บทความที่จะนำเสนอ ในการสัมมนาวิชาการ โดย TDRI ในวันที่ ๒๙-๓๐ พฤศจกายน ๒๕๕๓
๑.การลดความเหลื่อมล้ำ
๑.๑ การสร้างระบบสวัสดิการพื้นฐาน: ค่าใช้จ่ายระบบสวัสดิการสังคมที่คนไทยต้องการ
คนทั่วไปมักจะคิดว่าการมีสวัสดิการสังคมเป็นบริการสาธารณะที่มีราคาแพง คนไทยอาจจะแบกรับไม่ได้ ข้อกังวลดังกล่าวสามารถพิสูจน์ได้จากการประมาณการค่าใช้จ่ายของสวัสดิการสังคมที่คนไทยต้องการ บทความนี้ นำเสนอผลการสำรวจและการทำประชามติความต้องการสวัสดิการสังคมของคนไทย เพื่อมาประมาณการว่า สวัสดิการที่คนไทยต้องการนั้นจะต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายให้แก่ภาครัฐมากน้อยเพียงใด
ปัจจัยที่สำคัญของการให้สวัสดิการสังคมแก่คนไทยนั้น คือ การวางระบบสวัสดิการสังคมที่มีความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนทุกกลุ่มอย่างทัดเทียมกัน ในบทความนี้ กล่าวถึงแนวคิดการวางระบบสวัสดิการสังคมโดยยึดหลักความเสมอภาคและความยั่งยืน และมีข้อเสนอสำหรับการมีระบบสวัสดิการสังคมสำหรับคนไทย
๑.๒ การสร้างระบบสวัสดิการพื้นฐาน: การจัดหาและจัดสรรทรัพยากรทางการเงินเพื่อรองรับระบบสวัสดิการ
ทุกระบบสวัสดิการล้วนมีค่าใช้จ่าย ดังนั้นความสามารถของประเทศในการให้สวัสดิการพื้นฐานกับประชาชนจึงมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการหารายได้ของ ระบบเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งเกี่ยวโยงไปถึงการสร้างอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เพียงพอ แต่ต้องไม่เป็นการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ไปทำลายสวัสดิการ เช่น สร้างผลเสียต่อสุขภาพ เป็นต้น นอกจากนั้นการแบ่งสรรความรับผิดชอบด้านค่าใช้จ่ายตามกลุ่มรายได้ก็สามารถมีส่วนช่วยสร้างสวัสดิการพื้นฐานได้เร็วขึ้น และถือ เป็นกระบวนการเพิ่มความเท่าเทียมกันของการกระจายรายได้ด้วย
๑.๓ เศรษฐศาสตร์การเมืองของระบบสวัสดิการ
ระบบสวัสดิการมีผลต่อการกระจายรายได้จากคนกลุ่มหนึ่งไปยังคนอีกกลุ่มหนึ่ง เช่น จากผู้มีรายได้มากไปยังผู้มีรายได้น้อย คนทำงานไปยังผู้เกษียณอายุ หรือทำให้ เกิดการกระจายรายได้ระหว่างคนทำงานและคนว่างงาน เป็นต้น การจะขยายระบบสวัสดิการจึงต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านการเมืองนอกเหนือไปจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจ บทความนี้จะวิเคราะห์ว่าระบบสวัสดิการก่อให้เกิดผลในการกระจายรายได้อย่างไร ใครได้ ใครเสีย และมีข้อควรพิจารณาทางการเมืองอย่างไร
๒.การสร้างโอกาสด้านเศรษฐกิจ
๒.๑ โอกาสเข้าถึงการศึกษา
ในช่วงปี 2529 ถึงปี 2552 ระดับการศึกษาเฉลี่ยของแรงงานในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาก็เพิ่มขึ้นควบคู่ กันไปด้วย ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาได้แก่ ความแตกต่างทางเศรษฐกิจ และความแตกต่างของระดับการศึกษาของพ่อแม่ จากการประมาณ ค่าแบบจำลองทางเศรษฐมิติโดยใช้กลุ่มตัวอย่างของผู้ที่มีอายุระหว่าง 10 ถึง 25 ปี ในปี 2552 พบว่าประมาณการรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยต่อหัวของผู้ที่คาดว่าจะได้เรียนใน ระดับมัธยมปลายอยู่ที่ประมาณ 4,000 บาทต่อเดือน ในขณะที่ รายได้ครัวเรือนเฉลี่ยต่อหัวของผู้ที่คาดว่าจะได้เรียนในระดับมหาวิทยาลัย อยู่ที่ประมาณ 7,500 บาทต่อ เดือน ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษานี้เองที่นำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางค่าจ้างเมื่อกลุ่มคนเหล่านี้เข้าสู่ตลาดแรงงาน จากการวิจัยพบว่า ช่องว่างค่าจ้างเฉลี่ยต่อชั่วโมง ระหว่างผู้ที่จบปริญญาตรีกับผู้ที่จบมัธยมปลายเพิ่มขึ้นจากประมาณ 1 เท่าในปี 2529 เป็นกว่า 1.5 เท่าในปี 2552 ซึ่งสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างทางการผลิต ของประเทศไทยที่ส่งผลให้แรงงานมีฝืมือมีความได้เปรียบแรงงานกลุ่มอื่นมากขึ้นเรื่อยๆ (Skill biased technological change)
๒.๒ โอกาสการเข้าถึงงานที่ดีมีความมั่นคง
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามกระแสการพัฒนาของโลกที่เข้าสู่ ยุคโลกาภิวัตน์อย่างแท้จริง วิถีชีวิตประจำวัน การประกอบ อาชีพ และลักษณะของงานที่ทำน่าจะเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต เนื่องจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนระดับการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก
อย่างไรก็ตาม เป้าหมายหลักของการทำงานของคนก็น่าจะยังคงเหมือนเดิม คือ “มีงานที่ดีและมีความมั่นคง”
งานที่ดีคืองานที่ได้รับค่าตอบแทนในระดับที่เหมาะสมกับความรู้และประสบการณ์ มีความก้าวหน้าในอาชีพการงานที่ทำ อย่างไรก็ตาม งานที่ดีนั้นขึ้นอยู่กับมุมมอง และ ความต้องการขั้นพื้นฐานของแต่ละบุคคล แต่สิ่งที่ทุกคนยอมรับร่วมกันคือ “งานที่ดี คืองานที่ค่าจ้างดี สวัสดิการดี มีความมั่นคง และในที่สุดสามารถสร้างความสุขให้แก่ คนที่ทำงานนั้นๆ ได้นั่นเอง”
ในปี 2553 มีคนไทยมากกว่า 38 ล้านคนที่มีงานทำ ในจำนวนนี้จะมีสักกี่คนที่อยู่ในเกณฑ์ที่เรียกได้ว่ามีงานที่ดี ข้อมูลสถิติจากหน่วยงานต่างๆ จะสามารถนำมาใช้เป็น เครื่องชี้วัดเพื่อบอกว่ามีคนไทยที่มีงานที่ดีอยู่จำนวนเท่าใดได้อย่างไรบ้าง ผู้ต้องการทำงานจะสร้างโอกาสนั้นได้อย่างไร และทำไมคนบางส่วนในสังคมยังคงยอมรับ สภาพการทำงานที่ไม่ดีและไม่มีความมั่นคงอยู่ได้ จะมีแนวทางในการบริหารจัดการเพื่อให้คนไทยได้มีโอกาสที่จะเข้าถึงงานที่ดีและมีความมั่นคงได้อย่างไร รวมไปถึง การชดเชยทางสังคมสำหรับกลุ่มคนที่ไม่ได้รับโอกาสในการมีงานที่ดีนั้นจะทำได้อย่างไร
๒.๓ โอกาสสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก-กลาง
เนื่องจากประเทศไทยมีแนวนโยบายในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมาโดยตลอด บทความนี้จะประเมินว่า ที่ผ่านมาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม นั้น ได้รับประโยชน์ในทางปฏิบัติจากมาตรการในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของภาครัฐมากน้อยเพียงใด และเพราะเหตุใด มาตรการในการส่งเสริม ที่จะศึกษาในบทความนี้ ได้แก่ มาตรการลดหย่อนภาษีสรรพากรและศุลกากร และมาตรการในการหาแหล่งเงินกู้ให้แก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
๒.๔ โอกาสการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ: กรณีศึกษาเรื่องที่ดิน
ที่ดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในแทบทุกด้านเพราะที่ดินทำหน้าที่เป็นฐานการผลิตไม่ว่าจะเป็นในภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ หรือแม้แต่การจัดการด้านที่อยู่อาศัย ดังนั้น การบริหารจัดการที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญของการพัฒนาที่จะนำมาสู่การสร้างรายได้ และ การกระจายประโยชน์อย่างเป็นธรรม ในประเทศไทยพบว่าการจัดการที่ดินเป็นสิ่งที่ยังต้องการการแก้ไขเพื่อนำไปสู่การใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด สามารถทำ หน้าที่เป็นฐานการผลิตที่สร้างรายได้ให้ประชาชนได้อย่าง เต็มศักยภาพและเป็นธรรม ด้วยเหตุนี้ มาตรการการบริหารจัดการที่ดินจึงเป็นกลไกที่มีความสำคัญอย่างยิ่งใน การพัฒนาของประเทศ
ปัจจุบันพบว่า การจัดการที่ดินของประเทศไทยยังขาดประสิทธิภาพเพราะมีที่ดินจำนวนมากที่มิได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ตามศักยภาพด้วยสาเหตุหลายประการด้วยกัน และที่สำคัญไปกว่านั้น กลไกการบริหารจัดการที่ดินยังเอื้อประโยชน์ให้ประชาชนบางกลุ่มสามารถครอบครองที่ดินได้จำนวนมาก ในขณะที่ประชาชนผู้ด้อยโอกาสไม่ สามารถเข้าถึงทรัพยากรที่ดินได้ ยิ่งไปกว่านั้นพบว่ามาตรการของรัฐด้านการบริหารจัดการที่ดิน เช่น มาตรการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่กระทรวงการคลังกำลัง ดำเนินการอยู่อาจไม่ใช่การแก้ปัญหาการบริหารจัดการที่ดินที่ต้นตอ แต่เป็นเพียงมาตรการเพิ่มฐานรายได้ให้แก่รัฐบาลเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ การพิจารณารูปแบบการบริหาร จัดการที่ดินเพื่อนำไปสู่การสร้างโอกาสที่เท่าเทียมกันจึงเป็นยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศเพื่อนำไปสู่การสร้างรายได้และความเสมอภาคใน สังคม
Link
http://www.tdri.or.th/th/html/y_end2010.html
Tuesday, November 23, 2010
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment