Tuesday, November 9, 2010

"ช้างป่า"..... กรมทางประจำป่า

"ช้าง"จัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่อาศัยอยู่บนบก
งวงยาว ๆ ของช้างนั้นใช้ทำหน้าที่เป็นจมูก และมือจับอาหาร และใช้ในการต่อสู้

หนังของช้างนั้นหนา มีขนแข็ง ๆ ขึ้นแซมห่างๆ กัน
ช้างตัวผู้ ที่มีงายาว เราเรียกว่า "ช้างพลาย"

ช้างตัวผู้ ที่มีงาสั้น ไม่ยื่นเลยจากปากออกมา เรียกว่า "ช้างสีดอ"

ช้างตัวเมีย ที่ไม่มีงาเลยนั้น เรียกว่า "ช้างพัง"

ปรกติแล้ว ช้างตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าช้างตัวเมีย ช้างป่าจะอาศัยอยู่รวมกันเป็นโขลงตั้งแต่ 5 ถึง 20 เชือกโดยในโขลงจะมีช้างตัวผู้ทำหน้าที่ผสมพันธุ์เพียงตัวเดียวก็นับว่ารับภาระที่หนักไม่เบาที่เดียว
ช้างตัวอื่น ๆ ก็จะเป็นตัวเมีย และลูกช้าง

ในการนำโขลงออกหากิน หรือหลบภัย จะเป็นหน้าที่ของช้างตัวเมียที่มีอาวุโสสูง เพราะช้างตัวเมียที่อาวุโสนั้นจะได้รับการสั่งสอน และมีประสบการณ์มาจากช้างรุ่นเก่า ๆ ว่าฤดไหนควรจะต้องพาโขลงไปหากินที่ใด รู้ตำแหน่งของแหล่งน้ำ โป่ง หรือรู้กระทั่งว่าถ้าน้ำในลำห้วยแห้ง จะต้องไปขุดน้ำจากแห่งใด
ในหน้าแล้ง น้ำในลำห้วยมักจะร้อน เพราะแสงแดดที่แผดเผา ช้างก็มีวิธีหาน้ำเย็น ๆ มาดื่มดับกระหายได้ โดยช้างจะไม่กินน้ำจากในลำห้วย แต่จะขุดหลุมนั้นซึ่งจะเย็นและสะอาดกว่าน้ำในห้วยมาดื่มกิน

ช้าง ใช้เวลาตั้งท้องนานถึง 20 เดือน และถ้าอยู่ในธรรมชาติ ช้างจะมีอายุยืนถึงประมาณ 35 ปี
หน้าที่โดยตรงของช้าง คือ "กรมทางประจำป่า" เพราะช้างจะเดินหากินไปเรื่อย ๆทั้งกลางวันและกลางคืน

ทางที่ช้างเดินผ่านจะเปิดเป็นช่อง ทำให้สัตว์ป่าน้อยใหญ่ต่าง ๆ เดินตามทางได้สะดวกสบายยิ่งขึ้น

ระหว่างที่ช้างเดินไป ช้างจะใช้งวงกระชากเถาวัลย์ลงมาจากยอดไม้ กินหน่อไม้ ต้นหญ้า และใส้ในของต้นกล้วย

พืชต่าง ๆ เหล่านี้ช้างจะกินเพียงบางส่วน จะเหลือไว้ให้สัตว์เล็ก ๆ ที่อาศัยทางของช้างเดินมาได้กินด้วย

นอกจากนี้ช้างยังชอบลงกินดินโป่ง และทำหน้าที่อันสำคัญ คือ ใช้งา หรือเท้าที่แข็งแรงขุดเอาแร่ธาตุที่อยู่ใต้ดินขึ้นมากินเศษที่เหลือก็ตกเป็นของสัตว์เล็กๆ ต่อไป

ช้าง นั้นจัดว่าเป็นสัตว์ป่าชนิดแรกที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายตั้งแต่ปี พ.ศ.2464 ถึงจะได้รับการคุ้มครองมาเป็นเวลานานแต่จำนวนของช้างป่าในประเทศไทยในปัจจุบันคาดว่ามีไม่ถึง 1,500 เชือกแล้ว

สาเหตุที่สำคัญที่สุดที่ช้างต้องลดจำนวนลงมาก็คือ การที่แหล่งอาศัยถูกทำลาย การล่าช้างเพื่อเอางา หรือเอาอวัยวะสืบพันธุ์มาทำอาหารสนองตัณหาคนที่ยังโง่งมงายหลงเชื่อว่า อวัยวะของช้าง จะทำให้คนแข็งแรงเหมือนช้าง ก็ทำให้ช้างต้องลดจำนวนลงมาก

พื้นที่หากินถูกบุกรุก เส้นทางเดินหากินระหว่างป่าถูกตัดขาด ไม่ว่าจะด้วยการสร้างถนน หรือสร้างเขื่อนขนาดใหญ่เพื่อเก็บกักน้ำช้างต้องการพิ้นที่กว้างขวางในการอยู่อาศัย จึงมีอนาคตที่ค่อนข้างมืดมน

เมื่อสภาพป่าอ้นเป็นบ้านของช้างถูกบุกรุกทำลายหมดไป ช้าสงจึงหมดอนาคตด้วยเช่นกัน สัตว์ป่าน้อยใหญ่กำลังจะขาดเจ้าหน้าที่ประจำกรมทาง ที่ทำหน้าที่เปิดทางสะดวกให้พวกเขาแล้ว อีกไม่นานอาชีพของช้างจะเหลือเพียงมาเดินฝ่าความร้อนระอุของเมืองหลวง ด้วยน้ำตำที่ไหลพรากเพื่อให้คนลอดใต้ท้อง

ช้างพูดไม่ได้ว่า พื้นคอนกรีตที่เขาต้องเหยียบลงไปนั้น มันร้อนระอุแสนาจะทรมานเพียงใด คนจะไม่ใช้งานพวกเขาผิดไปจากวัตถุประสงค์ที่ธรรมชาติได้มอบหมายให้กับช้างป่าหรอกหรือ ?

จริงหรือไม่ ลองมองดวงตาของช้างที่พบบนถนน จะเห็นว่าดวงตาของเขาเศร้า เขากำลังบอกว่า หยุดทำลายบ้านเมืองของเพื่อน ๆ เขาที่อยู่ในป่าเสียทีเถอะ จะเห็นว่าดวงตาของพวกเขาเศร้าเพียงใด

"ช้างดูตัวโตน่าเกรงขามก็จริง แต่เขาก็มีความรู้สึกร้อนหนาว เจ็บปวด หวาดกลัว และต้องการมีบ้านอยู่อาศัยเหมือนกับเรา"

No comments:

Post a Comment