นักรัฐศาสตร์ชี้ประชาธิปไตยไทยแปลงร่างเป็นทั้งเผด็จการพันธ์ใหม่และเป็นประชาธิปไตยอำนาจนิยม
โดย...ประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์
สมาคนนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันอิสรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย จัดราชดำเนินเสวนา เรื่อง "แนวโน้มสถานะประชาธิปไตยไทยท่ามกลางความขัดแย้ง"
นายฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ อาจารย์ประคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ประชาธิปไตยขณะนี้มีความเป็นเผด็จการพันธ์ใหม่มากขึ้นมีการใช้อำนาจมากขึ้น ซึ่งดูได้ แม้ว่าขณะนี้ไม่ใช่เป็นทหารเต็มคณะเช่นในอดีตแต่เป็นทหารพลเรือนคือเป็นความร่วมมือระหว่างทหารกับพลเรือนในการใช้อำนาจ ศอฉ.กลายเป็นอำนาจนิยมไปแล้ว และเห็นว่า พฤติกรรมของ ศอฉ. คล้ายกับคณะปฏิวัติ จะเรียกใครมาสอบสวน จะแช่แข็งบัญชีของใครก็ได้ จะกักขังใครก็ได้ อำนาจของ ศอฉ. น่าเป็นห่วง เพราะไม่มีใครตรวจสอบ ใช้เงินมือเติบ ตอนนี้ใช้งบประมาณเท่าไรแล้วก็ไม่ทราบ ทั้งนี้อยากฝากถามว่าใช้งบประมาณไปเท่าไร
นายฐิตินันท์ กล่าวว่า ขณะนี้การทำงานของกองทัพและรัฐบาลเกื้อกูลกันมาก เช่น การซื้ออาวุธ การแต่งตั้งโยกย้าย และเรื่องการบริหารงานในภาคใต้ กองทัพถือเป็นเอกเทศ รัฐบาลจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลและกองทัพถือว่าสนับสนุนกัน และเชื่อว่าหากเปลี่ยน ผบ.ทบ. จะยิ่งมีความแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น และเชื่อว่ากองทัพจะไม่ยอมถอยกลับง่ายๆ ออกไปจากการเมืองไทยง่ายๆจากความขัดแย้งทางการเมืองไทยในครั้งนี้ และเชื่อว่ากลไกของ ศอฉ.จะยังคงอยู่ต่อเนื่องลากยาวเลื้อยไปถึงปลายปีหรือต้นปีหน้า โดยอ้างเหตุผลความจำเป็น
"วันนี้ ควรยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพราะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และถือว่าไม่ใช่สังคมประชาธิปไตย และหากคงอยู่นายก็จะยิ่งสร้างความเก็บกดในพื้นที่ต่างจังหวัด ซึ่งหากคุมไม่อยู่"นายฐิตินันท์กล่าว
นายฐิตินันท์ กล่าวว่า เชื่อว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์ จะอยู่เกือบครบเทอม อย่างน้อยคือ 2 สัปดาห์ก่อนครบเทอมค่อยประกาศยุบสภา แต่ทั้งนี้เชื่อว่ารัฐบาลคงไม่อยากเลือกตั้งเพราะหากให้ประเมินการเลือกตั้งระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ยังมีโอกาสแพ้มาก และคงต้องอาศัยพรรคร่วมอีกครั้ง
ด้าน นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่าประชาธิปไตยไทยจะมีลักษณะอำนาจนิยมมากขึ้น แต่ไม่ได้เป็นเผด็จการพันธ์ใหม่แต่อย่างใด เพราะความขัดแย้งที่เกิดขึ้นประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งก็ต้องการให้รัฐใช้ความเด็ดขาดเพื่อรักษากฎหมายของประเทศ ซึ่งภาวะเช่นนี้ก็จะอยู่อีกระยะหนึ่ง นอกจากนี้สังคมไทยจะมีความแตกแยก ขัดแย้ง มากยิ่งขึ้นเพียงแต่เราจะทำให้ความขัดแย้งแตกแยกนี้อยู่ในกติกาและมีความเป็นศรีวิไลได้อย่างไร
