวสัตว์ป่านั้นมีมากเกินกว่าที่เราจะนึกถึง

                            การนำเขามาเลี้ยงแม้ว่าเราจะทุ่มเทความรักให้พวกเขามากแค่ไหน   ก็ไม่สามารถที่จะ
ชดเชยความรัก  ความสัมพันธ์ของเขาที่สูญเสียไปแล้วได้

                            หน้าที่ของชะนี คือ  การปลูกป่านั้นสำคัญ  และมีประโยชน์มากต่อธรรมชาติในอนาคต
เราอาจมีป่าที่อุดมสมบูรณ์นะครับ 

                         "ถ้ายังมีชะนีรอดชีวิต  หลงเหลืออยู่ในป่าบ้าง"

                         

No comments:

Post a Comment