Sunday, July 25, 2010

ซากอดีตป้อมปราการภูมิปัญญาฝ่ายประชาธิปไตย

ธรรมศาสตร์และการเมือง
ดร. อภิชาต สถิตนิรามัย
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บทความ ตีพิมพ์ใน "ประชาชาติธุรกิจ"
ในคอลัมน์มองซ้ายมองขวา

ดร.อภิชาติ ได้อ้างถึง บทความ "ทำไมบทบาทของปัญญาชนสาธารณะจึงเสื่อมถอยลง ?" ของอาจารย์ เบเนดิกต์ แอนเดอร์สัน ชี้ว่า สาเหตุที่ทำให้นักวิชาการมหาวิทยาลัยไม่เล่นบทบาทปัญญาชนสาธาณะคือ

" ในอุษาคเนย์นั้น อาจารย์มหาวิทยาลัยมีรายได้ต่ำ จึงต้องหาทางออกด้วยการรับงานโครงการวิจัยของรัฐที่ไร้ประโยชน์ หาลำไพ่พิเศษด้วยการสอนที่มหาวิทยาลัยอื่น เก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์ และอาศัยช่องทางต่าง ๆ ในสื่อมวลชน เช่น เขียนบทความในหนังสือพิมพ์ ทำรายการทีวี ฯลฯ อาจารย์เหล่านี้จึงมักละเลยหรือไม่สนใจนักศึกษา หรือไม่ก็ปฏิบัติต่อนักศึกษาแบบราชการ นักวิชาการจำนวนไม่น้อยไม่ยอมสอนหนังสือเลย แต่เลือกไปกินตำแหน่งในสถาบันวิจัยที่แทบไม่มีผลงานใด ๆ"

ผมขอขยายความว่า การหาลำไพ่พิเศษด้วยการรับจ้างสอนนั้น กระทำกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการพิเศษภาคค่ำในทุกระดับ ตั้งแต่ปริญญาตรี โท เอก ซึ่งเก็บค่าหน่วยกิตแพง ๆ มาจ่ายค่าสอนอัตรา "ตลาด" จนกระทั่งเกิดคำขวัญว่า "จ่ายครบจบแน่" หรือ "Mac University" (มหา'ลัยแดกด่วน) หรือ "การทำไร่เลื่อนลอย"

หมายถึงมหาวิทยาลัยพากันไปเช่าตึก เปิดศูนย์ เปิดสาขาสอนในที่ที่มี "ตลาด" เช่น ย่านกลางเมือง หรือหัวเมืองต่าง ๆ จนกระทั่ง "ตลาดหมด" ก็ปิดตัวไปเปิดที่อื่น ๆ ต่อไป จึงไม่แปลกเลยที่ประสบการณ์ส่วนตัวของผมเคยพบว่า งานเขียนของนักศึกษาปริญญาเอกบางคนมีคุณภาพต่ำกว่างานของนักศึกษาปริญญาตรีภาคปกติที่ผมสอนเสียอีก

อาจารย์เบนเขียนต่อไปว่า " ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ นักวิชาการหลายคนจึงแสวงหาความสำเร็จด้วยการเข้าข้างชนชั้นนำทางการเมือง หรือไม่ก็แข่งขันแย่งชิงทุนจากหน่วยงานต่าง ๆ...นักวิชาการเหล่านี้กลายเป็นลูกจ้าง ลูกจ้างของรัฐ ของมูลนิธิต่างประเทศ หรือไม่ก็เป็นลูกจ้างของเจ้าพ่อหนังสือพิมพ์และผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ ไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทำไมพวกเขาจึงมีเวลาน้อยมากที่จะ ทำงานวิจัยอย่างจริงจัง เขียนหนังสือที่มีความสำคัญ หรือท้าทายอะไรบางอย่างอย่างจริงจัง มิหนำซ้ำพวกเขายังปิดหูปิดตาตัวเองอย่างประหลาดด้วย"

ปัจจัยข้างต้นเป็นปริบท หรือภาพใหญ่ที่ใช้อธิบายได้ว่า ทำไมธรรมศาสตร์ซึ่งเคยได้รับการยกย่องว่า เป็นป้อมปราการทางปัญญาของฝ่ายประชาธิปไตยในอดีต กลับไม่สามารถเป็นเทียนส่องทางให้แก่สังคม ในท่ามกลางวิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองได้ มิหนำซ้ำธรรมศาสตร์ยังเผชิญกับปัญหาเฉพาะตัวอื่น ๆ อีกด้วย

ประการที่หนึ่ง
การย้ายการศึกษาระดับปริญญาตรีทั้งหมดไปรังสิตส่งผลให้ชุมชนวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ตกต่ำอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน จนถึงขั้นที่เรียกได้ว่า "ชีวิตทางภูมิปัญญา" ได้หายไปจากประชาคม
บรรยากาศของการถกเถียง-สัมมนา-อภิปรายทั้งในประเด็นทางวิชาการ สังคม และการเมืองแทบไม่หลงเหลืออยู่เลย ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากภาวะไร้ทิศทางและความชัดเจนของผู้บริหารในการพัฒนามหาวิทยาลัยในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา หรืออาจกล่าวได้ว่า ณ บัดนี้ชุมชนทางวิชาการของธรรมศาสตร์สูญสิ้นเสื่อมสลายไปแล้ว

ประการที่สอง
ยี่สิบปีที่ผ่านมาเช่นกัน ธรรมศาสตร์ตกอยู่ภายใต้การปกครองของ "ราชวงศ์หนึ่ง" ซึ่งมิใช่สืบทอดอำนาจกันโดยสายเลือด แต่เป็นเครือข่ายของ "ระบบอุปถัมภ์" ที่นักวิชาการและผู้บริหารของประชาคมบางท่านเลือกที่จะทำงานรับใช้ชนชั้นนำทางอำนาจและกลุ่มการเมือง โดยได้รับรางวัลตอบแทนเป็นตำแหน่ง (การเมือง) ภายนอก ทั้งในระหว่างและหลังจากที่ก้าวลงจากตำแหน่งบริหารแล้ว

"พูดอีกแบบคือ การที่พวกเขาเหล่านั้นสามารถเข้าสู่ตำแหน่งภายนอกได้ก็เพราะพวกเขามีตำแหน่งผู้บริหารมหาวิทยาลัย และในอีกด้านหนึ่ง ตำแหน่งภายนอกที่พวกเขาได้รับก็จะเป็นบันไดให้พวกเขาสามารถไต่เต้าทางสังคมและเศรษฐกิจได้ต่อไป

ดังนั้นแทนที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยจะวางตัวเพื่อเป็นเสาหลักให้แก่สมาชิกของประชาคม พวกเขากลับเลือกที่จะเป็นเสาค้ำยันให้กับชนชั้นนำทางอำนาจและกลุ่มการเมือง สิ่งนี้ยิ่งซ้ำเติมความอับจนทางปัญญาของประชาคม สร้างค่านิยมผิด ๆ ให้กับนักวิชาการรุ่นหลังว่า ความสำเร็จของการเป็นนักวิชาการคือ การได้รับตำแหน่งภายนอก "

ดร. อภิชาติ เขียนในบทความว่า ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่ผู้เข้าแข่งขันเพื่อให้ได้รับการคัดเลือกเป็นอธิการบดีคนต่อไปของธรรมศาสตร์ในขณะนี้จะทุ่มเทศักยภาพและความสามารถทั้งมวลให้กับการพลิกฟื้นธรรมศาสตร์จากความอับจนทางปัญญา โดยหยุดใช้ตำแหน่งอธิการไต่เต้าทางการเมือง และให้สัญญากับประชาคมว่า จะไม่ควบตำแหน่งการเมือง

ซากอดีตป้อมปราการภูมิปัญญาฝ่ายประชาธิปไตย

ธรรมศาสตร์และการเมือง
ดร. อภิชาต สถิตนิรามัย
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บทความ ตีพิมพ์ใน "ประชาชาติธุรกิจ"
ในคอลัมน์มองซ้ายมองขวา

ดร.อภิชาติ ได้อ้างถึง บทความ "ทำไมบทบาทของปัญญาชนสาธารณะจึงเสื่อมถอยลง ?" ของอาจารย์ เบเนดิกต์ แอนเดอร์สัน ชี้ว่า สาเหตุที่ทำให้นักวิชาการมหาวิทยาลัยไม่เล่นบทบาทปัญญาชนสาธาณะคือ

" ในอุษาคเนย์นั้น อาจารย์มหาวิทยาลัยมีรายได้ต่ำ จึงต้องหาทางออกด้วยการรับงานโครงการวิจัยของรัฐที่ไร้ประโยชน์ หาลำไพ่พิเศษด้วยการสอนที่มหาวิทยาลัยอื่น เก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์ และอาศัยช่องทางต่าง ๆ ในสื่อมวลชน เช่น เขียนบทความในหนังสือพิมพ์ ทำรายการทีวี ฯลฯ อาจารย์เหล่านี้จึงมักละเลยหรือไม่สนใจนักศึกษา หรือไม่ก็ปฏิบัติต่อนักศึกษาแบบราชการ นักวิชาการจำนวนไม่น้อยไม่ยอมสอนหนังสือเลย แต่เลือกไปกินตำแหน่งในสถาบันวิจัยที่แทบไม่มีผลงานใด ๆ"

ผมขอขยายความว่า การหาลำไพ่พิเศษด้วยการรับจ้างสอนนั้น กระทำกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการพิเศษภาคค่ำในทุกระดับ ตั้งแต่ปริญญาตรี โท เอก ซึ่งเก็บค่าหน่วยกิตแพง ๆ มาจ่ายค่าสอนอัตรา "ตลาด" จนกระทั่งเกิดคำขวัญว่า "จ่ายครบจบแน่" หรือ "Mac University" (มหา'ลัยแดกด่วน) หรือ "การทำไร่เลื่อนลอย"

หมายถึงมหาวิทยาลัยพากันไปเช่าตึก เปิดศูนย์ เปิดสาขาสอนในที่ที่มี "ตลาด" เช่น ย่านกลางเมือง หรือหัวเมืองต่าง ๆ จนกระทั่ง "ตลาดหมด" ก็ปิดตัวไปเปิดที่อื่น ๆ ต่อไป จึงไม่แปลกเลยที่ประสบการณ์ส่วนตัวของผมเคยพบว่า งานเขียนของนักศึกษาปริญญาเอกบางคนมีคุณภาพต่ำกว่างานของนักศึกษาปริญญาตรีภาคปกติที่ผมสอนเสียอีก

อาจารย์เบนเขียนต่อไปว่า " ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ นักวิชาการหลายคนจึงแสวงหาความสำเร็จด้วยการเข้าข้างชนชั้นนำทางการเมือง หรือไม่ก็แข่งขันแย่งชิงทุนจากหน่วยงานต่าง ๆ...นักวิชาการเหล่านี้กลายเป็นลูกจ้าง ลูกจ้างของรัฐ ของมูลนิธิต่างประเทศ หรือไม่ก็เป็นลูกจ้างของเจ้าพ่อหนังสือพิมพ์และผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ ไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทำไมพวกเขาจึงมีเวลาน้อยมากที่จะ ทำงานวิจัยอย่างจริงจัง เขียนหนังสือที่มีความสำคัญ หรือท้าทายอะไรบางอย่างอย่างจริงจัง มิหนำซ้ำพวกเขายังปิดหูปิดตาตัวเองอย่างประหลาดด้วย"

ปัจจัยข้างต้นเป็นปริบท หรือภาพใหญ่ที่ใช้อธิบายได้ว่า ทำไมธรรมศาสตร์ซึ่งเคยได้รับการยกย่องว่า เป็นป้อมปราการทางปัญญาของฝ่ายประชาธิปไตยในอดีต กลับไม่สามารถเป็นเทียนส่องทางให้แก่สังคม ในท่ามกลางวิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองได้ มิหนำซ้ำธรรมศาสตร์ยังเผชิญกับปัญหาเฉพาะตัวอื่น ๆ อีกด้วย

ประการที่หนึ่ง
การย้ายการศึกษาระดับปริญญาตรีทั้งหมดไปรังสิตส่งผลให้ชุมชนวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ตกต่ำอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน จนถึงขั้นที่เรียกได้ว่า "ชีวิตทางภูมิปัญญา" ได้หายไปจากประชาคม
บรรยากาศของการถกเถียง-สัมมนา-อภิปรายทั้งในประเด็นทางวิชาการ สังคม และการเมืองแทบไม่หลงเหลืออยู่เลย ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากภาวะไร้ทิศทางและความชัดเจนของผู้บริหารในการพัฒนามหาวิทยาลัยในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา หรืออาจกล่าวได้ว่า ณ บัดนี้ชุมชนทางวิชาการของธรรมศาสตร์สูญสิ้นเสื่อมสลายไปแล้ว

ประการที่สอง
ยี่สิบปีที่ผ่านมาเช่นกัน ธรรมศาสตร์ตกอยู่ภายใต้การปกครองของ "ราชวงศ์หนึ่ง" ซึ่งมิใช่สืบทอดอำนาจกันโดยสายเลือด แต่เป็นเครือข่ายของ "ระบบอุปถัมภ์" ที่นักวิชาการและผู้บริหารของประชาคมบางท่านเลือกที่จะทำงานรับใช้ชนชั้นนำทางอำนาจและกลุ่มการเมือง โดยได้รับรางวัลตอบแทนเป็นตำแหน่ง (การเมือง) ภายนอก ทั้งในระหว่างและหลังจากที่ก้าวลงจากตำแหน่งบริหารแล้ว

"พูดอีกแบบคือ การที่พวกเขาเหล่านั้นสามารถเข้าสู่ตำแหน่งภายนอกได้ก็เพราะพวกเขามีตำแหน่งผู้บริหารมหาวิทยาลัย และในอีกด้านหนึ่ง ตำแหน่งภายนอกที่พวกเขาได้รับก็จะเป็นบันไดให้พวกเขาสามารถไต่เต้าทางสังคมและเศรษฐกิจได้ต่อไป

ดังนั้นแทนที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยจะวางตัวเพื่อเป็นเสาหลักให้แก่สมาชิกของประชาคม พวกเขากลับเลือกที่จะเป็นเสาค้ำยันให้กับชนชั้นนำทางอำนาจและกลุ่มการเมือง สิ่งนี้ยิ่งซ้ำเติมความอับจนทางปัญญาของประชาคม สร้างค่านิยมผิด ๆ ให้กับนักวิชาการรุ่นหลังว่า ความสำเร็จของการเป็นนักวิชาการคือ การได้รับตำแหน่งภายนอก "

ดร. อภิชาติ เขียนในบทความว่า ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่ผู้เข้าแข่งขันเพื่อให้ได้รับการคัดเลือกเป็นอธิการบดีคนต่อไปของธรรมศาสตร์ในขณะนี้จะทุ่มเทศักยภาพและความสามารถทั้งมวลให้กับการพลิกฟื้นธรรมศาสตร์จากความอับจนทางปัญญา โดยหยุดใช้ตำแหน่งอธิการไต่เต้าทางการเมือง และให้สัญญากับประชาคมว่า จะไม่ควบตำแหน่งการเมือง

ซากอดีตป้อมปราการภูมิปัญญาฝ่ายประชาธิปไตย

ธรรมศาสตร์และการเมือง
ดร. อภิชาต สถิตนิรามัย
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บทความ ตีพิมพ์ใน "ประชาชาติธุรกิจ"
ในคอลัมน์มองซ้ายมองขวา

ดร.อภิชาติ ได้อ้างถึง บทความ "ทำไมบทบาทของปัญญาชนสาธารณะจึงเสื่อมถอยลง ?" ของอาจารย์ เบเนดิกต์ แอนเดอร์สัน ชี้ว่า สาเหตุที่ทำให้นักวิชาการมหาวิทยาลัยไม่เล่นบทบาทปัญญาชนสาธาณะคือ

" ในอุษาคเนย์นั้น อาจารย์มหาวิทยาลัยมีรายได้ต่ำ จึงต้องหาทางออกด้วยการรับงานโครงการวิจัยของรัฐที่ไร้ประโยชน์ หาลำไพ่พิเศษด้วยการสอนที่มหาวิทยาลัยอื่น เก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์ และอาศัยช่องทางต่าง ๆ ในสื่อมวลชน เช่น เขียนบทความในหนังสือพิมพ์ ทำรายการทีวี ฯลฯ อาจารย์เหล่านี้จึงมักละเลยหรือไม่สนใจนักศึกษา หรือไม่ก็ปฏิบัติต่อนักศึกษาแบบราชการ นักวิชาการจำนวนไม่น้อยไม่ยอมสอนหนังสือเลย แต่เลือกไปกินตำแหน่งในสถาบันวิจัยที่แทบไม่มีผลงานใด ๆ"

ผมขอขยายความว่า การหาลำไพ่พิเศษด้วยการรับจ้างสอนนั้น กระทำกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการพิเศษภาคค่ำในทุกระดับ ตั้งแต่ปริญญาตรี โท เอก ซึ่งเก็บค่าหน่วยกิตแพง ๆ มาจ่ายค่าสอนอัตรา "ตลาด" จนกระทั่งเกิดคำขวัญว่า "จ่ายครบจบแน่" หรือ "Mac University" (มหา'ลัยแดกด่วน) หรือ "การทำไร่เลื่อนลอย"

หมายถึงมหาวิทยาลัยพากันไปเช่าตึก เปิดศูนย์ เปิดสาขาสอนในที่ที่มี "ตลาด" เช่น ย่านกลางเมือง หรือหัวเมืองต่าง ๆ จนกระทั่ง "ตลาดหมด" ก็ปิดตัวไปเปิดที่อื่น ๆ ต่อไป จึงไม่แปลกเลยที่ประสบการณ์ส่วนตัวของผมเคยพบว่า งานเขียนของนักศึกษาปริญญาเอกบางคนมีคุณภาพต่ำกว่างานของนักศึกษาปริญญาตรีภาคปกติที่ผมสอนเสียอีก

อาจารย์เบนเขียนต่อไปว่า " ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ นักวิชาการหลายคนจึงแสวงหาความสำเร็จด้วยการเข้าข้างชนชั้นนำทางการเมือง หรือไม่ก็แข่งขันแย่งชิงทุนจากหน่วยงานต่าง ๆ...นักวิชาการเหล่านี้กลายเป็นลูกจ้าง ลูกจ้างของรัฐ ของมูลนิธิต่างประเทศ หรือไม่ก็เป็นลูกจ้างของเจ้าพ่อหนังสือพิมพ์และผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ ไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทำไมพวกเขาจึงมีเวลาน้อยมากที่จะ ทำงานวิจัยอย่างจริงจัง เขียนหนังสือที่มีความสำคัญ หรือท้าทายอะไรบางอย่างอย่างจริงจัง มิหนำซ้ำพวกเขายังปิดหูปิดตาตัวเองอย่างประหลาดด้วย"

ปัจจัยข้างต้นเป็นปริบท หรือภาพใหญ่ที่ใช้อธิบายได้ว่า ทำไมธรรมศาสตร์ซึ่งเคยได้รับการยกย่องว่า เป็นป้อมปราการทางปัญญาของฝ่ายประชาธิปไตยในอดีต กลับไม่สามารถเป็นเทียนส่องทางให้แก่สังคม ในท่ามกลางวิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองได้ มิหนำซ้ำธรรมศาสตร์ยังเผชิญกับปัญหาเฉพาะตัวอื่น ๆ อีกด้วย

ประการที่หนึ่ง
การย้ายการศึกษาระดับปริญญาตรีทั้งหมดไปรังสิตส่งผลให้ชุมชนวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ตกต่ำอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน จนถึงขั้นที่เรียกได้ว่า "ชีวิตทางภูมิปัญญา" ได้หายไปจากประชาคม
บรรยากาศของการถกเถียง-สัมมนา-อภิปรายทั้งในประเด็นทางวิชาการ สังคม และการเมืองแทบไม่หลงเหลืออยู่เลย ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากภาวะไร้ทิศทางและความชัดเจนของผู้บริหารในการพัฒนามหาวิทยาลัยในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา หรืออาจกล่าวได้ว่า ณ บัดนี้ชุมชนทางวิชาการของธรรมศาสตร์สูญสิ้นเสื่อมสลายไปแล้ว

ประการที่สอง
ยี่สิบปีที่ผ่านมาเช่นกัน ธรรมศาสตร์ตกอยู่ภายใต้การปกครองของ "ราชวงศ์หนึ่ง" ซึ่งมิใช่สืบทอดอำนาจกันโดยสายเลือด แต่เป็นเครือข่ายของ "ระบบอุปถัมภ์" ที่นักวิชาการและผู้บริหารของประชาคมบางท่านเลือกที่จะทำงานรับใช้ชนชั้นนำทางอำนาจและกลุ่มการเมือง โดยได้รับรางวัลตอบแทนเป็นตำแหน่ง (การเมือง) ภายนอก ทั้งในระหว่างและหลังจากที่ก้าวลงจากตำแหน่งบริหารแล้ว

"พูดอีกแบบคือ การที่พวกเขาเหล่านั้นสามารถเข้าสู่ตำแหน่งภายนอกได้ก็เพราะพวกเขามีตำแหน่งผู้บริหารมหาวิทยาลัย และในอีกด้านหนึ่ง ตำแหน่งภายนอกที่พวกเขาได้รับก็จะเป็นบันไดให้พวกเขาสามารถไต่เต้าทางสังคมและเศรษฐกิจได้ต่อไป

ดังนั้นแทนที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยจะวางตัวเพื่อเป็นเสาหลักให้แก่สมาชิกของประชาคม พวกเขากลับเลือกที่จะเป็นเสาค้ำยันให้กับชนชั้นนำทางอำนาจและกลุ่มการเมือง สิ่งนี้ยิ่งซ้ำเติมความอับจนทางปัญญาของประชาคม สร้างค่านิยมผิด ๆ ให้กับนักวิชาการรุ่นหลังว่า ความสำเร็จของการเป็นนักวิชาการคือ การได้รับตำแหน่งภายนอก "

ดร. อภิชาติ เขียนในบทความว่า ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่ผู้เข้าแข่งขันเพื่อให้ได้รับการคัดเลือกเป็นอธิการบดีคนต่อไปของธรรมศาสตร์ในขณะนี้จะทุ่มเทศักยภาพและความสามารถทั้งมวลให้กับการพลิกฟื้นธรรมศาสตร์จากความอับจนทางปัญญา โดยหยุดใช้ตำแหน่งอธิการไต่เต้าทางการเมือง และให้สัญญากับประชาคมว่า จะไม่ควบตำแหน่งการเมือง

Friday, July 23, 2010

จุดเปลี่ยนชนบท จุดเปลี่ยนฐานการเมือง

ศ.ดร. ผาสุก พงษ์ไพจิตร
คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อภิปราย ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
ในวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๓

ชนบทไทยเปลี่ยนแปลงไปแล้ว
ดร. ผาสุก เปิดประเด็นว่า การเปลี่ยนแปลงในชนบท โดยรวมเกิดขึ้นมานานแล้ว อย่างน้อย 15-20 ปี เพียงแต่ผลการวิเคราะห์ต่างๆ อาจจะตามไม่ทัน

เพราะหากดูสังคมโดยรวม เราจะพบว่า ในช่วง 30-40 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมหาศาล ซึ่งแสดงให้เห็นว่า รายได้ต่อหัวของคนไทยโดยรวม ได้มีการเปลี่ยนแปลงมาก จากปี 2523-2538 แค่ 10 กว่าปี รายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้น 3 เท่าโดยเฉลี่ยในราคาจริง เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมาก ที่สำคัญไม่ได้เปลี่ยนเฉพาะในสังคมเมือง แต่ยังเปลี่ยนในสังคมชนบทด้วย

การเปลี่ยนแปลงนี้มีนัยว่า ในช่วงรุ่นคนที่ผ่านมา ลูกๆ จะมีฐานะดีกว่ารุ่นพ่อ เขามีทรัพย์สินมากขึ้น มีความมุ่งหวังมากขึ้น และมีสิ่งต่างๆ ที่เขาจะต้องรักษาปกป้องมากขึ้น และต้องแข่งขันกับกลุ่มอื่นๆ มากขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังมีความต้องการต่างๆ ที่สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสินค้าสาธารณะ เช่น โรงเรียนที่มีคุณภาพดีขึ้น ระบบตุลาการ ระบบศาลที่เขาสามารถเข้าถึงได้ และได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น ชาวบ้านต้องการประปาเข้าไปในบ้าน ต้องการมีอินเทอร์เน็ตในหมูบ้าน ต้องการมีการรักษาสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นดีมานด์สำหรับผู้บริหาร สำหรับรัฐบาลทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ

นอกเหนือจากการเปลี่ยนทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ยังมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ก็คือ เรื่องการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ทำให้คนทั่วประเทศมีประสบการณ์เกี่ยวกับการเลือกตั้ง อย่างน้อย ในระดับท้องถิ่น 5 ครั้งต่อปี หรือทุกๆ 4 ปี ในระดับชาติ กระบวนการเลือกตั้งที่เกิดขึ้น ได้ส่งผลต่อวิถีชีวิตและทัศนคติของผู้คนทั่วประเทศอย่างมีนัยยะสำคัญ เพราะเขาได้เรียนรู้ในกระบวรการนี้ว่า การเลือกตั้งทั้งหลาย เป็นหนทางที่จะนำมาซึ่งงบประมาณต่างๆ และเข้าไปมีบทบาทกับกระบวนการ ตัดสินใจนโยบายอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

แล้วในกระบวนการที่เขาเข้าไปมีส่วนร่วม ในการเข้าไปโหวตเสียงเลือกตั้ง เมื่อมีเม็ดเงินที่มากขึ้น เขาก็สามารถที่จะปรับปรุงชีวิตให้ดีขึ้น และสามารถเรียกร้องได้ว่า ถนนคุณภาพต้องเปลี่ยนไป หรือโรงเรียน หรือประปาหมู่บ้าน สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นพลวัตซึ่งทำให้ทุกคนในประเทศมีความตื่นตัวและกระตือรือร้นที่จะปรับปรุงชีวิตตนเอง และค่อนข้างยินดีปรีดาไปกับกระบวนการทางการเมือง

ไทยรักไทย ...จุดเปลี่ยนการเมืองไทย
เพราะหากเปรียบเทียบกับก่อนหน้านี้ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยลงไปหลังปี 2516 บวกกับ นิสิตนักศึกษา บวกกับกระบวนการประชาธิปไตยทั้งหลาย ที่พยายามจะไปบอกกับชาวบ้านว่า ต้องลงไปออกเสียงเลือกตั้ง(นะ) เพราะประชาธิปไตยต้องไปออกเสียงเลือกตั้ง แต่ตอนนั้นชาวบ้านก็งงๆ ไปเลือกตั้ง นักการเมืองให้คำสัญญา แต่ก็ไม่เกิดอะไรขึ้น

กระทั่งการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในปี 2001 สืบเนื่องมาจากการก่อตั้งพรรคไทยรักไทยและคุณทักษิณ ชินวัตร ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าปรากฏการณ์นี้ ทำให้ความมุ่งหวังของชาวบ้าน ซึ่งเมื่อก่อนนี้ฟังเฉยๆ แล้วไม่เกิดอะไรขึ้น กลับได้ประสบการณ์ว่า การเลือกตั้งของเขาได้ผลจริงๆ เพราะมันมีอะไรที่มาถึงตัวเขาจริงๆ

และเราต้องไม่ปฏิเสธด้วยว่า พรรคนี้ นโยบายต่างๆ อาจจะมีปัญหาด้านคุณภาพ แต่ก็เป็นพรรคแรกที่ทำทุกอย่างที่ได้สัญญาไว้ ที่พูดก็เพื่อให้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจริงๆ แล้วสิ่งที่โน้มน้าวชาวบ้านให้มีทัศนคติที่เปลี่ยนไป ไม่ใช่เป็นความเพ้อฝัน แต่เป็นสิ่งที่เขาได้ประสบมาก เกิดการจับต้องกับสิ่งที่มีผลกระทบกับเขาโดยตรง

ประการต่อมา ภาคชนบทไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างแน่นอนและการเปลี่ยนแปลงนี้ ก็มากับการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจในระดับรวมของประเทศ ซึ่งในกระบวนการเปลี่ยนแปลง ทุกคนดีขึ้น แต่แน่นอนว่า การดีขึ้นของแต่ละกลุ่มมันไม่เท่ากัน ฉะนั้น เราจึงมีการพูดกันถึงความเหลื่อมล้ำ แต่การพูดเรื่องความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองกับชนบท หรือวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองกับชนบทอย่างเดียว จะไม่ละเอียด

จริงๆ แล้ว ในแต่ละภายในของแต่ละภาคของประเทศ มันมีความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นหลายระดับ ในชนบทเองความเหลื่อมล้ำกระทบกับกลุ่มคนต่างๆ ไม่เท่ากัน ในเมืองก็เช่นกัน ถ้าหากเราลงไปดูรายละเอียด เราสามารถแบ่งกลุ่มต่างๆ และมองเห็นว่า มีกลุ่มชนชั้นกลางใหม่เกิดขึ้น

นี่คือ จุดกำเนิดคนเสื้อแดง

ดังนั้น การพูดเรื่องความเหลื่อมล้ำ เรายังต้องพูดอยู่ แต่อาจจะต้อไปดูให้ละเอียดขึ้น และไม่ใช่ดูเฉพาะความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจหรือรายได้สถานเดียว เพราะความเหลื่อมล้ำมีทั้งเรื่องความเหลื่อมล้ำทางอำนาจ

ยกตัวอย่างเช่น ลูกศิษย์ดิฉันลงพื้นที่ไปพูดคุยกับคนเสื้อแดง ถามว่า ที่พูดถึงไพร่และอำมาตย์หมายถึงอะไร เขาได้คำตอบมาว่า การมีอำนาจไม่เท่าเทียมกัน จึงนำมาสู่ ปัญหาเรื่อง 2 มาตรฐาน ฉะนั้น เขาจึงใช่ไพร่และอำมาตย์เป็นสัญลักษณ์มากกว่าที่จะหมายถึงอย่างนั้นจริงๆ

นอกจากนี้ ยังมีความเหลื่อมล้ำในเรื่องศักดิ์ศรี หรือการแสดงความนับถือระหว่างกัน อย่างงานวิจัยของอาจารย์อภิชาติ(สถิตนิรามัย ) พบว่า ที่ไปร่วมกับเสื้อแดงเพราะโดนดูถูก

ดิฉันไปพบคนไทยที่มาจากภาคอีสานเชื้อสายจีน ไปอยู่ที่อเมริกา เขาบอกว่าเขาเสียใจมาก และเกลียดคนเสื้อเหลืองมาก เพราะถึงแม้จะไม่ได้เจอด้วยตัวเอง แต่ฟังเอเอสทีวีแล้วบอกว่าคนอีสานถูกหลอกง่าย ทัศนคติอันนี้ก็กระจายไปทั่วโลก ดิฉันอยู่ในประเทศญี่ปุ่น เมื่อ 3 เดือนที่แล้ว เขาลงข่าวว่า คนเสื้อแดง มากรุงเทพฯ เพราะถูกจ้างมา เพราะไม่เคยเห็นดีพาร์ทเม้นท์สโตร อยากจะมาเห็นร้านหรูหราในกรุงเทพฯ นี่คือภาพที่ออกไปทั่วโลก ฉะนั้น มิติความเหลื่อมล้ำ จึงไม่ได้อยู่แค่ เรื่องรายได้สถานเดียว

นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงความเหลื่อมล้ำ ในแง่ความอยากได้ใคร่ดี หรือการวาดฝันของตัวเองกับครอบครัว พลวัตกำลังเกิดขึ้น ในขณะเดียวกันก็เกิดสิ่งที่เรียกว่า Raising Aspiration แต่ Raising Aspiration อาจจะไม่ประสบผล เพราะว่าสังคมยังมีสิ่งที่เรียกว่าเพดานที่มองไม่เห็น

เพดานที่มองไม่เห็นที่มันกดทับเอาไว้ มันเกี่ยวโยงกับเรื่องต่างๆ เกี่ยวโยงกับเรื่องความไม่เท่าเทียมกันในเรื่องอำนาจทางการเมือง ความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงสินค้าสาธารณะต่างๆ เช่น คุณส่งลูกไปเรียนมัธยมที่ต่างจังหวัด คุณภาพไม่ดีเท่ากับโรงเรียนกรุงเทพ ฯ ลูกคุณที่มาแข่งกับเด็กที่เรียนในโรงเรียนคูณภาพดีดีในเมืองใหญ่ไม่ได้

หรือ คุณมีปัญหาขึ้นศาล ถ้าไม่มีเงินจ่ายเพียงพอ หรือไม่มีคอนเน็กชั่น คุณก็อาจจะแพ้หรือมีปัญหา สิ่งเหล่านี้นักทฤษฎีบอกว่า จริงๆ แล้ว ความเหลื่อมล้ำหรือขนาดของความเหลื่อมล้ำอาจไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่มันเป็นเรื่องที่มีความคาดหวัง หรือเรื่องที่เกิดพลวัตขึ้น ไม่สามารถจะก้าวต่อไปได้ มาถึงจุดหนึ่งแล้วเจอเพดานที่มองไม่เห็น ตรงนี้จะทำให้เกิดความขับข้องใจ ไม่พึงพอใจ

เพราะความเหลื่อมล้ำโดยตัวของมันเองเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่เฉพาะในเมืองไทยแต่เกิดขึ้นทั่วโลก ฉะนั้น สิ่งที่เราจะต้องตั้งคำถามก็คือว่า มีจุดประกายอะไรที่ทำให้เกิดขบวนการขึ้น

การเมืองจะย้อนหลังไปหลังปี 2516 หรืออย่างไร
ฉะนั้น ในงานเขียนของดิฉันจะบอกว่า ไม่ใช่ความยากจนแบบจนแทบตายเหมือนแต่ก่อนแล้ว แต่มันเป็นเรื่องว่า จากนี้จะไปไหนต่อไป ไปได้ถึงฝั่งหรือเปล่า ยังไม่ทันถึงฝั่งเลย ผู้นำก็ถูกเด็ดหัวไปแล้ว หรือไม่ทันไปถึงไหนเลย อ้าว ! ต้องการย้อนกลับไปสู่หลัง 2516 นี่มัน 2553 นะเนี่ย แล้วจะกลับไปหลัง 2516 หรือ อย่างไร

ในขณะเดียวกัน ก็มีการตั้งคำถามว่า กระทรวงมหาดไทย หลัง 2516 มาขยายประเด็นเรื่องการเลือกตั้ง เรื่องกระบวนการประชาธิปไตย แล้ว 2553 ทำไม พยายามย้อนกลับไป 2516 หรือ อาจจะหลัง 2519 ประชาชนก็รู้สึกงง

นอกจากนี้ กระบวนการหางานทำของชนบทไทย ที่ต้องหางานทำจากนอกภาคเกษตร ทำให้เขาต้องเดินทางไปต่างประเทศด้วย ฉะนั้น โลกทัศน์ และวิถีชีวิตการมองโลกของเขาเปลี่ยนไป ขณะที่แบบแผนชีวิตก็เปลี่ยนไป ฉะนั้น น่าสนใจคือ เราไม่สามารถพูดถึงชนบทไทยอย่างในอดีตได้อีกแล้ว แม้กระทั่งชาวไทยภูเขาที่อยู่บนยอดเขาแล้วไม่ค่อยได้ลงมาข้างล่าง เขาก็มีความโยงใยกับโลกภายนอกอย่างแน่นอน รายได้ที่เขาได้มาส่วนหนึ่งจากการขายสินค้ายังต่างประเทศ

อีกเรื่องคือ ระบบอุปถัมภ์ มันเป็นระบบความสัมพันธ์จากสังคมที่มีความไม่เท่าเทียมกัน ถ้าคุณอยู่ในสังคมที่มีความเท่าเทียมกันสูง ระบบอุปถัมภ์จะไม่ค่อยมี เพราะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างคนระดับสูงและคนระดับล่างที่ต้องต่างตอบแทนกัน คนระดับสูงกว่ามีอำนาจมากกว่า ก็จะช่วยคนระดับล่างได้มากกว่า คนระดับล่างไม่สามารถจะไปพึ่งคนอื่น ต้องพึ่งความสัมพันธ์ส่วนตัว ไปหาทหาร ตำรวจ

แต่ถ้าคุณอยู่อเมริกา คุณอาจไม่ต้องทำอย่างนั้น เพราะคุณอาจจะมั่นใจได้ว่ามันมีความเป็นธรรม รัฐบาลยังอาจให้เงินอุดหนุนคุณ ในการไปฟ้องร้อง เวลาคุณมีปัญหาขึ้นโรงขึ้นศาล จ้างทนายไม่ได้

ฉะนั้น การที่พบว่า ระบบอุมถัมภ์ มันชักจะไม่เหมือนเดิมแล้ว มันได้แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในความเหลื่อมล้ำที่มันสูงขึ้น ก็มีความเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่ว่า ทำให้คนเมื่อก่อนที่อาจจะเหลื่อมล้ำมาก ขยับมาใกล้บ้านใหญ่ขึ้น สามารถช่วยตัวเองได้ ฉะนั้น การวิเคราะห์การเมืองไทย โดยพยายามหันไปองระบบอุปถัมภ์เหมือนเดิม อาจไม่ได้แล้ว

การเมืองไทยจะไปทางไหน
นอกจากนี้ ยังมีความน่าสนใจที่ว่า ท้องถิ่นนิยมเกิดขึ้นเพราะนโยบายมีผลเป็นหย่อมๆ แล้วนำไปสู่ขั้วความขัดแย้ง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้เข้ามามีบทบาท แต่ปัญหาก็คือว่า ผู้ที่ต้องการดึงการเมืองกลับไปหลัง 2516 ยังไม่ได้ตระหนัก ว่า ได้มีการสถาปนา การเมืองใหม่ในเมืองไทย ที่ลงรากลึกตามสมควร

ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา ระบอบประชาธิปไตย เราอาจจะมองว่ามันส่งผลดีกับนักการเมืองส่วนหัว ทำให้เขาร่ำรวย แต่ถ้ามองลึกลงไปแล้ว เราจะพบว่า ส.ส. 400 หรือ 500 คนในประเทศ เป็นส่วนหัวก็จริง แต่คนเหล่านี้มีเครือข่ายขยายไปทั่ว ประเทศ แล้วความคิดที่ว่า เราใช้กฎหมายกำจัดนักการเมืองไม่ให้ลงเลือกตั้ง 5 ปี กำจัดไป ๆ ก็จะทำให้เกิดน้ำดีขึ้นมา แล้วไม่มีแรงต่อต้าน มันสะท้อนว่า คนที่คิดยังไม่เข้าใจว่ากระบวนการเปลี่ยนแปลงทั้งหลาย ได้มีเครือข่ายกระจายลงไปถึงระดับล่างแล้ว ฉะนั้น การเด็ดส่วนหัวทิ้ง หรือพยายามตัดส่วนกลางออกไป แล้วสร้างระบบใหม่ จากข้างล่างขึ้นมาอีก เป็นเรื่องที่ทำได้ยากมาก

อีกประเด็นคือ เรื่องการปฏิรูป หลังปี 2519 เมื่อเกิดเหตุการณ์ เข้าใจว่ามีการทำรายงานเกี่ยวกับ” การเมืองไทยจะไปทางไหน” แต่สำหรับคราวนี้ คณะกรรมการปฏิรูป 2 ชุด (คณะกรรมการปฎิรูป-คปร.นายอานันท์ ปันยารชุนเป็นประธาน และคณะกรรมการสมัชชาปฎิรูป ที่มี นพ.ประเวศ วะสี เป็นประธาน ) คาดเดาว่า คงจะต้องพูดถึงเรื่องต่อไปนี้

1. การตรวจสอบในกรอบประชาธิปไตย
2. การปรับเปลี่ยนบทบาทของสถาบันในการเมืองในอนาคตจะเป็นอย่างไร
3. บทบาทกระบวนการยุติธรรม

เพราะในช่วง 2-3 ที่ผ่านมา ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก บทบาทตรงนี้จะสร้างสมดุลย่างไร และประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างเป็นธรรม

จะคอยดูว่า คณะกรรมการทั้ง 2 ชุดพูดถึงบทบาทของกองทัพอย่างไรบ้าง
นอกจากนี้ ดิฉันอยากดูว่า จะมีการพูดถึงหรือไม่ถึงบทบาทของกองทัพ จะมีการพูดหรือวิเคราะห์กันหรือไม่ เพราะขณะนี้ชัดเจนว่า การเมืองที่เปิดและประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมมากขึ้น บทบาทกองทัพ เป็นองค์ประกอบนอกรัฐสภา ที่สามารถจะเข้ามาแทรกแซงได้ตลอดเวลาอย่างช่วงที่ผ่านมา มันไม่เป็นผลบวกกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงในทางการเมืองที่จะสร้างสันติสุขในสังคมไทย

และถ้าหากเปรียบเทียบกับอินโดนีเซีย ก็มีคนตั้งข้อสังเกตว่า หลังประธานาธิปดี ซูฮาร์โต แห่งอินโดนีเซีย ถูกปัดออกไป คนชั้นนำของอินโดนีเซีย ก็ดูเหมือนจะมีความเห็นพ้องต้องกันว่าจะต้อง ให้กองทัพมีบทบาทน้อยลงในกระบวนการการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ตรงนี้มีความสำคัญ เนื่องจากชนชั้นนำ ที่เข้ามาสนับสนุนกองทัพ กองทัพก็ ต้องมองตัวเองและปรับตัวเองตามสมควร ในกรณีของอินโดนีเซีย

แต่ในกรณีของไทย มีคนตั้งข้อสังเกตว่า กลุ่มชนชั้นนำหลักๆ ของไทย ได้แก่ กลุ่มนักธุรกิจขนาดใหญ่ กลุ่มข้าราชการ กลุ่มนิยมเจ้า หรือคนชั้นกลางส่วนหัวจำนวนหนึ่ง ยังพอใจที่จะพึ่งกองทัพเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการเมือง

ในสังคมไทย ถ้าเป็นอย่างนี้ เราจะมีปัญหาอยู่เรื่อยๆ จึงอยากจะคอยดูว่า คณะกรรมการทั้ง 2 ชุด พูดถึงบทบาทของกองทัพอย่างไรบ้าง !!!

จุดเปลี่ยนชนบท จุดเปลี่ยนฐานการเมือง

ศ.ดร. ผาสุก พงษ์ไพจิตร
คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อภิปราย ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
ในวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๓

ชนบทไทยเปลี่ยนแปลงไปแล้ว
ดร. ผาสุก เปิดประเด็นว่า การเปลี่ยนแปลงในชนบท โดยรวมเกิดขึ้นมานานแล้ว อย่างน้อย 15-20 ปี เพียงแต่ผลการวิเคราะห์ต่างๆ อาจจะตามไม่ทัน

เพราะหากดูสังคมโดยรวม เราจะพบว่า ในช่วง 30-40 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมหาศาล ซึ่งแสดงให้เห็นว่า รายได้ต่อหัวของคนไทยโดยรวม ได้มีการเปลี่ยนแปลงมาก จากปี 2523-2538 แค่ 10 กว่าปี รายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้น 3 เท่าโดยเฉลี่ยในราคาจริง เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมาก ที่สำคัญไม่ได้เปลี่ยนเฉพาะในสังคมเมือง แต่ยังเปลี่ยนในสังคมชนบทด้วย

การเปลี่ยนแปลงนี้มีนัยว่า ในช่วงรุ่นคนที่ผ่านมา ลูกๆ จะมีฐานะดีกว่ารุ่นพ่อ เขามีทรัพย์สินมากขึ้น มีความมุ่งหวังมากขึ้น และมีสิ่งต่างๆ ที่เขาจะต้องรักษาปกป้องมากขึ้น และต้องแข่งขันกับกลุ่มอื่นๆ มากขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังมีความต้องการต่างๆ ที่สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสินค้าสาธารณะ เช่น โรงเรียนที่มีคุณภาพดีขึ้น ระบบตุลาการ ระบบศาลที่เขาสามารถเข้าถึงได้ และได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น ชาวบ้านต้องการประปาเข้าไปในบ้าน ต้องการมีอินเทอร์เน็ตในหมูบ้าน ต้องการมีการรักษาสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นดีมานด์สำหรับผู้บริหาร สำหรับรัฐบาลทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ

นอกเหนือจากการเปลี่ยนทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ยังมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ก็คือ เรื่องการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ทำให้คนทั่วประเทศมีประสบการณ์เกี่ยวกับการเลือกตั้ง อย่างน้อย ในระดับท้องถิ่น 5 ครั้งต่อปี หรือทุกๆ 4 ปี ในระดับชาติ กระบวนการเลือกตั้งที่เกิดขึ้น ได้ส่งผลต่อวิถีชีวิตและทัศนคติของผู้คนทั่วประเทศอย่างมีนัยยะสำคัญ เพราะเขาได้เรียนรู้ในกระบวรการนี้ว่า การเลือกตั้งทั้งหลาย เป็นหนทางที่จะนำมาซึ่งงบประมาณต่างๆ และเข้าไปมีบทบาทกับกระบวนการ ตัดสินใจนโยบายอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

แล้วในกระบวนการที่เขาเข้าไปมีส่วนร่วม ในการเข้าไปโหวตเสียงเลือกตั้ง เมื่อมีเม็ดเงินที่มากขึ้น เขาก็สามารถที่จะปรับปรุงชีวิตให้ดีขึ้น และสามารถเรียกร้องได้ว่า ถนนคุณภาพต้องเปลี่ยนไป หรือโรงเรียน หรือประปาหมู่บ้าน สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นพลวัตซึ่งทำให้ทุกคนในประเทศมีความตื่นตัวและกระตือรือร้นที่จะปรับปรุงชีวิตตนเอง และค่อนข้างยินดีปรีดาไปกับกระบวนการทางการเมือง

ไทยรักไทย ...จุดเปลี่ยนการเมืองไทย
เพราะหากเปรียบเทียบกับก่อนหน้านี้ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยลงไปหลังปี 2516 บวกกับ นิสิตนักศึกษา บวกกับกระบวนการประชาธิปไตยทั้งหลาย ที่พยายามจะไปบอกกับชาวบ้านว่า ต้องลงไปออกเสียงเลือกตั้ง(นะ) เพราะประชาธิปไตยต้องไปออกเสียงเลือกตั้ง แต่ตอนนั้นชาวบ้านก็งงๆ ไปเลือกตั้ง นักการเมืองให้คำสัญญา แต่ก็ไม่เกิดอะไรขึ้น

กระทั่งการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในปี 2001 สืบเนื่องมาจากการก่อตั้งพรรคไทยรักไทยและคุณทักษิณ ชินวัตร ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าปรากฏการณ์นี้ ทำให้ความมุ่งหวังของชาวบ้าน ซึ่งเมื่อก่อนนี้ฟังเฉยๆ แล้วไม่เกิดอะไรขึ้น กลับได้ประสบการณ์ว่า การเลือกตั้งของเขาได้ผลจริงๆ เพราะมันมีอะไรที่มาถึงตัวเขาจริงๆ

และเราต้องไม่ปฏิเสธด้วยว่า พรรคนี้ นโยบายต่างๆ อาจจะมีปัญหาด้านคุณภาพ แต่ก็เป็นพรรคแรกที่ทำทุกอย่างที่ได้สัญญาไว้ ที่พูดก็เพื่อให้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจริงๆ แล้วสิ่งที่โน้มน้าวชาวบ้านให้มีทัศนคติที่เปลี่ยนไป ไม่ใช่เป็นความเพ้อฝัน แต่เป็นสิ่งที่เขาได้ประสบมาก เกิดการจับต้องกับสิ่งที่มีผลกระทบกับเขาโดยตรง

ประการต่อมา ภาคชนบทไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างแน่นอนและการเปลี่ยนแปลงนี้ ก็มากับการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจในระดับรวมของประเทศ ซึ่งในกระบวนการเปลี่ยนแปลง ทุกคนดีขึ้น แต่แน่นอนว่า การดีขึ้นของแต่ละกลุ่มมันไม่เท่ากัน ฉะนั้น เราจึงมีการพูดกันถึงความเหลื่อมล้ำ แต่การพูดเรื่องความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองกับชนบท หรือวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองกับชนบทอย่างเดียว จะไม่ละเอียด

จริงๆ แล้ว ในแต่ละภายในของแต่ละภาคของประเทศ มันมีความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นหลายระดับ ในชนบทเองความเหลื่อมล้ำกระทบกับกลุ่มคนต่างๆ ไม่เท่ากัน ในเมืองก็เช่นกัน ถ้าหากเราลงไปดูรายละเอียด เราสามารถแบ่งกลุ่มต่างๆ และมองเห็นว่า มีกลุ่มชนชั้นกลางใหม่เกิดขึ้น

นี่คือ จุดกำเนิดคนเสื้อแดง

ดังนั้น การพูดเรื่องความเหลื่อมล้ำ เรายังต้องพูดอยู่ แต่อาจจะต้อไปดูให้ละเอียดขึ้น และไม่ใช่ดูเฉพาะความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจหรือรายได้สถานเดียว เพราะความเหลื่อมล้ำมีทั้งเรื่องความเหลื่อมล้ำทางอำนาจ

ยกตัวอย่างเช่น ลูกศิษย์ดิฉันลงพื้นที่ไปพูดคุยกับคนเสื้อแดง ถามว่า ที่พูดถึงไพร่และอำมาตย์หมายถึงอะไร เขาได้คำตอบมาว่า การมีอำนาจไม่เท่าเทียมกัน จึงนำมาสู่ ปัญหาเรื่อง 2 มาตรฐาน ฉะนั้น เขาจึงใช่ไพร่และอำมาตย์เป็นสัญลักษณ์มากกว่าที่จะหมายถึงอย่างนั้นจริงๆ

นอกจากนี้ ยังมีความเหลื่อมล้ำในเรื่องศักดิ์ศรี หรือการแสดงความนับถือระหว่างกัน อย่างงานวิจัยของอาจารย์อภิชาติ(สถิตนิรามัย ) พบว่า ที่ไปร่วมกับเสื้อแดงเพราะโดนดูถูก

ดิฉันไปพบคนไทยที่มาจากภาคอีสานเชื้อสายจีน ไปอยู่ที่อเมริกา เขาบอกว่าเขาเสียใจมาก และเกลียดคนเสื้อเหลืองมาก เพราะถึงแม้จะไม่ได้เจอด้วยตัวเอง แต่ฟังเอเอสทีวีแล้วบอกว่าคนอีสานถูกหลอกง่าย ทัศนคติอันนี้ก็กระจายไปทั่วโลก ดิฉันอยู่ในประเทศญี่ปุ่น เมื่อ 3 เดือนที่แล้ว เขาลงข่าวว่า คนเสื้อแดง มากรุงเทพฯ เพราะถูกจ้างมา เพราะไม่เคยเห็นดีพาร์ทเม้นท์สโตร อยากจะมาเห็นร้านหรูหราในกรุงเทพฯ นี่คือภาพที่ออกไปทั่วโลก ฉะนั้น มิติความเหลื่อมล้ำ จึงไม่ได้อยู่แค่ เรื่องรายได้สถานเดียว

นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงความเหลื่อมล้ำ ในแง่ความอยากได้ใคร่ดี หรือการวาดฝันของตัวเองกับครอบครัว พลวัตกำลังเกิดขึ้น ในขณะเดียวกันก็เกิดสิ่งที่เรียกว่า Raising Aspiration แต่ Raising Aspiration อาจจะไม่ประสบผล เพราะว่าสังคมยังมีสิ่งที่เรียกว่าเพดานที่มองไม่เห็น

เพดานที่มองไม่เห็นที่มันกดทับเอาไว้ มันเกี่ยวโยงกับเรื่องต่างๆ เกี่ยวโยงกับเรื่องความไม่เท่าเทียมกันในเรื่องอำนาจทางการเมือง ความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงสินค้าสาธารณะต่างๆ เช่น คุณส่งลูกไปเรียนมัธยมที่ต่างจังหวัด คุณภาพไม่ดีเท่ากับโรงเรียนกรุงเทพ ฯ ลูกคุณที่มาแข่งกับเด็กที่เรียนในโรงเรียนคูณภาพดีดีในเมืองใหญ่ไม่ได้

หรือ คุณมีปัญหาขึ้นศาล ถ้าไม่มีเงินจ่ายเพียงพอ หรือไม่มีคอนเน็กชั่น คุณก็อาจจะแพ้หรือมีปัญหา สิ่งเหล่านี้นักทฤษฎีบอกว่า จริงๆ แล้ว ความเหลื่อมล้ำหรือขนาดของความเหลื่อมล้ำอาจไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่มันเป็นเรื่องที่มีความคาดหวัง หรือเรื่องที่เกิดพลวัตขึ้น ไม่สามารถจะก้าวต่อไปได้ มาถึงจุดหนึ่งแล้วเจอเพดานที่มองไม่เห็น ตรงนี้จะทำให้เกิดความขับข้องใจ ไม่พึงพอใจ

เพราะความเหลื่อมล้ำโดยตัวของมันเองเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่เฉพาะในเมืองไทยแต่เกิดขึ้นทั่วโลก ฉะนั้น สิ่งที่เราจะต้องตั้งคำถามก็คือว่า มีจุดประกายอะไรที่ทำให้เกิดขบวนการขึ้น

การเมืองจะย้อนหลังไปหลังปี 2516 หรืออย่างไร
ฉะนั้น ในงานเขียนของดิฉันจะบอกว่า ไม่ใช่ความยากจนแบบจนแทบตายเหมือนแต่ก่อนแล้ว แต่มันเป็นเรื่องว่า จากนี้จะไปไหนต่อไป ไปได้ถึงฝั่งหรือเปล่า ยังไม่ทันถึงฝั่งเลย ผู้นำก็ถูกเด็ดหัวไปแล้ว หรือไม่ทันไปถึงไหนเลย อ้าว ! ต้องการย้อนกลับไปสู่หลัง 2516 นี่มัน 2553 นะเนี่ย แล้วจะกลับไปหลัง 2516 หรือ อย่างไร

ในขณะเดียวกัน ก็มีการตั้งคำถามว่า กระทรวงมหาดไทย หลัง 2516 มาขยายประเด็นเรื่องการเลือกตั้ง เรื่องกระบวนการประชาธิปไตย แล้ว 2553 ทำไม พยายามย้อนกลับไป 2516 หรือ อาจจะหลัง 2519 ประชาชนก็รู้สึกงง

นอกจากนี้ กระบวนการหางานทำของชนบทไทย ที่ต้องหางานทำจากนอกภาคเกษตร ทำให้เขาต้องเดินทางไปต่างประเทศด้วย ฉะนั้น โลกทัศน์ และวิถีชีวิตการมองโลกของเขาเปลี่ยนไป ขณะที่แบบแผนชีวิตก็เปลี่ยนไป ฉะนั้น น่าสนใจคือ เราไม่สามารถพูดถึงชนบทไทยอย่างในอดีตได้อีกแล้ว แม้กระทั่งชาวไทยภูเขาที่อยู่บนยอดเขาแล้วไม่ค่อยได้ลงมาข้างล่าง เขาก็มีความโยงใยกับโลกภายนอกอย่างแน่นอน รายได้ที่เขาได้มาส่วนหนึ่งจากการขายสินค้ายังต่างประเทศ

อีกเรื่องคือ ระบบอุปถัมภ์ มันเป็นระบบความสัมพันธ์จากสังคมที่มีความไม่เท่าเทียมกัน ถ้าคุณอยู่ในสังคมที่มีความเท่าเทียมกันสูง ระบบอุปถัมภ์จะไม่ค่อยมี เพราะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างคนระดับสูงและคนระดับล่างที่ต้องต่างตอบแทนกัน คนระดับสูงกว่ามีอำนาจมากกว่า ก็จะช่วยคนระดับล่างได้มากกว่า คนระดับล่างไม่สามารถจะไปพึ่งคนอื่น ต้องพึ่งความสัมพันธ์ส่วนตัว ไปหาทหาร ตำรวจ

แต่ถ้าคุณอยู่อเมริกา คุณอาจไม่ต้องทำอย่างนั้น เพราะคุณอาจจะมั่นใจได้ว่ามันมีความเป็นธรรม รัฐบาลยังอาจให้เงินอุดหนุนคุณ ในการไปฟ้องร้อง เวลาคุณมีปัญหาขึ้นโรงขึ้นศาล จ้างทนายไม่ได้

ฉะนั้น การที่พบว่า ระบบอุมถัมภ์ มันชักจะไม่เหมือนเดิมแล้ว มันได้แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในความเหลื่อมล้ำที่มันสูงขึ้น ก็มีความเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่ว่า ทำให้คนเมื่อก่อนที่อาจจะเหลื่อมล้ำมาก ขยับมาใกล้บ้านใหญ่ขึ้น สามารถช่วยตัวเองได้ ฉะนั้น การวิเคราะห์การเมืองไทย โดยพยายามหันไปองระบบอุปถัมภ์เหมือนเดิม อาจไม่ได้แล้ว

การเมืองไทยจะไปทางไหน
นอกจากนี้ ยังมีความน่าสนใจที่ว่า ท้องถิ่นนิยมเกิดขึ้นเพราะนโยบายมีผลเป็นหย่อมๆ แล้วนำไปสู่ขั้วความขัดแย้ง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้เข้ามามีบทบาท แต่ปัญหาก็คือว่า ผู้ที่ต้องการดึงการเมืองกลับไปหลัง 2516 ยังไม่ได้ตระหนัก ว่า ได้มีการสถาปนา การเมืองใหม่ในเมืองไทย ที่ลงรากลึกตามสมควร

ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา ระบอบประชาธิปไตย เราอาจจะมองว่ามันส่งผลดีกับนักการเมืองส่วนหัว ทำให้เขาร่ำรวย แต่ถ้ามองลึกลงไปแล้ว เราจะพบว่า ส.ส. 400 หรือ 500 คนในประเทศ เป็นส่วนหัวก็จริง แต่คนเหล่านี้มีเครือข่ายขยายไปทั่ว ประเทศ แล้วความคิดที่ว่า เราใช้กฎหมายกำจัดนักการเมืองไม่ให้ลงเลือกตั้ง 5 ปี กำจัดไป ๆ ก็จะทำให้เกิดน้ำดีขึ้นมา แล้วไม่มีแรงต่อต้าน มันสะท้อนว่า คนที่คิดยังไม่เข้าใจว่ากระบวนการเปลี่ยนแปลงทั้งหลาย ได้มีเครือข่ายกระจายลงไปถึงระดับล่างแล้ว ฉะนั้น การเด็ดส่วนหัวทิ้ง หรือพยายามตัดส่วนกลางออกไป แล้วสร้างระบบใหม่ จากข้างล่างขึ้นมาอีก เป็นเรื่องที่ทำได้ยากมาก

อีกประเด็นคือ เรื่องการปฏิรูป หลังปี 2519 เมื่อเกิดเหตุการณ์ เข้าใจว่ามีการทำรายงานเกี่ยวกับ” การเมืองไทยจะไปทางไหน” แต่สำหรับคราวนี้ คณะกรรมการปฏิรูป 2 ชุด (คณะกรรมการปฎิรูป-คปร.นายอานันท์ ปันยารชุนเป็นประธาน และคณะกรรมการสมัชชาปฎิรูป ที่มี นพ.ประเวศ วะสี เป็นประธาน ) คาดเดาว่า คงจะต้องพูดถึงเรื่องต่อไปนี้

1. การตรวจสอบในกรอบประชาธิปไตย
2. การปรับเปลี่ยนบทบาทของสถาบันในการเมืองในอนาคตจะเป็นอย่างไร
3. บทบาทกระบวนการยุติธรรม

เพราะในช่วง 2-3 ที่ผ่านมา ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก บทบาทตรงนี้จะสร้างสมดุลย่างไร และประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างเป็นธรรม

จะคอยดูว่า คณะกรรมการทั้ง 2 ชุดพูดถึงบทบาทของกองทัพอย่างไรบ้าง
นอกจากนี้ ดิฉันอยากดูว่า จะมีการพูดถึงหรือไม่ถึงบทบาทของกองทัพ จะมีการพูดหรือวิเคราะห์กันหรือไม่ เพราะขณะนี้ชัดเจนว่า การเมืองที่เปิดและประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมมากขึ้น บทบาทกองทัพ เป็นองค์ประกอบนอกรัฐสภา ที่สามารถจะเข้ามาแทรกแซงได้ตลอดเวลาอย่างช่วงที่ผ่านมา มันไม่เป็นผลบวกกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงในทางการเมืองที่จะสร้างสันติสุขในสังคมไทย

และถ้าหากเปรียบเทียบกับอินโดนีเซีย ก็มีคนตั้งข้อสังเกตว่า หลังประธานาธิปดี ซูฮาร์โต แห่งอินโดนีเซีย ถูกปัดออกไป คนชั้นนำของอินโดนีเซีย ก็ดูเหมือนจะมีความเห็นพ้องต้องกันว่าจะต้อง ให้กองทัพมีบทบาทน้อยลงในกระบวนการการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ตรงนี้มีความสำคัญ เนื่องจากชนชั้นนำ ที่เข้ามาสนับสนุนกองทัพ กองทัพก็ ต้องมองตัวเองและปรับตัวเองตามสมควร ในกรณีของอินโดนีเซีย

แต่ในกรณีของไทย มีคนตั้งข้อสังเกตว่า กลุ่มชนชั้นนำหลักๆ ของไทย ได้แก่ กลุ่มนักธุรกิจขนาดใหญ่ กลุ่มข้าราชการ กลุ่มนิยมเจ้า หรือคนชั้นกลางส่วนหัวจำนวนหนึ่ง ยังพอใจที่จะพึ่งกองทัพเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการเมือง

ในสังคมไทย ถ้าเป็นอย่างนี้ เราจะมีปัญหาอยู่เรื่อยๆ จึงอยากจะคอยดูว่า คณะกรรมการทั้ง 2 ชุด พูดถึงบทบาทของกองทัพอย่างไรบ้าง !!!

จุดเปลี่ยนชนบท จุดเปลี่ยนฐานการเมือง

ศ.ดร. ผาสุก พงษ์ไพจิตร
คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อภิปราย ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
ในวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๓

ชนบทไทยเปลี่ยนแปลงไปแล้ว
ดร. ผาสุก เปิดประเด็นว่า การเปลี่ยนแปลงในชนบท โดยรวมเกิดขึ้นมานานแล้ว อย่างน้อย 15-20 ปี เพียงแต่ผลการวิเคราะห์ต่างๆ อาจจะตามไม่ทัน

เพราะหากดูสังคมโดยรวม เราจะพบว่า ในช่วง 30-40 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมหาศาล ซึ่งแสดงให้เห็นว่า รายได้ต่อหัวของคนไทยโดยรวม ได้มีการเปลี่ยนแปลงมาก จากปี 2523-2538 แค่ 10 กว่าปี รายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้น 3 เท่าโดยเฉลี่ยในราคาจริง เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมาก ที่สำคัญไม่ได้เปลี่ยนเฉพาะในสังคมเมือง แต่ยังเปลี่ยนในสังคมชนบทด้วย

การเปลี่ยนแปลงนี้มีนัยว่า ในช่วงรุ่นคนที่ผ่านมา ลูกๆ จะมีฐานะดีกว่ารุ่นพ่อ เขามีทรัพย์สินมากขึ้น มีความมุ่งหวังมากขึ้น และมีสิ่งต่างๆ ที่เขาจะต้องรักษาปกป้องมากขึ้น และต้องแข่งขันกับกลุ่มอื่นๆ มากขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังมีความต้องการต่างๆ ที่สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสินค้าสาธารณะ เช่น โรงเรียนที่มีคุณภาพดีขึ้น ระบบตุลาการ ระบบศาลที่เขาสามารถเข้าถึงได้ และได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น ชาวบ้านต้องการประปาเข้าไปในบ้าน ต้องการมีอินเทอร์เน็ตในหมูบ้าน ต้องการมีการรักษาสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นดีมานด์สำหรับผู้บริหาร สำหรับรัฐบาลทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ

นอกเหนือจากการเปลี่ยนทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ยังมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ก็คือ เรื่องการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ทำให้คนทั่วประเทศมีประสบการณ์เกี่ยวกับการเลือกตั้ง อย่างน้อย ในระดับท้องถิ่น 5 ครั้งต่อปี หรือทุกๆ 4 ปี ในระดับชาติ กระบวนการเลือกตั้งที่เกิดขึ้น ได้ส่งผลต่อวิถีชีวิตและทัศนคติของผู้คนทั่วประเทศอย่างมีนัยยะสำคัญ เพราะเขาได้เรียนรู้ในกระบวรการนี้ว่า การเลือกตั้งทั้งหลาย เป็นหนทางที่จะนำมาซึ่งงบประมาณต่างๆ และเข้าไปมีบทบาทกับกระบวนการ ตัดสินใจนโยบายอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

แล้วในกระบวนการที่เขาเข้าไปมีส่วนร่วม ในการเข้าไปโหวตเสียงเลือกตั้ง เมื่อมีเม็ดเงินที่มากขึ้น เขาก็สามารถที่จะปรับปรุงชีวิตให้ดีขึ้น และสามารถเรียกร้องได้ว่า ถนนคุณภาพต้องเปลี่ยนไป หรือโรงเรียน หรือประปาหมู่บ้าน สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นพลวัตซึ่งทำให้ทุกคนในประเทศมีความตื่นตัวและกระตือรือร้นที่จะปรับปรุงชีวิตตนเอง และค่อนข้างยินดีปรีดาไปกับกระบวนการทางการเมือง

ไทยรักไทย ...จุดเปลี่ยนการเมืองไทย
เพราะหากเปรียบเทียบกับก่อนหน้านี้ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยลงไปหลังปี 2516 บวกกับ นิสิตนักศึกษา บวกกับกระบวนการประชาธิปไตยทั้งหลาย ที่พยายามจะไปบอกกับชาวบ้านว่า ต้องลงไปออกเสียงเลือกตั้ง(นะ) เพราะประชาธิปไตยต้องไปออกเสียงเลือกตั้ง แต่ตอนนั้นชาวบ้านก็งงๆ ไปเลือกตั้ง นักการเมืองให้คำสัญญา แต่ก็ไม่เกิดอะไรขึ้น

กระทั่งการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในปี 2001 สืบเนื่องมาจากการก่อตั้งพรรคไทยรักไทยและคุณทักษิณ ชินวัตร ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าปรากฏการณ์นี้ ทำให้ความมุ่งหวังของชาวบ้าน ซึ่งเมื่อก่อนนี้ฟังเฉยๆ แล้วไม่เกิดอะไรขึ้น กลับได้ประสบการณ์ว่า การเลือกตั้งของเขาได้ผลจริงๆ เพราะมันมีอะไรที่มาถึงตัวเขาจริงๆ

และเราต้องไม่ปฏิเสธด้วยว่า พรรคนี้ นโยบายต่างๆ อาจจะมีปัญหาด้านคุณภาพ แต่ก็เป็นพรรคแรกที่ทำทุกอย่างที่ได้สัญญาไว้ ที่พูดก็เพื่อให้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจริงๆ แล้วสิ่งที่โน้มน้าวชาวบ้านให้มีทัศนคติที่เปลี่ยนไป ไม่ใช่เป็นความเพ้อฝัน แต่เป็นสิ่งที่เขาได้ประสบมาก เกิดการจับต้องกับสิ่งที่มีผลกระทบกับเขาโดยตรง

ประการต่อมา ภาคชนบทไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างแน่นอนและการเปลี่ยนแปลงนี้ ก็มากับการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจในระดับรวมของประเทศ ซึ่งในกระบวนการเปลี่ยนแปลง ทุกคนดีขึ้น แต่แน่นอนว่า การดีขึ้นของแต่ละกลุ่มมันไม่เท่ากัน ฉะนั้น เราจึงมีการพูดกันถึงความเหลื่อมล้ำ แต่การพูดเรื่องความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองกับชนบท หรือวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองกับชนบทอย่างเดียว จะไม่ละเอียด

จริงๆ แล้ว ในแต่ละภายในของแต่ละภาคของประเทศ มันมีความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นหลายระดับ ในชนบทเองความเหลื่อมล้ำกระทบกับกลุ่มคนต่างๆ ไม่เท่ากัน ในเมืองก็เช่นกัน ถ้าหากเราลงไปดูรายละเอียด เราสามารถแบ่งกลุ่มต่างๆ และมองเห็นว่า มีกลุ่มชนชั้นกลางใหม่เกิดขึ้น

นี่คือ จุดกำเนิดคนเสื้อแดง

ดังนั้น การพูดเรื่องความเหลื่อมล้ำ เรายังต้องพูดอยู่ แต่อาจจะต้อไปดูให้ละเอียดขึ้น และไม่ใช่ดูเฉพาะความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจหรือรายได้สถานเดียว เพราะความเหลื่อมล้ำมีทั้งเรื่องความเหลื่อมล้ำทางอำนาจ

ยกตัวอย่างเช่น ลูกศิษย์ดิฉันลงพื้นที่ไปพูดคุยกับคนเสื้อแดง ถามว่า ที่พูดถึงไพร่และอำมาตย์หมายถึงอะไร เขาได้คำตอบมาว่า การมีอำนาจไม่เท่าเทียมกัน จึงนำมาสู่ ปัญหาเรื่อง 2 มาตรฐาน ฉะนั้น เขาจึงใช่ไพร่และอำมาตย์เป็นสัญลักษณ์มากกว่าที่จะหมายถึงอย่างนั้นจริงๆ

นอกจากนี้ ยังมีความเหลื่อมล้ำในเรื่องศักดิ์ศรี หรือการแสดงความนับถือระหว่างกัน อย่างงานวิจัยของอาจารย์อภิชาติ(สถิตนิรามัย ) พบว่า ที่ไปร่วมกับเสื้อแดงเพราะโดนดูถูก

ดิฉันไปพบคนไทยที่มาจากภาคอีสานเชื้อสายจีน ไปอยู่ที่อเมริกา เขาบอกว่าเขาเสียใจมาก และเกลียดคนเสื้อเหลืองมาก เพราะถึงแม้จะไม่ได้เจอด้วยตัวเอง แต่ฟังเอเอสทีวีแล้วบอกว่าคนอีสานถูกหลอกง่าย ทัศนคติอันนี้ก็กระจายไปทั่วโลก ดิฉันอยู่ในประเทศญี่ปุ่น เมื่อ 3 เดือนที่แล้ว เขาลงข่าวว่า คนเสื้อแดง มากรุงเทพฯ เพราะถูกจ้างมา เพราะไม่เคยเห็นดีพาร์ทเม้นท์สโตร อยากจะมาเห็นร้านหรูหราในกรุงเทพฯ นี่คือภาพที่ออกไปทั่วโลก ฉะนั้น มิติความเหลื่อมล้ำ จึงไม่ได้อยู่แค่ เรื่องรายได้สถานเดียว

นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงความเหลื่อมล้ำ ในแง่ความอยากได้ใคร่ดี หรือการวาดฝันของตัวเองกับครอบครัว พลวัตกำลังเกิดขึ้น ในขณะเดียวกันก็เกิดสิ่งที่เรียกว่า Raising Aspiration แต่ Raising Aspiration อาจจะไม่ประสบผล เพราะว่าสังคมยังมีสิ่งที่เรียกว่าเพดานที่มองไม่เห็น

เพดานที่มองไม่เห็นที่มันกดทับเอาไว้ มันเกี่ยวโยงกับเรื่องต่างๆ เกี่ยวโยงกับเรื่องความไม่เท่าเทียมกันในเรื่องอำนาจทางการเมือง ความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงสินค้าสาธารณะต่างๆ เช่น คุณส่งลูกไปเรียนมัธยมที่ต่างจังหวัด คุณภาพไม่ดีเท่ากับโรงเรียนกรุงเทพ ฯ ลูกคุณที่มาแข่งกับเด็กที่เรียนในโรงเรียนคูณภาพดีดีในเมืองใหญ่ไม่ได้

หรือ คุณมีปัญหาขึ้นศาล ถ้าไม่มีเงินจ่ายเพียงพอ หรือไม่มีคอนเน็กชั่น คุณก็อาจจะแพ้หรือมีปัญหา สิ่งเหล่านี้นักทฤษฎีบอกว่า จริงๆ แล้ว ความเหลื่อมล้ำหรือขนาดของความเหลื่อมล้ำอาจไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่มันเป็นเรื่องที่มีความคาดหวัง หรือเรื่องที่เกิดพลวัตขึ้น ไม่สามารถจะก้าวต่อไปได้ มาถึงจุดหนึ่งแล้วเจอเพดานที่มองไม่เห็น ตรงนี้จะทำให้เกิดความขับข้องใจ ไม่พึงพอใจ

เพราะความเหลื่อมล้ำโดยตัวของมันเองเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่เฉพาะในเมืองไทยแต่เกิดขึ้นทั่วโลก ฉะนั้น สิ่งที่เราจะต้องตั้งคำถามก็คือว่า มีจุดประกายอะไรที่ทำให้เกิดขบวนการขึ้น

การเมืองจะย้อนหลังไปหลังปี 2516 หรืออย่างไร
ฉะนั้น ในงานเขียนของดิฉันจะบอกว่า ไม่ใช่ความยากจนแบบจนแทบตายเหมือนแต่ก่อนแล้ว แต่มันเป็นเรื่องว่า จากนี้จะไปไหนต่อไป ไปได้ถึงฝั่งหรือเปล่า ยังไม่ทันถึงฝั่งเลย ผู้นำก็ถูกเด็ดหัวไปแล้ว หรือไม่ทันไปถึงไหนเลย อ้าว ! ต้องการย้อนกลับไปสู่หลัง 2516 นี่มัน 2553 นะเนี่ย แล้วจะกลับไปหลัง 2516 หรือ อย่างไร

ในขณะเดียวกัน ก็มีการตั้งคำถามว่า กระทรวงมหาดไทย หลัง 2516 มาขยายประเด็นเรื่องการเลือกตั้ง เรื่องกระบวนการประชาธิปไตย แล้ว 2553 ทำไม พยายามย้อนกลับไป 2516 หรือ อาจจะหลัง 2519 ประชาชนก็รู้สึกงง

นอกจากนี้ กระบวนการหางานทำของชนบทไทย ที่ต้องหางานทำจากนอกภาคเกษตร ทำให้เขาต้องเดินทางไปต่างประเทศด้วย ฉะนั้น โลกทัศน์ และวิถีชีวิตการมองโลกของเขาเปลี่ยนไป ขณะที่แบบแผนชีวิตก็เปลี่ยนไป ฉะนั้น น่าสนใจคือ เราไม่สามารถพูดถึงชนบทไทยอย่างในอดีตได้อีกแล้ว แม้กระทั่งชาวไทยภูเขาที่อยู่บนยอดเขาแล้วไม่ค่อยได้ลงมาข้างล่าง เขาก็มีความโยงใยกับโลกภายนอกอย่างแน่นอน รายได้ที่เขาได้มาส่วนหนึ่งจากการขายสินค้ายังต่างประเทศ

อีกเรื่องคือ ระบบอุปถัมภ์ มันเป็นระบบความสัมพันธ์จากสังคมที่มีความไม่เท่าเทียมกัน ถ้าคุณอยู่ในสังคมที่มีความเท่าเทียมกันสูง ระบบอุปถัมภ์จะไม่ค่อยมี เพราะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างคนระดับสูงและคนระดับล่างที่ต้องต่างตอบแทนกัน คนระดับสูงกว่ามีอำนาจมากกว่า ก็จะช่วยคนระดับล่างได้มากกว่า คนระดับล่างไม่สามารถจะไปพึ่งคนอื่น ต้องพึ่งความสัมพันธ์ส่วนตัว ไปหาทหาร ตำรวจ

แต่ถ้าคุณอยู่อเมริกา คุณอาจไม่ต้องทำอย่างนั้น เพราะคุณอาจจะมั่นใจได้ว่ามันมีความเป็นธรรม รัฐบาลยังอาจให้เงินอุดหนุนคุณ ในการไปฟ้องร้อง เวลาคุณมีปัญหาขึ้นโรงขึ้นศาล จ้างทนายไม่ได้

ฉะนั้น การที่พบว่า ระบบอุมถัมภ์ มันชักจะไม่เหมือนเดิมแล้ว มันได้แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในความเหลื่อมล้ำที่มันสูงขึ้น ก็มีความเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่ว่า ทำให้คนเมื่อก่อนที่อาจจะเหลื่อมล้ำมาก ขยับมาใกล้บ้านใหญ่ขึ้น สามารถช่วยตัวเองได้ ฉะนั้น การวิเคราะห์การเมืองไทย โดยพยายามหันไปองระบบอุปถัมภ์เหมือนเดิม อาจไม่ได้แล้ว

การเมืองไทยจะไปทางไหน
นอกจากนี้ ยังมีความน่าสนใจที่ว่า ท้องถิ่นนิยมเกิดขึ้นเพราะนโยบายมีผลเป็นหย่อมๆ แล้วนำไปสู่ขั้วความขัดแย้ง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้เข้ามามีบทบาท แต่ปัญหาก็คือว่า ผู้ที่ต้องการดึงการเมืองกลับไปหลัง 2516 ยังไม่ได้ตระหนัก ว่า ได้มีการสถาปนา การเมืองใหม่ในเมืองไทย ที่ลงรากลึกตามสมควร

ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา ระบอบประชาธิปไตย เราอาจจะมองว่ามันส่งผลดีกับนักการเมืองส่วนหัว ทำให้เขาร่ำรวย แต่ถ้ามองลึกลงไปแล้ว เราจะพบว่า ส.ส. 400 หรือ 500 คนในประเทศ เป็นส่วนหัวก็จริง แต่คนเหล่านี้มีเครือข่ายขยายไปทั่ว ประเทศ แล้วความคิดที่ว่า เราใช้กฎหมายกำจัดนักการเมืองไม่ให้ลงเลือกตั้ง 5 ปี กำจัดไป ๆ ก็จะทำให้เกิดน้ำดีขึ้นมา แล้วไม่มีแรงต่อต้าน มันสะท้อนว่า คนที่คิดยังไม่เข้าใจว่ากระบวนการเปลี่ยนแปลงทั้งหลาย ได้มีเครือข่ายกระจายลงไปถึงระดับล่างแล้ว ฉะนั้น การเด็ดส่วนหัวทิ้ง หรือพยายามตัดส่วนกลางออกไป แล้วสร้างระบบใหม่ จากข้างล่างขึ้นมาอีก เป็นเรื่องที่ทำได้ยากมาก

อีกประเด็นคือ เรื่องการปฏิรูป หลังปี 2519 เมื่อเกิดเหตุการณ์ เข้าใจว่ามีการทำรายงานเกี่ยวกับ” การเมืองไทยจะไปทางไหน” แต่สำหรับคราวนี้ คณะกรรมการปฏิรูป 2 ชุด (คณะกรรมการปฎิรูป-คปร.นายอานันท์ ปันยารชุนเป็นประธาน และคณะกรรมการสมัชชาปฎิรูป ที่มี นพ.ประเวศ วะสี เป็นประธาน ) คาดเดาว่า คงจะต้องพูดถึงเรื่องต่อไปนี้

1. การตรวจสอบในกรอบประชาธิปไตย
2. การปรับเปลี่ยนบทบาทของสถาบันในการเมืองในอนาคตจะเป็นอย่างไร
3. บทบาทกระบวนการยุติธรรม

เพราะในช่วง 2-3 ที่ผ่านมา ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก บทบาทตรงนี้จะสร้างสมดุลย่างไร และประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างเป็นธรรม

จะคอยดูว่า คณะกรรมการทั้ง 2 ชุดพูดถึงบทบาทของกองทัพอย่างไรบ้าง
นอกจากนี้ ดิฉันอยากดูว่า จะมีการพูดถึงหรือไม่ถึงบทบาทของกองทัพ จะมีการพูดหรือวิเคราะห์กันหรือไม่ เพราะขณะนี้ชัดเจนว่า การเมืองที่เปิดและประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมมากขึ้น บทบาทกองทัพ เป็นองค์ประกอบนอกรัฐสภา ที่สามารถจะเข้ามาแทรกแซงได้ตลอดเวลาอย่างช่วงที่ผ่านมา มันไม่เป็นผลบวกกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงในทางการเมืองที่จะสร้างสันติสุขในสังคมไทย

และถ้าหากเปรียบเทียบกับอินโดนีเซีย ก็มีคนตั้งข้อสังเกตว่า หลังประธานาธิปดี ซูฮาร์โต แห่งอินโดนีเซีย ถูกปัดออกไป คนชั้นนำของอินโดนีเซีย ก็ดูเหมือนจะมีความเห็นพ้องต้องกันว่าจะต้อง ให้กองทัพมีบทบาทน้อยลงในกระบวนการการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ตรงนี้มีความสำคัญ เนื่องจากชนชั้นนำ ที่เข้ามาสนับสนุนกองทัพ กองทัพก็ ต้องมองตัวเองและปรับตัวเองตามสมควร ในกรณีของอินโดนีเซีย

แต่ในกรณีของไทย มีคนตั้งข้อสังเกตว่า กลุ่มชนชั้นนำหลักๆ ของไทย ได้แก่ กลุ่มนักธุรกิจขนาดใหญ่ กลุ่มข้าราชการ กลุ่มนิยมเจ้า หรือคนชั้นกลางส่วนหัวจำนวนหนึ่ง ยังพอใจที่จะพึ่งกองทัพเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการเมือง

ในสังคมไทย ถ้าเป็นอย่างนี้ เราจะมีปัญหาอยู่เรื่อยๆ จึงอยากจะคอยดูว่า คณะกรรมการทั้ง 2 ชุด พูดถึงบทบาทของกองทัพอย่างไรบ้าง !!!

Thursday, July 22, 2010

กระดูกสันหลังของไทย

ยายสา

นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมปลูกข้าวส่งออกมากที่สุดอันดับหนึ่งของโลก โดยมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวปีละประมาณ 56-58 ล้านไร่ ได้ผลผลิตปีละประมาณ 28-30 ล้านตันข้าวเปลือก อีกทั้งข้าวยังเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญที่สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศปีละประมาณ 80,000-100,000 ล้านบาท แต่กลับพบว่า อาชีพทำนาเป็นกลุ่มอาชีพที่มีฐานะยากจนมากที่สุด เมื่อเทียบกับกลุ่มอาชีพอื่นๆ ซึ่งจากการสำรวจของ สศก.ในปีการผลิต 2547/2548 พบว่า รายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 594 บาท/คน/เดือน ซึ่งยังต่ำกว่าเส้นความยากจนในปี 2548 ซึ่งมีค่า 1,230 บาทต่อเดือนต่อคน
ชาวนาไทยต้องแบกภาระความเสี่ยงกันเอาเอง โดยที่รัฐบาลไม่เคยได้เหลียวแลอย่างจริงจังและจริงใจ ไม่ว่าจะเป็นภาวะของดินฟ้าอากาศ เวลาที่น้ำท่วม ข้าวก็เสียหาย เวลาที่ฝนแล้งขาดน้ำ ข้าวในนาก็แห้งตาย แต่ก็นับว่าแปลกที่ พื้นที่สนามก๊อล์ฟไม่เคยต้องประสบวิกฤติการณ์เหล่านี้ ความที่ชาวนายากทำให้ไม่มีเงินเสียภาษี แต่ก็ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ยิ่งในภาวะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี มีการแกล้งตัดราคาข้าว ในช่วงที่ชาวนาควรจะขายข้าวได้ในราคาดี และมีการเก็บค่าภาษีหยุมหยิม ในขณะที่สมัยก่อนชาวนาไม่ต้องจ่าย

ข่าวของวันที่ 12 ก.ค. 53 นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผอ.สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า สศค. อยู่ระหว่างศึกษาการปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและสอดคล้องกับรายจ่ายภาครัฐที่เพิ่มขึ้น เพื่อไม่ให้กระทบต่อฐานะการคลัง สรุปคือรัฐบาลมีแนวโน้มที่จะขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 7% เป็น 8% โดยประชาชนยากจนที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศต้องรับภาระนี้
จำได้ว่าสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ราคาข้าวเปลือกพุ่งจาก 6,000-8,000 บาทต่อตัน โดดขึ้นเป็น 15,000-20,000 บาทต่อตัน ชาวนาลืมตาอ้าปากกันได้ แม้ต้องลำบากนอนเฝ้าข้าวเปลือกที่มีราคาเป็นเงินเป็นทอง

แต่พอมาถึงสมัยของรัฐบาลอภิสิทธิ เวชชาชีวะ ราคาข้าวเปลือก ตกต่ำถึงประมาณตันละ 6,000 บาท บางครั้งหักค่าความชื้นออกแล้ว ก็ได้ไม่ถึง 6,000 บาทด้วยซ้ำไป ในขณะที่ราคาปุ๋ยขึ้นมากระสอบละ 630 บาท และบางครั้งก็ต้องใช้ยาฆ่าแมลง แล้วยังมีราคาน้ำมันที่ถีบตัวสูงขึ้น ทั้งๆ ที่ราคาควรจะลดลง ทั้งหมดนี้ถูกผลักให้เป็นภาระของชาวนาล้วนๆ
เมื่อชาวนาประสบความล้มเหลว ก็ต้องขายที่ทำกิน เปิดโอกาสให้นายทุนไปกว้านซื้อที่ ส่วนชาวนาก็ต้องเช่าที่นาทำกิน ในที่ดินที่เคยเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง นี่เป็นสภาพที่น่าสังเวชอย่างยิ่ง ภาวะเช่นนี้ ก็เหมือนกับการที่คนไทย กัดกินเลือดเนื้อของคนไทยด้วยกันเอง


ในวันที่ 21 มิถุนายน 2553 มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อกำหนดเป้าหมายการจัดทำยุทธศาสตร์ความมั่นคงของชาวนา และการเพาะปลูกข้าวของประเทศไทย ในหัวข้อ “ยุทธศาสตร์การอุดหนุนข้าวไทย : เพื่อชาวนา หรือเพื่อใคร” ที่มีนายสมพล เกียรติไพบูลย์ ประธานตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำหน้าที่เป็นประธาน
วงสัมมนาตอบรับระบบประกันรายได้ว่า ประโยชน์ตกถึงมือชาวนามากกว่าการรับจำนำ อนึ่ง ผลการสำรวจของ ทีดีอาร์ไอ ระบุว่า ชาวนาได้ประโยช่น์จากการรับจำนำเพียง 36.8% ส่วนที่เหลืออีกมากกว่า 60% ตกอยู่ในมือคนอื่น ซึ่งหมายถึงนักการเมือง

ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร ประธานทีดีอาร์ไอ ระบุว่า ถึงเวลาแล้วที่สังคมไทยจะร่วมกันล้อมกรอบนักการเมืองด้วยการลดอำนาจของพวกเขา ไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับนโยบายข้าว
ความจริงในหลักธรรมาภิบาลโดยทั่วไป ผู้ที่บริหารประเทศ ต้องมีความสงสารและห่วงใยประชาชน แต่เป็นเพราะรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เข้ามาทำหน้าที่บริหารด้วยวิธีพิเศษทำให้ประชาชนเกิดความไม่พอใจ

แทนที่จะใช้ความดี ระงับความโกรธของประชาชน รัฐบาลอภิสิทธิ์กลับจัดการกับปัญหาเฉพาะหน้า ด้วยการเห็นว่าประชาชน โดยเฉพาะชาวรากหญ้าเป็นศัตรู ที่ต้องทำร้าย และทำลาย อาวุธคืออำนาจรัฐที่อยู่ในมือ

นายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ ดำเนินนโยบายช่วยเหลือชาวนาด้วยคำพูดที่สวยหรู แต่กลับเปิดโอกาสให้พ่อค้าคนกลางแสวงหากำไร โดยที่ชาวนาแทบไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย
รัฐบาล ภายใต้การกำกับดูแลของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทำให้เห็นได้ชัดว่า “นักการเมืองไทยคือตัวถ่วงความเจริญของบ้านเมือง” ประเทศไทยโชคร้ายเหลือเกินที่ผู้นำประเทศมีทัศนคติแบบนี้

ปีนี้แล้งหนัก ประกอบกับภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลก ทำให้ชาวนาไทย ยิ่งต้องประสบปัญหาเป็นทวีคูณ
ในทางปฏิบัติรัฐบาลจะต้องเป็นฝ่ายช่วยเหลือประชาชนไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง แต่ในภาวะปัจจุบันรัฐบาลกลับผลักภาระทั้งหมดให้กับเอกชนและภาคธุระกิจ โดยแสดงให้เห็นว่า ภารกิจหลักของรัฐบาลในยุคของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นอกจากการกู้เงินมาถลุงแล้ว ก็มีเพียงการไล่ล่าและทำลายผู้ที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกับรัฐบาล นี่เป็นการกระทำที่แสดงออกอย่างโจ่งแจ้ง แต่หากใครนำเอาความจริงนี้มาพูด รัฐบาลจะกล่าวทันทีว่า เป็นคำพูดที่บิดเบือนและอาจมีโทษ!!! รัฐบาลอภิสิทธิ์ทำให้ประชาชนในประเทศตกอยู่ในภาวะหวาดกลัว ทำให้สงสัยว่า รัฐบาลอภิสิทธิ์จะโกงกินอย่างไรก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องฟังเสียงประชาชน

ปัญหาปากท้องของประชาชนในรัฐบาลปัจจุบัน คือรัฐบาลเห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศที่ได้รับความทุกข์ทนเป็นฝ่ายตรงข้าม และเป็นกลุ่มชนที่รัฐบาลไม่ให้ความเหลียวแล ส่วนคำพูดสวยหรูนั้น รัฐบาลมุ่งหวังดูแลเฉพาะกลุ่มชาวบ้านที่ยอมลงให้กับพรรคร่วมรัฐบาล นี่เป็นวิธีการที่รัฐบาลใช้อำนาจรัฐขจัดฝ่ายที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกับรัฐบาล

วิธีแก้ปัญหาโดยตรง คือต้องรอจนกว่า ชนชั้นกลาง และชนชั้นสูงของประเทศจะเห็นว่า เมื่อชนชั้นล่างเขยิบฐานะดีขึ้น ย่อมเป็นการเกื้อหนุนให้เกิดความมั่นคงในเสถียรภาพของประเทศ เมื่อใดที่ความหายนะมาเยือนกระบวนการทำนาของไทย นั่นย่อมหมายถึงความหายนะของคนทั้งประเทศ ยิ่งมีคนจนมากเท่าไร ประเทศจะปราศจากความสงบสุข เกิดมีการขโมยขโจร ฉกชิงวิ่งราวและความวุ่นวายโดยทั่วไป
เมื่อใดที่ ชนชั้นกลาง และชนชั้นสูง เกิดตรัสรู้ และคิดออกดังนี้ ก็คงจะเกิดกระบวนการ โอบอุ้ม ปกป้อง และพยุงฐานะของชาวนา ให้สมกับที่เป็นกระดูกสันหลังของชาติ และเป็นกลุ่มชนผู้มีพระคุณ ดูแลคนทั้งประเทศมาช้านาน

อ้างอิงข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
วันอังคารที่ 22 มิถุนายน 2553 หน้า 8 ข่าวเศรษฐกิจ “ยุทธศาสตร์ข้าวไทยไร้ทิศทาง”
วันพุธที่ 23 มิถุนายน 2553 หน้า 8 ข่าวเศรษฐกิจ “ไฟลนก้น : สินค้าข้าวไทยจ่อปากเหว”

********************

กระดูกสันหลังของไทย

ยายสา

นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมปลูกข้าวส่งออกมากที่สุดอันดับหนึ่งของโลก โดยมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวปีละประมาณ 56-58 ล้านไร่ ได้ผลผลิตปีละประมาณ 28-30 ล้านตันข้าวเปลือก อีกทั้งข้าวยังเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญที่สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศปีละประมาณ 80,000-100,000 ล้านบาท แต่กลับพบว่า อาชีพทำนาเป็นกลุ่มอาชีพที่มีฐานะยากจนมากที่สุด เมื่อเทียบกับกลุ่มอาชีพอื่นๆ ซึ่งจากการสำรวจของ สศก.ในปีการผลิต 2547/2548 พบว่า รายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 594 บาท/คน/เดือน ซึ่งยังต่ำกว่าเส้นความยากจนในปี 2548 ซึ่งมีค่า 1,230 บาทต่อเดือนต่อคน
ชาวนาไทยต้องแบกภาระความเสี่ยงกันเอาเอง โดยที่รัฐบาลไม่เคยได้เหลียวแลอย่างจริงจังและจริงใจ ไม่ว่าจะเป็นภาวะของดินฟ้าอากาศ เวลาที่น้ำท่วม ข้าวก็เสียหาย เวลาที่ฝนแล้งขาดน้ำ ข้าวในนาก็แห้งตาย แต่ก็นับว่าแปลกที่ พื้นที่สนามก๊อล์ฟไม่เคยต้องประสบวิกฤติการณ์เหล่านี้ ความที่ชาวนายากทำให้ไม่มีเงินเสียภาษี แต่ก็ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ยิ่งในภาวะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี มีการแกล้งตัดราคาข้าว ในช่วงที่ชาวนาควรจะขายข้าวได้ในราคาดี และมีการเก็บค่าภาษีหยุมหยิม ในขณะที่สมัยก่อนชาวนาไม่ต้องจ่าย

ข่าวของวันที่ 12 ก.ค. 53 นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผอ.สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า สศค. อยู่ระหว่างศึกษาการปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและสอดคล้องกับรายจ่ายภาครัฐที่เพิ่มขึ้น เพื่อไม่ให้กระทบต่อฐานะการคลัง สรุปคือรัฐบาลมีแนวโน้มที่จะขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 7% เป็น 8% โดยประชาชนยากจนที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศต้องรับภาระนี้
จำได้ว่าสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ราคาข้าวเปลือกพุ่งจาก 6,000-8,000 บาทต่อตัน โดดขึ้นเป็น 15,000-20,000 บาทต่อตัน ชาวนาลืมตาอ้าปากกันได้ แม้ต้องลำบากนอนเฝ้าข้าวเปลือกที่มีราคาเป็นเงินเป็นทอง

แต่พอมาถึงสมัยของรัฐบาลอภิสิทธิ เวชชาชีวะ ราคาข้าวเปลือก ตกต่ำถึงประมาณตันละ 6,000 บาท บางครั้งหักค่าความชื้นออกแล้ว ก็ได้ไม่ถึง 6,000 บาทด้วยซ้ำไป ในขณะที่ราคาปุ๋ยขึ้นมากระสอบละ 630 บาท และบางครั้งก็ต้องใช้ยาฆ่าแมลง แล้วยังมีราคาน้ำมันที่ถีบตัวสูงขึ้น ทั้งๆ ที่ราคาควรจะลดลง ทั้งหมดนี้ถูกผลักให้เป็นภาระของชาวนาล้วนๆ
เมื่อชาวนาประสบความล้มเหลว ก็ต้องขายที่ทำกิน เปิดโอกาสให้นายทุนไปกว้านซื้อที่ ส่วนชาวนาก็ต้องเช่าที่นาทำกิน ในที่ดินที่เคยเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง นี่เป็นสภาพที่น่าสังเวชอย่างยิ่ง ภาวะเช่นนี้ ก็เหมือนกับการที่คนไทย กัดกินเลือดเนื้อของคนไทยด้วยกันเอง


ในวันที่ 21 มิถุนายน 2553 มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อกำหนดเป้าหมายการจัดทำยุทธศาสตร์ความมั่นคงของชาวนา และการเพาะปลูกข้าวของประเทศไทย ในหัวข้อ “ยุทธศาสตร์การอุดหนุนข้าวไทย : เพื่อชาวนา หรือเพื่อใคร” ที่มีนายสมพล เกียรติไพบูลย์ ประธานตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำหน้าที่เป็นประธาน
วงสัมมนาตอบรับระบบประกันรายได้ว่า ประโยชน์ตกถึงมือชาวนามากกว่าการรับจำนำ อนึ่ง ผลการสำรวจของ ทีดีอาร์ไอ ระบุว่า ชาวนาได้ประโยช่น์จากการรับจำนำเพียง 36.8% ส่วนที่เหลืออีกมากกว่า 60% ตกอยู่ในมือคนอื่น ซึ่งหมายถึงนักการเมือง

ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร ประธานทีดีอาร์ไอ ระบุว่า ถึงเวลาแล้วที่สังคมไทยจะร่วมกันล้อมกรอบนักการเมืองด้วยการลดอำนาจของพวกเขา ไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับนโยบายข้าว
ความจริงในหลักธรรมาภิบาลโดยทั่วไป ผู้ที่บริหารประเทศ ต้องมีความสงสารและห่วงใยประชาชน แต่เป็นเพราะรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เข้ามาทำหน้าที่บริหารด้วยวิธีพิเศษทำให้ประชาชนเกิดความไม่พอใจ

แทนที่จะใช้ความดี ระงับความโกรธของประชาชน รัฐบาลอภิสิทธิ์กลับจัดการกับปัญหาเฉพาะหน้า ด้วยการเห็นว่าประชาชน โดยเฉพาะชาวรากหญ้าเป็นศัตรู ที่ต้องทำร้าย และทำลาย อาวุธคืออำนาจรัฐที่อยู่ในมือ

นายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ ดำเนินนโยบายช่วยเหลือชาวนาด้วยคำพูดที่สวยหรู แต่กลับเปิดโอกาสให้พ่อค้าคนกลางแสวงหากำไร โดยที่ชาวนาแทบไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย
รัฐบาล ภายใต้การกำกับดูแลของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทำให้เห็นได้ชัดว่า “นักการเมืองไทยคือตัวถ่วงความเจริญของบ้านเมือง” ประเทศไทยโชคร้ายเหลือเกินที่ผู้นำประเทศมีทัศนคติแบบนี้

ปีนี้แล้งหนัก ประกอบกับภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลก ทำให้ชาวนาไทย ยิ่งต้องประสบปัญหาเป็นทวีคูณ
ในทางปฏิบัติรัฐบาลจะต้องเป็นฝ่ายช่วยเหลือประชาชนไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง แต่ในภาวะปัจจุบันรัฐบาลกลับผลักภาระทั้งหมดให้กับเอกชนและภาคธุระกิจ โดยแสดงให้เห็นว่า ภารกิจหลักของรัฐบาลในยุคของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นอกจากการกู้เงินมาถลุงแล้ว ก็มีเพียงการไล่ล่าและทำลายผู้ที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกับรัฐบาล นี่เป็นการกระทำที่แสดงออกอย่างโจ่งแจ้ง แต่หากใครนำเอาความจริงนี้มาพูด รัฐบาลจะกล่าวทันทีว่า เป็นคำพูดที่บิดเบือนและอาจมีโทษ!!! รัฐบาลอภิสิทธิ์ทำให้ประชาชนในประเทศตกอยู่ในภาวะหวาดกลัว ทำให้สงสัยว่า รัฐบาลอภิสิทธิ์จะโกงกินอย่างไรก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องฟังเสียงประชาชน

ปัญหาปากท้องของประชาชนในรัฐบาลปัจจุบัน คือรัฐบาลเห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศที่ได้รับความทุกข์ทนเป็นฝ่ายตรงข้าม และเป็นกลุ่มชนที่รัฐบาลไม่ให้ความเหลียวแล ส่วนคำพูดสวยหรูนั้น รัฐบาลมุ่งหวังดูแลเฉพาะกลุ่มชาวบ้านที่ยอมลงให้กับพรรคร่วมรัฐบาล นี่เป็นวิธีการที่รัฐบาลใช้อำนาจรัฐขจัดฝ่ายที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกับรัฐบาล

วิธีแก้ปัญหาโดยตรง คือต้องรอจนกว่า ชนชั้นกลาง และชนชั้นสูงของประเทศจะเห็นว่า เมื่อชนชั้นล่างเขยิบฐานะดีขึ้น ย่อมเป็นการเกื้อหนุนให้เกิดความมั่นคงในเสถียรภาพของประเทศ เมื่อใดที่ความหายนะมาเยือนกระบวนการทำนาของไทย นั่นย่อมหมายถึงความหายนะของคนทั้งประเทศ ยิ่งมีคนจนมากเท่าไร ประเทศจะปราศจากความสงบสุข เกิดมีการขโมยขโจร ฉกชิงวิ่งราวและความวุ่นวายโดยทั่วไป
เมื่อใดที่ ชนชั้นกลาง และชนชั้นสูง เกิดตรัสรู้ และคิดออกดังนี้ ก็คงจะเกิดกระบวนการ โอบอุ้ม ปกป้อง และพยุงฐานะของชาวนา ให้สมกับที่เป็นกระดูกสันหลังของชาติ และเป็นกลุ่มชนผู้มีพระคุณ ดูแลคนทั้งประเทศมาช้านาน

อ้างอิงข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
วันอังคารที่ 22 มิถุนายน 2553 หน้า 8 ข่าวเศรษฐกิจ “ยุทธศาสตร์ข้าวไทยไร้ทิศทาง”
วันพุธที่ 23 มิถุนายน 2553 หน้า 8 ข่าวเศรษฐกิจ “ไฟลนก้น : สินค้าข้าวไทยจ่อปากเหว”

********************

กระดูกสันหลังของไทย

ยายสา

นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมปลูกข้าวส่งออกมากที่สุดอันดับหนึ่งของโลก โดยมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวปีละประมาณ 56-58 ล้านไร่ ได้ผลผลิตปีละประมาณ 28-30 ล้านตันข้าวเปลือก อีกทั้งข้าวยังเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญที่สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศปีละประมาณ 80,000-100,000 ล้านบาท แต่กลับพบว่า อาชีพทำนาเป็นกลุ่มอาชีพที่มีฐานะยากจนมากที่สุด เมื่อเทียบกับกลุ่มอาชีพอื่นๆ ซึ่งจากการสำรวจของ สศก.ในปีการผลิต 2547/2548 พบว่า รายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 594 บาท/คน/เดือน ซึ่งยังต่ำกว่าเส้นความยากจนในปี 2548 ซึ่งมีค่า 1,230 บาทต่อเดือนต่อคน
ชาวนาไทยต้องแบกภาระความเสี่ยงกันเอาเอง โดยที่รัฐบาลไม่เคยได้เหลียวแลอย่างจริงจังและจริงใจ ไม่ว่าจะเป็นภาวะของดินฟ้าอากาศ เวลาที่น้ำท่วม ข้าวก็เสียหาย เวลาที่ฝนแล้งขาดน้ำ ข้าวในนาก็แห้งตาย แต่ก็นับว่าแปลกที่ พื้นที่สนามก๊อล์ฟไม่เคยต้องประสบวิกฤติการณ์เหล่านี้ ความที่ชาวนายากทำให้ไม่มีเงินเสียภาษี แต่ก็ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ยิ่งในภาวะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี มีการแกล้งตัดราคาข้าว ในช่วงที่ชาวนาควรจะขายข้าวได้ในราคาดี และมีการเก็บค่าภาษีหยุมหยิม ในขณะที่สมัยก่อนชาวนาไม่ต้องจ่าย

ข่าวของวันที่ 12 ก.ค. 53 นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผอ.สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า สศค. อยู่ระหว่างศึกษาการปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและสอดคล้องกับรายจ่ายภาครัฐที่เพิ่มขึ้น เพื่อไม่ให้กระทบต่อฐานะการคลัง สรุปคือรัฐบาลมีแนวโน้มที่จะขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 7% เป็น 8% โดยประชาชนยากจนที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศต้องรับภาระนี้
จำได้ว่าสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ราคาข้าวเปลือกพุ่งจาก 6,000-8,000 บาทต่อตัน โดดขึ้นเป็น 15,000-20,000 บาทต่อตัน ชาวนาลืมตาอ้าปากกันได้ แม้ต้องลำบากนอนเฝ้าข้าวเปลือกที่มีราคาเป็นเงินเป็นทอง

แต่พอมาถึงสมัยของรัฐบาลอภิสิทธิ เวชชาชีวะ ราคาข้าวเปลือก ตกต่ำถึงประมาณตันละ 6,000 บาท บางครั้งหักค่าความชื้นออกแล้ว ก็ได้ไม่ถึง 6,000 บาทด้วยซ้ำไป ในขณะที่ราคาปุ๋ยขึ้นมากระสอบละ 630 บาท และบางครั้งก็ต้องใช้ยาฆ่าแมลง แล้วยังมีราคาน้ำมันที่ถีบตัวสูงขึ้น ทั้งๆ ที่ราคาควรจะลดลง ทั้งหมดนี้ถูกผลักให้เป็นภาระของชาวนาล้วนๆ
เมื่อชาวนาประสบความล้มเหลว ก็ต้องขายที่ทำกิน เปิดโอกาสให้นายทุนไปกว้านซื้อที่ ส่วนชาวนาก็ต้องเช่าที่นาทำกิน ในที่ดินที่เคยเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง นี่เป็นสภาพที่น่าสังเวชอย่างยิ่ง ภาวะเช่นนี้ ก็เหมือนกับการที่คนไทย กัดกินเลือดเนื้อของคนไทยด้วยกันเอง


ในวันที่ 21 มิถุนายน 2553 มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อกำหนดเป้าหมายการจัดทำยุทธศาสตร์ความมั่นคงของชาวนา และการเพาะปลูกข้าวของประเทศไทย ในหัวข้อ “ยุทธศาสตร์การอุดหนุนข้าวไทย : เพื่อชาวนา หรือเพื่อใคร” ที่มีนายสมพล เกียรติไพบูลย์ ประธานตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำหน้าที่เป็นประธาน
วงสัมมนาตอบรับระบบประกันรายได้ว่า ประโยชน์ตกถึงมือชาวนามากกว่าการรับจำนำ อนึ่ง ผลการสำรวจของ ทีดีอาร์ไอ ระบุว่า ชาวนาได้ประโยช่น์จากการรับจำนำเพียง 36.8% ส่วนที่เหลืออีกมากกว่า 60% ตกอยู่ในมือคนอื่น ซึ่งหมายถึงนักการเมือง

ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร ประธานทีดีอาร์ไอ ระบุว่า ถึงเวลาแล้วที่สังคมไทยจะร่วมกันล้อมกรอบนักการเมืองด้วยการลดอำนาจของพวกเขา ไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับนโยบายข้าว
ความจริงในหลักธรรมาภิบาลโดยทั่วไป ผู้ที่บริหารประเทศ ต้องมีความสงสารและห่วงใยประชาชน แต่เป็นเพราะรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เข้ามาทำหน้าที่บริหารด้วยวิธีพิเศษทำให้ประชาชนเกิดความไม่พอใจ

แทนที่จะใช้ความดี ระงับความโกรธของประชาชน รัฐบาลอภิสิทธิ์กลับจัดการกับปัญหาเฉพาะหน้า ด้วยการเห็นว่าประชาชน โดยเฉพาะชาวรากหญ้าเป็นศัตรู ที่ต้องทำร้าย และทำลาย อาวุธคืออำนาจรัฐที่อยู่ในมือ

นายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ ดำเนินนโยบายช่วยเหลือชาวนาด้วยคำพูดที่สวยหรู แต่กลับเปิดโอกาสให้พ่อค้าคนกลางแสวงหากำไร โดยที่ชาวนาแทบไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย
รัฐบาล ภายใต้การกำกับดูแลของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทำให้เห็นได้ชัดว่า “นักการเมืองไทยคือตัวถ่วงความเจริญของบ้านเมือง” ประเทศไทยโชคร้ายเหลือเกินที่ผู้นำประเทศมีทัศนคติแบบนี้

ปีนี้แล้งหนัก ประกอบกับภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลก ทำให้ชาวนาไทย ยิ่งต้องประสบปัญหาเป็นทวีคูณ
ในทางปฏิบัติรัฐบาลจะต้องเป็นฝ่ายช่วยเหลือประชาชนไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง แต่ในภาวะปัจจุบันรัฐบาลกลับผลักภาระทั้งหมดให้กับเอกชนและภาคธุระกิจ โดยแสดงให้เห็นว่า ภารกิจหลักของรัฐบาลในยุคของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นอกจากการกู้เงินมาถลุงแล้ว ก็มีเพียงการไล่ล่าและทำลายผู้ที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกับรัฐบาล นี่เป็นการกระทำที่แสดงออกอย่างโจ่งแจ้ง แต่หากใครนำเอาความจริงนี้มาพูด รัฐบาลจะกล่าวทันทีว่า เป็นคำพูดที่บิดเบือนและอาจมีโทษ!!! รัฐบาลอภิสิทธิ์ทำให้ประชาชนในประเทศตกอยู่ในภาวะหวาดกลัว ทำให้สงสัยว่า รัฐบาลอภิสิทธิ์จะโกงกินอย่างไรก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องฟังเสียงประชาชน

ปัญหาปากท้องของประชาชนในรัฐบาลปัจจุบัน คือรัฐบาลเห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศที่ได้รับความทุกข์ทนเป็นฝ่ายตรงข้าม และเป็นกลุ่มชนที่รัฐบาลไม่ให้ความเหลียวแล ส่วนคำพูดสวยหรูนั้น รัฐบาลมุ่งหวังดูแลเฉพาะกลุ่มชาวบ้านที่ยอมลงให้กับพรรคร่วมรัฐบาล นี่เป็นวิธีการที่รัฐบาลใช้อำนาจรัฐขจัดฝ่ายที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกับรัฐบาล

วิธีแก้ปัญหาโดยตรง คือต้องรอจนกว่า ชนชั้นกลาง และชนชั้นสูงของประเทศจะเห็นว่า เมื่อชนชั้นล่างเขยิบฐานะดีขึ้น ย่อมเป็นการเกื้อหนุนให้เกิดความมั่นคงในเสถียรภาพของประเทศ เมื่อใดที่ความหายนะมาเยือนกระบวนการทำนาของไทย นั่นย่อมหมายถึงความหายนะของคนทั้งประเทศ ยิ่งมีคนจนมากเท่าไร ประเทศจะปราศจากความสงบสุข เกิดมีการขโมยขโจร ฉกชิงวิ่งราวและความวุ่นวายโดยทั่วไป
เมื่อใดที่ ชนชั้นกลาง และชนชั้นสูง เกิดตรัสรู้ และคิดออกดังนี้ ก็คงจะเกิดกระบวนการ โอบอุ้ม ปกป้อง และพยุงฐานะของชาวนา ให้สมกับที่เป็นกระดูกสันหลังของชาติ และเป็นกลุ่มชนผู้มีพระคุณ ดูแลคนทั้งประเทศมาช้านาน

อ้างอิงข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
วันอังคารที่ 22 มิถุนายน 2553 หน้า 8 ข่าวเศรษฐกิจ “ยุทธศาสตร์ข้าวไทยไร้ทิศทาง”
วันพุธที่ 23 มิถุนายน 2553 หน้า 8 ข่าวเศรษฐกิจ “ไฟลนก้น : สินค้าข้าวไทยจ่อปากเหว”

********************

องค์กรตุลาการในนิติรัฐ-ประชาธิปไตย

ปิยบุตร แสงกนกกุล
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


รัฐใดที่ประกาศตนเป็นนิติรัฐ ย่อมหลีกหนีไม่พ้นที่จะยอมรับบทบาทขององค์กรตุลาการ ในฐานะเป็นกุญแจสำคัญในการควบคุมการใช้อำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารไม่ให้เป็นไปตามอำเภอใจ การควบคุมฝ่ายบริหาร ก็ได้แก่ การควบคุมการความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำของฝ่ายปกครอง ในขณะที่การควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติ ก็ได้แก่ การควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายที่ตราขึ้นโดยรัฐสภา

องค์กรตุลาการในนิติรัฐสมัยใหม่ จึงมีบทบาทสำคัญ ไม่เพียงแต่บทบาทในการพิทักษ์ความชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงพันธกิจในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนจากการใช้อำนาจโดยมิชอบของรัฐ และการปกปักษ์รักษาประชาธิปไตยอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ด้วยบทบาทอันกว้างขวางขององค์กรตุลาการเช่นนี้ นำมาซึ่งความขัดแย้งกันเองกับคำว่าประชาธิปไตย กล่าวคือ ด้านหนึ่ง นิติรัฐ-ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม ก็เรียกร้องให้องค์กรตุลาการเข้ามามีบทบาทในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และควบคุมไม่ให้เกิดการปกครองที่เสียงข้างมากใช้อำนาจไปตามอำเภอใจ ในขณะที่อีกด้านหนึ่งนั้น เมื่อองค์กรตุลาการเข้าไปควบคุมการใช้อำนาจรัฐเข้า ก็เกิดการเผชิญหน้ากันกับองค์กรที่มีฐานความชอบธรรมทางการเมืองอย่างรัฐสภาและรัฐบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ในขณะที่องค์กรตุลาการปราศจากความชอบธรรมทางการเมืองเช่นว่า ความขัดแย้งดังกล่าว จะมีวิธีการประสานกันอย่างไร?
แน่นอนที่สุด หากเราตัดอำนาจการตรวจสอบขององค์กรตุลาการออกไป นิติรัฐนั้นก็กลายเป็นนิติรัฐที่ไม่สมประกอบ เพราะปราศจากซึ่งองค์กรที่เป็นกลางและอิสระทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เช่นกัน หากแก้ไขให้องค์กรตุลาการมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ก็คงไม่เหมาะสมเป็นแน่ เพราะจะทำให้องค์กรตุลาการสูญสิ้นความอิสระไปเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรตุลาการต้องคำนึงถึงคะแนนนิยมตลอดเวลา วิธีเหล่านี้จึงเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง

วิธีที่จะพอแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ได้ คือ การจัดวางตำแหน่งแห่งที่ขององค์กรตุลาการและการดำรงตนขององค์กรตุลาการให้สอดคล้องกับนิติรัฐ-ประชาธิปไตย
ในรายละเอียด ผู้เขียนขอแบ่งเป็น ๖ ประการ ดังนี้

ประการแรก ความเป็นอิสระขององค์กรตุลาการ
โดยทั่วไป รัฐธรรมนูญในรัฐเสรีประชาธิปไตยต่างรับรองความเป็นอิสระขององค์กรตุลาการเอาไว้ เช่น การจัดตั้งศาลต้องทำโดยกฎหมายที่ตราขึ้นโดยรัฐสภา การจัดตั้งศาลเฉพาะเพื่อคดีใดคดีหนึ่งไม่อาจกระทำได้ การโยกย้ายผู้พิพากษาต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิพากษานั้นด้วย การแต่งตั้งและโยกย้ายตลอดจนการดำเนินการทางวินัยเป็นอำนาจของคณะกรรมการตุลาการ การบริหารงบประมาณของศาลเป็นไปอย่างอิสระ เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของผู้พิพากษาสูงกว่าอาชีพอื่นๆ เป็นต้น

อาจสงสัยกันว่า ความเป็นอิสระของผู้พิพากษานี้ปราศจากความรับผิดชอบใดๆ เลยหรือ? แน่นอน ในระบอบประชาธิปไตยย่อมไม่มีองค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐใดที่ใช้อำนาจโดยปราศจากความรับผิดชอบ แต่ความรับผิดชอบขององค์กรตุลาการนั้นแตกต่างจากองค์กรนิติบัญญัติและบริหารซึ่งเป็นองค์กรทางการเมืองโดยแท้ กล่าวคือ องค์กรตุลาการไม่อาจถูกฝ่ายการเมืองแต่งตั้งโยกย้ายหรืออภิปรายไม่ไว้วางใจ และตำแหน่งผู้พิพากษาไม่ได้มาโดยการเลือกตั้งของประชาชน ตรงกันข้าม องค์กรตุลาการรับผิดชอบการปฏิบัติหน้าที่ของตนเองโดยผ่านเหตุผลประกอบคำพิพากษานั่นเอง ด้วยการให้สังคมได้มีโอกาสวิจารณ์คำพิพากษาอย่างเต็มที่


บางครั้งอาจมีกรณีตอบโต้การใช้อำนาจระหว่างองค์กรนิติบัญญัติกับองค์กรตุลาการ หรือองค์กรบริหารกับองค์กรตุลาการ เช่น ฝ่ายนิติบัญญัติอาจตรากฎหมายที่มีผลเป็นการ “ลบ” หลักการที่คำพิพากษาของศาลได้วางบรรทัดฐานเอาไว้ หรือในฝรั่งเศส สมัยวิกฤติแอลจีเรีย ประธานาธิบดีเดอโกลล์และรัฐบาลเร่งผลักดันรัฐบัญญัติจัดตั้งศาลทหารพิเศษในดินแดนแอลจีเรียเป็นการเฉพาะ ภายหลังจากที่ศาลปกครองสูงสุดได้เพิกถอนรัฐกำหนดจัดตั้งศาลทหารพิเศษเพียงไม่นาน (โปรดดูบทความของผู้เขียน, ฝ่ายการเมืองปะทะฝ่ายตุลาการ : ประสบการณ์จากฝรั่งเศส, เผยแพร่ครั้งแรกในประชาชาติธุรกิจ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๔๙ หรือดูได้ในเว็บไซต์ onopen) ในเรื่องความประพฤติส่วนตัวหรือการทุจริต ก็มีคณะกรรมการตุลาการเป็นผู้ดูแลและมีจริยธรรมวิชาชีพกำกับไว้ หรืออาจมีกระบวนการถอดถอนออกจากตำแหน่งได้

ประการที่สอง ความเป็นกลางขององค์กรตุลาการและความเป็นภาววิสัยของคำพิพากษา
องค์กรตุลาการต้องดำรงตนอย่างเป็นกลางและปราศจากอคติ ในกระบวนพิจารณาคดี ต้องให้โอกาสคู่ความทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน ในกรณีที่ผู้พิพากษามีส่วนได้เสียกับประเด็นแห่งคดีที่ตนจะพิจารณา ผู้พิพากษานั้นต้องถอนตัวออกจากการพิจารณาคดี ดังสุภาษิตในภาษาละตินที่ว่า “Nemo in propria causa judex” ด้วยเหตุนี้ จึงเห็นกันว่าผู้พิพากษาทั้งหลายไม่ควรเข้าไป ‘เล่น’ การเมืองด้วยการไปดำรงตำแหน่งในรัฐบาล ไปร่างรัฐธรรมนูญ ไปร่างกฎหมาย หากเข้าไปแล้วก็ไม่ควรกลับมาเป็นผู้พิพากษาใหม่ เพราะในวันข้างหน้าเป็นไปได้ว่า อาจมีประเด็นแห่งคดีเกี่ยวกับเรื่องที่ตนเคยเข้าไปเกี่ยวข้อง
ความเป็นกลางของผู้พิพากษาจะสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นภาววิสัยของคำพิพากษา เหตุผลประกอบคำพิพากษาเกิดจากการพิจารณาข้อเท็จจริงประกอบกับข้อกฎหมาย มิใช่นำรสนิยมทางการเมืองส่วนตัว ความเชื่อทางศาสนา ความนิยมชมชอบส่วนตัวเข้ามาเป็นปัจจัยประกอบการตัดสิน คำพิพากษาต้องไม่เกิดจากการตั้งธงคำตอบไว้ล่วงหน้า จากนั้นจึงค่อยหาเหตุผลเพื่อนำไปสู่ธงคำตอบนั้น ความเป็นภาววิสัยของคำพิพากษาย่อมทำให้บุคคลซึ่งแม้ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษา เหตุผลของคำพิพากษา หรือผลของคำพิพากษา แต่บุคคลนั้นก็ยังคงยอมรับนับถือคำพิพากษาอยู่ดี

คำพิพากษาต้องผ่านการกลั่นกรองและพิจารณาอย่างลึกซึ้งของผู้พิพากษา โดยใช้เหตุผลทางกฎหมายประกอบ คำพิพากษาต้องสนับสนุนความชอบด้วยกฎหมายและความมั่นคงแน่นอนและชัดเจนของกฎหมายไปพร้อมๆกัน ที่ว่าต้องสนับสนุนความชอบด้วยกฎหมาย ก็เพื่อสร้างความสมเหตุสมผลทางกฎหมายและการเคารพกฎหมายตามแนวทางกฎหมายเป็นใหญ่ของหลักนิติรัฐ ส่วนที่ว่าต้องสนับสนุนความมั่นคงแน่นอนและชัดเจนของกฎหมาย ก็เพื่อสร้างความเชื่อไว้วางใจต่อระบบกฎหมาย ความสม่ำเสมอต่อเนื่องของกฎเกณฑ์ และบุคคลสามารถคาดการณ์ได้ว่าการกระทำของตนและผู้อื่นจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

บางกรณีทั้งสองเรื่องนี้ก็แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงจนทำให้การหาจุดสมดุลของสองเรื่องนี้เป็นไปโดยยากและอาจต้องเอียงไปในทางใดทางหนึ่งมากกว่า ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้พิพากษาที่ต้องใช้เหตุผลมาอธิบายให้ได้ว่าเหตุใดจึงตัดสินใจรักษาความชอบด้วยกฎหมายมากกว่า และมีวิธีการเยียวยาความมั่นคงแน่นอนและชัดเจนของกฎหมายอย่างไร หรือเหตุใดจึงตัดสินใจรักษาความมั่นคงแน่นอนและชัดเจนของกฎหมายมากกว่า และมีวิธีเยียวยาความชอบด้วยกฎหมายอย่างไร ด้วยเหตุผลดังกล่าว คำพิพากษาที่ให้ใช้กฎหมายย้อนหลังอันเป็นผลร้ายแก่บุคคลโดยไม่ได้มีการอธิบายเหตุผลทางกฎหมายเพียงพอ จึงเป็นคำพิพากษาที่ไร้มาตรฐานและไม่สมเหตุสมผล

ประการที่สาม ความเชื่อถือไว้วางใจของสังคมต่อองค์กรตุลาการ
ความน่าเชื่อถือและความศรัทธาต่อศาล ทั้งในแง่ตัวองค์กรและตัวบุคคล หาได้เกิดจากบทบัญญัติแห่งกฎหมายเกี่ยวกับการ “หมิ่น” ศาลหรือละเมิดอำนาจศาล หรือการอ้างว่าผู้พิพากษาตัดสิน “ในพระปรมาภิไธย” ไม่ ตรงกันข้าม เกิดจากความสมเหตุสมผลในเหตุผลประกอบคำพิพากษา ความเป็นภาววิสัยของเหตุผลประกอบคำพิพากษา ความเป็นอิสระและการดำรงตนอย่างปราศจากอคติของผู้พิพากษา

คำพิพากษาจะมีคุณค่า นอกจากเพราะกฎหมายกำหนดให้คำพิพากษามีค่าบังคับแล้ว ยังต้องอาศัยความเชื่อถือของประชาชนประกอบด้วย จริงอยู่ เป็นไปไม่ได้ที่จะให้ประชาชนทุกคนเห็นด้วยกับเนื้อหาของคำพิพากษาทั้งหมด แต่อย่างน้อยวิญญูชนพิจารณาดูแล้ว ก็ต้องยอมรับในเหตุผลที่ประกอบคำพิพากษานั้น และเห็นว่าคำพิพากษานั้นมีคุณภาพได้มาตรฐาน

การสร้างความเชื่อถือไว้วางใจของสังคมต่อผู้พิพากษา ไม่ได้หมายความว่าผู้พิพากษาต้องทำตนเป็นที่นิยมของประชาชน ไม่ได้หมายความว่าผู้พิพากษาต้องยอมกระทำการที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายและสามัญสำนึกของตนเพียงเพื่อความพอใจของสาธารณชน ไม่ได้หมายความว่าผู้พิพากษาต้องตัดสินโดยฟังกระแสสังคม นี่เรียกว่า ความนิยม (Popularité) ซึ่งตรงกันข้ามกับ ความเชื่อถือไว้วางใจ (Confiance) ความเชื่อถือไว้วางใจนั้น เป็นความเชื่อถือที่มีต่อความเป็นอิสระของผู้พิพากษา ความเป็นกลางของผู้พิพากษา ความยุติธรรมของผู้พิพากษา และความเคารพในจริยธรรมวิชาชีพของผู้พิพากษา
นอกจากนี้ ความเชื่อถือไว้วางใจในตัวผู้พิพากษา ยังอาจเกิดจากวัตรปฏิบัติของผู้พิพากษาเอง เช่น การรู้ถึงขอบเขตอำนาจและข้อจำกัด การยอมรับความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ และการอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่หยิ่งทระนงว่าตนยิ่งใหญ่ ไม่อหังการ-มมังการ เพราะ ”หัวโขน” ผู้พิพากษา หรือเพราะคำอ้างที่ว่าตนกระทำการในนามกษัตริย์

ประการที่สี่ การตระหนักถึงขอบเขตอำนาจของตนเอง
นิติรัฐ-ประชาธิปไตยเรียกร้องเรื่องการแบ่งแยกอำนาจให้เกิดดุลยภาพระหว่างอำนาจรัฐในแขนงต่างๆ องค์กรตุลาการเองก็เช่นกัน ต้องตระหนักอยู่เสมอว่าตนเองมีอำนาจ ‘เชิงรับ’ ศาลไม่อาจควบคุมองค์กรฝ่ายบริหารได้ในทุกกรณี ตรงกันข้าม เรื่องจะขึ้นไปสู่ศาลได้ก็ต่อเมื่อมีการริเริ่มคดีโดยบุคคลที่เกี่ยวข้องเสียก่อน และศาลไม่อาจลงมาหยิบยกเรื่องใดขึ้นพิจารณาได้ด้วยตนเอง

การพิพากษาของศาลมิใช่กระทำได้อย่างพร่ำเพรื่อหรือปราศจากกฎเกณฑ์ กว่าที่องค์กรตุลาการจะผลิตคำพิพากษาได้นั้น ต้องผ่านขั้นตอนตั้งแต่เงื่อนไขการฟ้องคดี เช่น ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิหรือมีส่วนได้เสียในการฟ้องคดีหรือไม่ การฟ้องทำตามรูปแบบหรือไม่ ฟ้องภายในอายุความหรือไม่ ศาลมีเขตอำนาจพิจารณาหรือไม่ จากนั้นยังต้องผ่านกระบวนพิจารณาที่เป็นธรรมอีก ในท้ายที่สุดเมื่อศาลตัดสิน ก็ยังต้องพิจารณาอีกว่าคำพิพากษาของศาลนั้นมีผลเป็นการทั่วไปหรือมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความ มีผลย้อนหลังหรือมีผลไปในอนาคต

เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าองค์กรตุลาการเป็นผู้เล่นหลักคนหนึ่งในชีวิตทางการเมืองของรัฐ (Acteur politique) อย่างไรเสียองค์กรตุลาการก็ต้องมีบทบาทางการเมือง แต่บทบาททางการเมืองเช่นว่านั้น ต้องกระทำผ่านคำพิพากษาและภายใต้ความเป็นเหตุเป็นผลตามกฎหมายเท่านั้น อนึ่ง แม้องค์กรตุลาการอาจเข้าแทรกแซงทางการเมืองโดยผ่านคำพิพากษาของตน แต่องค์กรตุลาการต้องคำนึงถึงหลักการแบ่งแยกอำนาจและการรักษาดุลยภาพระหว่างอำนาจไว้เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องบางเรื่องเกี่ยวพันอย่างลึกซึ้งกับแนวนโยบายของรัฐบาล หรือเรื่องทางการเมืองโดยแท้ องค์กรตุลาการก็จำต้องสงวนท่าทีและควบคุมการใช้อำนาจของตนเองลง เช่น การยุบสภา การประกาศสงคราม การเลือกนายกรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี

ในบางกรณี รัฐบาลอาจดำเนินนโยบายตามที่รณรงค์หาเสียงกับประชาชนไว้ในช่วงเลือกตั้ง เมื่อได้รับเลือกตั้งเข้ามาแล้วจึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ได้รับอาณัติจากประชาชนในการดำเนินนโยบายดังกล่าว ประเด็นปัญหานี้ องค์กรตุลาการอาจเข้าไปควบคุมได้แต่เพียงเฉพาะ ‘ความชอบด้วยกฎหมาย’ ของมาตรการตามนโยบายเท่านั้น องค์กรตุลาการไม่อาจเข้าไปก้าวล่วงถึง ‘ความเหมาะสม’ ของนโยบาย อีกนัยหนึ่ง คือ องค์กรตุลาการต้องใช้ ‘กฎหมาย’ เป็นมาตรวัดนั่นเอง

แม้องค์กรตุลาการจะมีอำนาจในการควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร และมีอำนาจในการพิพากษาคดีความให้มีผลเป็นที่สุด (res judicata) แต่องค์กรตุลาการก็ไม่ได้มีอำนาจอย่างปราศจากขอบเขต ด้วยธรรมชาติและลักษณะพิเศษขององค์กรตุลาการที่ต้องการความเป็นอิสระทำให้ขาดความเชื่อมโยงกับประชาชนและสังคม แต่องค์กรตุลาการกลับมีอำนาจควบคุมการใช้อำนาจรัฐ กฎหมายจึงต้องออกแบบระบบไม่ให้องค์กรตุลาการใช้อำนาจอย่างไร้ขอบเขตด้วยการวางกลไกวิธีพิจารณาคดี ในขณะเดียวกันองค์กรตุลาการก็ต้องจำกัดการใช้อำนาจของตนเอง ไม่เข้าไปรุกล้ำในเรื่องที่เป็นนโยบายหรือการเมืองโดยแท้

นี่เป็นหลักการพื้นฐานขององค์กรตุลาการในรัฐเสรีประชาธิปไตย ไม่ใช่กระบวนการ ‘ตุลาการภิวัตน์’ ซึ่งแอบอ้างเพื่อนำไปใช้สนับสนุนการเข้าไป ‘เพ่นพ่าน’ ในสนามการเมือง เช่น การร่างรัฐธรรมนูญ การดำรงตำแหน่งในองค์กรเฉพาะกิจเพื่อปราบปรามศัตรู การดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ตลอดจนการแต่งตั้งบุคคลไปดำรงตำแหน่งสำคัญ

ประการที่ห้า คำพิพากษา ‘สาธารณะ’
จริงอยู่ ในทางกฎหมาย คำพิพากษาอาจมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความหรืออาจมีผลผูกพันองค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐทั้งปวง แต่ในความเป็นจริงแล้ว คำพิพากษามีผลกระทบออกไปในวงกว้าง ไม่ว่าทั้งทางตรงหรือทางอ้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้และตีความกฎเกณฑ์ที่ค่อนข้างเป็นนามธรรมให้เกิดผลเป็นรูปธรรม

บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่รับรองสิทธิและเสรีภาพหรือวางเงื่อนไขการใช้อำนาจรัฐมักเขียนด้วยถ้อยคำกว้างๆ เปิดโอกาสให้ศาลได้พิจารณาข้อเท็จจริงเป็นรายกรณี การใช้และตีความกฎหมายเหล่านี้โดยศาลผ่านทางคำพิพากษาในแต่ละคดีต่างหากที่ ‘แปล-ขยาย’ ความเหล่านั้นให้มีผลชัดเจนและจับต้องได้ เมื่อศาลได้พิจารณาข้อเท็จจริงที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกันซ้ำเข้ามากๆ ในคดีก่อนๆ ก็กลายเป็นบรรทัดฐานที่ศาลต้องเดินตามในคดีหลัง นอกเสียจากศาลจะมีเหตุผลที่หนักแน่นเพียงพอและรับฟังได้ หรือบริบทแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมาก ศาลก็อาจเปลี่ยนแนวจากคำพิพากษาบรรทัดฐานนั้น ลักษณะดังกล่าวนี้เอง ทำให้สำนักคิดกฎหมายสัจนิยม โดยเฉพาะเซอร์ โอลิเวอร์ เวนเดล โฮล์มส์ ถึงกับประกาศว่า “กฎหมายในความเห็นของข้าพเจ้า คือการพยากรณ์ต่อการกระทำของศาลในความเป็นจริง ไม่มีอะไรอื่นเลยนอกจากนี้”

ด้วยอานุภาพของการใช้และตีความกฎหมายของศาลดังกล่าว ทำให้คำพิพากษาไม่ได้ส่งผลเฉพาะต่อคดีนั้นเท่านั้น คำพิพากษาจึงไม่ควรมีขึ้นเพียงเพื่อให้ผู้พิพากษาและผู้ที่เกี่ยวข้องในคดีอ่าน ตรงกันข้ามคำพิพากษาต้องพยายามสร้าง “การสื่อสารระหว่างองค์กรตุลาการกับสังคม”

ผู้พิพากษาในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของประชาธิปไตยต้องตระหนักเสมอว่าการเขียนคำพิพากษานั้น ไม่ได้เขียนอธิบายความและเหตุผลให้แก่คู่ความเท่านั้น แต่เป็นการให้เหตุผลแก่บุคคลทั่วไปด้วย คำพิพากษาที่ดีจึงต้องสามารถให้การศึกษาแก่สังคม นำมาซึ่งการศึกษาค้นคว้า วิพากษ์วิจารณ์ และถกเถียงกันอย่างสร้างสรรค์ทั้งในหมู่นักกฎหมายและบุคคลทั่วไป ในกรณีที่เป็นข้อบกพร่องจากกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ เนื้อหาของคำพิพากษาต้องกระตุ้นเตือนเพื่อนำไปสู่การแก้ไขหรือยกเลิกกฎหมาย

คำพิพากษา ‘สาธารณะ’ จึงต้องประกอบไปด้วย 2 ปัจจัยสำคัญ ปัจจัยแรก การเข้าถึงคำพิพากษาต้องเป็นไปโดยง่าย ภายหลังอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังแล้ว คำพิพากษาต้องเปิดเผยให้สาธารณชนได้รับทราบ เพื่อให้บุคคลทั่วไปได้มีโอกาสวิจารณ์ ปัจจัยที่สอง ผู้พิพากษาต้องคิดอยู่เสมอว่าการเขียนคำพิพากษานั้นเป็นช่องทางการสื่อสารระหว่างองค์กรตุลาการกับสังคม ไม่ใช่เขียนเพียงเพื่อตัดสินคดีให้แล้วเสร็จไป

ประการที่หก การยอมรับคำวิพากษ์วิจารณ์
โดยธรรมชาติขององค์กรตุลาการนั้นเป็นองค์กร ‘ปิด’ และมีจุดเชื่อมโยงกับประชาชนน้อยกว่าองค์กรของรัฐอื่นทั้งนี้เพื่อประกันความเป็นอิสระขององค์กรตุลาการ ลักษณะดังกล่าวอาจนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงให้องค์กรตุลาการกลายเป็น ‘แดนสนธยา’ ได้ง่ายขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องสร้างระบบการวิจารณ์การทำงานของศาล นั่นก็คือ การวิจารณ์คำพิพากษานั่นเอง

การลำพองตนของผู้พิพากษาว่าตนปฏิบัติหน้าที่ในนามของกษัตริย์ ตนมีพระราชดำรัสของกษัตริย์ที่สนับสนุนและให้กำลังใจ เป็นอุปสรรคและไม่ส่งเสริมให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์คำพิพากษา และอาจทำให้ผู้พิพากษา ‘หลง’ อำนาจจนละเลยสังคมและไม่ใส่ใจความเห็นขององคาพยพอื่นๆ ในสังคม เช่นกัน การสงวน ‘คำพิพากษา’ ไว้ให้เฉพาะผู้พิพากษา ทนายความ หรือคู่ความก็ดี การพยายามสร้างความเชื่อที่ว่า คำพิพากษาเป็นเรื่องกฎหมาย มีแต่นักกฎหมายด้วยกันเท่านั้นที่เข้าใจก็ดี ล้วนแล้วแต่เป็นการสร้างทัศนคติที่คับแคบในหมู่นักกฎหมายว่าในโลกนี้มีแต่นักกฎหมายที่เป็นใหญ่ และผูกขาด ‘ความจริง’ ในนามของกฎหมาย

ในทางกลับกัน การเปิดโอกาสให้บุคคลในวงการกฎหมาย สื่อมวลชน บุคคลทั่วไปได้วิพากษ์วิจารณ์และถกเถียงอย่างสร้างสรรค์ต่อคำพิพากษานั้น ย่อมทำให้คำพิพากษาและศาลได้การยอมรับนับถือ และสร้างความชอบธรรมทางประชาธิปไตยให้กับคำพิพากษาและผู้พิพากษานั้นด้วย การวิจารณ์คำพิพากษาโดยสาธารณชนยังช่วยสร้างกระบวนการประชาธิปไตยให้เข้มแข็งและลึกซึ้งขึ้นตามแนวทาง ‘ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ’ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในปัจจุบันและขยายต่อจาก ‘ประชาธิปไตยทางตรง’ ‘ประชาธิปไตยทางผู้แทน’ และ ‘ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม’

ด้วยเหตุนี้ การ ‘ใช้’ หรือการ ‘ข่มขู่ว่าจะใช้’ กฎหมายที่มีบทลงโทษเกี่ยวกับข้อหา ‘หมิ่นศาล’ หรือ ‘ละเมิดอำนาจศาล’ จึงล้าสมัยและเป็นอุปสรรคต่อความเป็นประชาธิปไตยขององค์กรตุลาการ .............

ในรัฐเสรีประชาธิปไตยสมัยใหม่ องค์กรตุลาการมีพันธกิจ 4 เรื่องหลักๆ ได้แก่ การวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท การควบคุมความชอบด้วยกฎหมาย การสร้างกฎเกณฑ์ทางกฎหมายผ่านทางการใช้และตีความกฎหมายในคำพิพากษา และการเป็นผู้เล่นคนหนึ่งในชีวิตทางการเมืองของรัฐ การปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้บรรลุพันธกิจทั้งสี่นี้ ต้องเป็นไปโดยสอดคล้องกับหลักนิติรัฐและหลักประชาธิปไตยอันเป็นคุณค่าพื้นฐานที่รัฐเสรีประชาธิปไตยยึดถือ

แนวทางทั้ง 6 ประการนี้ เป็นการสนับสนุนองค์กรตุลาการให้ปฏิบัติหน้าที่สอดคล้องกับหลักนิติรัฐและหลักประชาธิปไตย ไม่ใช่เป็นการปฏิเสธบทบาทขององค์กรตุลาการในการตัดสินคดีอย่างก้าวหน้า แต่การตัดสินอย่างก้าวหน้าควรประกอบด้วยเหตุผลที่มีความเป็นภาววิสัย มีหลักกฎหมายรองรับ และอธิบายให้สังคมยอมรับนับถือได้ เป็นความกล้าปฏิเสธอำนาจนอกระบบและรัฐประหาร เป็นความกล้าตัดสินเพื่อแก้ ‘วิกฤติ’ ด้วยการพิจารณาอย่างรอบคอบจากจิตสำนึกของผู้พิพากษาและยึดกฎหมายเป็นหลัก ไม่ใช่เป็นการตัดสินที่ ‘คิดว่า’ ก้าวหน้าเพื่อแก้ ‘วิกฤต’ เพราะมีใครคนใดคนหนึ่งออกมากระตุ้นให้องค์กรตุลาการต้องตัดสิน หรือ เพราะต้องการปราบปรามศัตรูทางอุดมการณ์ทางการเมือง

จริงอยู่ ในนิติรัฐ หลักการควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารโดยองค์กรตุลาการ และหลักความเป็นอิสระขององค์กรตุลาการ เป็นหลักการสำคัญอันขาดเสียมิได้ แต่หลักการดังกล่าวไม่ได้มีคุณค่าหรือสถานะสูงสุดเหนือกว่าหลักการอื่น จนทำให้องค์กรตุลาการมีอำนาจล้นฟ้าและปราศจากการตรวจสอบถ่วงดุล ตรงกันข้าม หลักการเหล่านี้เป็นหลักการในทางกลไกเพื่อพิทักษ์รักษาหลักการที่มีคุณค่าสูงสุด คือ หลักนิติรัฐและหลักประชาธิปไตย กล่าวให้ถึงที่สุด อำนาจและความอิสระที่นิติรัฐหยิบยื่นให้องค์กรตุลาการนั้น ก็เพื่อให้นำมาใช้ปกป้องนิติรัฐและประชาธิปไตยนั่นเอง หาใช่ให้เพื่อนำมาใช้ทำลายนิติรัฐและประชาธิปไตยไม่

ต้องไม่ลืมว่า องค์กรตุลาการไม่ได้อยู่เหนือประชาธิปไตย แต่เป็นส่วนหนึ่งของประชาธิปไตยเช่นเดียวกันกับองค์กรอื่นๆ การปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรตุลาการให้สอดคล้องกับนิติรัฐ-ประชาธิปไตย และการสำนึกอยู่เสมอว่าตนเป็นส่วนหนึ่งในประชาธิปไตยและมีหน้าที่พิทักษ์ประชาธิปไตย เป็นหนทางเดียวที่จะทำให้องค์กรตุลาการสามารถยืนหยัดอยู่ในสังคมสมัยใหม่ และสร้างความชอบธรรมให้องค์กรตุลาการในการเข้าไปตรวจสอบอำนาจรัฐ

ในทางกลับกัน หากองค์กรตุลาการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความอคติ ปิดกั้นการวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติหน้าที่ของตน หรือยอมพลีตนรับใช้อุดมการณ์บางอย่างด้วยการเป็นกลไกปราบปรามศัตรูแล้ว ความน่าเชื่อถือต่อองค์กรตุลาการย่อมลดน้อยถอยลง จนในท้ายที่สุด อาจไม่เหลือซึ่งการยอมรับคำพิพากษาของศาล
หากเป็นเช่นนั้น นอกจากองค์กรตุลาการจะไม่บรรลุพันธกิจปกป้องนิติรัฐ-ประชาธิปไตยแล้ว กลับกลายเป็นว่าองค์กรตุลาการนั่นแหละที่เป็นผู้ทำลายนิติรัฐ-ประชาธิปไตยเสียเอง

องค์กรตุลาการในนิติรัฐ-ประชาธิปไตย

ปิยบุตร แสงกนกกุล
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


รัฐใดที่ประกาศตนเป็นนิติรัฐ ย่อมหลีกหนีไม่พ้นที่จะยอมรับบทบาทขององค์กรตุลาการ ในฐานะเป็นกุญแจสำคัญในการควบคุมการใช้อำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารไม่ให้เป็นไปตามอำเภอใจ การควบคุมฝ่ายบริหาร ก็ได้แก่ การควบคุมการความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำของฝ่ายปกครอง ในขณะที่การควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติ ก็ได้แก่ การควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายที่ตราขึ้นโดยรัฐสภา

องค์กรตุลาการในนิติรัฐสมัยใหม่ จึงมีบทบาทสำคัญ ไม่เพียงแต่บทบาทในการพิทักษ์ความชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงพันธกิจในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนจากการใช้อำนาจโดยมิชอบของรัฐ และการปกปักษ์รักษาประชาธิปไตยอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ด้วยบทบาทอันกว้างขวางขององค์กรตุลาการเช่นนี้ นำมาซึ่งความขัดแย้งกันเองกับคำว่าประชาธิปไตย กล่าวคือ ด้านหนึ่ง นิติรัฐ-ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม ก็เรียกร้องให้องค์กรตุลาการเข้ามามีบทบาทในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และควบคุมไม่ให้เกิดการปกครองที่เสียงข้างมากใช้อำนาจไปตามอำเภอใจ ในขณะที่อีกด้านหนึ่งนั้น เมื่อองค์กรตุลาการเข้าไปควบคุมการใช้อำนาจรัฐเข้า ก็เกิดการเผชิญหน้ากันกับองค์กรที่มีฐานความชอบธรรมทางการเมืองอย่างรัฐสภาและรัฐบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ในขณะที่องค์กรตุลาการปราศจากความชอบธรรมทางการเมืองเช่นว่า ความขัดแย้งดังกล่าว จะมีวิธีการประสานกันอย่างไร?
แน่นอนที่สุด หากเราตัดอำนาจการตรวจสอบขององค์กรตุลาการออกไป นิติรัฐนั้นก็กลายเป็นนิติรัฐที่ไม่สมประกอบ เพราะปราศจากซึ่งองค์กรที่เป็นกลางและอิสระทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เช่นกัน หากแก้ไขให้องค์กรตุลาการมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ก็คงไม่เหมาะสมเป็นแน่ เพราะจะทำให้องค์กรตุลาการสูญสิ้นความอิสระไปเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรตุลาการต้องคำนึงถึงคะแนนนิยมตลอดเวลา วิธีเหล่านี้จึงเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง

วิธีที่จะพอแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ได้ คือ การจัดวางตำแหน่งแห่งที่ขององค์กรตุลาการและการดำรงตนขององค์กรตุลาการให้สอดคล้องกับนิติรัฐ-ประชาธิปไตย
ในรายละเอียด ผู้เขียนขอแบ่งเป็น ๖ ประการ ดังนี้

ประการแรก ความเป็นอิสระขององค์กรตุลาการ
โดยทั่วไป รัฐธรรมนูญในรัฐเสรีประชาธิปไตยต่างรับรองความเป็นอิสระขององค์กรตุลาการเอาไว้ เช่น การจัดตั้งศาลต้องทำโดยกฎหมายที่ตราขึ้นโดยรัฐสภา การจัดตั้งศาลเฉพาะเพื่อคดีใดคดีหนึ่งไม่อาจกระทำได้ การโยกย้ายผู้พิพากษาต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิพากษานั้นด้วย การแต่งตั้งและโยกย้ายตลอดจนการดำเนินการทางวินัยเป็นอำนาจของคณะกรรมการตุลาการ การบริหารงบประมาณของศาลเป็นไปอย่างอิสระ เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของผู้พิพากษาสูงกว่าอาชีพอื่นๆ เป็นต้น

อาจสงสัยกันว่า ความเป็นอิสระของผู้พิพากษานี้ปราศจากความรับผิดชอบใดๆ เลยหรือ? แน่นอน ในระบอบประชาธิปไตยย่อมไม่มีองค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐใดที่ใช้อำนาจโดยปราศจากความรับผิดชอบ แต่ความรับผิดชอบขององค์กรตุลาการนั้นแตกต่างจากองค์กรนิติบัญญัติและบริหารซึ่งเป็นองค์กรทางการเมืองโดยแท้ กล่าวคือ องค์กรตุลาการไม่อาจถูกฝ่ายการเมืองแต่งตั้งโยกย้ายหรืออภิปรายไม่ไว้วางใจ และตำแหน่งผู้พิพากษาไม่ได้มาโดยการเลือกตั้งของประชาชน ตรงกันข้าม องค์กรตุลาการรับผิดชอบการปฏิบัติหน้าที่ของตนเองโดยผ่านเหตุผลประกอบคำพิพากษานั่นเอง ด้วยการให้สังคมได้มีโอกาสวิจารณ์คำพิพากษาอย่างเต็มที่


บางครั้งอาจมีกรณีตอบโต้การใช้อำนาจระหว่างองค์กรนิติบัญญัติกับองค์กรตุลาการ หรือองค์กรบริหารกับองค์กรตุลาการ เช่น ฝ่ายนิติบัญญัติอาจตรากฎหมายที่มีผลเป็นการ “ลบ” หลักการที่คำพิพากษาของศาลได้วางบรรทัดฐานเอาไว้ หรือในฝรั่งเศส สมัยวิกฤติแอลจีเรีย ประธานาธิบดีเดอโกลล์และรัฐบาลเร่งผลักดันรัฐบัญญัติจัดตั้งศาลทหารพิเศษในดินแดนแอลจีเรียเป็นการเฉพาะ ภายหลังจากที่ศาลปกครองสูงสุดได้เพิกถอนรัฐกำหนดจัดตั้งศาลทหารพิเศษเพียงไม่นาน (โปรดดูบทความของผู้เขียน, ฝ่ายการเมืองปะทะฝ่ายตุลาการ : ประสบการณ์จากฝรั่งเศส, เผยแพร่ครั้งแรกในประชาชาติธุรกิจ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๔๙ หรือดูได้ในเว็บไซต์ onopen) ในเรื่องความประพฤติส่วนตัวหรือการทุจริต ก็มีคณะกรรมการตุลาการเป็นผู้ดูแลและมีจริยธรรมวิชาชีพกำกับไว้ หรืออาจมีกระบวนการถอดถอนออกจากตำแหน่งได้

ประการที่สอง ความเป็นกลางขององค์กรตุลาการและความเป็นภาววิสัยของคำพิพากษา
องค์กรตุลาการต้องดำรงตนอย่างเป็นกลางและปราศจากอคติ ในกระบวนพิจารณาคดี ต้องให้โอกาสคู่ความทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน ในกรณีที่ผู้พิพากษามีส่วนได้เสียกับประเด็นแห่งคดีที่ตนจะพิจารณา ผู้พิพากษานั้นต้องถอนตัวออกจากการพิจารณาคดี ดังสุภาษิตในภาษาละตินที่ว่า “Nemo in propria causa judex” ด้วยเหตุนี้ จึงเห็นกันว่าผู้พิพากษาทั้งหลายไม่ควรเข้าไป ‘เล่น’ การเมืองด้วยการไปดำรงตำแหน่งในรัฐบาล ไปร่างรัฐธรรมนูญ ไปร่างกฎหมาย หากเข้าไปแล้วก็ไม่ควรกลับมาเป็นผู้พิพากษาใหม่ เพราะในวันข้างหน้าเป็นไปได้ว่า อาจมีประเด็นแห่งคดีเกี่ยวกับเรื่องที่ตนเคยเข้าไปเกี่ยวข้อง
ความเป็นกลางของผู้พิพากษาจะสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นภาววิสัยของคำพิพากษา เหตุผลประกอบคำพิพากษาเกิดจากการพิจารณาข้อเท็จจริงประกอบกับข้อกฎหมาย มิใช่นำรสนิยมทางการเมืองส่วนตัว ความเชื่อทางศาสนา ความนิยมชมชอบส่วนตัวเข้ามาเป็นปัจจัยประกอบการตัดสิน คำพิพากษาต้องไม่เกิดจากการตั้งธงคำตอบไว้ล่วงหน้า จากนั้นจึงค่อยหาเหตุผลเพื่อนำไปสู่ธงคำตอบนั้น ความเป็นภาววิสัยของคำพิพากษาย่อมทำให้บุคคลซึ่งแม้ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษา เหตุผลของคำพิพากษา หรือผลของคำพิพากษา แต่บุคคลนั้นก็ยังคงยอมรับนับถือคำพิพากษาอยู่ดี

คำพิพากษาต้องผ่านการกลั่นกรองและพิจารณาอย่างลึกซึ้งของผู้พิพากษา โดยใช้เหตุผลทางกฎหมายประกอบ คำพิพากษาต้องสนับสนุนความชอบด้วยกฎหมายและความมั่นคงแน่นอนและชัดเจนของกฎหมายไปพร้อมๆกัน ที่ว่าต้องสนับสนุนความชอบด้วยกฎหมาย ก็เพื่อสร้างความสมเหตุสมผลทางกฎหมายและการเคารพกฎหมายตามแนวทางกฎหมายเป็นใหญ่ของหลักนิติรัฐ ส่วนที่ว่าต้องสนับสนุนความมั่นคงแน่นอนและชัดเจนของกฎหมาย ก็เพื่อสร้างความเชื่อไว้วางใจต่อระบบกฎหมาย ความสม่ำเสมอต่อเนื่องของกฎเกณฑ์ และบุคคลสามารถคาดการณ์ได้ว่าการกระทำของตนและผู้อื่นจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

บางกรณีทั้งสองเรื่องนี้ก็แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงจนทำให้การหาจุดสมดุลของสองเรื่องนี้เป็นไปโดยยากและอาจต้องเอียงไปในทางใดทางหนึ่งมากกว่า ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้พิพากษาที่ต้องใช้เหตุผลมาอธิบายให้ได้ว่าเหตุใดจึงตัดสินใจรักษาความชอบด้วยกฎหมายมากกว่า และมีวิธีการเยียวยาความมั่นคงแน่นอนและชัดเจนของกฎหมายอย่างไร หรือเหตุใดจึงตัดสินใจรักษาความมั่นคงแน่นอนและชัดเจนของกฎหมายมากกว่า และมีวิธีเยียวยาความชอบด้วยกฎหมายอย่างไร ด้วยเหตุผลดังกล่าว คำพิพากษาที่ให้ใช้กฎหมายย้อนหลังอันเป็นผลร้ายแก่บุคคลโดยไม่ได้มีการอธิบายเหตุผลทางกฎหมายเพียงพอ จึงเป็นคำพิพากษาที่ไร้มาตรฐานและไม่สมเหตุสมผล

ประการที่สาม ความเชื่อถือไว้วางใจของสังคมต่อองค์กรตุลาการ
ความน่าเชื่อถือและความศรัทธาต่อศาล ทั้งในแง่ตัวองค์กรและตัวบุคคล หาได้เกิดจากบทบัญญัติแห่งกฎหมายเกี่ยวกับการ “หมิ่น” ศาลหรือละเมิดอำนาจศาล หรือการอ้างว่าผู้พิพากษาตัดสิน “ในพระปรมาภิไธย” ไม่ ตรงกันข้าม เกิดจากความสมเหตุสมผลในเหตุผลประกอบคำพิพากษา ความเป็นภาววิสัยของเหตุผลประกอบคำพิพากษา ความเป็นอิสระและการดำรงตนอย่างปราศจากอคติของผู้พิพากษา

คำพิพากษาจะมีคุณค่า นอกจากเพราะกฎหมายกำหนดให้คำพิพากษามีค่าบังคับแล้ว ยังต้องอาศัยความเชื่อถือของประชาชนประกอบด้วย จริงอยู่ เป็นไปไม่ได้ที่จะให้ประชาชนทุกคนเห็นด้วยกับเนื้อหาของคำพิพากษาทั้งหมด แต่อย่างน้อยวิญญูชนพิจารณาดูแล้ว ก็ต้องยอมรับในเหตุผลที่ประกอบคำพิพากษานั้น และเห็นว่าคำพิพากษานั้นมีคุณภาพได้มาตรฐาน

การสร้างความเชื่อถือไว้วางใจของสังคมต่อผู้พิพากษา ไม่ได้หมายความว่าผู้พิพากษาต้องทำตนเป็นที่นิยมของประชาชน ไม่ได้หมายความว่าผู้พิพากษาต้องยอมกระทำการที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายและสามัญสำนึกของตนเพียงเพื่อความพอใจของสาธารณชน ไม่ได้หมายความว่าผู้พิพากษาต้องตัดสินโดยฟังกระแสสังคม นี่เรียกว่า ความนิยม (Popularité) ซึ่งตรงกันข้ามกับ ความเชื่อถือไว้วางใจ (Confiance) ความเชื่อถือไว้วางใจนั้น เป็นความเชื่อถือที่มีต่อความเป็นอิสระของผู้พิพากษา ความเป็นกลางของผู้พิพากษา ความยุติธรรมของผู้พิพากษา และความเคารพในจริยธรรมวิชาชีพของผู้พิพากษา
นอกจากนี้ ความเชื่อถือไว้วางใจในตัวผู้พิพากษา ยังอาจเกิดจากวัตรปฏิบัติของผู้พิพากษาเอง เช่น การรู้ถึงขอบเขตอำนาจและข้อจำกัด การยอมรับความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ และการอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่หยิ่งทระนงว่าตนยิ่งใหญ่ ไม่อหังการ-มมังการ เพราะ ”หัวโขน” ผู้พิพากษา หรือเพราะคำอ้างที่ว่าตนกระทำการในนามกษัตริย์

ประการที่สี่ การตระหนักถึงขอบเขตอำนาจของตนเอง
นิติรัฐ-ประชาธิปไตยเรียกร้องเรื่องการแบ่งแยกอำนาจให้เกิดดุลยภาพระหว่างอำนาจรัฐในแขนงต่างๆ องค์กรตุลาการเองก็เช่นกัน ต้องตระหนักอยู่เสมอว่าตนเองมีอำนาจ ‘เชิงรับ’ ศาลไม่อาจควบคุมองค์กรฝ่ายบริหารได้ในทุกกรณี ตรงกันข้าม เรื่องจะขึ้นไปสู่ศาลได้ก็ต่อเมื่อมีการริเริ่มคดีโดยบุคคลที่เกี่ยวข้องเสียก่อน และศาลไม่อาจลงมาหยิบยกเรื่องใดขึ้นพิจารณาได้ด้วยตนเอง

การพิพากษาของศาลมิใช่กระทำได้อย่างพร่ำเพรื่อหรือปราศจากกฎเกณฑ์ กว่าที่องค์กรตุลาการจะผลิตคำพิพากษาได้นั้น ต้องผ่านขั้นตอนตั้งแต่เงื่อนไขการฟ้องคดี เช่น ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิหรือมีส่วนได้เสียในการฟ้องคดีหรือไม่ การฟ้องทำตามรูปแบบหรือไม่ ฟ้องภายในอายุความหรือไม่ ศาลมีเขตอำนาจพิจารณาหรือไม่ จากนั้นยังต้องผ่านกระบวนพิจารณาที่เป็นธรรมอีก ในท้ายที่สุดเมื่อศาลตัดสิน ก็ยังต้องพิจารณาอีกว่าคำพิพากษาของศาลนั้นมีผลเป็นการทั่วไปหรือมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความ มีผลย้อนหลังหรือมีผลไปในอนาคต

เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าองค์กรตุลาการเป็นผู้เล่นหลักคนหนึ่งในชีวิตทางการเมืองของรัฐ (Acteur politique) อย่างไรเสียองค์กรตุลาการก็ต้องมีบทบาทางการเมือง แต่บทบาททางการเมืองเช่นว่านั้น ต้องกระทำผ่านคำพิพากษาและภายใต้ความเป็นเหตุเป็นผลตามกฎหมายเท่านั้น อนึ่ง แม้องค์กรตุลาการอาจเข้าแทรกแซงทางการเมืองโดยผ่านคำพิพากษาของตน แต่องค์กรตุลาการต้องคำนึงถึงหลักการแบ่งแยกอำนาจและการรักษาดุลยภาพระหว่างอำนาจไว้เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องบางเรื่องเกี่ยวพันอย่างลึกซึ้งกับแนวนโยบายของรัฐบาล หรือเรื่องทางการเมืองโดยแท้ องค์กรตุลาการก็จำต้องสงวนท่าทีและควบคุมการใช้อำนาจของตนเองลง เช่น การยุบสภา การประกาศสงคราม การเลือกนายกรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี

ในบางกรณี รัฐบาลอาจดำเนินนโยบายตามที่รณรงค์หาเสียงกับประชาชนไว้ในช่วงเลือกตั้ง เมื่อได้รับเลือกตั้งเข้ามาแล้วจึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ได้รับอาณัติจากประชาชนในการดำเนินนโยบายดังกล่าว ประเด็นปัญหานี้ องค์กรตุลาการอาจเข้าไปควบคุมได้แต่เพียงเฉพาะ ‘ความชอบด้วยกฎหมาย’ ของมาตรการตามนโยบายเท่านั้น องค์กรตุลาการไม่อาจเข้าไปก้าวล่วงถึง ‘ความเหมาะสม’ ของนโยบาย อีกนัยหนึ่ง คือ องค์กรตุลาการต้องใช้ ‘กฎหมาย’ เป็นมาตรวัดนั่นเอง

แม้องค์กรตุลาการจะมีอำนาจในการควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร และมีอำนาจในการพิพากษาคดีความให้มีผลเป็นที่สุด (res judicata) แต่องค์กรตุลาการก็ไม่ได้มีอำนาจอย่างปราศจากขอบเขต ด้วยธรรมชาติและลักษณะพิเศษขององค์กรตุลาการที่ต้องการความเป็นอิสระทำให้ขาดความเชื่อมโยงกับประชาชนและสังคม แต่องค์กรตุลาการกลับมีอำนาจควบคุมการใช้อำนาจรัฐ กฎหมายจึงต้องออกแบบระบบไม่ให้องค์กรตุลาการใช้อำนาจอย่างไร้ขอบเขตด้วยการวางกลไกวิธีพิจารณาคดี ในขณะเดียวกันองค์กรตุลาการก็ต้องจำกัดการใช้อำนาจของตนเอง ไม่เข้าไปรุกล้ำในเรื่องที่เป็นนโยบายหรือการเมืองโดยแท้

นี่เป็นหลักการพื้นฐานขององค์กรตุลาการในรัฐเสรีประชาธิปไตย ไม่ใช่กระบวนการ ‘ตุลาการภิวัตน์’ ซึ่งแอบอ้างเพื่อนำไปใช้สนับสนุนการเข้าไป ‘เพ่นพ่าน’ ในสนามการเมือง เช่น การร่างรัฐธรรมนูญ การดำรงตำแหน่งในองค์กรเฉพาะกิจเพื่อปราบปรามศัตรู การดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ตลอดจนการแต่งตั้งบุคคลไปดำรงตำแหน่งสำคัญ

ประการที่ห้า คำพิพากษา ‘สาธารณะ’
จริงอยู่ ในทางกฎหมาย คำพิพากษาอาจมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความหรืออาจมีผลผูกพันองค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐทั้งปวง แต่ในความเป็นจริงแล้ว คำพิพากษามีผลกระทบออกไปในวงกว้าง ไม่ว่าทั้งทางตรงหรือทางอ้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้และตีความกฎเกณฑ์ที่ค่อนข้างเป็นนามธรรมให้เกิดผลเป็นรูปธรรม

บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่รับรองสิทธิและเสรีภาพหรือวางเงื่อนไขการใช้อำนาจรัฐมักเขียนด้วยถ้อยคำกว้างๆ เปิดโอกาสให้ศาลได้พิจารณาข้อเท็จจริงเป็นรายกรณี การใช้และตีความกฎหมายเหล่านี้โดยศาลผ่านทางคำพิพากษาในแต่ละคดีต่างหากที่ ‘แปล-ขยาย’ ความเหล่านั้นให้มีผลชัดเจนและจับต้องได้ เมื่อศาลได้พิจารณาข้อเท็จจริงที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกันซ้ำเข้ามากๆ ในคดีก่อนๆ ก็กลายเป็นบรรทัดฐานที่ศาลต้องเดินตามในคดีหลัง นอกเสียจากศาลจะมีเหตุผลที่หนักแน่นเพียงพอและรับฟังได้ หรือบริบทแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมาก ศาลก็อาจเปลี่ยนแนวจากคำพิพากษาบรรทัดฐานนั้น ลักษณะดังกล่าวนี้เอง ทำให้สำนักคิดกฎหมายสัจนิยม โดยเฉพาะเซอร์ โอลิเวอร์ เวนเดล โฮล์มส์ ถึงกับประกาศว่า “กฎหมายในความเห็นของข้าพเจ้า คือการพยากรณ์ต่อการกระทำของศาลในความเป็นจริง ไม่มีอะไรอื่นเลยนอกจากนี้”

ด้วยอานุภาพของการใช้และตีความกฎหมายของศาลดังกล่าว ทำให้คำพิพากษาไม่ได้ส่งผลเฉพาะต่อคดีนั้นเท่านั้น คำพิพากษาจึงไม่ควรมีขึ้นเพียงเพื่อให้ผู้พิพากษาและผู้ที่เกี่ยวข้องในคดีอ่าน ตรงกันข้ามคำพิพากษาต้องพยายามสร้าง “การสื่อสารระหว่างองค์กรตุลาการกับสังคม”

ผู้พิพากษาในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของประชาธิปไตยต้องตระหนักเสมอว่าการเขียนคำพิพากษานั้น ไม่ได้เขียนอธิบายความและเหตุผลให้แก่คู่ความเท่านั้น แต่เป็นการให้เหตุผลแก่บุคคลทั่วไปด้วย คำพิพากษาที่ดีจึงต้องสามารถให้การศึกษาแก่สังคม นำมาซึ่งการศึกษาค้นคว้า วิพากษ์วิจารณ์ และถกเถียงกันอย่างสร้างสรรค์ทั้งในหมู่นักกฎหมายและบุคคลทั่วไป ในกรณีที่เป็นข้อบกพร่องจากกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ เนื้อหาของคำพิพากษาต้องกระตุ้นเตือนเพื่อนำไปสู่การแก้ไขหรือยกเลิกกฎหมาย

คำพิพากษา ‘สาธารณะ’ จึงต้องประกอบไปด้วย 2 ปัจจัยสำคัญ ปัจจัยแรก การเข้าถึงคำพิพากษาต้องเป็นไปโดยง่าย ภายหลังอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังแล้ว คำพิพากษาต้องเปิดเผยให้สาธารณชนได้รับทราบ เพื่อให้บุคคลทั่วไปได้มีโอกาสวิจารณ์ ปัจจัยที่สอง ผู้พิพากษาต้องคิดอยู่เสมอว่าการเขียนคำพิพากษานั้นเป็นช่องทางการสื่อสารระหว่างองค์กรตุลาการกับสังคม ไม่ใช่เขียนเพียงเพื่อตัดสินคดีให้แล้วเสร็จไป

ประการที่หก การยอมรับคำวิพากษ์วิจารณ์
โดยธรรมชาติขององค์กรตุลาการนั้นเป็นองค์กร ‘ปิด’ และมีจุดเชื่อมโยงกับประชาชนน้อยกว่าองค์กรของรัฐอื่นทั้งนี้เพื่อประกันความเป็นอิสระขององค์กรตุลาการ ลักษณะดังกล่าวอาจนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงให้องค์กรตุลาการกลายเป็น ‘แดนสนธยา’ ได้ง่ายขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องสร้างระบบการวิจารณ์การทำงานของศาล นั่นก็คือ การวิจารณ์คำพิพากษานั่นเอง

การลำพองตนของผู้พิพากษาว่าตนปฏิบัติหน้าที่ในนามของกษัตริย์ ตนมีพระราชดำรัสของกษัตริย์ที่สนับสนุนและให้กำลังใจ เป็นอุปสรรคและไม่ส่งเสริมให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์คำพิพากษา และอาจทำให้ผู้พิพากษา ‘หลง’ อำนาจจนละเลยสังคมและไม่ใส่ใจความเห็นขององคาพยพอื่นๆ ในสังคม เช่นกัน การสงวน ‘คำพิพากษา’ ไว้ให้เฉพาะผู้พิพากษา ทนายความ หรือคู่ความก็ดี การพยายามสร้างความเชื่อที่ว่า คำพิพากษาเป็นเรื่องกฎหมาย มีแต่นักกฎหมายด้วยกันเท่านั้นที่เข้าใจก็ดี ล้วนแล้วแต่เป็นการสร้างทัศนคติที่คับแคบในหมู่นักกฎหมายว่าในโลกนี้มีแต่นักกฎหมายที่เป็นใหญ่ และผูกขาด ‘ความจริง’ ในนามของกฎหมาย

ในทางกลับกัน การเปิดโอกาสให้บุคคลในวงการกฎหมาย สื่อมวลชน บุคคลทั่วไปได้วิพากษ์วิจารณ์และถกเถียงอย่างสร้างสรรค์ต่อคำพิพากษานั้น ย่อมทำให้คำพิพากษาและศาลได้การยอมรับนับถือ และสร้างความชอบธรรมทางประชาธิปไตยให้กับคำพิพากษาและผู้พิพากษานั้นด้วย การวิจารณ์คำพิพากษาโดยสาธารณชนยังช่วยสร้างกระบวนการประชาธิปไตยให้เข้มแข็งและลึกซึ้งขึ้นตามแนวทาง ‘ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ’ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในปัจจุบันและขยายต่อจาก ‘ประชาธิปไตยทางตรง’ ‘ประชาธิปไตยทางผู้แทน’ และ ‘ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม’

ด้วยเหตุนี้ การ ‘ใช้’ หรือการ ‘ข่มขู่ว่าจะใช้’ กฎหมายที่มีบทลงโทษเกี่ยวกับข้อหา ‘หมิ่นศาล’ หรือ ‘ละเมิดอำนาจศาล’ จึงล้าสมัยและเป็นอุปสรรคต่อความเป็นประชาธิปไตยขององค์กรตุลาการ .............

ในรัฐเสรีประชาธิปไตยสมัยใหม่ องค์กรตุลาการมีพันธกิจ 4 เรื่องหลักๆ ได้แก่ การวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท การควบคุมความชอบด้วยกฎหมาย การสร้างกฎเกณฑ์ทางกฎหมายผ่านทางการใช้และตีความกฎหมายในคำพิพากษา และการเป็นผู้เล่นคนหนึ่งในชีวิตทางการเมืองของรัฐ การปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้บรรลุพันธกิจทั้งสี่นี้ ต้องเป็นไปโดยสอดคล้องกับหลักนิติรัฐและหลักประชาธิปไตยอันเป็นคุณค่าพื้นฐานที่รัฐเสรีประชาธิปไตยยึดถือ

แนวทางทั้ง 6 ประการนี้ เป็นการสนับสนุนองค์กรตุลาการให้ปฏิบัติหน้าที่สอดคล้องกับหลักนิติรัฐและหลักประชาธิปไตย ไม่ใช่เป็นการปฏิเสธบทบาทขององค์กรตุลาการในการตัดสินคดีอย่างก้าวหน้า แต่การตัดสินอย่างก้าวหน้าควรประกอบด้วยเหตุผลที่มีความเป็นภาววิสัย มีหลักกฎหมายรองรับ และอธิบายให้สังคมยอมรับนับถือได้ เป็นความกล้าปฏิเสธอำนาจนอกระบบและรัฐประหาร เป็นความกล้าตัดสินเพื่อแก้ ‘วิกฤติ’ ด้วยการพิจารณาอย่างรอบคอบจากจิตสำนึกของผู้พิพากษาและยึดกฎหมายเป็นหลัก ไม่ใช่เป็นการตัดสินที่ ‘คิดว่า’ ก้าวหน้าเพื่อแก้ ‘วิกฤต’ เพราะมีใครคนใดคนหนึ่งออกมากระตุ้นให้องค์กรตุลาการต้องตัดสิน หรือ เพราะต้องการปราบปรามศัตรูทางอุดมการณ์ทางการเมือง

จริงอยู่ ในนิติรัฐ หลักการควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารโดยองค์กรตุลาการ และหลักความเป็นอิสระขององค์กรตุลาการ เป็นหลักการสำคัญอันขาดเสียมิได้ แต่หลักการดังกล่าวไม่ได้มีคุณค่าหรือสถานะสูงสุดเหนือกว่าหลักการอื่น จนทำให้องค์กรตุลาการมีอำนาจล้นฟ้าและปราศจากการตรวจสอบถ่วงดุล ตรงกันข้าม หลักการเหล่านี้เป็นหลักการในทางกลไกเพื่อพิทักษ์รักษาหลักการที่มีคุณค่าสูงสุด คือ หลักนิติรัฐและหลักประชาธิปไตย กล่าวให้ถึงที่สุด อำนาจและความอิสระที่นิติรัฐหยิบยื่นให้องค์กรตุลาการนั้น ก็เพื่อให้นำมาใช้ปกป้องนิติรัฐและประชาธิปไตยนั่นเอง หาใช่ให้เพื่อนำมาใช้ทำลายนิติรัฐและประชาธิปไตยไม่

ต้องไม่ลืมว่า องค์กรตุลาการไม่ได้อยู่เหนือประชาธิปไตย แต่เป็นส่วนหนึ่งของประชาธิปไตยเช่นเดียวกันกับองค์กรอื่นๆ การปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรตุลาการให้สอดคล้องกับนิติรัฐ-ประชาธิปไตย และการสำนึกอยู่เสมอว่าตนเป็นส่วนหนึ่งในประชาธิปไตยและมีหน้าที่พิทักษ์ประชาธิปไตย เป็นหนทางเดียวที่จะทำให้องค์กรตุลาการสามารถยืนหยัดอยู่ในสังคมสมัยใหม่ และสร้างความชอบธรรมให้องค์กรตุลาการในการเข้าไปตรวจสอบอำนาจรัฐ

ในทางกลับกัน หากองค์กรตุลาการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความอคติ ปิดกั้นการวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติหน้าที่ของตน หรือยอมพลีตนรับใช้อุดมการณ์บางอย่างด้วยการเป็นกลไกปราบปรามศัตรูแล้ว ความน่าเชื่อถือต่อองค์กรตุลาการย่อมลดน้อยถอยลง จนในท้ายที่สุด อาจไม่เหลือซึ่งการยอมรับคำพิพากษาของศาล
หากเป็นเช่นนั้น นอกจากองค์กรตุลาการจะไม่บรรลุพันธกิจปกป้องนิติรัฐ-ประชาธิปไตยแล้ว กลับกลายเป็นว่าองค์กรตุลาการนั่นแหละที่เป็นผู้ทำลายนิติรัฐ-ประชาธิปไตยเสียเอง