Friday, December 24, 2010

ทฤษฏีใหม่..การเมืองใหม่..Back..to..Basics

เมื่อครั้งที่ IBM ได้ผลิต Personal Computer (PC)
ในปี 1981 นั้น เป็นจุดเริ่มต้น ของการเปลี่ยนแปลง ครั้งใหญ่
ในโลกของเรา เป็นที่มาของเก็บรวบรวมข้อมูล (Database)
การวิจัยและพัฒนา (Research & Development)
และท้ายที่สุด คือ การสร้างระบบที่ควบคุมได้ (Control System)

แต่ในครั้งนั้น ผู้ประดิษฐ์คิดค้น และออกแบบ
Basic Input Output System (BIOS) ซึ่งเป็นจุดที่ Computer
เริ่มต้นทำงานเมื่อเปิดเครื่อง เพื่อสร้างระบบพื้นฐาน ให้กับโครงสร้าง
และการขับเคลื่อน ได้เปิดช่องว่างไว้ สำหรับการแก้ปัญหา ในภายหลัง
เผื่อว่า BIOS มีความผิดพลาด ก็จะทำการแก้ไขได้ง่าย

แต่กลับกลายเป็นว่า เป็นการเปิดทาง ให้กับผู้ที่คิดในทางลบ (Negative Thinking) ใช้ในการสร้าง Virus ขึ้นมา

Back to Basics
หลังจากปี 1981 Microsoft ซึ่งพัฒนาโปรแกรมระบบ
(Operating System) จาก DOS (Disk Operating System)

มาเป็น Windows และเป็น Windows XP Microsoft พบว่า
มีการพัฒนา Virus ขึ้นมามากมาย และสร้างปัญหาไม่รู้จบ

ให้กับ Computer ประสบการณ์ 20 ปี ทำให้ Microsoft
คิดว่า การแก้ปัญหาต้องย้อนไปที่ Basic Input Output System

นั่นคือที่มาของ มาตรฐานใหม่ของ BIOS สำหรับ Windows Vista

ความสัมพันธ์ของระบบ Input - Control - Output สำคัญอย่างไร..?

Case Study No.1 สมดุลย์ทางเศรษฐกิจ
เมื่อครั้งที่รัชกาลที่ 5 ได้ทรงเปลี่ยนแปลง และพัฒนา ระบบราชการ ระบบสาธารณูปโภค
จนเงินท้องพระคลัง มีไม่เพียงพอ ต้องกู้ยืม จากประเทศอังกฤษนั้น เราเรียนรู้อะไรได้บ้าง..?

1. ภาคเอกชน(ธุระกิจ) เป็นภาคที่สร้างรายได้ โดยการเสียภาษีอาการ เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ
เพราะฉะนั้น ภาคเอกชน = ภาค Input ในระบบ Control System

2. ภาครัฐบาล เป็นภาคที่คอยกำกับ ดูแล บริหารโครงสร้าง และการขับเคลื่อน ให้มีความสมดุลย์
เพราะฉะนั้น ภาครัฐบาล + ศาล + สภา = ภาค Control ในระบบ Control System

3. ภาคราชการ เป็นภาคที่คอยใช้เงินคงคลัง ให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม เช่น ระบบสาธารณูปโภค
เพราะฉะนั้น ภาคราชการ = ภาค Output ในระบบ Control System

Case Study No.2 สมดุลย์ทางสังคม
เมื่อก่อนที่สังคมของเรา ยังไม่มีความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี่นั้น
สังคมของเรา ก็ยังเป็นสังคมขนาดเล็ก ปัญหายังดูไม่มีความสับสน ซับซ้อน มากมาย
แต่เมื่อเรามีความรู้ มีเทคโนโลยี่ สังคมมีขนาดใหญ่ขึ้น ปัญหามีความสับสน ซับซ้อนมากขึ้น
การแก้ปัญหา อาจต้องการคิดอย่างเป็นระบบ เราคงต้องคิดย้อนกลับ Back to Basics
ถ้าเราคิดจากความสัมพันธ์ Input - Control - Output เราจะได้อะไร..?

ภาคเอกชน = ภาค Input ในระบบ
ในสมดุลย์ของสังคม เรามีองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) เรามีมูลนิธิต่าง ๆ เรามีสมาคมต่าง ๆ มากมาย
แต่องค์กร มูลนิธิ สมาคมเหล่านี้ ได้เก็บรวบรวมข้อมูล (Database) วิจัยและพัฒนา (R&D) เข้าสู่ระบบหรือยัง..?
เราอาจต้องการ สภาวิชาชีพ ตามสาขาต่าง ๆ ที่จำเป็น เพื่อทำหน้าที่เหล่านี้ เพื่อให้เกิด ภาวะ Input ในระบบ

ภาครัฐบาล + ศาล + สภา = ภาค Control ในระบบ
เมื่อภาคเอกชน ทำหน้าที่ป้อนข้อมูล ทางวิชาการเข้าสู่ระบบ ภาครัฐบาลก็ต้องนำมาจัดระบบ การบริหารประเทศ
กำหนด เป็นนโยบาย และกำหนด แผนการปฎิบัติงาน ส่งต่อไปยัง ภาคราชการ

ภาคราชการ = ภาค Output ในระบบ
ภาคราชการ มีหน้าที่ นำนโยบาย และแผนปฎิบัติงานไปใช้ โดยการประยุกต์ให้เหมาะสม กับแต่ละสถานะการณ์
เพื่อให้การบริการ การสร้างสาธารณูปโภค การแก้ปัญหาในสังคม มีการขับเคลื่อนในทิศทาง ที่ถูกต้อง

Case Study No.3 สมดุลย์ทางการเมือง
เราเคยคิด แก้ปัญหา โดยการเปลี่ยนแปลง การปกครอง ในปี 2475
เราเคยเรียกร้อง รัฐธรรมนูญ ในปี 2516 เราเคยปฎิวัติ รัฐประหาร มาหลายครั้ง
เราน่าจะรู้แล้วว่า ไม่ใช่วิถีทาง การแก้ปัญหาที่ถูกต้อง ยังไม่สามารถ สร้างระบบประชาธิปไตย ที่เข้มแข็งได้

1 comment:

  1. ทฤษฎีการมองย้อนกลับ (Back to Basics) ใช้ในการทบทวนสิ่งที่กระทำโดยมองจากผลไปหาเหตุ สอดคล้องกับหลักอริยสัจ 4 เพื่อนำข้อบกพร่องมาแก้ไขกระบวนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แต่มีสิ่งสำคัญที่มีส่วนเกี่ยวข้องคือ บริบท หรือสภาพแวดล้อมที่เป็นผลกระทบ ( impact )เป็นสิ่งแทรกซ้อนทำให้ตัวป้อน หรือกระบวนการ เบี่ยงเบน ทำให้ผลผลิตไม่เป็นตามที่คาดหวัง น่าเสียดายที่ การนำเสนอกรณีศึกษา นี้ ไม่ได้เสนอแนะทางออกที่ดี เช่น ในบทส่งท้าย ไม่ได้บ่งบอกวิธีการที่ดีกว่าการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย วิธีที่มีประสิทธิภาพในการต่อสู้กับรัฐเด็จการ คือ วิธีใด

    ReplyDelete