Friday, April 30, 2010

มองเตสกิเออ...ฝังรากรัฐธรรมนูญ

.....ดูไปแล้ว ความยุ่งยากของการเมืองไทยปัจจุบันมีรากเหง้าเดียวกับปัญหาของยุโรปในศตวรรษที่ ๑๗ ข้ามเกี่ยวกับศตวรรษที่ ๑๘ นั่นคือรัฐบาลควรมาจากอะไรและควรมีอำนาจขนาดไหนในการบริหารบ้านเมือง เราได้เห็นการรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลที่ประชาชนเลือกเข้ามา ได้เห็นรัฐบาลนั้นถูกประณามโจมตีโดยกลไกของรัฐว่า คดโกง ไม่รักชาติ และไม่จงรักภักดีต่อกษัตริย์ ได้เห็นการแผลงฤทธิ์ของศูนย์การปกครองไทยที่ไม่แสดงตัวอย่างเปิดเผย แต่ใช้อำนาจผ่านรัฐบาลตัวแทน (proxy government) ในการทำลายฝ่ายประชาธิปไตยและสถาปนาระบอบเผด็จการอำมาตยาธิปไตยในทางปฏิบัติขึ้น และเราต่างก็ได้เห็นความก้าวหน้าของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศที่ไม่ยอมรับต่ออำนาจโบร่ำโบราณนั้น เพียงยังไม่ชัดเจนนักว่าจะเอาชนะอำนาจรวมศูนย์และเหลือล้นดังกล่าวได้อย่างไร?


.....มองเตสกิเออ เป็นนักคิดชาวฝรั่งเศสที่ยังปรากฏชื่ออยู่เสมอในการถกเถียงเรื่องนี้ ผมจะขอเล่าเรื่องของเขาโดยสังเขป รวมทั้งแนวความคิดในหลายร้อยปีที่แล้วแต่ยังสัมพันธ์เกี่ยวข้องอยู่กับเราในปัจจุบัน อย่าลืมว่าคนอย่างเขานี่แหละที่ทำให้เรื่องนามธรรมอย่างหลักรัฐศาสตร์ ทั้งปรัชญาและการวิพากษ์สังคม กลายเป็นการปฏิวัติที่เป็นรูปธรรมขึ้นในฝรั่งเศส อ่านแล้วอาจจะเกิดความคิดเกี่ยวกับปัญหาของเราขึ้นบ้างก็ได้

.....เขาเกิดมาในชื่อ ชาร์ลส์-หลุยส์ เดอ เซกอนดาท ชีวิตอำมาตย์ของเขาเริ่มต้นตั้งแต่เกิดจนถึงเข้าโรงเรียนและแต่งงาน อายุเพียง ๒๗ ปีบุญหล่นทับอีก ได้รับมรดกและสืบตำแหน่งจากลุงที่ถึงแก่กรรม กลายเป็นท่านบารอน เดอ มองเตสกิเออไปในบัดดล แถมตำแหน่งสืบตระกูลจากลุงในสภาท้องถิ่นในเมืองบอร์โดห์อีกด้วย ชีวิตมองเตสกิเออจึงไม่มีอะไรต้องกระเสือกกระสนในทางเศรษฐกิจ แต่ทางการเมืองแล้วเขาเริ่มพัวพันตัวเองเข้าไปเรื่อยๆ เขาเขียนบันทึกในภายหลังว่า เหตุการณ์ ๒ อย่างที่กระทบใจมองเตสกิเออและเป็นที่มาสู่ปรัชญาการเมืองของเขาคือ การปฏิวัติล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชในอังกฤษภายหลัง การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ พ.ศ.๒๒๓๑ ที่มาก่อนยุคสมัยเขา และการสิ้นพระชนม์ของกษัตริย์หลุยส์ที่ ๑๔ กับการสืบราชสันตติวงศ์ใน พ.ศ.๒๒๕๘ โดยหลุยส์ที่ ๑๕ ที่มีพระชนมายุเพียง ๕ พรรษา ในงานเขียนช่วงหลังๆ มองเตสกิเออเอ่ยถึงเรื่องทั้งสองนี้บ่อยครั้งมาก ส่วนใหญ่ในเชิงเปรียบเทียบว่า อังกฤษก้าวหน้าไปถึงขั้นที่กษัตริย์กับประชาชนแบ่งอำนาจกันแล้ว แต่ฝรั่งเศสยังวนเวียนอยู่กับชนชั้นกษัตริย์ในฐานะผู้มีอำนาจสูงสุดจนเอาเด็กอนุบาลขึ้นมาครองแผ่นดินได้ ความจริงงานเขียนช่วงนั้นก็สะท้อนปรัชญาที่ตกผลึกในภายหลังออกมาบ้างแล้ว

.....มองเตสกิเออ สมมติตัวเองเป็นชาวเปอร์เซียน (ปัจจุบันคือชาวอิหร่าน) ที่มาทัศนาจรในฝรั่งเศส เมื่อได้เห็นสิ่งต่างๆ รอบตัวแล้วก็เขียนจดหมายหลายฉบับกลับไปเล่าให้ทางบ้านฟัง จดหมายเปอร์เซียน ชุดนี้ดังตั้งแต่การตีพิมพ์เผยแพร่ใน พ.ศ.๒๒๖๔ เพราะพรรณนาสภาพความวิปริตผิดเพี้ยนของสังคมภายใต้หลุยส์ที่ ๑๕ ซึ่งเป็นพฤติกรรมทุเรศทุรังของสมาชิกพระราชวงศ์และเหล่าขุนนางของระบอบอำมาตย์ฝรั่งเศสทั้งมวลได้อย่างสละสลวยและก่ออารมณ์ร่วมทางสังคม เขาเขียนเล่าถึงความเหลวแหลกทางชนชั้นที่ศาลทุกระดับช่วยปกป้องให้ ในขณะที่จับตัวประชาชนผู้ไม่มีอำนาจต่อรองไปเข้าคุกด้วยเหตุไม่สมควรต่างๆ หรือความหรูหราฟู่ฟ่าในพระราชวังหลวงขณะที่ราษฎรอดอยากยากจน คนอ่าน จดหมายเปอร์เซียน ในยุคนั้นต่างสะใจและอาจลืมไปเลยว่าคนเขียนก็เป็นส่วนหนึ่งของระบอบอำมาตย์ที่ว่าด้วย แต่สายตาอันตรายจริงๆ ย่อมส่งมาจากเหล่า ชายหญิงผู้สูงศักดิ์ ผู้มองเขาว่าเป็นกบฏต่อชนชั้นและดูแคลนว่าใฝ่ต่ำ

.....งานนิพนธ์ที่สร้างชื่อให้มองเตสกิเอออีกชิ้นหนึ่งคือชิ้นต่อมา นั่นคือ Considerations on the Causes of the Grandeur and Decadence of the Romans หรือ ข้อพิจารณาเกี่ยวกับสาเหตุแห่งความยิ่งใหญ่และช่วงทศวรรษของชาวโรมัน? ตีพิมพ์อย่างแพร่หลายเมื่อ พ.ศ.๒๒๗๗ แต่เมื่อเรามองย้อนเวลาในประวัติศาสตร์แล้วจะพบว่างานทั้งสองเพียงชิ้นอุ่นเครื่องรอเวลาสำหรับงานชิ้นใหญ่ที่ทำให้มองเตสกิเออเป็นอมตะ

.....งานชิ้นนี้วางรากฐานสำหรับหลักกฎหมายทั้งมวลโดยเฉพาะในการปกครองรัฐโดยใช้กฎหมายหรือหลักนิติธรรมที่มักเริ่มต้นจากลัทธิรัฐธรรมนูญ (constitutionalism) มองเตสกิเออเรียกงานเขียนของเขาว่า
The Spirit of the Laws หรือ วิญญาณ (จิตสำนึก) แห่งกฎหมาย แต่ไม่กล้าใส่ชื่อจริงของผู้เขียน ตีพิมพ์ออกมาอย่างนิรนามใน พ.ศ.๒๒๙๑ ถ้าพูดอย่างไม่เกรงใจก็คือเล่มนี้เขียนแล้วงานเข้าทันที ผู้มีอำนาจในยุคนั้นกระโดดออกมางับและพยายามฉีกทิ้ง ผู้ที่ต่อต้านหนักหน่วงที่สุดคือผู้นำศาสนาคริสต์นิกายโรมันแคธอลิค ออกมาประกาศเลยว่าเป็นหนังสือต้องห้าม รวมกับเล่มอื่นๆ ที่เขาเขียนและคนอื่นเขียนในดรรชนีหนังสือต้องห้ามหรือ "Index of Prohibited Books?ฃ" แต่ชื่อเสียงของเขากระฉ่อนไปทั่วแล้วในยุโรปขณะนั้น โดยไปดังที่อังกฤษมากที่สุด รัฐบาลตั้งขึ้นมาเพื่อมิให้มนุษย์คนใดต้องกลัวมนุษย์ด้วยกันอีกต่อไป นี่คือหนึ่งในวาจาอมตะของมองเตสกิเออ อ่านประโยคนี้ในวันนี้หลายคนคงรู้สึกธรรมดา (เว้นแต่ในคนไทยที่ถูกครอบความคิดอย่างโบร่ำโบราณไม่ยอมให้ตามโลกได้) แต่ในยุคนั้นเป็นความกล้าหาญยิ่ง รัฐบาลตามแนวทางเดิมเป็นรัฐบาลของผู้มีอำนาจกว่าราษฎร ตั้งรัฐบาลก็เพื่อมาปกครองราษฎรอย่างครอบงำด้วยหอกดาบและอาวุธยุทโธปกรณ์ ตลอดจนข้อกฎหมายเข้าข้างตน ไม่ได้ตั้งมาช่วยเหลือราษฎรเลย

.....แต่งานของมองเตสกิเออชี้ว่ารัฐบาลต้องเป็นของประชาชน ประชาชนช่วยกันตั้งและรับรอง เพื่อใช้อำนาจรัฐในการช่วยเหลือดูแลราษฎรธรรมดาให้มีความผาสุกตามอัตภาพ เพราะมองเตสกิเออ แนวความคิดของรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยจึงเริ่มต้นมาตั้งแต่บัดนั้น คนไทยหลายคนที่เคยปรารภว่า เหตุใดรัฐบาลเลือกตั้งในช่วง พ.ศ.๒๕๔๔-๒๕๔๙ ที่มี ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี จึงมีผลงานมาก ชัดเจน และกระทบกับพี่น้องประชาชนในทางบวกมากกว่าทุกรัฐบาลที่ผ่านมาในอดีต จะได้รับคำตอบจากประโยคนี้ของมองเตสกิเออ รัฐบาลชุดนั้นสร้างโดยคนไทยธรรมดา ไม่ใช่ผู้มีอำนาจเดิมของไทย ไม่ใช่ตัวแทนหรือร่างทรงของระบอบอำมาตยาธิปไตย มาสู่อำนาจก็เพื่อราษฎรธรรมดา ไม่ใช่เพื่อราษฎรพิเศษหรืออภิสิทธิ์ชน ประชาชนไม่ต้องกลัวรัฐบาลแบบนี้ ตรงกันข้าม ประชาชนสามารถวิพากษ์วิจารณ์ผลงานและเร่งเร้าให้ทำงานตรงกับความต้องการของตนได้เสมอโดยผ่านระบบตัวแทนและการเลือกตั้ง รัฐบาลไทยที่ มนุษย์คนใดต้องกลัวมนุษย์ด้วยกัน จึงค่อยๆ ถูกลบไปจากความทรงจำ ประชาธิปไตยไทยเริ่มเข้าลู่ เตรียมจะพุ่งโชนต่อไป หากถูกทำลายลงเสียก่อนใน พ.ศ.๒๕๔๙ โดยการรัฐประหาร หลังจากนั้น "รัฐบาลที่มนุษย์ต้องกลัวมนุษย์ด้วยกัน" ก็หวนกลับมา พร้อมคดีความที่ไม่ได้เห็นมากนักในสมัยประชาธิปไตย อย่างคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นจำนวนมากมาย ตลอดจนคดีทาง ความมั่นคง อีกนับไม่ถ้วน ทั้งหมดนี้ถูกกำหนดมาให้ มนุษย์ต้องกลัวมนุษย์ด้วยกัน ทั้งสิ้น

.....มองเตสกิเออจึงมีอิทธิพลอย่างสูงในการปฏิวัติเพื่ออิสรภาพของสหรัฐอเมริกา หรือเป็นหลักให้กับการประกาศเอกราชของประเทศนั้นนั่นเอง คณะบุคคลที่ถูกเรียกในภายหลังว่า บิดาผู้สร้างชาติ หรือ Founding Fathers ของสหรัฐฯล้วนได้อ่านและนำความคิดของมองเตสกิเออไปใช้ทั้งนั้น คนที่นำไปประยุกต์โดยตรงที่สุดคนหนึ่งคือ เจมส์ เมดิสัน ซึ่งมีบทบาทในการยกร่างรัฐธรรมนูญและต่อมาได้เป็นประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ด้วย เมดิสันมิได้หยิบมาอย่างผิวเผิน แต่นำเอาหลักการดังกล่าวมาใช้เป็นพื้นฐานในหลักการปกครองแบบ "ตรวจสอบและถ่วงดุล" ระหว่างผู้มีอำนาจ จนเกิดเป็นการขีดเส้นอย่างชัดเจนที่สุดระหว่างฝ่ายบริหาร (ประธานาธิบดี) ฝ่ายนิติบัญญัติ (สภาคองเกรสส์)และฝ่ายตุลาการ (ศาลสูงสุด) และได้ผลในการส่งเสริมประชาธิปไตยพร้อมสกัดกั้นเผด็จการมาจนถึงทุกวันนี้

.....ความลึกซึ้งของมองเตสกิเอออย่างหนึ่งคือ เขาศึกษาการเมืองมากกว่าหลักรัฐศาสตร์ปกครองและการใช้อำนาจรัฐ ศาสตร์อีกสองสาขาที่เขาศึกษาจนถึงแก่นและเขียนเป็นตำราไว้ให้เราอ่านจนถึงวันนี้ ได้แก่ วัฒนธรรมมนุษย์ และ มานุษยวิทยา ทำให้เขาเข้าใจธรรมชาติวิสัยของมนุษย์และวางหลักการปกครองบ้านเมืองที่สอดคล้องต่อวิถีมนุษย์ได้ นักมานุษยวิทยารุ่นหลังๆ ยกย่องมองเตสกิเออว่าช่วยวิเคราะห์แยกแยะสังคมมนุษย์ไว้อย่างละเอียด เราจึงแบ่งสังคมออกเป็นสถาบันต่างๆ จนกระทั่งวางกลไกการอยู่ร่วมกันได้ สิ่งที่สร้างปัญหาก็เห็นเด่นชัด เหมือนที่เขาแบ่งสังคมฝรั่งเศสออกเป็น ๓ ชนชั้นคือ เจ้า อำมาตย์ และราษฎร หรือแบ่งรัฐบาลทั่วไปออกเป็น ๒ ระดับชั้นคือ ผู้ปกครอง (sovereign) กับ ข้าราชการ (administrative) หรือชัดเจนและมีประโยชน์ที่สุดคือการแบ่งกลไกของรัฐออกเป็น ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ ที่ใช้กันทั่วโลก ประชาธิปไตยจึงเกิดได้และมีความเสถียร แต่ก่อนจะเสถียรคนเขียนก็โดนกระแทกกระทั้นทางสังคมจนแทบวางวาย อย่างในฝรั่งเศสกับเรื่องของ ๓ ชนชั้นใหม่นั้น แนวคิดของมองเตสกิเออเกือบจะทำลายชนชั้นเดิม (พระ อำมาตย์ ราษฎร) ลงในคราวเดียว เป็นเชื้อไฟที่นำมาสู่การปฏิวัติฝรั่งเศสในเวลาต่อมา

.....พูดง่ายที่สุดคือ "มองเตสกิเออ" ทำให้เกิด "ราก" ขึ้นมาหยั่งลึกใน "รัฐ" ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญทุกฉบับที่เป็นประชาธิปไตยนั่นเอง.

โดย จักรภพ เพ็ญแข 26/04/10
ที่มา : คอลัมน์ กว่าจะเป็นประชาธิปไตย นสพ.โลกมุสลิมฯ พับลิกโพสต์
download เอกสารในรูป word2007 ได้ที่
มองเตสกิเออร์...ฝังรากรัฐธรรมนูญ.docx

มองเตสกิเออ...ฝังรากรัฐธรรมนูญ

.....ดูไปแล้ว ความยุ่งยากของการเมืองไทยปัจจุบันมีรากเหง้าเดียวกับปัญหาของยุโรปในศตวรรษที่ ๑๗ ข้ามเกี่ยวกับศตวรรษที่ ๑๘ นั่นคือรัฐบาลควรมาจากอะไรและควรมีอำนาจขนาดไหนในการบริหารบ้านเมือง เราได้เห็นการรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลที่ประชาชนเลือกเข้ามา ได้เห็นรัฐบาลนั้นถูกประณามโจมตีโดยกลไกของรัฐว่า คดโกง ไม่รักชาติ และไม่จงรักภักดีต่อกษัตริย์ ได้เห็นการแผลงฤทธิ์ของศูนย์การปกครองไทยที่ไม่แสดงตัวอย่างเปิดเผย แต่ใช้อำนาจผ่านรัฐบาลตัวแทน (proxy government) ในการทำลายฝ่ายประชาธิปไตยและสถาปนาระบอบเผด็จการอำมาตยาธิปไตยในทางปฏิบัติขึ้น และเราต่างก็ได้เห็นความก้าวหน้าของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศที่ไม่ยอมรับต่ออำนาจโบร่ำโบราณนั้น เพียงยังไม่ชัดเจนนักว่าจะเอาชนะอำนาจรวมศูนย์และเหลือล้นดังกล่าวได้อย่างไร?


.....มองเตสกิเออ เป็นนักคิดชาวฝรั่งเศสที่ยังปรากฏชื่ออยู่เสมอในการถกเถียงเรื่องนี้ ผมจะขอเล่าเรื่องของเขาโดยสังเขป รวมทั้งแนวความคิดในหลายร้อยปีที่แล้วแต่ยังสัมพันธ์เกี่ยวข้องอยู่กับเราในปัจจุบัน อย่าลืมว่าคนอย่างเขานี่แหละที่ทำให้เรื่องนามธรรมอย่างหลักรัฐศาสตร์ ทั้งปรัชญาและการวิพากษ์สังคม กลายเป็นการปฏิวัติที่เป็นรูปธรรมขึ้นในฝรั่งเศส อ่านแล้วอาจจะเกิดความคิดเกี่ยวกับปัญหาของเราขึ้นบ้างก็ได้

.....เขาเกิดมาในชื่อ ชาร์ลส์-หลุยส์ เดอ เซกอนดาท ชีวิตอำมาตย์ของเขาเริ่มต้นตั้งแต่เกิดจนถึงเข้าโรงเรียนและแต่งงาน อายุเพียง ๒๗ ปีบุญหล่นทับอีก ได้รับมรดกและสืบตำแหน่งจากลุงที่ถึงแก่กรรม กลายเป็นท่านบารอน เดอ มองเตสกิเออไปในบัดดล แถมตำแหน่งสืบตระกูลจากลุงในสภาท้องถิ่นในเมืองบอร์โดห์อีกด้วย ชีวิตมองเตสกิเออจึงไม่มีอะไรต้องกระเสือกกระสนในทางเศรษฐกิจ แต่ทางการเมืองแล้วเขาเริ่มพัวพันตัวเองเข้าไปเรื่อยๆ เขาเขียนบันทึกในภายหลังว่า เหตุการณ์ ๒ อย่างที่กระทบใจมองเตสกิเออและเป็นที่มาสู่ปรัชญาการเมืองของเขาคือ การปฏิวัติล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชในอังกฤษภายหลัง การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ พ.ศ.๒๒๓๑ ที่มาก่อนยุคสมัยเขา และการสิ้นพระชนม์ของกษัตริย์หลุยส์ที่ ๑๔ กับการสืบราชสันตติวงศ์ใน พ.ศ.๒๒๕๘ โดยหลุยส์ที่ ๑๕ ที่มีพระชนมายุเพียง ๕ พรรษา ในงานเขียนช่วงหลังๆ มองเตสกิเออเอ่ยถึงเรื่องทั้งสองนี้บ่อยครั้งมาก ส่วนใหญ่ในเชิงเปรียบเทียบว่า อังกฤษก้าวหน้าไปถึงขั้นที่กษัตริย์กับประชาชนแบ่งอำนาจกันแล้ว แต่ฝรั่งเศสยังวนเวียนอยู่กับชนชั้นกษัตริย์ในฐานะผู้มีอำนาจสูงสุดจนเอาเด็กอนุบาลขึ้นมาครองแผ่นดินได้ ความจริงงานเขียนช่วงนั้นก็สะท้อนปรัชญาที่ตกผลึกในภายหลังออกมาบ้างแล้ว

.....มองเตสกิเออ สมมติตัวเองเป็นชาวเปอร์เซียน (ปัจจุบันคือชาวอิหร่าน) ที่มาทัศนาจรในฝรั่งเศส เมื่อได้เห็นสิ่งต่างๆ รอบตัวแล้วก็เขียนจดหมายหลายฉบับกลับไปเล่าให้ทางบ้านฟัง จดหมายเปอร์เซียน ชุดนี้ดังตั้งแต่การตีพิมพ์เผยแพร่ใน พ.ศ.๒๒๖๔ เพราะพรรณนาสภาพความวิปริตผิดเพี้ยนของสังคมภายใต้หลุยส์ที่ ๑๕ ซึ่งเป็นพฤติกรรมทุเรศทุรังของสมาชิกพระราชวงศ์และเหล่าขุนนางของระบอบอำมาตย์ฝรั่งเศสทั้งมวลได้อย่างสละสลวยและก่ออารมณ์ร่วมทางสังคม เขาเขียนเล่าถึงความเหลวแหลกทางชนชั้นที่ศาลทุกระดับช่วยปกป้องให้ ในขณะที่จับตัวประชาชนผู้ไม่มีอำนาจต่อรองไปเข้าคุกด้วยเหตุไม่สมควรต่างๆ หรือความหรูหราฟู่ฟ่าในพระราชวังหลวงขณะที่ราษฎรอดอยากยากจน คนอ่าน จดหมายเปอร์เซียน ในยุคนั้นต่างสะใจและอาจลืมไปเลยว่าคนเขียนก็เป็นส่วนหนึ่งของระบอบอำมาตย์ที่ว่าด้วย แต่สายตาอันตรายจริงๆ ย่อมส่งมาจากเหล่า ชายหญิงผู้สูงศักดิ์ ผู้มองเขาว่าเป็นกบฏต่อชนชั้นและดูแคลนว่าใฝ่ต่ำ

.....งานนิพนธ์ที่สร้างชื่อให้มองเตสกิเอออีกชิ้นหนึ่งคือชิ้นต่อมา นั่นคือ Considerations on the Causes of the Grandeur and Decadence of the Romans หรือ ข้อพิจารณาเกี่ยวกับสาเหตุแห่งความยิ่งใหญ่และช่วงทศวรรษของชาวโรมัน? ตีพิมพ์อย่างแพร่หลายเมื่อ พ.ศ.๒๒๗๗ แต่เมื่อเรามองย้อนเวลาในประวัติศาสตร์แล้วจะพบว่างานทั้งสองเพียงชิ้นอุ่นเครื่องรอเวลาสำหรับงานชิ้นใหญ่ที่ทำให้มองเตสกิเออเป็นอมตะ

.....งานชิ้นนี้วางรากฐานสำหรับหลักกฎหมายทั้งมวลโดยเฉพาะในการปกครองรัฐโดยใช้กฎหมายหรือหลักนิติธรรมที่มักเริ่มต้นจากลัทธิรัฐธรรมนูญ (constitutionalism) มองเตสกิเออเรียกงานเขียนของเขาว่า
The Spirit of the Laws หรือ วิญญาณ (จิตสำนึก) แห่งกฎหมาย แต่ไม่กล้าใส่ชื่อจริงของผู้เขียน ตีพิมพ์ออกมาอย่างนิรนามใน พ.ศ.๒๒๙๑ ถ้าพูดอย่างไม่เกรงใจก็คือเล่มนี้เขียนแล้วงานเข้าทันที ผู้มีอำนาจในยุคนั้นกระโดดออกมางับและพยายามฉีกทิ้ง ผู้ที่ต่อต้านหนักหน่วงที่สุดคือผู้นำศาสนาคริสต์นิกายโรมันแคธอลิค ออกมาประกาศเลยว่าเป็นหนังสือต้องห้าม รวมกับเล่มอื่นๆ ที่เขาเขียนและคนอื่นเขียนในดรรชนีหนังสือต้องห้ามหรือ "Index of Prohibited Books?ฃ" แต่ชื่อเสียงของเขากระฉ่อนไปทั่วแล้วในยุโรปขณะนั้น โดยไปดังที่อังกฤษมากที่สุด รัฐบาลตั้งขึ้นมาเพื่อมิให้มนุษย์คนใดต้องกลัวมนุษย์ด้วยกันอีกต่อไป นี่คือหนึ่งในวาจาอมตะของมองเตสกิเออ อ่านประโยคนี้ในวันนี้หลายคนคงรู้สึกธรรมดา (เว้นแต่ในคนไทยที่ถูกครอบความคิดอย่างโบร่ำโบราณไม่ยอมให้ตามโลกได้) แต่ในยุคนั้นเป็นความกล้าหาญยิ่ง รัฐบาลตามแนวทางเดิมเป็นรัฐบาลของผู้มีอำนาจกว่าราษฎร ตั้งรัฐบาลก็เพื่อมาปกครองราษฎรอย่างครอบงำด้วยหอกดาบและอาวุธยุทโธปกรณ์ ตลอดจนข้อกฎหมายเข้าข้างตน ไม่ได้ตั้งมาช่วยเหลือราษฎรเลย

.....แต่งานของมองเตสกิเออชี้ว่ารัฐบาลต้องเป็นของประชาชน ประชาชนช่วยกันตั้งและรับรอง เพื่อใช้อำนาจรัฐในการช่วยเหลือดูแลราษฎรธรรมดาให้มีความผาสุกตามอัตภาพ เพราะมองเตสกิเออ แนวความคิดของรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยจึงเริ่มต้นมาตั้งแต่บัดนั้น คนไทยหลายคนที่เคยปรารภว่า เหตุใดรัฐบาลเลือกตั้งในช่วง พ.ศ.๒๕๔๔-๒๕๔๙ ที่มี ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี จึงมีผลงานมาก ชัดเจน และกระทบกับพี่น้องประชาชนในทางบวกมากกว่าทุกรัฐบาลที่ผ่านมาในอดีต จะได้รับคำตอบจากประโยคนี้ของมองเตสกิเออ รัฐบาลชุดนั้นสร้างโดยคนไทยธรรมดา ไม่ใช่ผู้มีอำนาจเดิมของไทย ไม่ใช่ตัวแทนหรือร่างทรงของระบอบอำมาตยาธิปไตย มาสู่อำนาจก็เพื่อราษฎรธรรมดา ไม่ใช่เพื่อราษฎรพิเศษหรืออภิสิทธิ์ชน ประชาชนไม่ต้องกลัวรัฐบาลแบบนี้ ตรงกันข้าม ประชาชนสามารถวิพากษ์วิจารณ์ผลงานและเร่งเร้าให้ทำงานตรงกับความต้องการของตนได้เสมอโดยผ่านระบบตัวแทนและการเลือกตั้ง รัฐบาลไทยที่ มนุษย์คนใดต้องกลัวมนุษย์ด้วยกัน จึงค่อยๆ ถูกลบไปจากความทรงจำ ประชาธิปไตยไทยเริ่มเข้าลู่ เตรียมจะพุ่งโชนต่อไป หากถูกทำลายลงเสียก่อนใน พ.ศ.๒๕๔๙ โดยการรัฐประหาร หลังจากนั้น "รัฐบาลที่มนุษย์ต้องกลัวมนุษย์ด้วยกัน" ก็หวนกลับมา พร้อมคดีความที่ไม่ได้เห็นมากนักในสมัยประชาธิปไตย อย่างคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นจำนวนมากมาย ตลอดจนคดีทาง ความมั่นคง อีกนับไม่ถ้วน ทั้งหมดนี้ถูกกำหนดมาให้ มนุษย์ต้องกลัวมนุษย์ด้วยกัน ทั้งสิ้น

.....มองเตสกิเออจึงมีอิทธิพลอย่างสูงในการปฏิวัติเพื่ออิสรภาพของสหรัฐอเมริกา หรือเป็นหลักให้กับการประกาศเอกราชของประเทศนั้นนั่นเอง คณะบุคคลที่ถูกเรียกในภายหลังว่า บิดาผู้สร้างชาติ หรือ Founding Fathers ของสหรัฐฯล้วนได้อ่านและนำความคิดของมองเตสกิเออไปใช้ทั้งนั้น คนที่นำไปประยุกต์โดยตรงที่สุดคนหนึ่งคือ เจมส์ เมดิสัน ซึ่งมีบทบาทในการยกร่างรัฐธรรมนูญและต่อมาได้เป็นประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ด้วย เมดิสันมิได้หยิบมาอย่างผิวเผิน แต่นำเอาหลักการดังกล่าวมาใช้เป็นพื้นฐานในหลักการปกครองแบบ "ตรวจสอบและถ่วงดุล" ระหว่างผู้มีอำนาจ จนเกิดเป็นการขีดเส้นอย่างชัดเจนที่สุดระหว่างฝ่ายบริหาร (ประธานาธิบดี) ฝ่ายนิติบัญญัติ (สภาคองเกรสส์)และฝ่ายตุลาการ (ศาลสูงสุด) และได้ผลในการส่งเสริมประชาธิปไตยพร้อมสกัดกั้นเผด็จการมาจนถึงทุกวันนี้

.....ความลึกซึ้งของมองเตสกิเอออย่างหนึ่งคือ เขาศึกษาการเมืองมากกว่าหลักรัฐศาสตร์ปกครองและการใช้อำนาจรัฐ ศาสตร์อีกสองสาขาที่เขาศึกษาจนถึงแก่นและเขียนเป็นตำราไว้ให้เราอ่านจนถึงวันนี้ ได้แก่ วัฒนธรรมมนุษย์ และ มานุษยวิทยา ทำให้เขาเข้าใจธรรมชาติวิสัยของมนุษย์และวางหลักการปกครองบ้านเมืองที่สอดคล้องต่อวิถีมนุษย์ได้ นักมานุษยวิทยารุ่นหลังๆ ยกย่องมองเตสกิเออว่าช่วยวิเคราะห์แยกแยะสังคมมนุษย์ไว้อย่างละเอียด เราจึงแบ่งสังคมออกเป็นสถาบันต่างๆ จนกระทั่งวางกลไกการอยู่ร่วมกันได้ สิ่งที่สร้างปัญหาก็เห็นเด่นชัด เหมือนที่เขาแบ่งสังคมฝรั่งเศสออกเป็น ๓ ชนชั้นคือ เจ้า อำมาตย์ และราษฎร หรือแบ่งรัฐบาลทั่วไปออกเป็น ๒ ระดับชั้นคือ ผู้ปกครอง (sovereign) กับ ข้าราชการ (administrative) หรือชัดเจนและมีประโยชน์ที่สุดคือการแบ่งกลไกของรัฐออกเป็น ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ ที่ใช้กันทั่วโลก ประชาธิปไตยจึงเกิดได้และมีความเสถียร แต่ก่อนจะเสถียรคนเขียนก็โดนกระแทกกระทั้นทางสังคมจนแทบวางวาย อย่างในฝรั่งเศสกับเรื่องของ ๓ ชนชั้นใหม่นั้น แนวคิดของมองเตสกิเออเกือบจะทำลายชนชั้นเดิม (พระ อำมาตย์ ราษฎร) ลงในคราวเดียว เป็นเชื้อไฟที่นำมาสู่การปฏิวัติฝรั่งเศสในเวลาต่อมา

.....พูดง่ายที่สุดคือ "มองเตสกิเออ" ทำให้เกิด "ราก" ขึ้นมาหยั่งลึกใน "รัฐ" ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญทุกฉบับที่เป็นประชาธิปไตยนั่นเอง.

โดย จักรภพ เพ็ญแข 26/04/10
ที่มา : คอลัมน์ กว่าจะเป็นประชาธิปไตย นสพ.โลกมุสลิมฯ พับลิกโพสต์
download เอกสารในรูป word2007 ได้ที่
มองเตสกิเออร์...ฝังรากรัฐธรรมนูญ.docx

มองเตสกิเออ...ฝังรากรัฐธรรมนูญ

.....ดูไปแล้ว ความยุ่งยากของการเมืองไทยปัจจุบันมีรากเหง้าเดียวกับปัญหาของยุโรปในศตวรรษที่ ๑๗ ข้ามเกี่ยวกับศตวรรษที่ ๑๘ นั่นคือรัฐบาลควรมาจากอะไรและควรมีอำนาจขนาดไหนในการบริหารบ้านเมือง เราได้เห็นการรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลที่ประชาชนเลือกเข้ามา ได้เห็นรัฐบาลนั้นถูกประณามโจมตีโดยกลไกของรัฐว่า คดโกง ไม่รักชาติ และไม่จงรักภักดีต่อกษัตริย์ ได้เห็นการแผลงฤทธิ์ของศูนย์การปกครองไทยที่ไม่แสดงตัวอย่างเปิดเผย แต่ใช้อำนาจผ่านรัฐบาลตัวแทน (proxy government) ในการทำลายฝ่ายประชาธิปไตยและสถาปนาระบอบเผด็จการอำมาตยาธิปไตยในทางปฏิบัติขึ้น และเราต่างก็ได้เห็นความก้าวหน้าของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศที่ไม่ยอมรับต่ออำนาจโบร่ำโบราณนั้น เพียงยังไม่ชัดเจนนักว่าจะเอาชนะอำนาจรวมศูนย์และเหลือล้นดังกล่าวได้อย่างไร?


.....มองเตสกิเออ เป็นนักคิดชาวฝรั่งเศสที่ยังปรากฏชื่ออยู่เสมอในการถกเถียงเรื่องนี้ ผมจะขอเล่าเรื่องของเขาโดยสังเขป รวมทั้งแนวความคิดในหลายร้อยปีที่แล้วแต่ยังสัมพันธ์เกี่ยวข้องอยู่กับเราในปัจจุบัน อย่าลืมว่าคนอย่างเขานี่แหละที่ทำให้เรื่องนามธรรมอย่างหลักรัฐศาสตร์ ทั้งปรัชญาและการวิพากษ์สังคม กลายเป็นการปฏิวัติที่เป็นรูปธรรมขึ้นในฝรั่งเศส อ่านแล้วอาจจะเกิดความคิดเกี่ยวกับปัญหาของเราขึ้นบ้างก็ได้

.....เขาเกิดมาในชื่อ ชาร์ลส์-หลุยส์ เดอ เซกอนดาท ชีวิตอำมาตย์ของเขาเริ่มต้นตั้งแต่เกิดจนถึงเข้าโรงเรียนและแต่งงาน อายุเพียง ๒๗ ปีบุญหล่นทับอีก ได้รับมรดกและสืบตำแหน่งจากลุงที่ถึงแก่กรรม กลายเป็นท่านบารอน เดอ มองเตสกิเออไปในบัดดล แถมตำแหน่งสืบตระกูลจากลุงในสภาท้องถิ่นในเมืองบอร์โดห์อีกด้วย ชีวิตมองเตสกิเออจึงไม่มีอะไรต้องกระเสือกกระสนในทางเศรษฐกิจ แต่ทางการเมืองแล้วเขาเริ่มพัวพันตัวเองเข้าไปเรื่อยๆ เขาเขียนบันทึกในภายหลังว่า เหตุการณ์ ๒ อย่างที่กระทบใจมองเตสกิเออและเป็นที่มาสู่ปรัชญาการเมืองของเขาคือ การปฏิวัติล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชในอังกฤษภายหลัง การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ พ.ศ.๒๒๓๑ ที่มาก่อนยุคสมัยเขา และการสิ้นพระชนม์ของกษัตริย์หลุยส์ที่ ๑๔ กับการสืบราชสันตติวงศ์ใน พ.ศ.๒๒๕๘ โดยหลุยส์ที่ ๑๕ ที่มีพระชนมายุเพียง ๕ พรรษา ในงานเขียนช่วงหลังๆ มองเตสกิเออเอ่ยถึงเรื่องทั้งสองนี้บ่อยครั้งมาก ส่วนใหญ่ในเชิงเปรียบเทียบว่า อังกฤษก้าวหน้าไปถึงขั้นที่กษัตริย์กับประชาชนแบ่งอำนาจกันแล้ว แต่ฝรั่งเศสยังวนเวียนอยู่กับชนชั้นกษัตริย์ในฐานะผู้มีอำนาจสูงสุดจนเอาเด็กอนุบาลขึ้นมาครองแผ่นดินได้ ความจริงงานเขียนช่วงนั้นก็สะท้อนปรัชญาที่ตกผลึกในภายหลังออกมาบ้างแล้ว

.....มองเตสกิเออ สมมติตัวเองเป็นชาวเปอร์เซียน (ปัจจุบันคือชาวอิหร่าน) ที่มาทัศนาจรในฝรั่งเศส เมื่อได้เห็นสิ่งต่างๆ รอบตัวแล้วก็เขียนจดหมายหลายฉบับกลับไปเล่าให้ทางบ้านฟัง จดหมายเปอร์เซียน ชุดนี้ดังตั้งแต่การตีพิมพ์เผยแพร่ใน พ.ศ.๒๒๖๔ เพราะพรรณนาสภาพความวิปริตผิดเพี้ยนของสังคมภายใต้หลุยส์ที่ ๑๕ ซึ่งเป็นพฤติกรรมทุเรศทุรังของสมาชิกพระราชวงศ์และเหล่าขุนนางของระบอบอำมาตย์ฝรั่งเศสทั้งมวลได้อย่างสละสลวยและก่ออารมณ์ร่วมทางสังคม เขาเขียนเล่าถึงความเหลวแหลกทางชนชั้นที่ศาลทุกระดับช่วยปกป้องให้ ในขณะที่จับตัวประชาชนผู้ไม่มีอำนาจต่อรองไปเข้าคุกด้วยเหตุไม่สมควรต่างๆ หรือความหรูหราฟู่ฟ่าในพระราชวังหลวงขณะที่ราษฎรอดอยากยากจน คนอ่าน จดหมายเปอร์เซียน ในยุคนั้นต่างสะใจและอาจลืมไปเลยว่าคนเขียนก็เป็นส่วนหนึ่งของระบอบอำมาตย์ที่ว่าด้วย แต่สายตาอันตรายจริงๆ ย่อมส่งมาจากเหล่า ชายหญิงผู้สูงศักดิ์ ผู้มองเขาว่าเป็นกบฏต่อชนชั้นและดูแคลนว่าใฝ่ต่ำ

.....งานนิพนธ์ที่สร้างชื่อให้มองเตสกิเอออีกชิ้นหนึ่งคือชิ้นต่อมา นั่นคือ Considerations on the Causes of the Grandeur and Decadence of the Romans หรือ ข้อพิจารณาเกี่ยวกับสาเหตุแห่งความยิ่งใหญ่และช่วงทศวรรษของชาวโรมัน? ตีพิมพ์อย่างแพร่หลายเมื่อ พ.ศ.๒๒๗๗ แต่เมื่อเรามองย้อนเวลาในประวัติศาสตร์แล้วจะพบว่างานทั้งสองเพียงชิ้นอุ่นเครื่องรอเวลาสำหรับงานชิ้นใหญ่ที่ทำให้มองเตสกิเออเป็นอมตะ

.....งานชิ้นนี้วางรากฐานสำหรับหลักกฎหมายทั้งมวลโดยเฉพาะในการปกครองรัฐโดยใช้กฎหมายหรือหลักนิติธรรมที่มักเริ่มต้นจากลัทธิรัฐธรรมนูญ (constitutionalism) มองเตสกิเออเรียกงานเขียนของเขาว่า
The Spirit of the Laws หรือ วิญญาณ (จิตสำนึก) แห่งกฎหมาย แต่ไม่กล้าใส่ชื่อจริงของผู้เขียน ตีพิมพ์ออกมาอย่างนิรนามใน พ.ศ.๒๒๙๑ ถ้าพูดอย่างไม่เกรงใจก็คือเล่มนี้เขียนแล้วงานเข้าทันที ผู้มีอำนาจในยุคนั้นกระโดดออกมางับและพยายามฉีกทิ้ง ผู้ที่ต่อต้านหนักหน่วงที่สุดคือผู้นำศาสนาคริสต์นิกายโรมันแคธอลิค ออกมาประกาศเลยว่าเป็นหนังสือต้องห้าม รวมกับเล่มอื่นๆ ที่เขาเขียนและคนอื่นเขียนในดรรชนีหนังสือต้องห้ามหรือ "Index of Prohibited Books?ฃ" แต่ชื่อเสียงของเขากระฉ่อนไปทั่วแล้วในยุโรปขณะนั้น โดยไปดังที่อังกฤษมากที่สุด รัฐบาลตั้งขึ้นมาเพื่อมิให้มนุษย์คนใดต้องกลัวมนุษย์ด้วยกันอีกต่อไป นี่คือหนึ่งในวาจาอมตะของมองเตสกิเออ อ่านประโยคนี้ในวันนี้หลายคนคงรู้สึกธรรมดา (เว้นแต่ในคนไทยที่ถูกครอบความคิดอย่างโบร่ำโบราณไม่ยอมให้ตามโลกได้) แต่ในยุคนั้นเป็นความกล้าหาญยิ่ง รัฐบาลตามแนวทางเดิมเป็นรัฐบาลของผู้มีอำนาจกว่าราษฎร ตั้งรัฐบาลก็เพื่อมาปกครองราษฎรอย่างครอบงำด้วยหอกดาบและอาวุธยุทโธปกรณ์ ตลอดจนข้อกฎหมายเข้าข้างตน ไม่ได้ตั้งมาช่วยเหลือราษฎรเลย

.....แต่งานของมองเตสกิเออชี้ว่ารัฐบาลต้องเป็นของประชาชน ประชาชนช่วยกันตั้งและรับรอง เพื่อใช้อำนาจรัฐในการช่วยเหลือดูแลราษฎรธรรมดาให้มีความผาสุกตามอัตภาพ เพราะมองเตสกิเออ แนวความคิดของรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยจึงเริ่มต้นมาตั้งแต่บัดนั้น คนไทยหลายคนที่เคยปรารภว่า เหตุใดรัฐบาลเลือกตั้งในช่วง พ.ศ.๒๕๔๔-๒๕๔๙ ที่มี ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี จึงมีผลงานมาก ชัดเจน และกระทบกับพี่น้องประชาชนในทางบวกมากกว่าทุกรัฐบาลที่ผ่านมาในอดีต จะได้รับคำตอบจากประโยคนี้ของมองเตสกิเออ รัฐบาลชุดนั้นสร้างโดยคนไทยธรรมดา ไม่ใช่ผู้มีอำนาจเดิมของไทย ไม่ใช่ตัวแทนหรือร่างทรงของระบอบอำมาตยาธิปไตย มาสู่อำนาจก็เพื่อราษฎรธรรมดา ไม่ใช่เพื่อราษฎรพิเศษหรืออภิสิทธิ์ชน ประชาชนไม่ต้องกลัวรัฐบาลแบบนี้ ตรงกันข้าม ประชาชนสามารถวิพากษ์วิจารณ์ผลงานและเร่งเร้าให้ทำงานตรงกับความต้องการของตนได้เสมอโดยผ่านระบบตัวแทนและการเลือกตั้ง รัฐบาลไทยที่ มนุษย์คนใดต้องกลัวมนุษย์ด้วยกัน จึงค่อยๆ ถูกลบไปจากความทรงจำ ประชาธิปไตยไทยเริ่มเข้าลู่ เตรียมจะพุ่งโชนต่อไป หากถูกทำลายลงเสียก่อนใน พ.ศ.๒๕๔๙ โดยการรัฐประหาร หลังจากนั้น "รัฐบาลที่มนุษย์ต้องกลัวมนุษย์ด้วยกัน" ก็หวนกลับมา พร้อมคดีความที่ไม่ได้เห็นมากนักในสมัยประชาธิปไตย อย่างคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นจำนวนมากมาย ตลอดจนคดีทาง ความมั่นคง อีกนับไม่ถ้วน ทั้งหมดนี้ถูกกำหนดมาให้ มนุษย์ต้องกลัวมนุษย์ด้วยกัน ทั้งสิ้น

.....มองเตสกิเออจึงมีอิทธิพลอย่างสูงในการปฏิวัติเพื่ออิสรภาพของสหรัฐอเมริกา หรือเป็นหลักให้กับการประกาศเอกราชของประเทศนั้นนั่นเอง คณะบุคคลที่ถูกเรียกในภายหลังว่า บิดาผู้สร้างชาติ หรือ Founding Fathers ของสหรัฐฯล้วนได้อ่านและนำความคิดของมองเตสกิเออไปใช้ทั้งนั้น คนที่นำไปประยุกต์โดยตรงที่สุดคนหนึ่งคือ เจมส์ เมดิสัน ซึ่งมีบทบาทในการยกร่างรัฐธรรมนูญและต่อมาได้เป็นประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ด้วย เมดิสันมิได้หยิบมาอย่างผิวเผิน แต่นำเอาหลักการดังกล่าวมาใช้เป็นพื้นฐานในหลักการปกครองแบบ "ตรวจสอบและถ่วงดุล" ระหว่างผู้มีอำนาจ จนเกิดเป็นการขีดเส้นอย่างชัดเจนที่สุดระหว่างฝ่ายบริหาร (ประธานาธิบดี) ฝ่ายนิติบัญญัติ (สภาคองเกรสส์)และฝ่ายตุลาการ (ศาลสูงสุด) และได้ผลในการส่งเสริมประชาธิปไตยพร้อมสกัดกั้นเผด็จการมาจนถึงทุกวันนี้

.....ความลึกซึ้งของมองเตสกิเอออย่างหนึ่งคือ เขาศึกษาการเมืองมากกว่าหลักรัฐศาสตร์ปกครองและการใช้อำนาจรัฐ ศาสตร์อีกสองสาขาที่เขาศึกษาจนถึงแก่นและเขียนเป็นตำราไว้ให้เราอ่านจนถึงวันนี้ ได้แก่ วัฒนธรรมมนุษย์ และ มานุษยวิทยา ทำให้เขาเข้าใจธรรมชาติวิสัยของมนุษย์และวางหลักการปกครองบ้านเมืองที่สอดคล้องต่อวิถีมนุษย์ได้ นักมานุษยวิทยารุ่นหลังๆ ยกย่องมองเตสกิเออว่าช่วยวิเคราะห์แยกแยะสังคมมนุษย์ไว้อย่างละเอียด เราจึงแบ่งสังคมออกเป็นสถาบันต่างๆ จนกระทั่งวางกลไกการอยู่ร่วมกันได้ สิ่งที่สร้างปัญหาก็เห็นเด่นชัด เหมือนที่เขาแบ่งสังคมฝรั่งเศสออกเป็น ๓ ชนชั้นคือ เจ้า อำมาตย์ และราษฎร หรือแบ่งรัฐบาลทั่วไปออกเป็น ๒ ระดับชั้นคือ ผู้ปกครอง (sovereign) กับ ข้าราชการ (administrative) หรือชัดเจนและมีประโยชน์ที่สุดคือการแบ่งกลไกของรัฐออกเป็น ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ ที่ใช้กันทั่วโลก ประชาธิปไตยจึงเกิดได้และมีความเสถียร แต่ก่อนจะเสถียรคนเขียนก็โดนกระแทกกระทั้นทางสังคมจนแทบวางวาย อย่างในฝรั่งเศสกับเรื่องของ ๓ ชนชั้นใหม่นั้น แนวคิดของมองเตสกิเออเกือบจะทำลายชนชั้นเดิม (พระ อำมาตย์ ราษฎร) ลงในคราวเดียว เป็นเชื้อไฟที่นำมาสู่การปฏิวัติฝรั่งเศสในเวลาต่อมา

.....พูดง่ายที่สุดคือ "มองเตสกิเออ" ทำให้เกิด "ราก" ขึ้นมาหยั่งลึกใน "รัฐ" ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญทุกฉบับที่เป็นประชาธิปไตยนั่นเอง.

โดย จักรภพ เพ็ญแข 26/04/10
ที่มา : คอลัมน์ กว่าจะเป็นประชาธิปไตย นสพ.โลกมุสลิมฯ พับลิกโพสต์
download เอกสารในรูป word2007 ได้ที่
มองเตสกิเออร์...ฝังรากรัฐธรรมนูญ.docx