เขาอธิบายว่า ประชาธิปไตยไทยที่ผ่านมา ไม่ได้อยู่นิ่งอยู่กับที่ ในช่วง 25 ปีแรกนับจากปี 2475 เป็นลักษณะกึ่งประชาธิปไตย ที่มีคณะราษฎร์มีบทบาท แต่ช่วงหลังปี 2500 ถึง ปี 2516 กลายเป็นเผด็จการทหารเต็มรูปแบบ เนื่องจากทหารเข้ามามีอำนาจอย่างมาก หลังปี 2516 ประชาธิปไตยไทยมีการแบ่งปันอำนาจกันมากขึ้นระหว่างทหาร ข้าราชการประจำ นักธุรกิจ นายทุนจากชนบนบท รัฐบาลในช่วงนั้นเป็นรัฐบาลผสม มีการแบ่งอำนาจกันในหมู่ชุนชั้นนำกลุ่มต่างๆ
อาจารย์นครินทร์ เห็นว่า รัฐธรรมนูญ 2540 ถือว่าเป็นการปฏิวัติการเมืองครั้งใหญ่ มีการเปลี่ยนระบบการเมือง ทำให้ระบบรัฐสภาดั้งเดิมที่แบ่งอำนาจให้หลายฝ่ายต้องยุติไป ในวันนั้น สังคมไทยรวมทั้งวงวิชาการต้องการให้เกิดพัฒนาการทางการเมือง เพื่อให้เป็นพรรคการเมือง 2 พรรค ซึ่งในที่สุดก็ส่งผลให้เกิดรัฐบาลพรรคเดียว นอกจากนี้ มีการเพิ่มอำนาจให้องค์กรอิสระต่างๆ ทั้ง กกต. ป.ป.ช. ซึ่งเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
“ผมเห็นว่า รัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้การเมืองไทยมีปัญหาในปัจุบัน และหลักการดังกล่าวก็ตกทอดมาถึงรัฐธรรมนูญปี 2550 ซึ่งส่วนหนึ่งโดยเฉพาะนักวิชาการ นักธุรกิจในเวลานั้น ไม่ชอบรัฐบาลผสม มองในแง่ร้าย เพราะเชื่อว่าเป็นการจัดรัฐบาลแบบการฮั้วกัน แบ่งกันกิน ดังนั้นการต่อสู้ทางการเมืองไทยยังอยู่ในกรอบนี้ต่อไป
อย่างไรก็ตามอาจารย์นครินทร์ เชื่อว่าจะเกิดการยุบสภา และมีการเลือกตั้งใหม่ในช่วงต้นปีหน้า ทั้งนี้ตนคาดเดาจากการคุยกับแกนนำพรรครัฐบาล หลายๆ คน
“ผมเชื่อว่ารัฐบาลไม่ได้กลัวการเลือกตั้ง เพราะสุดท้ายรัฐบาลจะเป็นรัฐบาลผสม และการเลือกตั้งหากได้รัฐบาลใหม่ก็จะได้รับการยอมรับมากขึ้น แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมว่ามีความสงบมากเพียงใด ถ้ายังมีความวุ่นวาย มีการก่อกวน ก็คงยังไม่สามารถเลือกตั้งได้
นาย สุริชัย หวันแก้ว ผอ.ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ล่าวว่าสถานะประชาธิปไตยไทยท่ามกลางความขัดแย้ง เกิดความไม่มั่นคง ไม่แน่นอนที่พวกเรารู้สึกได้ เกิดความเสี่ยงต่อภาวะสังคมที่ไร้บรรทัดฐาน ภาวะสังคมแตกเป็นเสี่ยง คนไทยชาวบ้านทั่วไป ยังรู้สึกว่าประชาธิปไตยไทยอยู่ในภาวะวิกฤต เพราะสิ่งที่เกิดขึ้น มีหลายสิ่งเหนือความคาดหมาย เหนือการคาดการณ์ และทำให้ความรุนแรงกลายเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงการเมืองไทยไปแล้ว
เขาเห็นว่าในขณะนี้คนส่วนหนึ่งอยากจะลืมเลือนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ต้องการให้ลืมความทุกความโศกเศร้า ไม่ต้องใส่ใจคน เจ็บ คนพิการหรือคนตาย
“หากสังคมไทยไม่เรียนรู้ หรือทำความเข้าใจที่เกิดขึ้น เรียนรู้สรุปบทเรียนประชาธิปไตยของเรา หรือยังมองคนตายเป็นคนอีกกลุ่มหนึ่งไม่ใช้เพื่อนร่วมสังคม ยังคงใช้แนวทางการเมืองเชิงปริปักษ์ ความโกรธ ความเกลียด อคติส่วน เป็นตัวนำในการขับเคลื่อนสังคมไปสู่อนาคต แนวโน้มประชาธิปไตยของไทยก็จะเสี่ยงต่อความรุนแรงเกิดขึ้นได้อีก “นายสุริชัยให้ความเห็น
สิ่งที่น่าเป็นห่วงสถานการณ์ขณะนี้นายสุริชัย เห็นว่าบรรยากาศ ที่แต่ละฝ่ายทำให้คนที่คิดต่าง กลายเป็นอยู่ฝั่งตรงข้าม กลายเป็นอาชญากรโดยอำนาจพิเศษ เกมส์การโจมตีใส่ร้าย ซึ่งจะเป็นตัวเร่งและเพิ่มความขัดแย้งให้รุนแรงมากกว่าการลดเงื่อนไงความรุนแรง
เขาตั้งข้อสังเกตุว่า การปรองดองแห่งชาติของรัฐบาล ต้องดูว่า คนในสังคมต้องให้มีการปฏิรูปเชิงโครงสร้างมากน้อยเพียงใด หรือการปฏิรูปมีการเปิดโอกาสให้คนหลายกลุ่มได้พูดถึงปัญหาหรือไม่ สังคมไทย ยินดีหรือไม่ที่จะปล่อยให้รัฐบาลใช้เครื่องมือ พ.ร.ก. มาปิดกั้นเสรีภาพ ขณะที่ชวนให้คนไทยมาพูดถึงอนาคต
“หากรัฐบาลยังไม่ปรับท่าที ยังคงใช้แต่เครื่องมือคือ พ.ร.ก. บริหารสถานการณฉุกเฉิน ก็น่ากังวลว่าอนาคตจะเข้าสู่ภาวะตีบตันอีกครั้ง การปรองดองที่จะเกิดขึ้นก็คงยาก ทางที่ดีรัฐบาลจะต้องเปิดพื้นที่การพูดคุยกับคนทุกฝ่าย”นายสุริชัยกล่าว
นายสุริชัยเห็นว่าประชาธิปไตยของไทยต้องก้าข้ามวัฒนธรรมอำนาจทุกระดับ การเมืองแบบอุปถัมภ์ จะต้องข้ามการมืองแบบผู้ชนะแบบกินรวบ ไปสู่การเมืองแบบอยู่ร่วมกันอย่างไร นี้คือความท้าทายของสังคมไทย
ขณะนี้การเมืองประชาธิปไตยไทยเรียกได้ว่าไม่โต แถมยังมีอาการร่อแร่ ซึ่งส่วนหนึ่งมาเป็นเพราะการรัฐประหาร เกิดจากทหารไม่ปล่อยวางอำนาจ ทำให้ประชาธิปไตยล้มลุกคลุกคลาน นอกจากนี้ที่เป็นอุปสรรคปัญหาคือการมีนักธุรกิจเข้าสู่การเมืองมากขึ้น พัฒนาให้มีการซื้อเสียง หรือถ้ารวยมากๆ ก็ซื้อ ส.ส. ซื้อพรรคการเมือง หรือถึงขั้นซื้อองค์กรอิสระ ไม่ให้ตรวจสอบการทำงาน ดังนั้นการยึดอำนาจในประเทศไทยนอกจากจะทำโดยการใช้รถถัง ยังสามารถใช้เงินซื้อได้ด้วย
อย่างไรก็ตามการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสังคมขณะนี้ ไม่สามารถขจัดความขัดแย้งเห็นและยังมีแนวโน้มนำไปสู่ความรุนแรงมมากขึ้น ไม่สามารถเอาชนะกันได้ในสภาก็เล่นกันข้างถนน เล่นเกมใต้ดิน ซึ่งเป็นวิธีที่อันตรายมาก รวมทั้งวิธีคิดว่าจะต้องมีการเสียชีวิตเกิดขึ้นถึงจะมีการชนะ แต่เหตุการณ์ครั้งนี้ถึงแม้มีผู้เสียชีวิตก็ยังไม่มีผู้ชนะ นอกจากนี้ตนเห็นว่าแม้จะมีการแก้รัฐธรรมนูญก็คงไม่สามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งได้ ทั้งนี้สิ่งที่ต้องพยายามคือนำการเมืองในท้องถนนกลับเข้าไปสู่ในสภาให้ได้
Wednesday, October 27, 2010
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment