Thursday, October 28, 2010

"ถังที่แตกร้าว"

ชายจีนคนหนึ่งแบกถังน้ำ 2 ใบ ไว้บนบ่าเพื่อไปตักน้ำที่ริมธาร ถังน้ำใบหนึ่งมีรอยแตก ในขณะที่อีกใบหนึ่งไร้รอยตำหนิ และสามารถบรรจุน้ำกลับมาได้เต็มถัง แต่ด้วยระยะทางอันยาวใกลจากลำธารกลับสู่บ้าน จึงทำให้น้ำที่อยู่ในถังใบที่มีรอยแตกเหลืออยู่เพียงครึ่งเดียว

เหตุการณ์ทั้งหมดนี้ดำเนินมาเป็นเวลา 2 ปีเต็ม ที่คนตักน้ำสามารถตักน้ำกลับบ้านได้ 1 ถัง
ครึ่ง ซึ่งแน่นอนว่าถังน้ำใบที่ไม่มีตำหนิจะรู้สึกภาคภูมิใจในผลงานเป็นอย่างยิ่ง

ในขณะเดียวกันถังน้ำที่มีรอยแตก ก็รู้สึกอับอายต่อความบกพร่องของตัวเองมันรู้สึกโศรก
เศร้ากับการที่มันสามารถทำหน้าที่ได้เพียงครึ่งเดียว ของจุดประสงค์ที่มันถูกสร้างขึ้นมา

หลังจากเวลา 2 ปี ที่ถังน้ำที่มีรอยแตก มองว่าเป็นความล้มเหลวอันขมขื่น วันหนึ่งที่ข้าง
ลำธารมันได้พูดกับคนตักน้ำว่า "ข้าฯรู้สึกอับอายตัวเอง เป็นเพราะรอยแตกด้านข้างของตัวข้าฯ ทำให้
น้ำที่อยู่ข้างในไหลออกมาตลอดเส้นทางที่กลับไปยังบ้านของท่าน"

คนตักน้ำตอบว่า "เจ้าเคยสังเกตุหรือไม่ว่า มีดอกไม้แบ่งบานอยู่ตลอดเส้นทางในด้าน
ของเจ้า แต่กลับไม่มีดอกไม้อยู่เลยในอีกด้านหนึ่ง เพราะข้าฯรู้ว่าเจ้ามีรอยแตกอยู่ ข้าฯจึงได้หว่าน
เมล็ดพันธ์ดอกไม้ลงข้างทางเดินด้านของเจ้า และทุกวันที่เราเดินกลับ.....เจ้าก็เป็นผู้รดน้ำให้กับเมล็ด
พันธ์เหล่านั้น"

"เป็นเวลา 2 ปี ที่ข้าฯสามารถที่จะเก็บดอกไม้สวย ๆ เหล่านั้น กลับมาแต่งโต๊ะกินข้าว ถ้า
ปราศจากเจ้าที่เป็นเจ้าแบบนี้แล้ว......เราก็คงไม่อาจได้รับความสวยงามแบบนี้ได้"

"คนเราแต่ละคนย่อมมีข้อบกพร่องที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง  แต่รอยตำหนิ และข้อบก
พร่องที่เราแต่ละคนมีนั้น อาจช่วยทำให้การอยู่ร่วมกันของเราน่าสนใจ และกลายเป็นบำเหน็จรางวัลของชีวิตได้ สิ่งที่ต้องทำก็เพียงแค่ยอมรับคนแต่ละคนในแบบที่เขาเป็น และมองหาสิ่งที่ดีที่สุดในตัว
ของพวกเขาเหล่านั้นเท่านั้นเอง"

"มองโลกหลาย  ๆ ด้าน  เพราะคนเราไม่ได้มีแต่ข้อเสียเท่านั้น"
(จริง ๆ)

1 comment:

  1. ในตัวเรามีคนอยู่ "สามคน "

    ณ วัดบ้านไร่แห่งหนึ่ง หลวงตาเพิ่งกลับจากการบิณฑบาตเห็นลูกศิษย์วัดนั่งร้องไห้สะอึกสะอื้น จึงเข้าไป ถามไถ่ว่าเป็นอะไร ลูกศิษย์ตอบกลับมาว่า "ผมถูกใส่ร้าย ผมไม่ได้ขโมยเงินในหอพระ แต่ผมเข้าไปปัดกวาดเช็ดถูบ่อย ๆ ทุกคนก็หาว่าผมเป็นขโมย ไม่มีใครเชื่อผมเลย ฮือ ฮือ"

    หลวงตานั่งลงข้าง ๆ พยักหน้าเข้าใจแล้วสอนลูกศิษย์ว่า
    "เจ้ารู้ไหม ในตัวเรามีคนอยู่สามคน คนแรกคือ คนที่เราอยากจะเป็น คนที่สองคือ คนที่คนอื่นคิดว่าเราเป็น คนที่สามคือ ตัวเราที่เป็นเราจริง ๆ "

    ลูกศิษย์หยุดร้องไห้ นิ่งฟังหลวงตา

    คนเราล้วนมีความฝัน ความทะยานอยาก ตามประสาปุถุชนทั่วไป ไม่ใช่สิ่งเลวร้าย บางครั้งความฝันก็เป็นสิ่งสวยงาม เป็นพลังที่ทำให้เราก้าวเดิน เช่น บางคนอยากเป็นนักร้อง เป็นนักมวย เป็นดารา ถ้าถึงจุดหมายเราก็จะรู้สึกว่าโลกนี้ช่างสว่าง ไสวสวยงาม ดังนั้นเราควรมีความฝันไว้ประดับตน เพื่อเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง หัวใจ"

    "มาถึงไอ้ตัวที่สอง จะเป็นเราแบบที่คนอื่นยัดเยียดให้เป็น บางครั้งก็ยัดเยียด ว่าเราดีเลิศ จนเราอาย เพราะจิตสำนึกเรารู้ดีว่ามันไม่จริงหรอก แต่เราก็ยิ้มรับ แต่บางครั้งไอ้ตัวที่สองนี้ก็มหาอัปลักษณ์ จนไม่อยากจะนึกถึง ซ้ำร้ายยังเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพราะมันเป็นโลกในมือคนอื่น มันเป็นสิ่งแปลกปลอมที่คนอื่น ยื่นให้" เจ้าต้องจำไว้นะ ทุกครั้งที่เราว่าคนอื่นเลว คนอื่นไม่ดี ก็เท่ากับเราประจานความมืดดำในใจตัวเองออกมา เห็นสิ่งไม่ดีของใครจงเตือนตัวเองว่าอย่าทำ อย่าเลียนแบบ

    นั่นแหละวิถีของนักปราชญ์ ถ้าเอาไปว่าร้ายนินทาเรียกว่าวิถีของคนพาล"

    "แล้วเราต้องทำตัวอย่างไรละครับในเมื่อเราต้องเจอคนเหล่านั้นเรื่อย ๆ " ลูกศิษย์หยุดร้องไห้แล้ว เริ่มสนทนาโต้ตอบหลวงตา
    เจ้าต้องทำความเข้าใจจิตใจมนุษย์ เรียนรู้ว่าความเข้าใจผิดเกิดขึ้นได้ เราห้ามใจใครไม่ได้ สิ่งใดที่เราไม่ได้ทำ ไม่ได้คิด ไม่ได้เป็น แต่คนอื่นคอยยัดเยียดให้เรา เราก็ไม่ควรให้ความสำคัญ เพราะเราสัมผัสได้ว่าสิ่งนั้นไม่มีอยู่จริง ใจเราควรสงบนิ่ง ยังไม่ต้องชำระ ใจคนอื่นต่างหากที่ควรซักฟอกให้ขาวสะอาดกว่าที่เป็นอยู่ เขาเหล่านั้นเป็นบุคคลที่น่าสงสาร มีเวลามองคนอื่น แต่ไม่มีเวลามองตัวเอง จงแผ่เมตตาให้เขาไป เข้าใจใช่ไหม"
    "เข้าใจครับหลวงตา" เด็กน้อยยิ้มมีความสุขอีกครั้ง

    ReplyDelete