ปรีดี พนมยงค์กับขบวนการเสรีไทยที่สะท้อนแนวคิดทางการเมืองไทย
ขบวนการเสรีไทยเป็นขบวนการที่นำโดยท่าน ปรีดี พนมยงค์ ผู้นำขบวนการ หลังจากที่ญี่ปุ่นบุกไทย วันที่ 8 ธันวาคม 2484 ซึ่ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกฯของประเทศไทยขณะนั้นได้สั่งให้ยุติการต่อต้านญี่ปุ่นและได้ทำสัญญาเป็นพันธมิตรร่วมรบกับญี่ปุ่นซึ่งในที่สุดญี่ปุ่นนั้นเป็นฝ่ายที่แพ้สงครามซึ่งมีผลให้ประเทศไทยนั้นแพ้สงครามด้วย แต่ประเทศไทยไม่ต้องยอมจำนนต่อใด ซึ่งไม่ได้เป็นผลมาจากกลอุบายทางกฎหมายหรือทางการทูตแต่อย่างใดแต่เป็นเพราะวุฒิความสามารถ และคุณสมบัติอันเป็นอัจฉริยะของท่าน ปรีดี พนมยงค์ที่สามารถหล่อหลอมน้ำใจผู้รักชาติทุกหมู่ทุกกลุ่ม ทุกเหล่าไม่ว่านอกประเทศ ในประเทศรวมตัวกันขึ้นจนกระทั่งเป็นขบวนการเสรีไทย จนเป็นที่ยอมรับของคนไทยและเป็นที่ยอมรับในต่างประเทศอย่างเป็นอเนกฉันท์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้มี "วันสันติภาพ"และประกาศสันติภาพ ในวันที่ 16 สิงหาคม 2488 ซึ่งเสรีไทยได้ได้กำหนดภารกิจการปฏิบัติไว้ 2 ประการ คือ ประการแรกต่อสู้กับญี่ปุ่นผู้รุกราน 2 ปฏิบัติการเพื่อให้ฝ่ายสัมพันธมิตรรับรองว่าเจตนารมณ์แท้จริงของราษฎรไทยไม่ใช่ ศัตรูกัน และเพิ่มขึ้นอีกคือปฏิบัติการเพื่อรับรองว่าประเทศไทยจะไม่เป็นผู้แพ้สงครามและผ่อนหนักให้เป็นเบา
ท่านปรีดี พนมยงค์ พยายามติดต่อกับฝ่ายสัมพันธมิตรโดยส่งผู้แทนออกไปทำความเข้าใจแม้กระทั่งจะจัดตั้งรัฐบาลไทยพลัดถิ่น ในขณะนั้นญี่ปุ่นทราบจุดยืนของ ปรีดี ที่ขัดแย้งกันและวิลาศ โอสถสถานนท์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับคณะชาติศัตรูจึงเสนอให้แต่งตั้ง ท่าน ปรีดี พนมยงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แต่กลับเป็นประโยชน์ต่องานของเสรีไทยและใช้มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองเป็นกองบัญชาการต่อต้านญี่ปุ่นและแบ่งบางส่วนเป็นค่ายกักกัน โดยมีพลตรีอดุล เดชจรัสรับผิดชอบและขอให้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองช่วยจัดผู้ดูแลส่วนทหารได้ตั้งให้พลเอกเพิ่ม มหานนท์เป็นผู้บังคับการค่ายและพลตรี มรว.พงศ์พรหม จักรพันธ์ เป็นรองบังคับการค่ายซึ่งปรีดีคาดหวังว่าการช่วยเหลือเกื้อกูลคนในสัญชาติพันธมิตรจะเป็นเหตุผลให้ฝ่ายสัมพันธมิตรแนะนำให้ปรีดีเป็นผู้ประกาศสันติภาพหลุดพ้นจากการแพ้สงคราม ปรีดีเคยส่งผู้แทนเสรีไทยออกไปติดต่อกับต่างประเทศช่วงแรกไม่สำเร็จเพราะมีความเข้มงวดด้านทางเข้าออกแต่ในที่สุดก็ติดต่อได้ ซึ่งเตรียมการเป็นสามเรื่อง คือ เรื่องแรกต้องชี้แจงให้ฝ่ายสัมพันธมิตรทราบว่า ประเทศไทยและคนไทยยังรักษามิตรภาพกับฝ่ายสัมพันธมิตรไม่เปลี่ยนแปลง เรื่องที่สอง เส้นทางการเดินทางของผู้แทนที่จะส่งออกไปจากไทยทางอีสานผ่านลาวไปยวนและเข้าจีนว่าเล็ดรอดมาจากประเทศไทยในภารกิจสำคัญขอให้ส่งไปจุงกิงเพื่อรายงานตัวกับผู้นำจีนและทูตอังกฤษ สหรัฐอเมริกา เรื่องที่สาม การเลือกบุคคลตัวแทนขบวนการใต้ดินที่ความสำคัญต่อประเทศ คือ นายจำกัด พลางกูล เกียรตินิยมจากบัลริโอล คอลเลจ มหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด ซึ่งรู้จักกับ มรว. เสนีย์ ปราโมทย์ เป็นส่วนตัว และน้องชายที่ศึกษาอยู่ในอังกฤษ (ดร. กำแหง ) และในอเมริกา ( ดร. บรรเจิด) นายจำกัดปฏิบัติภารกิจจนสำเร็จถึงจะไม่สามารถตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นได้แต่ทำให้ฝ่ายจีน อเมริกา และอังกฤษ ทราบว่ามีขบวนการเสรีไทยเกิดขึ้นโดยมีนายปรีดี พนมยงค์เป็นหัวหน้า พร้อมที่จะร่วมมือกับฝ่ายสัมพันธมิตรอังกฤษจึงส่ง มจ. ศุภสวัสดิ์ ดำเนินการประสานงานกับกองกำลัง 136 เกิดปฏิบัติการพริชาร์ตแต่ล้มเหลว และสำเร็จในปฏิบัติการแอพรีซิเอชั่นกระโดดร่มลงที่ จ. ชัยนาท ร้อยตรีป๋วย อึ้งภากร เป็นนายทหารเสรีไทยสายอังกฤษ ซึ่งเคยรู้จักกับปรีดีและเรียนที่ธรรมศาสตร์ซึ่งหาทางติดต่อทางวิทยุกัลกัตตาและแคนดีได้ทำให้ปรีดีติดต่อกับกองบัญชาการทหารสูงสุดสัมพันธมิตรได้ ปรีดีส่งองค์กรใต้ดินอีกคณะคือ นายสงวน ตุลารักษ์ และนายแดง คุณาดิลก เดินทางไปจุงกิง ณ เสรีไทยในจุงกิง จึงส่งไปที่วอชิงตัน โดย โฮเอสเอส อังกฤษ ขอนายแดงไปช่วยปฏิบัติงาน ส่วนสหรัฐอเมริกานายสงวน ตุลารักษ์ได้แจ้งให้ มรว เสนีย์ ปราโมทย์ ทราบถึงขบวนการเสรีไทยเกิดความร่วมมือกันระหว่างเสรีไทยและก็ทางอเมริกา เสรีไทยสายอเมริกา ร้อยโท บุญมาก เทศะบุตร และร้อยตรีวิมล วิริยะวิทย์และร้อยตรีอานนท์ ศรีวรรณธนะ ซึ่งอุทิศตนเพื่อชาตินั้นรวมถึงหัวหน้าขบวนการอย่างปรีดีด้วย นายทหารเสรีไทยสายอเมริกาจากซือเหมาเริ่มทยอยเข้าประเทศไทยเพื่อปฏิบัติภารกิจแต่ไม่ได้รับการตอบกลับอเมริการจึงส่งรุ่นที่สองเข้าไปโดยการกระโดดร่มปฏิบัติการฮอทฟูท โดยมีหลวงอดุล ช่วยเหลือในที่สุดก็ทำให้ปรีดีสามารถติดต่อพันธมิตรภายนอกได้และมีความเป็นเอกภาพมากขึ้น ทำให้เกิดการเจรจาได้สะดวกอย่างไรก็ตามเมื่อ 2487 หลังการยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดี
ปรีดีมองเห็นว่าสงครามในยุโรปกำลังยุติและเหลือแค่ให้ญี่ปุ่นยอมจำนนฉะนั้นสิ่งที่เสรีไทยต้องทำคือ การรักษาอธิปไตยหลังสงคราม นั่น คือ การล้มรัฐบาลจอมพล ป พิบูลสงคราม ตามวิถีทางรัฐธรรมนูญ โดยไม่ลงมติอนุมัติ พระราชกำหนดระเบียบบริหารนครบาลเพชรบูรณ์แลปะ พระราชกำหนดจัดสร้างพุทธบุรีมณฑล เป็นผลให้จอมพล ป ลาออกจากตำแหน่ง 24 กรกฎาคม พลตรีควง อภัยวงศ์เป็นนายกแทน ซึ่งจะทำให้งานเสรีไทยราบรื่นขึ้น จากนั้นเกิดการติดต่อสัมพันธมิตรทั้ง อังกฤษ และอเมริกา ส่งเสรีไทยเข้ามาปฏิบัติการอีก ภายใต้ชื่อ ปฏิบัติการต่างๆ เช่น ดูเรียน 2 บริลลิกจนในที่สุดมีการตั้งฐานปฏิบัติการขึ้นในกรุงเทพฯโอเอสเอสตั้งศูนย์ปฏิบัติการไซเลน ส่วนอังกฤษมีความล่าช้าแต่ก็สามารถตั้งฐานปฏิบัติการได้ มีการแบ่งเขตในส่วนภูมิภาคของการปฏิบัติงานทั้งอังกฤษและอเมริการ่วมกับเสรีไทยในการฝึกอาวุธพลพรรคเสรีไทยและการส่งข่าวกรอง พื้นที่บางส่วนเป็นที่ที่เครื่องบินจะทิ้งยุทธ์โทปกรณ์ในการรับผิดชอบพื้นภูมิภาคนี้มีสมาชิกอาวุโสของเสรีไทย รับผิดชอบเช่น นายเตียง ศิริขันธ์ นายพึ่ง ศรีจันทร์ นายทอง กันทาธรรม และนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ซึ่งเป็นส.ส. ใน จ. ที่รับผิดชอบ ซึ่งมีความสำคัญมากเพราะเป็นจำนวนที่มากที่สุดของพลพรรคเสรีไทยแต่การสู้รบยังไม่เกิดขึ้นเพราะญี่ปุ่นมีกำลังมหาศาลจึงต้องอาศัยสัมพันธมิตรที่แคนดีวางแผนปฏิบัติการ คือ ปฏิบัติการโรเจอร์เป็นปฏิบัติการทางทหารครั้งใหญ่ทางภาคใต้ของไทยที่จะยกพลขึ้นที่ภูเก็ตเป็นฐานปฏิบัติการทางอากาศตัดเส้นทางคมนาคมของญี่ปุ่นโดยอาศัยข่าวกรองจากเสรีไทซึ่งเสรีไทยขณะนั้นพร้อมที่จะรบแล้ว แต่ปฏิบัติการถูกยกเลิกและให้เสรีไทยรอไปก่อนในความจริงแล้ว ปรีดีไม่ได้ต้องการเอาชนะญี่ปุ่นแต่เป็นไปเพื่อความมุ่งหมายทางการเมืองเพื่อให้ฝ่ายสัมพันธมิตรประทับใจในขบวนการเสรีไทยล้มล้างความเข้าใจผิดของฝ่ายสัมพันธมิตรว่าไทยสู้ภายใต้อุดมการณ์เดียวกันและฟื้นฟูภาพลักษณ์ของประเทศฉะนั้นจึงต้องปฏิบัติการทางทหารของเสรีไทยเองเพื่อจะให้เกิดการยอมรับในเอกราชของประเทศไทยภายหลังสงคราม ในด้านจุดยืนของอังกฤษไม่ต้องการเจรจาทางด้านการเมืองกับไทยแต่จะพูดถึงเรื่องทางทหารเท่านั้นจึงมีการหารือกันกับอังกฤษในด้านการเมืองแต่ไม่ได้รับคำตอบที่น่าพอใจ การติดต่อในช่วงนั้นอังกฤษใช้ชื่อรหัสบีบี855 สำหรับนายปรีดีและอเมริกาใช้รหัส รูช ในปี1488 เยอรมันยอมจำนนต่อพันธมิตรญี่ปุ่นเพิ่มความระแวงสงสัยประเทศไทยปรีดีจึงส่งสาสน์ถึงรัฐมนตรีต่างประเทศอเมริกาถึงการที่จะสู้กับญี่ปุ่นอย่างเปิดเผยแต่ก็ได้รับการคัดค้านซึ่งอเมริกาก็รับรองเอกราชของไทยตั้งแต่ต้นและกระตุ้นให้อังกฤษมีจุดยืนเดียวกันแต่อังกฤษยังถือว่าไทยคือ ศัตรู หากแต่จะยอมรับเงื่อนไขบางประการที่จะตกลงเลิกสถานะสงครามอย่างเป็นทางการภายหลังการประสานงานเริ่มแน่นแฟ้นขึ้น ขบวนการเสรีไทยขยายไปกว้างมากยิ่งขึ้นสามเหล่าทัพได้เข้าร่วมกับเสรีไทยทั้งทางตรงและทางอ้อมมีการตั้งโรงเรียนนายทหารสารวัตรและโรงเรียนนายสิบสารวัตรรับนิสิตจากจุฬา นักเรียนเตรียมอุดม และนักเรียนเตรียมปริญญาเป็นยุวชนนายสิบเพื่อฝึกอาวุธสมัยใหม่ของอเมริกาในการเป็นผู้บังคับบัญชาพลพรรคเสรีไทยหรือสู้กับญี่ปุ่นในเขตกรุงเทพฯจากนั้นสัมพันธมิตรได้ส่งอาวุธยุทโธปกรณ์มาเป็นจำนวนมากเพราะการขนส่งทางอากาศสะดวกขึ้นโดยมีสนามบินลับและมีการยับยั้งไม่ให้ปรีดีลงมือก่อนจะได้รับความเห็นชอบจากจอมพลเรือเมาท์ แบตเทน
ในวันที่ 6 สิงหาคม 2488 เครื่องบินอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมาและวันที่ 9 ที่นางาซากิมีผลให้ญี่ปุ่นยอมจำนน วันที่ 15 สิงหาคม จากนั้นมีการแจ้งให้ปรีดีรับรู้จนในที่สุดอังกฤษประทับใจในขบวนการเสรีไทยที่ต้องการจะรบอย่างเปิดเผยและทำให้อังกฤษไม่ถือว่าไทยเป็นผู้แพ้สงครามจึงแนะให้นายปรีดี พนมยงค์ ประกาศสันติภาพโดยบอกปฏิเสธการที่ประกาศสงครามต่ออังกฤษและอเมริกาและต้องชดเชยค่าเสียหายให้แก่อังกฤษการประกาศสงครามต่ออังกฤษและอเมริกาเป็นโมฆะจึงมีการสวนสนามของเสรีไทยโดยมีนายปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้าขบวนนอกจากจะฉลองความสำเร็จแล้วยังแสดงให้เห็นว่าอาวุธยุทธภัณฑ์ยังอยู่ครบและทั้งหมดทั้งสิ้นเป็นการทำให้ชาติหลุดพ้นจากการตกเป็นผู้แพ้สงครามสามารถรักษาเอกราชอธิปไตยไว้ได้ก็คือ ขบวนการเสรีไทยที่มีหัวหน้าอย่างปรีดี พนมยงค์ และพลพรรคเสรีไทยที่สู้อย่างกล้าหาญด้วยประสบการณ์ของปรีดีความเด็ดเดี่ยวความมั่นคงในอุดมการณ์รักชาติจนสามารถรักษาชาติบ้านเมืองเอาไว้ได้
พระเจ้าช้างเผือกงานเขียนที่มีนัยทางการเมืองไทย
พระเจ้าช้างเผือก เป็นงานเขียนเชิงนวนิยายเล่มแรกและเล่มเดียวของ ปรีดี พนมยงค์ ในขณะที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงการคลังระหว่างปี 2482-2483 ภายหลังการไปเยือนยุโรป สหรัฐ และญี่ปุ่นในปี 2478 ซึ่งเมื่อกลับมาประเทศไทยก็ได้ผลักดันให้มีกฎหมายว่าด้วยความเป็นกลางขึ้นในปี 2482 ซึ่งนวนิยายเรื่องนี้จึงเขียนขึ้นเพื่อเตือนภัยของมหาสงครามที่กำลังใกล้เข้ามา โดยเขียนต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ และก็ได้มีการสร้างภาพยนตร์ที่เป็นภาคภาษาอังกฤษ ซึ่งได้นำออกฉายทั้งในและประเทศเพื่อนบ้าน ก่อนที่สงครามแปซิฟิกจะเกิดขึ้น ในนวนิยายเล่มนี้เราก็คงสามารถตอบได้ว่า ปรีดี คงมิได้แต่งขึ้นหรือสร้างเป็นภาพยนตร์เพื่อความบันเทิงเท่านั้นแต่ยังเป็นการสื่อถึงทัศนคติเกี่ยวกับสันติภาพอีกด้วย ซึ่งในนวนิยายเรื่องนี้น่าจะถือว่าเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ ที่ได้สะท้อนให้เห็นถึงความคิดทางการเมืองภายในและระหว่างประเทศของ ปรีดี เรื่องพระเจ้าช้างเผือก ถือว่าเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ที่ ดร. ปรีดี น่าจะใช้เค้าโคลงของสงครามช้างเผือกและสงครามยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวร แต่นำมาแต่งในแง่ที่ว่า "พระเจ้าจักราแห่งอโยธยาเป็นธรรมราชา สนพระทัยในความทุกข์สุขของราษฎร ประเพณีล้าหลังเช่นการต้องรับสนมถึง 35 คนนั้นก็ไม่ทรงรับ ส่วนพระเจ้าหงสาถือว่าเป็นทรราชต้องการที่จะทำสงครามและมีนโยบายเพื่อการรุกราน ประชาชนจึงต้องมาเดือดร้อน เพื่อที่จะลุกฮือจับอาวุธตามคำบัญชาของผู้นำเพื่อทำสงคราม ดังนั้นเมื่อเกิดสงครามขึ้นระหว่างกรุงหงสาวดีที่มารุกรานกรุงอโยธยา พระเจ้าจักราก็ท้าพระเจ้าหงสาชนช้างตัวต่อตัว เพื่อไม่ให้เหล่าทหารต้องบาดเจ็บล้มตาย พระเจ้าจักราถือว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างกษัตริย์กับกษัตริย์ การทำสงครามมิได้ทำลายล้างศัตรูตามความหมายเก่า คือไม่ต้องการลำลายชีวิตราษฎรแต่ต้องการสันติภาพสู่มวลชน และในเรื่องพระเจ้าช้างเผือกนี้ก็จบลงด้วยชัยชนะของอโยธยาและนำไปสู่สันติภาพ คำถามในที่นี้ก็คือ ทำไม ปรีดี ซึ่งขณะนั้นเป็นรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง จึงกลายมาเป็นผู้เขียนนวนิยายพร้อมทั้งยังกลายมาเป็นผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์เรื่องพระเจ้าช้างเผือก คำตอบที่เราน่าจะนำมาพิจารณาถึงความคิดทางการเมืองต่อสถานการณ์ทางการเมืองทั้งภายในและภายนอกในสมัยของ ดร. ปรีดี สิ่งที่เห็นชัดมากในยุคนั้น ก็คือ การก้าวขึ้นสู่อำนาจของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นผู้ก่อการคนหนึ่งที่ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 และจอมพล ป. เป็นนายก ฯ ครั้งแรก ในปี 2581พร้อมทั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหม มหาดไทย และการต่างประเทศด้วย จอมพล ป. ถือว่าเป็นผู้ริเริ่มของการปกครองโดยระบบทหารในเมืองไทยเป็นบุคคลแรกที่นำคำว่า "ผู้นำ" มาใช้กับระบบการเมืองไทยในคำกล่าวที่ว่า "เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย" ทำนองเดียวกันกับระบบนาซีของฮิตเลอร์ และระบบฟาสซีสซ์ของอิตาลี และในสมัยดังกล่าวสงครามโลกครั้งที่สองเกิดขึ้นในยุโรปและสงครามระหว่างจีนกีบญี่ปุ่นก็รุนแรงในเอเชีย บรรยากาศโดยทั่วไปตรึงเครียด ปัญหาสงครามและสันติภาพจึงเป็นปัญหาใหญ่
ซึ่งในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. ชุดแรก รัฐบาลไทยมีนโยบายลัทธิชาตินิยมรุนแรงมาก คือเปลี่ยนจากประเทศสยามเป็นประเทศไทยและรัฐบาลได้ชังชวนและบังคับให้ประชาชนแต่งการสากลตามตะวันตก ส่วนทางด้านเศรษฐกิจรัฐบาลมีนโยบายเศรษฐกิจชาตินิยมพยายามผลักดันคนเชื้อจีนออกจากวงการธุรกิจ และพยายามทำให้คนไทยมีบทบาทมากขึ้น และที่สำคัญที่สุดก็คือในช่วงนั้น ฯโยบายการต่างประเทศของรัฐบาลจอมพล ป. ก็มีลักษณะลัทธิชาตินิยมรุนแรง ซึ่งจากวิกฤตการณ์อินโดจีน ทำให้รัฐบาลไทยได้ดินแดนจากลาวคือไชยะบุรี และจัมปาศักดิ์ จากกัมพูชาคือเสียมเรียบ และพระตะบอง นโยบายการต่างประเทศนี้ทำให้จอมพล ป. ได้รับความสนับสนุนมากจากพลเอกหลวงพิบูลสงครามก็ได้เลื่อนยศเป็นจอมพล นี่ก็ถือว่าเป็นจุดหัวเลี่ยวหัวต่อของนโยบายต่างประเทศของไทย กล่าวคือ จะทำให้ประเทศไทยเปลี่ยนจากการสนับสนุนฝ่ายโลกตะวันตกโดยเฉพาะอย่างยิ่งอังกฤษ มาอยู่ในวงจรและอิทธิพลขิงญี่ปุ่น เป็นที่แน่นอนว่าเป็นการสร้างความไม่พอใจให้แก่ฝรั่งเศส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกาเพราะต้องการสถานะเดิมในเอเชีย และต้องการสกัดกั้นญี่ปุ่น ซึ่งจุดหัวเลี่ยวหัวต่อนี้ทำให้ไทยเข้าสู่วงจรของญี่ปุ่น และสงครามแปวิฟิกระเบิดขึ้นญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ และบุกประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 ในเวลาเดือนกว่า ๆ รัฐบาลจอมพล ป. ก็ร่วมกับญี่ปุ่นอย่างเต็มที่ด้วยการประกาศสงครามกับอังกฤษและอเมริกาในวันที่ 25 มกราคม 2548 ทั้งหมดมี่ก็คือบรรยากาศการเมืองภายในและภายนอกที่รัฐบาลจอมพล ป. มีนบายลัทธิชาตินิยมรุนแรง ปัญหาของสงครามหรือสันติภาพจึงเป็นปัญหาใหญ่ คือประเทศไทยประสพปัญหาว่าจะรักษาความเป็นกลางไว้ได้อย่างไร ตามกฎหมายที่ ดร. ปรีดี ได้ผลักดันให้เกิดขึ้นในปี 2482 ที่ผ่านมา ซึ่งในด้านจอมพล ป. ก็โอนเอียงเข้าไปในวงจรญี่ปุ่นมากขึ้นทุกที จนในที่สุดก็เข้าร่วมกับฝ่ายอักษะอย่างเต็มที่ ซึ่งส่วนหนึ่งก็ด้วยความเต็มใจอีกด้านหนึ่งก็เพราะถูกบังคับโดยสถานการณ์ ส่วน ดร. ปรีดี อยู่ในฐานะที่มีความเห็นตรงกันข้ามกับสถานภาพการณ์เช่นนั้น ซึ่งเราจะเห็นว่าก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง จอมพล ป. เป็นผู้นำของคณะราษฎรฝ่ายทหารส่วนดร. ปรีดี ก็เป็นผู้นำของคณะราษฎรฝ่ายพลเรือนซึ่งทั้งสองท่านร่วมมือกันมาในระยะแรก ๆ แต่เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองใกล้เข้ามา เราก็จะเห็นความแตกต่างในด้านความคิดและนโยบายของท่านทั้งสองได้ชัดเจนขึ้น
ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่า การที่ ปรีดี ได้เขียนนวนิยายเรื่อง พระเจ้าช้างเผือก และก็ได้สร้างเป็นภาพยนตร์ขึ้นมา ปรีดี ก็คงเห็นว่าปัญหาของสงครามและปัญหาสันติภาพเป็นปัญหาใหญ่ ที่เกิดจากนโยบายของจอมพล ป. ทำให้ไทยตกอยู่ในวงจรของญี่ปุ่น และนำไทยเข้าสู้ความขัดแย้งกับตะวันตก เราก็จะเห็นว่า พระเจ้าช้างเผือก ก็เป็นความพยายามทางด้านวัฒนธรรมการเมืองที่แสดงถึงความคิดของ ดร. ปรีดี ที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายลัทธิชาตินิยมรุนแรง และระบบการปกครองแบบทหาร และเป็นที่น่าสนใจอีกประเด็นหนึ่งคือ ดร. ปรีดี เลือกใช้ภาษาอังกฤษสำหรับหนังสือ และการสร้างภาพยนตร์ในครั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าท่านต้องการนำเสนอสู่ผู้ชมระดับเพื่อนบ้านและนานาชาติโดยเฉพาะประเทศตะวันตกคืออังกฤษและสหรัฐอเมริกา
กล่าวโดยสรุป พระเจ้าช่างเผือก ก็เป็นนวนิยายและหนังที่สะท้อนความคิดทางการเมืองของ ดร. ปรีดีในแง่ของการชี้ให้เห็นปัญหาของสงคราม และสันติภาพ ที่สะท้อนออกมาถึงการเป็นผู้นำประเทศว่าควรมีลักษณะอย่างไรระหว่างการมีลักษณะแบบพระเจ้าจักรา หรือพระเจ้าหงสา ที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น พร้อมทั้งยังเป็นการเสนอผ่ายภาพยนตร์ เพื่อต้องการให้ฝ่ายสัมพันธมิตร เห็นว่าอย่างน้อยในขณะที่รัฐบาลจอมพล ป. มีนโยบายชาตินิยมรุนแรง และเข้าร่วมสงครามกับฝ่ายอักษะ ก็ยังมีผู้นำไทยกลุ่มหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายนั้น และที่น่าสนใจอีกประเด็นหนึ่งก็คือ เมื่อประเทศไทยเข้าสู้สภาพสงครามกับอังกฤษและอเมริกันนั้น ดร. ปรีดีก็เริ่มจัดตั้งขบวนการเสรีไทยในประเทศไทย เพื่อต่อต้านญี่ปุ่นและร่วมมือกับพันธมิตร และยังเคยเจรจาเพื่อขอซื้อประเทศลาวจากฝรั่งเศสเพื่อที่จะแยกอีสานไปรวมกับลาวเพื่อต้องการต่อรองกับรัฐบาลจอมพล ป. แต่ก็ต้องสิ้นสุดลงเพราะการเข้ามาของญี่ปุ่น ซึ่งขบวนการเสรีไทยก็ได้ช่วยให้ไทยรอดพ้นจากสภาพประเทศแพ้สงครามภายหลังที่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง ซึ่งทั้งนวนิยายพระเจ้าช้างเผือกและได้สร้างเป็นภาพยนตร์นั้นก็ถือว่ามีส่วนช่วยในงานของขบวนการเสรีไทยไม่น้อย
บทสรุป
ปรีดี พนมยงค์ มีบทบาทสำคัญอย่างมากในสังคมไทยทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและอื่นๆ ปรีดี พนมยงค์นั้นเป็นบุคคลที่ถูกให้ภาพลักษณ์ทั้งที่ดี และไม่ดี เนื่องมาจากอุดมการณ์ทางการเมืองของกลุ่มต่างๆไม่สอดคล้องกับแนวคิดของท่าน ปรีดี พนมยงค์เป็นนักเรียนกฎหมายที่เก่งและมีประสบการณ์มากมายในต่างประเทศ และผู้ที่ได้นำเอาวิทยาการที่มีความก้าวหน้ามาปรับใช้ในสังคมไทยอย่างมากมาย ปรีดี พนมยงค์ ได้ร่วมกับกลุ่มคณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครองทำให้สังคมไทยต้องก้าวเข้าสู่ยุคที่เรียกว่า ประชาธิปไตย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลกระทบต่อกลุ่มอนุรักษ์นิยมและสถาบันกษัตริย์ทำให้กลุ่มดังกล่าวพยายามหาแนวทางที่จะกำจัดปรีดี ออกไปจากสังคม โดยใช้วาทกรรมชุดต่างๆมาเป็นเครื่องมือ ซึ่งเหตุการณ์ที่ทำให้ปรีดีถูกมองว่าเป็นปีศาจ คือ กรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 ทำให้เขาต้องออกจากประเทศแต่ก็กลับมามีบทบาททางสังคมหลายครั้ง เช่น ขบวนการเสรีไทย และอื่นๆ
ปรีดี พนมยงค์ ถึงแก่กรรมในช่วงเวลาที่สังคมมีการต่อสู้ทางการเมืองในเรื่องที่ลุ่มลึกขึ้น คือ การช่วงชิงเนื้อที่ความทรงจำร่วมของสังคมระหว่างรัฐไทยอันมีรัฐบาลทหารและกลุ่มอนุรักษ์นิยมคอยชี้นำกับขบวนการก้าวหน้าในสังคมไทย ซึ่งประกอบด้วยนักศึกษาปัญญาชนและผู้มีความคิดเสรีนิยมคนชั้นกลางผลลัพธ์ คือ ได้มีการสร้างภาพลักษณ์ปรีดีให้เป็นสัญลักษณ์ของเสรีนิยมซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้เพื่อสร้างความทรงจำร่วมของสังคมที่ให้เนื้อที่แค่สามัญชนและการเติบโตของแนวคิดทางการเมืองอื่นๆในการมีบทบาทสร้างประวัติศาสตร์สังคมไทย
Monday, November 8, 2010
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
มั่นคง เด็จเดี่ยว เสี่ยงตาย
ReplyDeleteมอบกาย ติดคุก ปลุกไทย
ต่อต้าน เผด็จการ ตลอดไป
ประชา ธิปไตย ไทยคง
แกนนำ เสื้อแดง แน่นเหนียว
เด็จเดี่ยว กล้าหาญ ยืนยง
ต้องโทษ ก่อการ ปลดปลง
ยังคง ติดคุก ตลอดมา
อีกหนึ่ง ต้องจร จากไทย
ตัดใจ ครอบครัว ล้างลา
ถูกยำ ถูกยัด อาญา
รอท่า โอกาส อาจมี
ทักษิณ ชินวัตร จากไกล
ลาไป สู่โลก หลบลี้
รอวัน ฟ้าใหม่ เปลี่ยนสี
ดุจดัง ปรีดี ผ่านมา
กบฎ สืบทอด อำนาจ
อำมาตย์ เปลี่ยนแปลง กติกา
ศาลเป็น เครื่องมือ บีฑา
อาญา เลือกข้าง แบ่งขั่ว
อ้างฟ้อง ต้องตาม กฏหมาย
เสียหาย ด้วยระบบ มันชั่ว
รัฎฐา ธิปัติ์ เมามัว
ลืมตัว ร่วมรัฐ ประหาร
กฏหมาย แห่งความ มั่นคง
เจาะจง กำจัด เผด็จการ
ไร้ค่า ปลดปลง หมู่มาร
เมื่อศาล สั่นคลอน อ่อนตาม
ทักษิณ มิอาจ วางใจ
ลาไกล หนีไป จากสยาม
ไม่อาจ ยืนหยัด สู้ความ
สง่างาม ตามที่ เคยหมาย
แกนนำ ทักษิณ มุ่งหวัง
และยัง เชื่อมั่น มิวาย
ไม่อาจ ปลิดปลง แหนงหนาย
ยอมตาย ต่อต้าน อธรรม
หนึ่งสู้ อยู่ใน คุมขัง
หนึ่งยัง ตั้งมั่น อุปถัมภ์
ประชา นิยม การนำ
ต้องจำ ต้องจร ตามเกมส์
รอวัน ประชา ธิปไตย
เต็มใบ ไทยล้วน สุขเกษม
ปวงชน พ้นภัย ปรีเปรม
อิ่มเอม อำนาจ ตุลาการ