อุดมการณ์ประชาธิปไตยจะเน้นในเรื่องสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคควบคู่กันไป
สิทธิเสรีภาพ
สิทธิ หมายถึง อำนาจอันชอบธรรมหรือความสามารถที่จะกระทำการใด ๆ ได้โดยชอบธรรม โดยอำนาจอื่นแม้กระทั่งอำนาจของรัฐจะก้าวก่ายในสิทธิของบุคคลอื่นไม่ได้
เสรีภาพ หมายถึง ความมีอิสระในการกระทำการใด ๆ ได้ตามปรารถนา แต่มีขอบเขตจำกัดว่า การกระทำนั้นๆ จะต้องไม่ละเมิดกฎหมายหรือละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น โดยเสรีภาพที่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานได้แก่ เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ เสรีภาพในการรวมตัวกันจัดตั้งเป็นพรรคการเมือง ฯลฯ
สิทธิและเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตยจำแนกได้ดังนี้
1. เสรีภาพในการพูด การพิมพ์ และการโฆษณา โดยรัฐประชาธิปไตยจะอนุญาตให้มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น แต่ต้องไม่หยาบคายลามก หมิ่นประมาท หรือละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นนี้มีค่าสูงมาก เพราะเชื่อว่า หากยอมให้ทุกฝ่ายได้แสดงความคิดเห็นอย่างเสรีแล้ว การขัดแย้งกันอย่างรุนแรงจะไม่เกิดขึ้น
2. เสรีภาพในการนับถือศาสนา คนทุกคนย่อมมีสิทธิโดยสมบูรณ์ที่จะเลือกนับถือหรือศรัทธาในศาสนาใดศาสนาหนึ่งแต่บุคลก็ไม่สารถที่จะปฏิเสธกฎหมายของรัฐซึ่งอาจขัดแย้งกับหลักการทางศาสนาของเขา แต่ในบางประเทศที่เคารพเสรีภาพสูงมาก เช่น สหรัฐอเมริกา การหลีกเลี่ยงกฎหมายของประเทศเพราะขัดหลักการทางศาสนา ได้รับการยอมรับว่าเป็นการกระทำที่ไม่ผิดกฎหมาย จึงไม่ต้องรับโทษแต่ประการใด
3. เสรีภาพในการสมาคมหรือรวมกลุ่ม โดยต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์แห่งกฎหมาย และไม่เป็นอันตรายหรือไม่เป็นอุปสรรคต่อผลประโยชน์ของสังคมโดยส่วนรวม ตราบเท่าที่การกระทำนั้นเป็นไปอย่างสันติและไม่เกินเลยขอบเขตแห่งกฎหมาย
4. สิทธิในทรัพย์สิน คนทุกคนมีสิทธิที่จะมีทรัพย์สมบัติเป็นของตนเอง รัฐบต้องทำหน้าที่ป้องกันภัยอันอาจจะเกิดต่อทรัพย์สินของประชาชนภายในรัฐ
5. สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย บุคคลจะต้องไม่ถูกลงโทษถึงแก่ชีวิต เสียอิสรภาพหรือเสียทรัพย์สินปราศจากการพิจารณาตามกระบวนการแห่งกฎหมาย
6. สิทธิส่วนบุคคล สิทธิมูลฐานที่ถือเป็นสิทธิส่วนบุคคล เช่น เสรีภาพในร่างกาย การเลือกประกอบอาชีพ การสมรส การหย่าร้าง ฯลฯ โดยลบุคคลทุกคนย่อมมีเสรีภาพตราบเท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย
บทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ได้แก่ ตำรวจจะออกหมายจับไม่ได้ถ้าศาลไม่อนุญาต ตำรวจต้องส่งตัวผู้ถูกจับกุมไปศาลภายใน 48 ชั่วโมง ห้ามเนรเทศคนไทยที่ทำผิดออกนอกประเทศ ฯลฯ
ความเสมอภาค
ความเสมอภาคในระบอบประชาธิปไตยจำแนกออกได้ 5 ประการ
1. ความเสมอภาคทางการเมือง ได้แก่ การที่บุคคลทุกคนมิสิทธิที่จะเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง เท่าๆ กัน เช่น การออกเสียงเลือกตั้งเมื่ออายุถึงเกณฑ์ เสียงของแต่ละนับค่าเท่ากัน
2. ความเสมอภาคต่อการปฏิบัติของกฎหมาย หมายถึง บุคคลจะได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายโดยเท่าเทียมกัน การกระทำความผิด การลงโทษ และการได้รับเหตุอันควรปราณีจะต้องใช้กฎหมายเดียวกัน
3. ความเสมอภาคในโอกาส คนทุกคนจะต้องได้รับโอกาสที่จะใช้ความสามารถของเขาในการศึกษา การประกอบธุรกิจการงาน และการแสวงหาความเจริญก้าวหน้าหรือเลื่อนสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมโดยทัดเทียมกัน
4. ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ มิได้หมายถึงการที่คนทุกคนจะต้องมีรายได้เท่าเทียมกันแต่หมายถึง สภาพความใกล้เคียงกันในฐานะทางเศรษฐกิจ โดยจะต้อง
4.1) มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม เพื่อมิให้เกิดช่องว่างระหว่างชนชั้นมากนัก เช่น การเก็บภาษาในอัตราก้าวหน้า เป็นต้น
4.2) บุคคลควรมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจพอสมควร คือ มีรายได้เพียงพอในการดำรงชีพ เช่น การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ การให้สิทธิคนยากจนรับการรักษาพยาบาลฟรีและสวัสดิการต่าง ๆ เป็นต้น Ahungry man is not a freeman ซึ่งหมายถึง คนมีกำลังหิวมักต้องกังวลในเรื่องหาเลี้ยงปากท้องจะส่งผลให้ สังคมที่เขาอยู่เป็นสังคมที่ขาดความเสมอภาคกันในเรื่องของความสนใจเกี่ยวกับความเป็นไปของบ้านเมือง
5. ความเสมอภาคทางสังคม คนทุกคนจะต้องได้รับการเคารพว่า ความเป็นคนนั้นมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน ในฐานะของความเป็นมนุษย์เหมือนกัน
การปกครองแบบประชาธิปไตย
การปกครองที่เป็นประชาธิปไตย หมายถึง ระบบการปกครองที่ประชาชนเป็นใหญ่ดังนั้นการปกครองที่เป็นประชาธิปไตย คือ รูปการปกครองที่ยึดถืออำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน
ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยนั้นจำเป็นต้องมีรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายหลักหรือเป็นกติกาที่กำหนดแนวทางสำหรับการที่รัฐจะใช้อำนาจปกครองปวงชน แต่รัฐธรรมนูญก็ไม่ใช่เครื่องหมายแสดงความเป็นประชาธิปไตย เพราะประเทศที่ปกครองด้วยระบอบเผด็จการก็มีรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกัน การที่จะพิจารณาว่าประเทศใดเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ จึงต้องดูว่ารัฐธรรมนูญของประเทศนั้นให้ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยหรือไม่ ซึ่งลักษณะสำคัญของการปกครองแบบประชาธิปไตยสามารถพิจารณาได้จาก รัฐบาลการเลือกตั้ง และการปกครองโดยเสียงข้างมาก
รัฐบาล
ลักษณะของรัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตย คือ “รัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน” ซึ่งเป็นวาทะของอับราฮัม ลินคอล์น อดีตประธานาธิบดีของสหรัฐฯ
การที่รัฐบาลใดจะได้รับการยอมรับว่าเป็นประชาธิปไตยนั้นจะต้องมีลักษณะครบทั้ง 3 ประการ คือ
รัฐบาลของประชาชน หมายถึง รัฐบาลต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชน และประชาชนสามารถเปลี่ยนแปลงผู้ปกครองได้ด้วยการไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง นั่นคือ ประชาชนอยู่ในฐานะเป็นเจ้าของรัฐบาลที่บ่งชี้ถึงมิติการปกครองในด้านความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย
รัฐบาลโดยประชาชน หมายถึง ประชาชนทุกคนมีสิทธิที่จะเป็นผู้ปกครองได้ ถ้าหากได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
รัฐบาลเพื่อประชาชน หมายถึง รัฐบาลจะต้องมีจุดประสงค์เพื่อความผาสุกของประชาชนและจะต้องมีการกำหนดวาระในการดำรงตำแหน่ง เช่น ทุก 4 ปี หรือทุก 6 ปี เป็นต้น เพื่อจะได้เป็นหลักทรัพย์ประกันว่าผู้ปกครองเพื่อประชาชน หากผันแปรจากจุดหมายนี้ ประชาชนจะได้มีโอกาสเปลี่ยนผู้ปกครองผ่านทางการเลือกตั้ง
Monday, October 18, 2010
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment