Tuesday, December 28, 2010

กองทัพกับการเมืองไทย ๑ : นิธิ เอียวศรีวงศ์

โดย : นิธิ เอียวศรีวงศ์

เวลานี้มีการอภิปรายถกเถียงในเว็บไซต์ต่างประเทศแห่งหนึ่ง ซึ่งสนใจศึกษาประเทศไทยโดยเฉพาะว่า กองทัพไทยเป็นปัจจัยสำคัญสุดทางการเมืองใช่หรือไม่ หรือกองทัพเป็นเพียงเครื่องมือของอำนาจนอกระบบในการแทรกแซงจัดการทางการ เมืองเท่านั้น

คิดอีกทีข้อถกเถียงนี้ก็ประหลาดนะครับ กองทัพในประเทศอุษาคเนย์ทุกประเทศล้วนมีบทบาทสำคัญทางการเมืองอย่างยิ่งทั้ง นั้น จนกลายเป็นหัวข้อศึกษาที่นักวิชาการเฝ้าศึกษาวิเคราะห์มานาน และมักจะวิเคราะห์กันเหมือนว่ากองทัพเป็นตัวละครอิสระ โดยไม่ได้เชื่อมโยงกับอำนาจอื่นๆ ที่มีอยู่ในสังคมเลย

ครั้นมาถึง ตอนนี้ การเมืองไทยมักถูกวิเคราะห์ในแนวว่ามีอำนาจนอกระบบ, มือที่มองไม่เห็น, หรือเครือข่ายทางเศรษฐกิจที่ชักใยอยู่เบื้องหลัง เป็นปัจจัยชี้ขาด จนกระทั่งบางทีก็ลืมกองทัพไปเลย

ผมคิดว่า ความจริงคงอยู่ระหว่างสุดโต่งสองด้านนี้ กล่าวคือกองทัพเป็นตัวละครหนึ่ง ซึ่งมีผลประโยชน์, ความต้องการ, ความใฝ่ฝัน ฯลฯ ที่เป็นของตัวเอง แต่ตัวละครตัวเดียวนี้ไม่สามารถปฏิบัติการทางการเมืองแต่ลำพังได้ ต้องเชื่อมโยงกับอำนาจอื่นๆ ทั้งที่อยู่ในระบบ, นอกระบบ, และปริ่มๆ ระบบ อีกทั้งที่เข้าไปเชื่อมโยงก็ไม่ใช่เพราะกองทัพตัดสินใจได้เองเพียงอย่าง เดียว หากเชื่อมโยงเพราะสถานการณ์ชักจูงไปก็ไม่น้อย เหมือนตัวละครในการเมืองไทยอื่นๆ แหละครับ

แต่ก่อนจะพูดถึงพันธมิตร หรือเครือข่ายของกองทัพ ผมคิดว่ามาเริ่มต้นกับผลประโยชน์ของกองทัพในการเข้าไปมีบทบาทและอำนาจกำกับ (ระดับหนึ่ง) ในการเมืองไทยกันเสียก่อน

ผลประโยชน์ในที่นี้ ผมจะไม่รวมผลประโยชน์ทางอุดมการณ์ เช่น ทหารถูกทำให้เชื่อว่าตนมีหน้าที่ปกป้องราชบัลลังก์ และผดุงความเป็นชาติไทยเอาไว้ และผมไม่นับการที่นายพลได้กินสินบนในการสั่งซื้ออาวุธและอื่นๆ ว่าเป็นผลประโยชน์ของกองทัพ

เท่าที่ผมนึกออก ผมคิดว่ากองทัพได้รับผลประโยชน์จากการเข้าไปมีอำนาจและบทบาททางการเมืองไทยดังนี้

อัน แรกคืองบประมาณ เป็นหลักประกันว่ากองทัพจะได้งบประมาณจำนวนมาก ในช่วงสี่ปีหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน งบประมาณกองทัพพุ่งขึ้นตลอดมา จนกระทั่งในปัจจุบันเมื่อเปรียบเทียบงบประมาณทหารต่อจีดีพีแล้ว งบประมาณทหารไทยดูเหมือนจะอยู่สูงสุดในประเทศอาเซียนด้วยกัน (และแน่นอนว่าสูงกว่าประเทศอียูทั้งมวล)

แน่นอน ส่วนหนึ่งของงบฯนี้ ถูกแบ่งไปซื้อเรือเหาะที่เหาะไม่ได้ เครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดที่ใช้อคติเป็นพลังงาน รถถังที่ไม่มีเครื่อง ฯลฯ แต่ที่ผมอยากพูดถึงมากกว่าก็คือ ทหารก็เหมือนข้าราชการอื่นๆ กล่าวคืออยากจะพิสูจน์ความชอบธรรมของหน่วยตนเอง ด้วยการแสดงสมรรถนะให้สังคมยอมรับ กองทัพเลือกการมีอาวุธยุทธภัณฑ์ที่ทันสมัยเป็นเครื่องหมายแห่งสมรรถนะ (จะถูกหรือผิดคงเถียงกันได้)

ยิ่งกว่าหน่วยราชการทั่วไปด้วย กองทัพจะพิสูจน์ความชอบธรรมของการมีอยู่ของตนได้น้อยลง เพราะโลกข้างหน้าเท่าที่จะพอมองเห็นได้ คงไม่มีสงครามใหญ่กระทบมาถึงไทย นับวันภารกิจของกองทัพต้องหันมาสู่กิจการภายในมากขึ้น นับตั้งแต่ปราบยาเสพติด, ปราบจลาจล, ช่วยน้ำท่วม และสวนสนาม ฉะนั้นการป้องกันงบประมาณกลาโหมจะยิ่งยากขึ้น อย่าพูดถึงของบฯเพิ่มเลย แม้แต่จะรักษางบฯเก่าให้คงเดิมก็ยากแล้ว

การแผ่รังสีอำมหิตเข้าครอบงำการเมืองจึงเป็นหนทางหนึ่งที่จะประกันว่างบประมาณทหารจะเพิ่มขึ้นตามลำดับตลอดไป

ทั้ง นี้ ยังไม่พูดถึงการประกอบภารกิจภายในบางอย่าง ต้องการอำนาจทั้งในกฎหมายและเหนือกฎหมาย เพื่อปฏิบัติภารกิจให้ลุล่วงได้ง่ายด้วย เช่น ผลักดันชนกลุ่มน้อยจากประเทศเพื่อนบ้านกลับ, ปราบยาเสพติด, ปราบจลาจล และแหะๆ ยึดอำนาจ

ผลประโยชน์อย่างที่สองคือทรัพยากร อย่านึกว่ากองทัพไทยมีแต่ปืนและเครื่องแบบ ที่จริงแล้วกองทัพครอบครองทรัพยากรจำนวนมาก ซึ่งมีมูลค่าทางธุรกิจสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ที่สำคัญสองอย่างคือที่ดินและคลื่นความถี่ ทรัพยากรเหล่านี้ดำรงอยู่ได้ด้วยอำนาจทางการเมืองที่กองทัพมีอยู่ ยกตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายๆ หากทหารไม่มีอำนาจทางการเมืองอยู่เลย ระเบียบอำนาจหน้าที่ของ กสทช.ที่รัฐเพิ่งเสนอ ก็คงริบเอาคลื่นความถี่ด้าน "ความมั่นคง" ทั้งหมด กลับมาให้คณะกรรมการพิจารณา ไม่ใช่สงวนไว้นอกอำนาจของ กสทช.หน้าตาเฉยอย่างนี้

ที่ดินซึ่งหวงห้ามไว้ในราชอาณาจักรอีกจำนวน มหึมา สมัยที่หวงห้ามยังเป็นป่าเขาที่ห่างไกล แต่บัดนี้กลายเป็นพื้นที่ใกล้หรือในเมือง เพราะการขยายตัวของพื้นที่เมืองในประเทศไทย ย่อมเป็นแหล่งรายได้ทางธุรกิจมหาศาล ไม่พูดถึงการหาประโยชน์เข้ากระเป๋าของนายทหาร หากกองทัพนำมาใช้ประโยชน์ในทางธุรกิจ กองทัพก็จะมีเงินรายได้นอกงบประมาณไว้ใช้สอยอีกจำนวนมหึมา (มากกว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเสียอีก)

แม้ทรัพยากรเหล่านี้ไม่ใช่ สมบัติส่วนตัวของนายพลคนใด แต่เป็นสมบัติของกองทัพที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ฉะนั้นถึงอย่างไรก็ต้องรักษาเอาไว้ จะรักษาไว้ได้ก็ต้องควบคุมการเมืองในระดับหนึ่ง เช่น อย่าให้มีใครกล้าออกกฎหมายที่ดินซึ่งจะทำให้กองทัพสูญเสียทรัพยากรที่ดินใน ครอบครองไป

ผลประโยชน์อย่างที่สามคือโอกาสทางธุรกิจของนายทหาร เพราะอำนาจของกองทัพในการเมืองนี่เอง ธุรกิจจึงนิยมใช้ประโยชน์จากเส้นสายของนายทหารนอกราชการ ทหารเกษียณหลายคนได้ดำรงตำแหน่งกรรมการ หรือที่ปรึกษาบริษัทเอกชน ยังไม่พูดถึงรัฐวิสาหกิจ อย่ามองเรื่องนี้เพียงผลประโยชน์ของนายทหารบางคนเท่านั้น นั่นก็ใช่แน่

แต่ หากมองว่าระบบบำนาญของกองทัพนั้น มีหลักประกันด้านสวัสดิการที่เหนือกว่าข้าราชการทั่วไป เป็นระบบสวัสดิการของกองทัพซึ่งจะรักษาไว้ให้ดำรงอยู่ต่อไปได้ ก็ต้องมีอำนาจในการเมือง

อีกเรื่องที่ผมอยากพูดถึงไว้ด้วยก็คือเรื่องของ redistribution หรือการกระจายทรัพย์สมบัติกลับสู่บุคลากรในกองทัพ

ทหาร ไทยมีประเพณีของ redistribution สูง นับตั้งแต่เลี้ยงเหล้าไอ้เณร ไปจนถึงแบ่งทรัพยากรของกองทัพให้ลูกน้องที่อยู่ในสังกัดของตนได้ดูแล (และบริโภค) เพราะเราจัดความสัมพันธ์ภายในกองทัพในลักษณะนาย-ไพร่ของกองทัพโบราณ เมื่อยึดทรัพย์จับเชลยมาได้ ก็แบ่งปันกันในหมู่ไพร่ในสังกัด ฉะนั้นต้องเข้าใจด้วยว่าผลประโยชน์ที่กองทัพมี หรือที่นายทหารเม้มใส่กระเป๋าของตนนั้น อย่างน้อยก็ส่วนหนึ่งถูกจำหน่ายจ่ายแจกไปในกองทัพ-ในรูปต่างๆ-อยู่พอสมควร

ภารกิจที่จะต้องมีอำนาจเหนือการเมือง จึงเป็นภารกิจที่บุคลากรในกองทัพยอมรับได้ว่าเป็นภารกิจร่วมกันของกองทัพ

จะ มีอำนาจเหนือการเมืองได้ ก็ต้องเป็นตัวละครอิสระทางการเมือง กล่าวคือมีความต้องการและทิศทางของตนเอง จะเป็นอย่างนั้นก็ต้องรักษาอิสรภาพของตนไว้ให้ได้ นี่คือเหตุผลที่กองทัพไม่ไว้ใจนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง เพราะเผลอเมื่อไรก็มักจะแทรกเข้ามาลดอิสรภาพของกองทัพเสมอ ผบ.กองทัพนั้น กองทัพอยากเป็นคนเลือกเอง เพราะ ผบ.ที่เป็นอิสระเท่านั้น ที่จะไม่นำกองทัพไปเป็นเครื่องมือของใคร (อย่างไม่มีข้อแลกเปลี่ยนเลย)

แต่ อำนาจของกองทัพเหนือการเมืองนั้น ไม่ได้มาจากรถถัง, ทหารป่าหวาย, หรือปืนยิงเร็ว ฯลฯ นั่นก็ใช่ส่วนหนึ่ง แต่ไม่ใช่ส่วนสำคัญ กองทัพจะยึดอำนาจหรือรักษาอำนาจของตนในการเมืองไว้ได้ ก็เพราะกองทัพได้รับความเห็นชอบจากส่วนอื่นๆ ที่มีพลังในสังคม

เมื่อ ตอนที่กองทัพทำรัฐประหารสำเร็จ นายแบงก์และนายทุนธุรกิจพากันหิ้วกระเช้าไปแสดงความยินดีกับหัวหน้าคณะรัฐ ประหาร ที่จริงแล้วเขาพากันไปแสดงความยินดีกับตนเองไปพร้อมกันด้วย

เพราะการยึดอำนาจครั้งนั้นเขาเห็นชอบ และบางครั้งถึงกับเป็นผู้สนับสนุนทางการเงินอยู่เบื้องหลังบางส่วนด้วยซ้ำ

ฉะนั้น เราจึงจะเข้าใจบทบาททางการเมืองของกองทัพได้ ก็โดยการดูความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างกองทัพกับ "พันธมิตร" เหล่านี้ และที่น่าสนใจเป็นพิเศษก็คือ ความสัมพันธ์นี้ไม่ได้อยู่คงที่ แต่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา เพราะ "พันธมิตร" ก็ต้องการเป็นตัวละครอิสระในทางการเมืองเหมือนกัน ต่างฝ่ายต่างเปลี่ยนข้างเปลี่ยนสี เปลี่ยนจุดเน้นแห่งพันธะ และเปลี่ยนการดำเนินการทางการเมืองอยู่ตลอดเวลา อันเป็นผลกระทบไปถึงการเมืองภายในของกองทัพเองด้วย และแน่นอนย่อมมีผลให้เกิดพลวัตที่แฝงอยู่ในการเมืองไทย

กลุ่มที่เข้า มามีบทบาทบนพื้นที่ทางการเมืองไทย นับจาก 14 ตุลาเป็นต้นมา มีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (รวมทั้งเพิ่มเข้ามาใหม่อย่างไม่หยุดหย่อนด้วย) ทำให้อำนาจดิบของกองทัพยิ่งไร้ประสิทธิภาพมากขึ้น การล่มสลายของคณะ รสช.ในเดือนพฤษภาคม 2535 พิสูจน์ว่าอำนาจดิบอย่างเดียวใช้คุมการเมืองไม่ได้ กองทัพเหลียวมองข้างหลังแล้วพบว่า "พันธมิตร" ของตนส่วนใหญ่เผ่นป่าราบไปแล้ว บางส่วนถึงไม่ได้เผ่น ก็เริ่มแทงกั๊ก คือผลักภาระให้กองทัพรับผิดชอบไปแต่ผู้เดียว

ยิ่งย้อนกลับไปถึง 14 ตุลา ก็ยิ่งเห็นได้ชัดว่า บางส่วนของ "พันธมิตร" ลอบแทงข้างหลังกองทัพมาแต่ต้น เป็นผลให้เกิดความแตกแยกภายในกองทัพอย่างหนัก แต่พัฒนาการทางการเมืองหลังจากนั้น กลับดึงให้ "พันธมิตร" บางกลุ่มต้องหันกลับมาร่วมมือกับบางส่วนของกองทัพ เพื่อผดุงอำนาจต่อรองของตนในการเมืองเอาไว้

ฉะนั้น ที่ผมเรียกว่า "พันธมิตร" ของกองทัพนั้น ไม่สู้จะถูกต้องนัก เพราะกลุ่มเหล่านี้อาจจับมือกับกองทัพในบางสถานการณ์ และหันหลังให้กองทัพในอีกสถานการณ์หนึ่งได้ ที่ถูกต้องกว่าก็คือกลุ่มคนเหล่านี้เป็น "หุ้นส่วน" ในการเมืองไทย ร่วมหุ้นกันบ้าง ถอนหุ้นกันบ้าง แล้วแต่จังหวะไหนจะทำกำไรได้มากกว่า

ในตอนหน้า ผมจะพูดถึงเรื่องนี้
ที่มา:มติชน

อนิจจาปุถุชนทุรนรั้น

น่าจะเกิน 20 ปี นะ เคยอ่านกลอนนี้ โดนใจ..ใช่เลย จำไม่ได้ว่าท่านผู้ใดเป็นผู้เขียน (ไพร่แดง)พยายามฟื้นความจำ
เอามาปะติดปะต่อ ขออนุญาต นำมาเพื่อเป็นประโยชน์กับผู้คน ที่กำลังมองหาสัจธรรมของชีวิต

ผ่านลมร้อนลมหนาวหลายคราวครั้ง
ชีวิตแห่งหวังยังโหยหา
เคลือบรอยยิ้มกลบทางรางน้ำตา
ปกปิดความปวดปร่าไว้มิดชิด

ทุกด้านที่พบเห็นเป็นเช่นนี้
วันหนึ่งร้ายวันหนึ่งดีมีถูกผิด
ในความงดงามมีหนามพิษ
ในความสวยมีจริต มีเล่ห์กล

ในอารมณ์ยินดีมีแอบแฝง
ในความแจ้งมีมุมอับอาจสับสน
ทว่าใครลุ่มหลงหลงไม่คงทน
ก็ตกตนสมเพชเวทนา

ล้วนสวมตัวหัวโขนแสดงบท
เป็นไปตามกำหนดแห่งตันหา
มีความใคร่ความอยากมากมารยา
อนิจจาปุถุชนทุรนรั้น

ธรรมเนียมปีใหม่ให้อวยพร
ต่างก็ป้อนความหวานหว่านความฝัน
ส่งความสุขสดใสให้แก่กัน
ซึ่งแท้จริงนั้นคืออะไร ?

บ้างเพราะรักเพราะศรัทธาจากใจจริง
บ้างกลอกกลิ้งเสแสร้งตามวิสัย
ใครเล่าจะมองเห็นเป็นเช่นใด
นอกจากตนรู้ใจของตนดี

ไม่มีพรใดๆ ให้ใครอื่น
ความสดชื่นไม่ได้เกิดจากพรที่
หยิบยื่นส่งให้กันในวันนี้
เพียงเพื่อทอดไมตรีชั่วครั้งคราว

แต่อยากบอกเพื่อนรักให้พักผ่อน
ดับความเร่าความร้อนทุกย่างก้าว
ชำระใจหมดจดจากขื่นคาว
ระงับความแตกร้าวทุกลีลา

แล้วส่งความจริงใจให้แก่กัน
มิใช่มุ่งฟาดฟันด้วยริษยา
ทั้งผู้น้อยผู้ใหญ่ให้ราคา
เพราะต่างมีคุณค่าเสมอคน

อาจแตกต่างทางฐานะทางหน้าที่
แต่ถ้าไร้อวดดีมีเหตุผล
สังคมย่อมมิยับมิอับจน
แหละย่อมผ่านมืดมน อนธการ

Monday, December 27, 2010

วิกิลีกส์กับการเลิกเชื่อ : คุยกับ ดร.เกษียร เตชะพีระ

คำถามสำคัญ ของผู้คนแทบทุกวัฒนธรรมจำนวนวนไม่น้อย ต่างแสวงหา “ความจริง” ไม่ว่าจะด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ ไสยศาสตร์ ฯลฯ ยังไม่นับรวมวิธีวิทยาอื่นๆ ที่แต่ละสำนักคิด ต่างยึดถือ หรือกระทั่งวิธีคิดเองเออเอง ตามจินตนาการเท่าที่ประสบการณ์ในชีวิตแต่ละคนจะเอื้ออำนวยต่อการวาดภาพถึง สิ่งไกลๆ ที่ไม่สามารถมองเห็น

ไม่ว่าวิธีการแสวงหาความจริงของแต่ละคน จะใช้วิธีอะไร หยิบจับเครื่องมือชิ้นไหน แต่ปัญหาอาจไม่ได้อยู่ที่ “ความจริง” ชุดนั้น มากเท่ากับ ความพร้อม ในการยอมรับความจริงของผู้ที่กำลังรับรู้...

เดิมทีความเข้าใจความจริงแต่ละชุด ถูกจำกัดอยู่แต่เฉพาะกลุ่ม และอาจเป็นสิ่งต้องห้ามของสาธารณะ ต้องรอเวลาจนกว่าจะผ่านช่วงชีวิตในแต่ละรุ่น เพื่อคลายความ “ต้องห้าม” ของข่าวสารชุดนั้น

ขณะที่วันนี้ ความเคลื่อนไหววิธีใหม่ๆของข้อมูลข่าวสารเกิดขึ้น เมื่อมนุษย์สื่อสารถึงกันผ่านอินเตอร์เนต ข้ามพรมแดนของรัฐชาติและเป็นไปได้ยากในการควบคุม

“วิกิลีกส์” เป็นเครื่องมือวิธีการที่จะเข้าถึง “ความจริง” อีกชุด โดยไม่ต้องรอคอยระยะเวลาทางประวัติศาสตร์ที่จะเข้ามาคลี่คลายความรับรู้อีก ต่อไป

เมื่อปัญหา ไม่ได้อยู่ที่ ข่าวสาร มากเท่ากับผู้รับสาร การเตรียมความพร้อมของผู้รับข้อมูลจึงมีความน่าสนใจว่า สำหรับสังคมไทยมีความพร้อมหรือไม่เพียงใด สำหรับข้อมูลเก่าในความเข้าใจใหม่ ก่อนการสร้าง “ความจริง”ชุดใหม่ในสาธารณะ

ดร.เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้แง่คิดเตือนสติที่สำคัญ ก่อนที่สาธารณะจะสวิงไปทางใดทางหนึ่ง หากไม่ฝึกตั้งรับกับความเข้าใจแบบใหม่ๆ ที่ใกล้เข้ามาทุกที

สังคมไทยไม่มีเครื่องมือที่จะรับรู้ในหมู่สาธารณชนเท่าไหร่ เพราะไม่ได้ถูกฝึกให้ “เลือกเชื่อ” แต่สังคมไทยถูกฝึกให้เชื่อมาตลอด รับข้อมูลด้านเดียวมาตลอด ไม่คิดเองมาตลอด ดังนั้น พอโดนจู่โจมโดยข้อมูลในทางตรงข้าม ทำให้มีอาการสุดโต่งออกไปอีกข้างหนึ่ง

“ผมว่าสังคมไทยไม่ได้ถูกฝึกมาทั้ง 3 ข้อ เพราะเดิมทีรับข้อมูลก็รับด้านเดียว ไม่ได้ถูกฝึกมาเพื่อให้รับหลายด้าน แล้วคิดด้วยเหตุด้วยผล อย่างที่ 2 ต้องคิดเองเป็น ก็มีปัญหาอีก เรามักจะถูกชักจูงให้ คิดตามผู้นำบ้าง คิดตาม ศอฉ. บ้าง อันที่ 3 เลิกเชื่อก็ไม่เป็นเพราะถูกฝึกให้เชื่อมาตลอดชีวิต คือตั้งแต่เด็ก ก็จะมีผู้ใหญ่มาบอกว่าต้องเชื่ออย่างงี้ๆ พอเข้าโรงเรียนก็มีครูบอกว่าต้องเชื่ออย่างนี้ๆ นะ พอโตมาเป็นผู้ใหญ่ก็มี ศอฉ. มาบอกให้เชื่อแบบนี้... ไม่เคยถูกฝึกให้เลือกเชื่อ พอไม่เคยถูกฝึกแล้วผลมันเป็นยังไง พอโดนข้อมูลฝ่ายตรงข้ามถล่ม... การเลือกเชื่อเป็น... ก็คือการเลือกเชื่ออย่างมีสติ ถ้าเลือกเชื่อไม่เป็น มันจะสวิงและเกิดความรู้สึกเกลียดชัง”

สำหรับผลของข้อมูลชุดใหม่อาจทำให้บางคนผิดหวังกับสิ่งที่ตัวเองเคยเชื่อ ดร.เกษียร เสนอวิธีการจัดการกับความเชื่อว่า “คุณ อยู่กับสิ่งที่คุณไม่เชื่อได้ โดยไม่จำเป็นต้องเกลียด ผมคิดว่าอันนี้เป็นเรื่องที่คนไทยไม่เคยทำมาก่อน จากที่เคยเชื่อหัวปักหัวปำเลยนะ พอตกใจกับข้อมูลแล้วเลิกเชื่อ ก็เกลียดเลย...ผมคิดว่าต้องเยือกเย็น...เป็นไปได้ไหมที่คุณจะเลือกเชื่อแบบ เก่าโดยไม่จำเป็นต้องสุดโต่งไปเป็นการเกลียด...

ผมไม่ได้แปลว่า คนที่เกลียดเป็นคนผิดนะ แต่วิธีการที่คุณจะรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทางข้อมูล ก็คือรับฟังข้อมูล ฝึกคิดเองแล้วก็ฝึกเลิกเชื่อ ถ้าคุณฝึกได้แล้ว ปฏิกิริยาจะไม่คิดสุดโต่ง เพราะคุณไม่ได้เริ่มจากจุดที่หมกมุ่นไปในทางเดียว ซึ่งถ้าพลิกกลับปั๊บ ก็ปฏิเสธทุกอย่าง... เราต้องฝึกคิดให้กว้างกว่านี้ อีกอย่างก็มีคน ในสังคมนี้อีกไม่น้อยที่เขามีความผูกพันกับบางสิ่ง ด้วยเหตุผลที่อาจจะไม่เหมือนคุณนะ แต่ไม่ได้แปลว่าเขาผิด คุณจะจัดการกับเขายังไง”

แม้ว่าเอกสารหลายชิ้นในวิกิลีกส์ จะไม่ใช่เรื่องใหม่ที่เพิ่งเกิด แต่เป็นเรื่องที่ดำรงอยู่และรู้กันเฉพาะกลุ่มมาก่อน ดร.เกษียร แนะวิธีคิดต่อข้อมูลเก่าในความรับรู้อันใหม่ของสาธารณะว่า

“เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องที่ในแวดวงคนชั้นนำเขาก็รู้ เป็นเรื่องธรรมดา แต่พอลงมาถึงคนที่ถูกฝึกให้เชื่อ รับข้อมูลด้านเดียว ไม่เคยคิดเองเป็นมาก่อนเลย ไม่เคยเลิกเชื่อมาก่อนเลย มันก็สวิงไปจนเกิดความรู้สึกเกลียดเลย ผมรู้สึกว่าถึงจุดนั้น ประเด็นไม่ใช่เกลียด แต่ประเด็น คือ ต้องเลิกเชื่อแบบเก่าและจะจัดการกับความเป็นจริงอย่างไร ไม่ใช่มีความรับรู้อันใหม่ แต่ยังเชื่อแบบเก่า แล้วก็เกลียดชัง ทำกับเขาราวกับไม่ใช่มนุษย์”

Sunday, December 26, 2010

สังคมไร้กฎกติกา ใช้อารมณ์ความรู้สึกชี้นำ

ดร.นันทวัฒน์ วิพากษ์"สังคมไร้กฎกติกา ใช้อารมณ์ความรู้สึกชี้นำ เอาคนไม่รู้จริงทำงาน"

ศ.ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์การเมืองปี 2554 ในแง่มุมของนักกฎหมายมหาชน หลังจากอ่านบทสัมภาษณ์พิเศษนี้แล้ว อาจเข้าใจการเมืองไทยปีหน้าได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

วิเคราะห์การเมืองและรัฐธรรมนูญปีหน้า 2554 อย่างไร
การเลือกตั้งปีหน้าจะมีหลายองค์ประกอบ องค์ประกอบแรกที่เราดูกันอยู่หน้าจะเกี่ยวกับการแก้รัฐธรรมนูญ การแก้รัฐธรรมนูญในทางปฎิบัติ รัฐบาลไม่ได้อยากแก้ การแก้รัฐธรรมนูญดูเหมือนเป็นการซื้อเวลาในบางช่วง เพราะว่าคณะกรรมการชุดที่รัฐบาลตั้งขึ้นมาดูประเด็นต่างๆ ที่รัฐบาลเลือกไว้ 2 ประเด็น และ 2 ประเด็นที่รัฐบาลเลือกไม่ได้เป็นประเด็นใหม่ เป็นประเด็นที่คณะกรรมการของวุฒิสภาเขาทำกันมาแล้ว เพราะฉะนั้นก็เหมือนว่าการตั้ง 2 คณะกรรมการนี้ขึ้นมาก็เพื่อใช้ระยะเวลาอีกระยะเวลาหนึ่งยืนยันของเก่าที่ทำ กันมาแล้ว อาจจะมีเปลี่ยนบ้างเล็กน้อย

ตอนนี้รัฐธรรมนูญก็อยู่ในการพิจารณาของรัฐสภา ผ่านรัฐสภาออกมาก็ไม่มีใครยืนยันได้ว่าจะเปลี่ยนแปลงการเลือกตั้งหรือไม่ ในเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบบเลือกตั้ง ก็หมายความว่าต้องเปลี่ยนกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการเลือกตั้งด้วย ต้องยกร่างประกอบกฎหมายรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งไม่แน่ใจว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญร่างขึ้นมาใหม่จะยกร่างขึ้นมาใหม่จริงหรือ จะเอาของ ปีพ.ศ.2540 มาแก้ เพราะมันย้อนกลับไปใช้ระบบเดิม อาจจะมีจำนวนที่แตกต่างกันบ้าง ใช้เวลานานเท่าไหร่ จะมีปัญหาในสภาหรือเปล่า วุฒิสภาจะเห็นด้วยหรือเปล่า ฉะนั้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญกับกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญก็เพื่อที่จะเตรียมพร้อม ในเลือกตั้ง เข้าใจว่าน่าจะหลังครึ่งปีแรกไปแล้ว และคงจะอยู่ในช่วงครึ่งปีสุดท้ายถ้าไม่มีอุบัติเหตุหรือปัญหาทางการเมือง

อะไรคือปัจจัยความเสี่ยงทางการเมือง
ปัจจัยความเสี่ยงมีหลายองค์ประกอบ รัฐธรรมนูญเป็นแค่องค์ประกอบเดียว อาจจะมีองค์ประกอบอื่น ๆ แทรกซ้อนเข้ามา ซึ่งเราก็ไม่ทราบว่าเรื่องอะไร เห็นอยู่แล้วว่าเดี๋ยวนี้มีการฟ้องร้องทั้งฝ่ายรัฐบาล ทั้งฝ่ายการเมืองต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใดก็ตามต่างอยู่ในองค์กรของรัฐบาลเต็มไปหมด อย่าง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)ก็มีหลายเรื่อง คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) เองก็มี เราไม่แน่ใจว่าในระหว่างทางอุบัติเหตุทางการเมืองเกิดขึ้นอีกหรือเปล่า

เสียงวิพากษ์สถาบันทางการเมืองและองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นศาล หนักหน่วงรุนแรงขึ้น จะนำไปสู่ความเสื่อมหรือไม่
จริง ๆ แล้ววันนี้ทุกแห่งมันก็วนกลับมาสู่จุดเดิมทั้งหมด สมัยตอนคุณทักษิณ(พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) เราก็พยายามพูดว่าสถาบันพวกนี้ได้รับการแต่งตั้งมาจากวุฒิสภาที่ไม่เป็นกลาง องค์กรพวกนี้ก็เป็นองค์กรสีเทา (คงจำกันได้) กกต. ชุดที่ถูกจับไปติดคุก 3-4 วัน ชุดนั้นก็กลายเป็น กกต. สีเทา แต่วันนี้คำถามที่ทุกคนคงจะตอบได้ว่ามันเหมือนกันหรือว่ามันต่างกันมันก็ เป็นจุดแบบเดียวกันทุกองค์กร สุดท้ายมันก็กลับมาอยู่ที่เดิมแต่อยู่ที่การคัดเลือกตัวบุคคลมากกว่า เพราะว่าในระบบต่าง ๆ มันมีทั้ง 2 ส่วนประกอบ

ส่วนประกอบที่ 1 คือเป็นระดับมืออาชีพจริง ๆ และมีความรู้เรื่องนั้นจริง ๆ ส่วนประกอบที่ 2 เป็นส่วนที่ถูกคัดเลือกเข้ามา ตัวอย่างเช่นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เราต้องเลือกคนที่มีความรู้เรื่องรัฐธรรมนูญดีที่สุดในประเทศ ต้องมีความรู้เรื่องรัฐธรรมนูญไม่ใช่ความรู้เรื่องนักกฎหมายทั่วไป

เพราะฉะนั้นความเสื่อมจะมาจาก 2 ส่วนเช่นกัน ส่วนของเจ้าตัวเองที่อยากเข้ามาอยู่ในตำแหน่ง ส่วนของคนที่เลือกก็ไม่ได้ใช้วิธีการคิดหรือตรรกะที่เป็นระบบเท่าที่ควร นักกฎหมายกับแพทย์คงคล้ายกันหรือว่านักรัฐศาสตร์กับแพทย์ก็คงจะคล้ายกัน คือต่างคนต่างมีความเชี่ยวชาญและความชำนาญ ฉะนั้นถ้าเอาคนที่ไม่มีความเชี่ยวชาญ ความชำนาญเข้ามา หรือว่ามี แต่ไม่ถึงระดับนั้น วิธีการมองปัญหาก็ย่อมไม่เหมือนกัน มันก็อยู่ในสภาพแบบนี้ต่อไป

อย่างที่ทราบว่ากฎหมายมหาชนและกฏหมายเอกชนพื้นฐานต่างกันมาก เกณฑ์ที่ศาลจะสั่งไม่รับเพราะว่าขาดอายุความ ถ้าเป็นกฎหมายเอกชนก็ไม่มีใครเถียง แต่ในเรื่องของกฎหมายมหาชนถ้าขาดอายุความแล้ว เป็นเรื่องที่เกี่ยวของกับประเทศชาติและประชาชน เราก็ต้องรับเหมือน เรายึดทรัพย์นักการเมืองที่โกง ซึ่งรู้อยู่แล้วว่าโกงจับได้ว่าโกง แต่ว่านักการเมืองที่โกงขาดอายุความไปแล้ว ก็ปล่อยให้โกงประเทศชาติไปอย่างนั้น ตรงนี้คิดว่าไม่น่าจะใช่ ฉะนั้นตรรกะในการคิดของนักกฏหมายทำให้องค์กรมีปัญหาในทุกวันนี้ แล้วเราจะเห็นได้ว่าองค์กรที่มีปัญหาในทุกวันนี้ ที่มีการวิพากวิจารณ์ มีการพูดถึงคนเหล่านั้นที่มีพื้นเพมาจากกระบวนการยุติธรรมปกติทั่วไป นั่นก็คือ ศาลแพ่ง ศาลอาญาหรืออัยการทั้งสิ้น

หลายคนพูดตรงกันว่า การที่รัฐบาลชุดปัจจุบันอยู่ได้เพราะ ประชาชนไม่มีทางเลือกอื่น
ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่าประชาชนไม่มีทางเลือกอื่น แต่ ประเด็นอยู่ที่ถ้ารัฐบาลทำถูกก็ต้องให้อยู่ ถ้ารัฐบาลทำผิดก็ต้องให้ไป ในทางปฎิบัติที่ผ่านมาเราจะเห็นได้ว่าในรัฐบาลของทักษิณทำผิด ทำผิดเยอะมากทุกคนก็ทราบ ทราบตั้งแต่ตอนที่เขายังอยู่ไม่ใช่หลังการปฎิวัติไปแล้ว เขาก็อยู่ต่อไปได้ เพราะเขามีฐานเสียงสนับสนุนอยู่มาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดในการสนับสนุนต้องสนับสนุนในสิ่งที่ถูกมากกว่า คนที่เป็นรัฐบาลต้องทิ้งทุกสิ่งทุกอย่าง เมื่อคุณมุ่งมั่นที่จะมาบริหารประเทศแล้วโดยไม่มองประโยชน์ส่วนตัว ซึ่งรัฐบาลปัจจุบันก็เช่นเดียวกัน

รัฐบาลชุดนี้มุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาของประเทศ แต่เราจะเห็นได้ว่าระยะเวลาครึ่งหนึ่งของรัฐบาลที่อยู่มาจนถึงทุกวันนี้ ใช้เวลาหมดไปกับการปราบปรามและแก้ไขระบบทักษิณทั้งหมด ปัญหาหลักของประเทศก็จะไม่เกิดการแก้ไข ประกอบกับในช่วงเวลาที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าการทุจริต คอรัปปชั่น ซึ่งเกิดขึ้นในทุกรัฐบาล โดยคนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดก็เป็นสิ่งที่ยังมีอยู่ โครงการชุมชนพอเพียง แต่วันนี้ก็ยังไม่มีการให้คำตอบใดๆ ทั้งสิ้น

เราสามารถพูดได้ว่าตอนที่ทักษิณถูกปฎิวัติออกไป ใช่ว่าสนามบินสุวรรณภูมิเสียหายหมด ใช้สนามบินไม่ได้ ถูกโกงแล้วต้องทิ้งมันก็ไม่ใช่ ทุกวันนี้ก็ยังใช้สนามบินอยู่ ทั้งหมดนี้มันคือข้อกล่าวอ้างเท่านั้นเอง ว่าสิ่งที่เขาทำมาไม่ถูกและข้อกล่าวอ้างนั้นก็ไม่มีการพิสูจน์ว่าถูกหรือไม่ ถูก ฉันใดก็ฉันนั้น รัฐบาลชุดปัจจุบันก็มีแต่ข้อกล่าวอ้างทั้งนั้นเหมือนกัน ตัวเองจะทำ ตัวเองจะไม่ทำ แต่ก็ไม่ได้มีการพิสูจน์เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นมันขาดการพิสูจน์ สังคมของเราเป็นคนยกประเด็นนี้ขึ้นมา ดุว่าเขา ลงโทษเขา ลงโทษทางสังคมว่าเขาไม่ดี ว่าเขาคิดไม่ดี เขาทำไม่ดี แต่เราไม่สามารถพิสูจน์ได้สักเรื่อง ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งที่ผิด

ทุกวันนี้เป็นอาจารย์สอนวิชากฎหมายก็อึดอัดเหมือน กัน เพราะในวันนี้เราไม่ได้เอากฎหมายนำ แต่เราเอาอารมณ์ความรู้สึก เอาข้อคาดเดามานำหน้า ว่าฝ่ายนี้โกงฝ่ายนี้เลว ฝ่ายโน้นไม่ดี แต่พอจับได้ก็ไม่มีการชี้แจง ทุกอย่างดูเงียบหมด เพราะฉะนั้นองค์กรตามรัฐธรรมนูญถ้าจะทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องปรับ ปรับในหลักการ เอาคนที่มีความชำนาญจริง ๆ คุณต้องแม่นในกฎหมายและมีพื้นฐานพวกนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐธรรมนูญเรื่องของกฏหมายมหาชน

การเมืองไทยมีอนาคตแค่ไหน
เราเข้าไปสู่สังคมแบบใหม่ เป็นสังคมที่ไร้กฎกติกา ปีหน้าก็คงเหมือนเดิม ตราบใดที่เรายังฝ่าฝืน ไม่มีการจับกุม ไม่มีการปราบปราม มันก็ยังเป็นแบบนี้ เพราะมีตัวอย่างให้เห็นกันอยู่ว่าสามารถทำได้ ก็ใช้กันต่อไป ไม่พอใจก็ใช้อำนาจนอกระบบ เพราะมันก็ยังมีปัญหาอยู่อย่างนี้ ตอนสงกรานต์ปี 52 เรามองว่าบ้านเมืองเราไม่มีอนาคตเลย ไร้ขื่อแป เอารถแก๊สมาจอดอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ปีที่แล้วยิ่งแย่ไปใหญ่ให้ใครไม่รู้มาปิดถนนตรงหน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ด้วย ปิดถนนได้เป็นเดือน เราทำย่างนั้นได้ไม่มีการลงโทษ คิดว่ามันแย่ จริง ๆ แล้วต้องลงโทษทุกฝ่าย เพราะถ้ายกเว้นได้เรื่องหนึ่งก็กลายเป็นว่ายกเว้นได้ทุกเรื่อง ยังไม่ต้องพูดถึงคุณภาพของคน พูดแล้วมันก็เหมือนเป็นการหมิ่นประมาท อย่างเราดูในต่างประเทศ คนที่เข้าไปสู่ตำแหน่งพวกนี้ได้ ต้องเป็นคนที่มีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ จริง ถ้ายังไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ จริง มันก็ต้องต่อคิวกันไป แต่บ้านเราไม่ใช่เลย

ที่มา : มติชน

Friday, December 24, 2010

ทฤษฏีใหม่..การเมืองใหม่..Back..to..Basics

เมื่อครั้งที่ IBM ได้ผลิต Personal Computer (PC)
ในปี 1981 นั้น เป็นจุดเริ่มต้น ของการเปลี่ยนแปลง ครั้งใหญ่
ในโลกของเรา เป็นที่มาของเก็บรวบรวมข้อมูล (Database)
การวิจัยและพัฒนา (Research & Development)
และท้ายที่สุด คือ การสร้างระบบที่ควบคุมได้ (Control System)

แต่ในครั้งนั้น ผู้ประดิษฐ์คิดค้น และออกแบบ
Basic Input Output System (BIOS) ซึ่งเป็นจุดที่ Computer
เริ่มต้นทำงานเมื่อเปิดเครื่อง เพื่อสร้างระบบพื้นฐาน ให้กับโครงสร้าง
และการขับเคลื่อน ได้เปิดช่องว่างไว้ สำหรับการแก้ปัญหา ในภายหลัง
เผื่อว่า BIOS มีความผิดพลาด ก็จะทำการแก้ไขได้ง่าย

แต่กลับกลายเป็นว่า เป็นการเปิดทาง ให้กับผู้ที่คิดในทางลบ (Negative Thinking) ใช้ในการสร้าง Virus ขึ้นมา

Back to Basics
หลังจากปี 1981 Microsoft ซึ่งพัฒนาโปรแกรมระบบ
(Operating System) จาก DOS (Disk Operating System)

มาเป็น Windows และเป็น Windows XP Microsoft พบว่า
มีการพัฒนา Virus ขึ้นมามากมาย และสร้างปัญหาไม่รู้จบ

ให้กับ Computer ประสบการณ์ 20 ปี ทำให้ Microsoft
คิดว่า การแก้ปัญหาต้องย้อนไปที่ Basic Input Output System

นั่นคือที่มาของ มาตรฐานใหม่ของ BIOS สำหรับ Windows Vista

ความสัมพันธ์ของระบบ Input - Control - Output สำคัญอย่างไร..?

Case Study No.1 สมดุลย์ทางเศรษฐกิจ
เมื่อครั้งที่รัชกาลที่ 5 ได้ทรงเปลี่ยนแปลง และพัฒนา ระบบราชการ ระบบสาธารณูปโภค
จนเงินท้องพระคลัง มีไม่เพียงพอ ต้องกู้ยืม จากประเทศอังกฤษนั้น เราเรียนรู้อะไรได้บ้าง..?

1. ภาคเอกชน(ธุระกิจ) เป็นภาคที่สร้างรายได้ โดยการเสียภาษีอาการ เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ
เพราะฉะนั้น ภาคเอกชน = ภาค Input ในระบบ Control System

2. ภาครัฐบาล เป็นภาคที่คอยกำกับ ดูแล บริหารโครงสร้าง และการขับเคลื่อน ให้มีความสมดุลย์
เพราะฉะนั้น ภาครัฐบาล + ศาล + สภา = ภาค Control ในระบบ Control System

3. ภาคราชการ เป็นภาคที่คอยใช้เงินคงคลัง ให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม เช่น ระบบสาธารณูปโภค
เพราะฉะนั้น ภาคราชการ = ภาค Output ในระบบ Control System

Case Study No.2 สมดุลย์ทางสังคม
เมื่อก่อนที่สังคมของเรา ยังไม่มีความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี่นั้น
สังคมของเรา ก็ยังเป็นสังคมขนาดเล็ก ปัญหายังดูไม่มีความสับสน ซับซ้อน มากมาย
แต่เมื่อเรามีความรู้ มีเทคโนโลยี่ สังคมมีขนาดใหญ่ขึ้น ปัญหามีความสับสน ซับซ้อนมากขึ้น
การแก้ปัญหา อาจต้องการคิดอย่างเป็นระบบ เราคงต้องคิดย้อนกลับ Back to Basics
ถ้าเราคิดจากความสัมพันธ์ Input - Control - Output เราจะได้อะไร..?

ภาคเอกชน = ภาค Input ในระบบ
ในสมดุลย์ของสังคม เรามีองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) เรามีมูลนิธิต่าง ๆ เรามีสมาคมต่าง ๆ มากมาย
แต่องค์กร มูลนิธิ สมาคมเหล่านี้ ได้เก็บรวบรวมข้อมูล (Database) วิจัยและพัฒนา (R&D) เข้าสู่ระบบหรือยัง..?
เราอาจต้องการ สภาวิชาชีพ ตามสาขาต่าง ๆ ที่จำเป็น เพื่อทำหน้าที่เหล่านี้ เพื่อให้เกิด ภาวะ Input ในระบบ

ภาครัฐบาล + ศาล + สภา = ภาค Control ในระบบ
เมื่อภาคเอกชน ทำหน้าที่ป้อนข้อมูล ทางวิชาการเข้าสู่ระบบ ภาครัฐบาลก็ต้องนำมาจัดระบบ การบริหารประเทศ
กำหนด เป็นนโยบาย และกำหนด แผนการปฎิบัติงาน ส่งต่อไปยัง ภาคราชการ

ภาคราชการ = ภาค Output ในระบบ
ภาคราชการ มีหน้าที่ นำนโยบาย และแผนปฎิบัติงานไปใช้ โดยการประยุกต์ให้เหมาะสม กับแต่ละสถานะการณ์
เพื่อให้การบริการ การสร้างสาธารณูปโภค การแก้ปัญหาในสังคม มีการขับเคลื่อนในทิศทาง ที่ถูกต้อง

Case Study No.3 สมดุลย์ทางการเมือง
เราเคยคิด แก้ปัญหา โดยการเปลี่ยนแปลง การปกครอง ในปี 2475
เราเคยเรียกร้อง รัฐธรรมนูญ ในปี 2516 เราเคยปฎิวัติ รัฐประหาร มาหลายครั้ง
เราน่าจะรู้แล้วว่า ไม่ใช่วิถีทาง การแก้ปัญหาที่ถูกต้อง ยังไม่สามารถ สร้างระบบประชาธิปไตย ที่เข้มแข็งได้

Thursday, December 23, 2010

งานวิจัยชุมชน “จุดระเบิด” เคลื่อนประเทศ

ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย” รอง ผอ.สกว.

“อยู่บนหอคอยงาช้าง-งานวิจัยขึ้นหิ้ง” เป็นคำแสลงใจนักวิชาการ โต๊ะข่าวเพื่อชุมชนสัมภาษณ์ “ดร.ลีลาภรณ์ บัวสาย” รอง ผอ.สกว. ในฐานะองค์กรศูนย์รวมงานวิจัยชุมชนของประเทศ และผู้มีทัศนะว่าองค์ความรู้จุดระเบิดจากภายใน-สร้างปฏิกิริยาลูกโซ่ให้ “ชุมชนแข็งแรงจัดการตนเองได้” ไม่ใช่ม็อบหรือเงิน

ช่วยให้คำนิยามที่บอกภาพองค์กร สกว.สั้นๆด้วยค่ะ

อุดมคติ ของ สกว.คือ“เข็มที่เล็งคือสร้างการเปลี่ยนแปลง” คือเราเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงที่ดีต้องใช้ความรู้ ถึงจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีหางเสือ มีเหตุมีผล ไม่ใช่พวกมากลากไป

ความเป็นมาของอาจารย์ กับงานวิจัยชุมชนเป็นอย่างไรค่ะ?

ดิฉันทำงานนโยบายการศึกษาที่สภาการศึกษา พบว่าระบบการศึกษาตั้งสมมุติฐานผิดว่าเด็กหลังอายุ 12 ช่วยตัวเองได้แล้วจึงมีการศึกษาภาคบังคับแค่นั้น เด็กมหาวิทยาลัยยังไม่ใช่เลิกเรียนรู้ได้ ชาวไร่ชาวนาที่เจอปัญหาหนี้สิน ราคาผลผลิตตกต่ำ ความเสี่ยงฟ้าฝน โรคพืช ยิ่งต้องการการเรียนรู้อีกชนิดที่ระบบการศึกษาไม่ได้จัดไว้ แต่จะยกระดับเกษตรกรซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ที่ฐานรากประเทศได้ ปี 2539 อ.สิปปนนท์ (เกตุทัศน์)ประธานบอร์ด สกว.ชวนมาคุยกับ ผอ.ตอนนั้นคือ นพ.วิจารณ์ (พานิช) ว่าอยากบุกเบิกงานด้านชุมชน ดิฉันบอกท่านว่าจะเน้นมิติการเรียนรู้ ชุมชนจะแข็งแรงด้วยการเรียนรู้ที่จะจัดการตัวเอง ไม่ใช่ด้วยเงินหรือม็อบ ก็เลยเปิด “ฝ่ายชุมชน”

สกว.เป็นองค์กรสนับสนุนการวิจัย มีงบที่ลงไปในชุมชนมากน้อยแค่ไหนคะ?

งบ R&D (วิจัยและพัฒนา) ทั้งประเทศปีละประมาณ 15,000 ล้าน ส่วนงบ สกว. เป็น 10% คือประมาณปีละ 1,300 ล้าน จำนวนนี้เป็นงบที่ลงไปในพื้นที่ประมาณ 18% หรือ 260 ล้าน ในงานฝ่ายเกษตร ฝ่ายชุมชน ฝ่ายวิจัยท้องถิ่น งานวิจัยชุมชนในประเทศไทยส่วนใหญ่อยู่ที่ สกว.

ทำอย่างไรงานวิจัยจะไม่ขึ้นหิ้ง บุคลิกคนทำงานวิจัยชุมชนควรเป็นอย่างไร?

งานขึ้นหิ้งคือทำเสร็จแล้วไม่มีคนใช้ เราเน้นที่มีผู้ใช้จริงจึงตั้งโจทย์ที่จับปัญหาจริง แล้วนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงคือตอบโจทย์แก้ปัญหาชุมชน ที่ผ่านมาเวลาชาวบ้านเจอปัญหา ไม่มีคนเข้าไปวิเคราะห์สาเหตุ ก็แก้ไม่ถูกที่ รวมพลังคนเดือดร้อนไปประท้วงกลายเป็นม็อบ ทั้งที่การคลี่คลายความขัดแย้งต้องใช้ความรู้

คนทำงานวิจัยชุมชนต้องพร้อมที่จะเข้าใจคนอื่น พวกลุยๆเข้าไปแบบไม่เข้าใจ ความขัดแย้งอาจจะเยอะ เช่น ก่อนวิเคราะห์วิจารณ์ลองถามชาวบ้านว่าทำไมคิดแบบนี้ แล้วค่อยเสนอทางเลือก บางทีที่สุดเขาบอกว่าที่เขาคิดดีกว่า และเราก็เห็นด้วยนะว่าใช่

แต่ละฝ่ายที่เกี่ยวกับชุมชนของ สกว. ทำอะไรบ้างคะ?

เราพบว่างานชุมชนเป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้คน มิติสังคม สิ่งแวดล้อม ทรัพยากร อาชีพ การศึกษา สุขภาพ การเมือง ตามมาทีหลัง และก็พบว่ามีปัจจัยที่กดทับชุมชนให้อ่อนแอหรือแข็งแรงได้ช้าคือความไม่รู้ อันดับแรกจึงต้องทำงานเสริมสร้างการเรียนรู้ของชุมชน ต่อมาคืองานเชิงนโยบายที่มันกดทับศักยภาพของชุมชน เช่น การกระจายอำนาจ การจัดการที่ดิน แหล่งน้ำ ซึ่งเป็นส่วนที่รัฐต้องทำ เพราะเกี่ยวกับกฎหมาย นโยบาย งบประมาณ โครงการพัฒนา เช่น ชาวบ้านมีปัญหาที่ดินในเขตอนุรักษ์ มันเกี่ยวกับกฎหมาย ชาวบ้านมีปัญหาแหล่งน้ำ กรมชลต้องจัดสรรทรัพยากรตรงนี้ ลำพังความเข้มแข็งของชาวบ้านโดดๆจัดการไม่ได้

มองว่าเรื่องอะไรบ้าง ที่ชาวบ้านจัดการตนเองได้ หรือไม่ได้?

เรื่องที่ชาวบ้านเรียนรู้และจัดการตนเองได้อยู่แถวๆ สวัสดิการชุมชน ออมทรัพย์ ส่วนการศึกษาพอได้ระดับต้นๆ สุขภาพได้บ้าง เช่น แพทย์พื้นบ้าน เรื่องเกษตรได้เยอะเพราะอยู่ในชีวิตเขา ชาวบ้านที่ ทำเกษตรไปรอดด้วยตัวเองเยอะกว่านโยบายกระทรวงเกษตรฯซึ่งเป็นแค่ตัวเข้าไป หนุน พื้นที่การทำงานของภาคประชาชนอยู่แถวๆเรื่องพวกนี้ในครัวเรือนหรือขึ้น มาระดับตำบล เลยนั้นแล้วพื้นที่มันคาบเกี่ยวกันเยอะ เช่น เป็นลุ่มน้ำ ต้องไปแงะนโยบาย

ปี 2541 เปิด “ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น” ให้ชาวบ้านคิดโจทย์เองว่าอยากทำเรื่องอะไร เรียนรู้วิธีวิจัยในฐานะเครื่องมือพัฒนาการเรียนรู้ของเขา ทำวิจัยเองและได้นำไปใช้ประโยชน์ ฝ่ายชุมชนก็ขยับมาทำงานเชิงระบบมากขึ้น เช่น บัญชีครัวเรือนเคลื่อนทั้ง 17 จังหวัด 175 อำเภอ 357 ตำบล 3,768 หมู่บ้าน เพื่อตอบโจทย์เชิงยุทธศาสตร์ว่าเราเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงได้ด้วยเครื่องมือ วิธีการที่ถูก คือเชื่อมโยงนวัตกรรมชุมชนที่เห็นหลายๆแบบขึ้นมาให้มันมีพลังที่จะเคลื่อนใน เชิงนโยบาย

โจทย์วิจัยที่จับปัญหาจริง ต้องเป็นอย่างไร?

เช่น นโยบายรัฐบาลแก้ความยากจน ลงทะเบียนคนจนปี 2546 อุตส่าห์ชี้เป้าเพื่อจะใส่เงินลงไปตรงจุด มีแต่คนอยากจนไม่ใช่คนยากจน หรือรัฐจะแจกที่ดินฟรีก็มาจดไว้ก่อน ขึ้นทะเบียน 12 ล้านคน จนต้องมีระบบคัดกรองตรวจสอบ 2 ปีทำแต่ฐานข้อมูลวนไปวนมาว่าคนจนอยู่ที่ไหน หมดไป 1,000 กว่าล้าน นี่คือโจทย์เชิงนโยบาย หรือโจทย์ของประเทศที่รัฐบาลส่งทรัพยากรไปพัฒนาชนบทปีละเป็นแสนล้านผ่าน 8 กระทรวงหลัก เงินไปไหนหมด ทำไมแก้ปัญหาไม่ได้ ชาวบ้านเองก็มีโจทย์ เขาไม่ได้สงสัยว่าเงินไปไหนหมด แต่ต้องการแก้ปัญหาตัวเอง พอได้โจทย์เราก็ต้องออกแบบให้ตอบโจทย์ กระบวนการวิจัยคือตั้งสมมุติฐาน ออกแบบ วางเครื่องมือ แล้วก็เข้าไปจัดการ

ช่วยยกตัวอย่างการออกแบบให้ตอบโจทย์ คือโดนใจชุมชน และแก้ปัญหาได้จริง

จากโจทย์ข้างบนคือทำอย่างไรจะบูรณาการทรัพยากรทั้งหลายที่รัฐใส่ลงไปผ่านจังหวัดต่างๆให้มันแก้จนได้ เรา มีสมมุติฐานว่าปัญหาความยากจนมากกว่าครึ่งมีสาเหตุจากตัวชาวบ้านเอง ถ้าเขาเริ่มแก้จากตัวเองจะคลายไปครึ่งหนึ่ง ที่เหลือรัฐค่อยตามลงไปช่วยพวกปัญหาโครงสร้าง เช่น การใช้เงินไม่ถูก ฟุ้งเฟือย เล่นพนัน เจ้าตัวสร้างเองควรแก้เอง จะเอาเงินของรัฐซึ่งเป็นภาษีคนส่วนใหญ่ไปแก้ก็ไม่ถูก แต่ถ้าเป็นปัญหาราคาผลผลิต น้ำท่วม ความเสียเปรียบ ความด้อยโอกาส เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างเชิงระบบ รัฐต้องลงไปแก้ ต้องแงะให้ถูก เราจึงออกแบบ “โครงการความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาความยากจน พัฒนาสังคมและสุขภาวะ” เป็นโครงการบูรณาการนำร่องก่อน12 จังหวัด เอาแผนชุมชน-บัญชีครัวเรือนเป็นเครื่องมือ

มีงานที่ลงไปทำใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย ลองช่วยตั้งโจทย์และออกแบบในบริบทพื้นที่นั้น

เชิงนโยบายคนทั่วไปรู้ว่าเกิดความไม่สงบ ลึกลงไปมีความอยุติธรรม กดขี่ ไม่ยอมรับความแตกต่างทางศาสนา แล้วโจทย์แท้ๆเลยคือมีคนตาย เราตั้งสมมุติฐานว่า “เสือมีตัวเดียว แต่วัวเป็นฝูงกันไม่ได้เพราะรวมตัวกันไม่ติด เลยถูกจับกินทีละตัว” สาม จังหวัดคนรวมกัน 3 ล้าน เหตุเกิดจากผู้ก่อความไม่สงบหลักไม่เกินหมื่น คนส่วนใหญ่ทั้งพุทธและมุสลิมต้องการความสงบแต่รวมตัวกันไม่ติดปล่อยให้คน จำนวนน้อยมาทำร้ายชีวิต สมมุติฐานแบบนี้จะนำไปสู่การคิดกระบวนการเครื่องมือให้เขารวมพลังกัน

เราเคยร่วมกับ กศน.สืบค้นคุณธรรมจากคัมภีร์อัลกุระอ่าน ชวนโรงเรียนปอเนาะ 5 จังหวัด และขอความรู้จากผู้นำศาสนา เขาบอกว่าการสืบทอดโองการพระเจ้าเป็นเรื่องของเขาด้วย เขียนภาษายาวีเป็นข้อๆทำปฏิทินเป็นช่องๆแปะไว้ตามร้านน้ำชา ชาวบ้านชอบมากขอไปใช้บอกจะเอาไปสอนลูก เราก็จับได้ว่าคนมุสลิมอยู่กับศาสนธรรมจริงๆ การแก้ปัญหาไม่ใช่แค่เข้าใจความแตกต่าง ต้องหาจุดร่วมบนความแตกต่างซึ่งสร้างการยอมรับจากทุกส่วนสร้างพลังได้ คือ“คุณธรรม” สันติภาพมีในคัมภีร์ซึ่งน่าจะสืบค้นต่อถึงคำสอนเกี่ยวกับสันติ การอยู่ร่วมกัน ความสามัคคี การไม่ทำร้ายผู้อื่น เริ่มมองยุทธศาสตร์ออกว่า“ร้อยพลังเครือข่ายด้วยศาสนธรรม บนคุณธรรมว่าด้วยสันติภาพ” ขีดพื้นที่ของเสือไม่กี่ตัวลงทันทีว่าคุณทำผิดศาสนา นำไปสู่ขบวนการสันติภาพที่มีผู้นำศาสนาเป็นแกนนำ คนจะทำงานนี้ได้ต้องปราณีตเหมือเจียระไนแก้วที่แตกร้าว

งานวิจัยชุมชน ชิ้นล่าสุดของ สกว. คือเรื่องบัญชีครัวเรือนใชไหมคะ?

โครงการความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาความยากจนฯ เฟสแรกเกิด แรงกระเพื่อมไปเชื่อมโยงแผนตำบล การบูรณาการงบประมาณ แต่ของแถมคือชาวบ้านปลดหนี้ได้เยอะมาก เลยลองเก็บตัวอย่างจังหวัดละ 50 ครัวเรือนรวม 697 ครัวเรือน ปลดหนี้ได้เฉลี่ย 5.5 หมื่นบาทต่อครัวเรือนต่อปี น่าสนใจว่าชาวไร่ชาวนาปลดหนี้ได้สูงกว่ากลุ่มอื่นๆคือ 5.8 หมื่น ข้าราชการปลดได้ 4.4 หมื่น กลุ่มรับจ้างปลดหนี้น้อยที่สุด 2.6 หมื่น เพราะเกษตรกรมีปัจจัยการผลิตในมือ ถ้าได้เรียนรู้จะมีอำนาจกำหนดชะตาชีวิตตนเอง ต่างจากกลุ่มอื่นที่ถูกกดด้วยเงื่อนไขต่างๆ ตอนนี้ขยับทำเฟส 2 ใน 17 จังหวัด กำแพงเพชร พิษณุโลก ชัยนาท นครปฐม อุทัยธานี ชัยภูมิ นครราชสีมา กาฬสินธุ์ นครพนม ยโสธร อุบลราชธานี พัทลุง สงขลา สตูล และสุราษฎร์ธานี

เห็นผลชัดว่าการทำบัญชีครัวเรือน ทำให้ชาวบ้านมีความสามารถปลดหนี้ได้เองไม่ต้องพึ่งใคร

คุณอำนวย ปะติเส บอกว่าเกษตรกรถ้าเปรียบกับบริษัท ไม่รู้บัญชี ไม่รู้ต้นทุน ไม่รู้กำไร ตายเลย ดิฉันก็คิดว่าเออนะเกษตรกรอยู่ในวงจรธุรกิจการเกษตร ในวงจรก็มีบริษัทยักษ์อย่างเบทาโก ซีพี สหฟาร์ม เกษตรพืชผล แต่เขาจัดการเป็น แล้วปฐมบทความสามารถในการจัดการคือบัญชี เราให้ชาวบ้านจดบันทึกเองและเรียนรู้จากข้อมูล เขาจะเห็นชัดเลยว่าต้นทุน 4 หมวดหลักคือ ค่าปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ น้ำมัน แรงงาน มันสูงขนาดไหน ปุ๋ยลูกละเกือบ 1,000 พอเห็นตัวเลขมันสะดุด ชาวบ้านเขาขยับต่อเองทันที

หรือพอเห็นค่าหวยมันสูงกว่ารายได้ลิบลิบ ตัวเองซื้อมากกว่าเพื่อนบ้าน แสดงว่าโง่ เขาคิดได้เอง ทางออกมันก็ค่อยๆมาจากการเชื่อมโยงวิเคราะห์ทางเลือก หรือที่เคยซื้อผักจากรถพุ่มพวงก็ปลูกกินเอง ทำปุ๋ยชีวภาพใช้เองเหลือลูกละ 300 ลดต้นทุน ลดค่าใช้จ่าย หนี้ก็ลด ระดับหมู่บ้านค่าเมล็ดพันธุ์ 7 ล้าน หนี้สินรวม 25 ล้าน เป็นปัญหาร่วมของทุกครัวเรือน เคยปลูกข้าวเปลือกขายซื้อข้าวสารกินก็ทำกองทุนข้าวสาร กองทุนเมล็ดพันธุ์ โรงปุ๋ยชีวภาพ ธนาคารแรงงาน บางอย่างก็เขียนโครงการขอทุน อบต. เช่น ทำโรงสี ทำลานตาก

จากปลดหนี้ ก็ขยับเป็นความสามารถจัดการตนเอง การพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านอื่น

ความรู้ทำให้เกิดการระเบิดจากภายใน และมีผลเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ ขยายเป็นเครือข่ายเป็นกิจกรรม เช่น ธนาคารแรงงาน หลักสูตรแก้จน รวมทั้งประชาธิปไตยชุมชน อบต.มาบอกเองว่าข้อมูลพวกนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เมื่อก่อนทำแต่โครงการโครงสร้างพื้นฐานจนไม่รู้จะทำอะไรแล้ว ตอนนี้เกิดโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตต่างๆ สวัสดิการชุมชน สุขภาพอนามัย เกษตรอินทรีย์ และโดนใจชาวบ้าน พิสูจน์ตอนได้รับเลือกกลับมาใหม่ เฟสสองเราออกแบบเลยว่าพื้นที่ดำเนินการต้องไปเกี่ยว อบต.มาให้ได้ก่อน

ถ้ามองภาพรวมการพัฒนาประเทศ บทบาทของงานวิจัยชุมชนอยู่ตรงไหน?

รัฐถือกฏหมายและถุงเงิน แต่ใช้ไม่ถูกจุดเลยไม่ได้ผล เพราะอยู่ข้างบนไม่เห็นบริบทพื้นที่ เช่น ชาวบ้านอยากได้ฝึกอาชีพแต่เอาแปลงสาธิตเกษตรไปให้เขา อยากได้แหล่งน้ำแต่ดันให้โรงเรือน บางทีข้าราชการในพื้นที่เห็นปัญหาแต่เข้าไปแก้ไม่ได้เพราะติดกรอบข้างบน คือเครื่องมือที่รัฐมีมันเหมาะกับการเป็นรถเบิกถนน ไม่เหมาะจะลงไปในแปลงนาที่ริเริ่มเพาะพันธุ์ที่ต้องอาศัยมือที่ละเอียด คนที่เก่งด้านนี้คือชาวบ้านกับเอ็นจีโอหรือนักพัฒนาเพราะอยู่กับปัญหาจริง นักวิชาการไม่ใช่นักปฏิบัติแต่มีกรอบการวิเคราะห์ ควรเอาไว้เป็นเข็มทิศบอกทางทั้งการเปิดถนนและในแปลงนา ท้วงติงไม่ให้เข้ารกเข้าพงหรือบอกบทเรียนจากที่อื่น ส่วน สกว.เราอยู่ในซีกวิชาการ และก็มีส่วนหนึ่งที่อยู่ในแปลงนา

มองความรู้ขับเคลื่อนฐานราก ปฏิรูปประเทศอย่างไร?

นักพัฒนาชอบตั้งหลักว่าต้องผลักดันกฎหมายนโยบายจึงจะแก้ปัญหาต่างๆได้ ต้องรบกับรัฐจึงจะเกิดการเปลี่ยนแปลง ถ้าวิเคราะห์ดีๆมีไม่กี่เรื่องที่ยังต้องการกฏหมาย เช่น ขีดกติกาไม่ให้เอกชนเอาเปรียบชาวบ้าน การเปลี่ยนแปลงดีๆส่วนใหญ่ในประเทศไม่ต้องการกฏหมายอีกแล้ว นายกรัฐมนตรีกุมนโยบายกุมเงินยังไม่สามารถสั่งให้ประเทศสงบได้ ยุคนี้พื้นที่ใช้อำนาจสั่งการและเงินได้ผลน้อยเต็มที เอาชนะกันที่การเรียนรู้ ความสามารถของเกษตรกรสั่งให้เกิดไม่ได้ เขามีปัจจัยการผลิตที่เป็นทุนพื้นฐานในมือ ถ้าส่งเสริมให้เขาเรียนรู้ จะช่วยตัวเองได้ พ้นจากการเป็นเบี้ยล่างพวกธุรกิจการเกษตร เป็นโอกาสและเป็นจุดเปลี่ยนเลย

การเรียนรู้คือการจุดระเบิดจากภายใน คือการได้คิด และจะคิดได้ก็ต้องเริ่มจากข้อมูลที่เป็นเสมือนดินปืน กระบวนการตั้งคำถามและวิเคราะห์คือการจุดระเบิด พอระเบิดจากภายในก็มีผลเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ ถ้าจะปฏิรูปประเทศไทย ทำเรื่องการเรียนรู้ของเกษตรกร แล้วขึ้นต้นจากความสามารถในการจัดครัวเรือนจัดการไร่นา เครื่องมือมีแล้วคือบัญชีครัวเรือน โมเดลมีแล้ว ขยับจากตรงนี้เคลื่อนฐานล่างได้เลย ล้อหมุนรถเคลื่อนออกจากที่ ไม่ใช่คนขับอยากจะเคลื่อน นั่งบีบแตรปี๊นๆแต่ล้อมันไม่ไปด้วย

มีข่าวว่า สกว.ยุบฝ่ายวิจัยท้องถิ่น

ไม่ได้ยุบ คอนเซ็ปต์งานนี้เป็นที่ยอมรับของ สกว. และถ้าไปเอางบมาดูก็ยังอยู่ไม่ได้ลด พ แต่เป็นการปรับองค์กรภายในให้เกิดประสิทธิภาพมากขี้น ปรับให้งบลงไปถึงชาวบ้านมากขึ้น ลดค่าบริหารจัดการที่ต้องใช้พี่เลี้ยงเยอะเกินไป ปรับให้คนลดลงแต่ทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ผู้หญิงกับผู้ชายในงานวิจัย มีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้าง?

ผู้หญิงเป็นนักประสาน อาจเพราะความอ่อนตัวและท่าทีที่ไม่ฟาดฟัน ค่ะไว้ก่อนแต่ไม่ใช่ยอม หาทางไปจัดการทีหลัง ผู้ชายชอบริเริ่มเรื่องใหญ่ๆ พอดีงานที่เราทำมันมีทั้งเรื่องใหญ่เรื่องเล็ก ไปเจรจากับ อบต.ผู้ชายคุย บัญชีผู้หญิงทำ ประสานจังหวัดใช้ผู้หญิง ก็เป็นความแตกต่างที่สวยงาม

การทำงานวิจัยชุมชน ให้ผลสะท้อนกลับมาที่ตัวอาจารย์เองอย่างไรบ้าง?

ดิฉันกลับมาจดบัญชีครัวเรือน และเริ่มปลูกผักกินเอง ที่สำคัญทำงานแล้วเหมือนทำบุญคือทำให้ชาวบ้านมีความสุขพ้นทุกข์ มันตอบโจทย์ชีวิตว่าเกิดมาทำไม ทำแล้วมีความสุขแถมยังมีคนจ้างให้ทำ

“ดิฉันอยากให้งานนี้(บัญชีครัวเรือน) เป็นโมเดลที่มีคนเอาไปขยายผลเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงประเทศได้แบบก้าวกระโดด แต่ต้องเปิดพื้นที่เพื่อระดมแรง เรามีมหาวิทยาลัย มีนักพัฒนาดีๆ มีคนในภาคเอกชนเยอะแยะที่อยากทำเพื่อชาติ โมเดลก็มีแล้ว เงินก็ใช้ไม่เยอะ เวลาสัก 5 ปีน่าจะเห็นผลชัด”

บอกวิธีคิดของงานวิจัยที่ไม่ขึ้นหิ้งอยู่บนหอคอยงาช้าง และเป็นคำทิ้งท้ายของ “ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย” ผู้หญิงเก่งที่บุกเบิกงานวิจัยชุมชนขององค์กรวิจัยหลัก สกว.

Tuesday, December 21, 2010

“เพื่อนร่วมอุดมการณ์”

เก็บมาฝาก จากกำแพง

๑.ทำ(เล่น)การเมือง เหตุไฉน ถึงไร้เพื่อน
เปรยเปรียบเหมือน เพื่อนคือหมา สัตว์หน้าขน
หลงทางผิด คิดข้า ปัญญาชน
ตนเตือนตน เองได้ ไม่เสียที

๒.ฤาสับสน ชั่วดี ไม่ประจักษ์
เพื่อนที่รัก วอนว่า อย่าหน่ายหนี
เดินทางดี เพื่อนใด ไม่ใยดี
ควรไม่ควร ทำที เหินห่างกัน

๓.ใยรักชาติ ไม่รักเพื่อน ช่างเถื่อนหนัก
ผิดเหตุนัก ผลพา พาลน่าขัน
หลงทางเพื่อน เตือนได้ ไม่เตือนกัน
ใช่หรือเพื่อน เพื่อนนั้น พรรค์อย่างไร

๔.จึงวันนี้ ตรึกตรอง เราต้องคิด
มองมุมผิด เธอฉัน นั้นเหลวไหล
ลองมองเพื่อน ด้วยจิต มิตรจริงใจ
อคติ ต่ำใต้...... พึงใคร่ครวญ...

ความท้าทายภาคเกษตร ระวังต่างชาติฮุบประโยชน์

สกว.เปิดเวทีถกความท้าทายภาคเกษตร นักวิชาการเตือนระวังต่างชาติฮุบประโยชน์











นักเศรษฐศาสตร์ชี้ภาคเกษตรไทยได้เปรียบด้านความหลากหลายชีวภาพ ส่งอาหารไทยดังไปทั่วโลก แต่ห่วงผลประโยชน์ตกกับบริษัทต่างชาติ เตือนระวังผลกระทบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อเกษตรกร ชุมชน มองผลประโยชน์การพัฒนาต้องกระจายทั่วถึง แนะเร่งผลักสวัสดิการชาวนา

ที่มา : ศูนย์ข่าวสถาบันอิศรา ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๓

บทวิเคราะห์ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ ๑๕/๒๕๕๓
กรณียกคำร้องขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์
โดย คณะนิติราษฎร์

ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยที่ ๑๕/๒๕๕๓ เรื่องนายทะเบียนพรรคการเมืองขอให้ศาลมีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ และต่อมาได้มีการเผยแพร่คำวินิจฉัยกลางและความเห็นส่วนตนของตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญที่เป็นองค์คณะเมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓ คณาจารย์คณะนิติราษฎร์ นิติศาสตร์เพื่อราษฎร (www.enlightened-jurists.com) ได้ศึกษาคำวินิจฉัยดังกล่าวแล้ว เห็นว่าเพื่อประโยชน์ในทางวิชาการและประโยชน์สำหรับการตรวจสอบกระบวนการทำ งานตลอดจนการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ สมควรจะได้แสดงทัศนะทางกฎหมายในเรื่องดังกล่าว ดังนี้

๑. คดีนี้นายทะเบียนพรรคการเมือง (นายอภิชาต สุขัคคานนท์) ผู้ร้อง ได้ยื่นคำร้องลงวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๓ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ ผู้ถูกร้อง เนื่องจากปรากฏว่าพรรคประชาธิปัตย์กระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐ ธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ มูลของคดีสืบเนื่องจากคณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับแจ้งจากกรมสอบสวนคดี พิเศษว่าได้รับคำร้องทุกข์กล่าวโทษซึ่งเมื่อได้พิจารณาคำร้องทุกข์กล่าวโทษ ประกอบกับพยานหลักฐานที่ปรากฏแล้วพบว่าพรรคประชาธิปัตย์มีส่วนเกี่ยวข้อง ๒ ข้อกล่าวหา คือ กรณีพรรคประชาธิปัตย์ได้รับบริจาคเงินและทรัพย์สินจากบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) ผ่านบริษัทเมซไซอะ บิซิเนส แอนด์ ครีเอชั่น จำกัด โดยทำสัญญาว่าจ้างทำสื่อประชาสัมพันธ์ตามโครงการต่างๆ เป็นนิติกรรมอำพราง เพื่อหลีกเลี่ยงการรายงานการรับบริจาคเงินตามที่กฎหมายกำหนด กรณีหนึ่ง และกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ใช้จ่ายเงินสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการ การเลือกตั้งให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และจัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองไม่ถูกต้องตรงต่อความ เป็นจริงยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง อีกกรณีหนึ่ง นอกจากนี้ยังปรากฏว่านายเกียรติอุดม เมนะสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี พรรคเพื่อไทย ได้ยื่นหนังสือขอให้ตรวจสอบและดำเนินการกับพรรคประชาธิปัตย์ในข้อกล่าวหา ทั้งสองข้อกล่าวหาทำนองเดียวกัน

๒. วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๒ คณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีมติให้แต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนเรื่องดัง กล่าว ต่อจากนั้น เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ คณะกรรมการการเลือกตั้งได้พิจารณารายงานของคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนและมีมติ ด้วยคะแนนเสียงข้างมากส่งเรื่องให้นายทะเบียนพรรคการเมืองดำเนินการตามพระ ราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๙๕ ทั้งสองข้อกล่าวหา หลังจากนั้นในวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๒ นายทะเบียนพรรคการเมืองได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อให้ดำเนินการตรวจ สอบสำนวนการสอบสวน คณะกรรมการชุดดังกล่าวได้ตรวจสอบและเสนอความเห็นต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง และนายทะเบียนพรรคการเมือง (นายอภิชาต สุขัคคานนท์) มีความเห็นเสนอต่อประธานกรรมการการเลือกตั้ง (ซึ่งก็คือนายอภิชาต สุขัคคานนท์ คนเดียวกัน) เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ ว่าอาจมีการกระทำตามมาตรา ๙๔ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง เห็นควรนำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งโดยด่วน คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประชุมพิจารณาแล้ว เห็นว่าพรรคประชาธิปัตย์กระทำผิดทั้งสองข้อกล่าวหา

โดยข้อกล่าวหาที่สองซึ่งเป็นมูลในคดีนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ใช้จ่ายเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะ กรรมการการเลือกตั้งให้เป็นไปตามกฎหมายและจัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินสนับ สนุนของพรรคการเมืองไม่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง อาจเข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย พรรคการเมืองฯ (มาตรา ๖๒ และมาตรา ๖๕ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๔๑ หรือ มาตรา ๘๒ และมาตรา ๙๓ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๕๐) จึงให้นายทะเบียนพรรคการเมืองแจ้งต่ออัยการสูงสุด เพื่อให้อัยการสูงสุดยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้มีคำสั่งยุบพรรคประชา ธิปัตย์ต่อไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๙๔ (๓) (๔) และมาตรา ๙๕

๓. ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๓ คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติให้นายทะเบียนพรรคการเมืองยื่นคำร้องต่อศาลรัฐ ธรรมนูญให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๙๓ นายทะเบียนพรรคการเมืองจึงยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคประ ชาธิปัตย์ สั่งห้ามมิให้ผู้ที่ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ขอจัดตั้งพรรค การเมืองขึ้นใหม่หรือเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองหรือมีส่วนร่วมในการขอ จัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ภายในห้าปีนับแต่วันที่พรรคประชาธิปัตย์ถูกยุบ และขอให้มีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์มี กำหนดห้าปีนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ ศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้องเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณา และพรรคประชาธิปัตย์ยื่นคำชี้แจงปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งในแง่ของบทกฎหมายที่ ศาลจะนำใช้ปรับแก่คดีว่าต้องใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรค การเมือง พ.ศ.๒๕๔๑ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่เกิดข้อเท็จจริงระหว่าง พ.ศ.๒๕๔๗ - ๒๕๔๘ และทั้งในแง่ข้อเท็จจริงที่ว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้กระทำการดังที่นาย ทะเบียนพรรคการเมืองกล่าวอ้าง ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยกคำร้อง

๔. ก่อนการไต่สวนข้อเท็จจริง พรรคประชาธิปัตย์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นใน ข้อกฎหมายว่าผู้ที่มีอำนาจวินิจฉัยว่ามีเหตุสมควรยุบพรรคการเมืองหรือไม่ คือ นายทะเบียนพรรคการเมือง คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่มีอำนาจทำความเห็นในเรื่องดังกล่าว มีแต่หน้าที่ให้ความเห็นชอบแก่นายทะเบียนพรรคการเมืองให้ยื่นคำร้องต่อศาล รัฐธรรมนูญเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองเท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่ามีการดำเนินการข้ามขั้นตอน ไม่ได้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติไว้ ย่อมส่งผลให้การทำความเห็นและการลงมติของคณะกรรมการการเลือกตั้งขัดต่อพระ ราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฯ นายทะเบียนพรรคการเมืองจึงไม่มีอำนาจร้องขอต่อศาลรัฐธรรมนูญให้มีคำสั่งยุบ พรรคประชาธิปัตย์ได้ นอกจากนี้นายทะเบียนพรรคการเมืองไม่มีอำนาจสืบสวนสอบสวนและไม่มีอำนาจยื่นคำ ร้อง เพราะไม่ได้ยกเรื่องดังกล่าวขึ้นพิจารณาสอบสวนภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันตาม หลักการร้องคัดค้านเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๕๐

๕. นายทะเบียนพรรคการเมืองยื่นคำร้องคัดค้านคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้อง ต้นในปัญหาข้อกฎหมายว่าเมื่อมีการแจ้งเหตุต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง และนายทะเบียนพรรคการเมืองเห็นว่าเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงประกอบการพิจารณา ที่รอบคอบและเป็นธรรม คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบข้อเท็จ จริง ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณารายงานสืบสวนสอบสวนแล้วเห็นว่านายประพันธ์ นัยโกวิท (กรรมการการเลือกตั้ง) ผู้สั่งให้นำความเห็นของคณะกรรมการดังกล่าวเข้าพิจารณาในคณะกรรมการการเลือก ตั้งมิใช่นายทะเบียนพรรคการเมือง ประกอบกับนายทะเบียนพรรคการเมือง (นายอภิชาต สุขัคคานนท์) ยังมิได้ให้ความเห็น จึงมีมติให้ส่งเรื่องให้นายทะเบียนพรรคการเมืองพิจารณาก่อน หลังจากนั้นนายทะเบียนพรรคการเมืองจึงแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ เมื่อได้ความเห็นดังกล่าวแล้ว จึงนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการการเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาแล้วมีมติเอกฉันท์ให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งเสียงข้างมากมีมติให้นายทะเบียนพรรคการเมืองแจ้ง ต่ออัยการสูงสุด เพื่อให้อัยการสูงสุดยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๙๕ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ

แต่คณะกรรมการเสียงข้างน้อย ๒ เสียง ซึ่งหนึ่งในสองเสียงดังกล่าว คือนายอภิชาต สุขัคคานนท์ (ประธานกรรมการการเลือกตั้ง และนายทะเบียนพรรคการเมือง) เห็นว่าต้องให้นายทะเบียนพรรคการเมืองโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือก ตั้งยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในสิบห้าวันตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐ ธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๙๓ วรรคสอง

เมื่อความปรากฏต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งว่านายทะเบียนพรรคการเมือง เห็นว่ากรณีข้อกล่าวหาเกี่ยวกับพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ใช้จ่ายเงินสนับสนุน จากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และจัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองไม่ถูกต้องตรงต่อความ เป็นจริงต้องด้วยมาตรา ๙๓ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ จึงได้ประชุมกันอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๓ ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าความเห็นของนายอภิชาต สุขัคคานนท์ (ประธานกรรมการการเลือกตั้งและนายทะเบียนพรรคการเมือง) เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ เป็นการให้ความเห็นตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ มาตรา ๙๓ วรรคสอง แล้ว เพื่อให้การดำเนินการครบถ้วนตามมูลกรณีและตามกฎหมาย จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้นายทะเบียนพรรคการเมืองยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ กรณีจึงถือว่านายทะเบียนพรรคการเมืองได้กระทำการครบถ้วนตามขั้นตอนที่กฎหมาย บัญญัติแล้ว

สำหรับประเด็นที่ว่าไม่ได้มีการยกเรื่องดังกล่าวขึ้นสอบสวนภายในหนึ่ง ร้อยแปดสิบวันนั้น นายทะเบียนพรรคการเมืองคัดค้านว่ากรณีนี้ไม่ใช่เป็นกรณีคัดค้านค่าใช้จ่ายใน การเลือกตั้ง แต่เป็นกรณีการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองไม่ถูกต้องและการ จัดส่งรายงานการใช้จ่ายเงินกองทุนดังกล่าวไม่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงอัน เป็นเหตุยุบพรรคการเมือง ซึ่งไม่มีอายุความ เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งพบเหตุ ก็สามารถหยิบยกขึ้นพิจารณาได้

๖. ศาลรัฐธรรมนูญได้กำหนดประเด็นที่ต้องพิจารณาวินิจฉัยเป็น ๕ ประเด็น คือ ๑. กระบวนการยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ๒. การกระทำของพรรคประชาธิปัตย์ตกอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติประกอบรัฐ ธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๔๑ หรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๕๐ ๓. พรรคประชาธิปัตย์ใช้จ่ายเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อการพัฒนา พรรคการเมือง (พ.ศ.๒๕๔๘) ตามที่ได้รับอนุมัติหรือไม่ ๔. พรรคประชาธิปัตย์จัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมือง (พ.ศ.๒๕๔๘) ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงหรือไม่ และ ๕. หากเป็นกรณีมีเหตุให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ หัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารจะต้องถูกตัดสิทธิ หรือถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหรือไม่ อย่างไร

๗. ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยในประเด็นที่สองเป็นลำดับแรก และเห็นว่าการกระทำตามมูลกล่าวหาแห่งคดีนี้ พรรคประชาธิปัตย์ได้กระทำในช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. ๒๕๔๗-๒๕๔๘ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย พรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ แต่ขณะยื่นคำร้องได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย พรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐ แทนแล้ว ในส่วนของกฎหมายสารบัญญัติ (คือบทบัญญัติที่กำหนดว่าการกระทำใดเป็นความผิดหรือกำหนดข้อห้ามหรือข้อ ปฏิบัติ ) จะต้องใช้บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งใช้บังคับอยู่ขณะเกิดเหตุ แต่ในส่วนของกฎหมายวิธีสบัญญัติ จะต้องใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย

๘. สำหรับประเด็นแรกที่ว่ากระบวนการยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ นั้น ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าการร้องขอให้ยุบพรรคการเมือง มี ๒ กรณีแยกต่างหากจากกัน คือ กรณีแรกเป็นกรณีที่พรรคการเมืองกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา ๙๔ นายทะเบียนพรรคการเมืองโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจแจ้ง ต่ออัยการสูงสุด ให้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองนั้นได้ ตามมาตรา ๙๕ วรรคหนึ่ง และกรณีที่สอง เป็นกรณีที่พรรคการเมืองใช้จ่ายเงินสนับสนุนพรรคการเมืองไม่เป็นไปตามกฎหมาย หรือไม่จัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินให้ถูกต้องตรงต่อความเป็นจริงยื่นต่อคณะ กรรมการการเลือกตั้ง นายทะเบียนพรรคการเมืองโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง มีอำนาจพิจารณายื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองนั้น ได้ ตามมาตรา ๙๓ วรรคสอง

คดีนี้ต้องด้วยกรณีที่สอง ซึ่งมาตรา ๙๓ วรรคสองบัญญัติขั้นตอนไว้ว่า “เมื่อปรากฏต่อนายทะเบียนว่าพรรคการเมืองใดมีเหตุตามวรรคหนึ่งให้นายทะเบียน โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน สิบห้าวันนับแต่วันที่ความปรากฏต่อนายทะเบียน” ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า ไม่ว่านายทะเบียนพรรคการเมืองจะทราบเองหรือบุคคลใดแจ้งให้ทราบ นายทะเบียนพรรคการเมืองเป็นผู้มีอำนาจในการพิจารณาเบื้องต้นก่อนว่าการกระทำ ตามที่ทราบมานั้น เป็นเหตุให้พรรคการเมืองต้องถูกยุบหรือไม่ อำนาจดังกล่าว เป็นอำนาจเฉพาะตัวของนายทะเบียน หากนายทะเบียนเห็นว่าพรรคการเมืองใดใช้จ่ายเงินสนับสนุนพรรคการเมืองไม่เป็น ไปตามกฎหมายหรือไม่จัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินให้ถูกต้องตรงต่อความเป็นจริง ย่อมเป็นกรณีที่ความปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง จึงเป็นหน้าที่ของนายทะเบียนพรรคการเมืองที่จะต้องขอความเห็นชอบจากคณะ กรรมการการเลือกตั้งก่อนเพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปด้วยความรอบคอบ และที่กฎหมายบัญญัติให้นายทะเบียนพรรคการเมืองเป็นผู้ยื่นคำร้องโดยตรงก็ เพราะนายทะเบียนมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการใช้จ่ายเงินสนับสนุนพรรคการเมือง ให้ถูกต้อง รวมทั้งการปฏิบัติงานทางเอกสาร การจัดทำเอกสารให้ถูกต้อง การทำรายงานให้ถูกต้อง อันเป็นงานประจำตามปรกติ ซึ่งนายทะเบียนต้องตรวจสอบเป็นประจำอยู่แล้ว โดยในการพิจารณาของนายทะเบียนในเรื่องดังกล่าว นายทะเบียนมีอำนาจแต่งตั้งหรือขอความเห็นจากผู้ใดก็ได้ รวมทั้งจากคณะกรรมการการเลือกตั้งด้วย แต่การตัดสินใจในขั้นตอนนี้ยังคงเป็นอำนาจของนายทะเบียนเท่านั้น

๙. ข้อเท็จจริงที่ศาลรัฐธรรมนูญรับฟังเป็นยุติ คือ เมื่อได้รับแจ้งจากกรมสอบสวนคดีพิเศษและนายเกียรติ์อุดม เมนะสวัสดิ์ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ได้นำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๒ และคณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีมติให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน คณะกรรมการสอบสวนได้รายงานให้คณะกรรมการการเลือกตั้งทราบโดยมีความเห็นว่า พรรคประชาธิปัตย์มิได้กระทำความผิด ต่อมาวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประชุมพิจารณารายงานดังกล่าว และมีมติด้วยเสียงข้างมาก ให้นายทะเบียนพรรคการเมืองดำเนินการตามมาตรา ๙๕ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๕๐ ทั้งสองกรณี เฉพาะกรณีที่สองซึ่งเป็นมูลคดีนี้ นายอภิชาต สุขขัคคานนท์ (ซึ่งเป็นเสียงข้างน้อย) เห็นว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้จ่ายเงินที่ได้รับการสนับสนุนเป็นไปตามวัตถุ ประสงค์จริง จึงเห็นควรให้ยกคำร้อง หลังจากนั้น นายทะเบียนพรรคการเมือง (นายอภิชาต สุขัคคานนท์) มีคำสั่งเมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๒ แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องดังกล่าว วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เสนอความเห็นต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง

วันเดียวกันนั้น นายอภิชาต สุขัคคานนท์ได้บันทึกความเห็นไว้ท้ายหนังสือแจ้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการ ตรวจสอบข้อเท็จจริงว่า อาจมีการกระทำตามมาตรา ๙๔ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ จึงเสนอเรื่องให้คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาด่วน และได้มีการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งในวันเดียวกันนั้น โดยที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติเป็นเอกฉันท์สำหรับคำร้องตามกรณี นี้ให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์โดยให้เสนอเรื่องต่ออัยการสูงสุดเพื่อดำเนินการ ต่อไปตามมาตรา ๙๕ แต่นายอภิชาตมีความเห็นส่วนตนตามที่ลงมติว่าให้นายทะเบียนพรรคการเมืองโดย ความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในสิบ ห้าวัน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ มาตรา ๙๓ วรรคสอง

ต่อมาวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๓ คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประชุมกันอีกครั้งหนึ่งโดยนายทะเบียนพรรคการเมือง ในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้ง (นายอภิชาต สุขัคคานนท์) ไม่ได้เข้าประชุมด้วย และคณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติเป็นเอกฉันท์ เห็นชอบให้นายทะเบียนพรรคการเมืองยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคประ ชาธิปัตย์ โดยถือว่าความเห็นของนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ที่ลงมติไว้ในการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ เป็นความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมือง

ประเด็นที่ต้องวินิจฉัย คือ ความเห็นของประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (นายอภิชาต สุขัคคานนท์) ที่ลงมติไว้เป็นความเห็นส่วนตนในการประชุมเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ เป็นความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมือง (นายอภิชาต สุขัคคานนท์) หรือไม่

๑๐. ศาลรัฐธรรมนูญ เห็นว่า แม้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ จะบัญญัติให้ประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นนายทะเบียนพรรคการเมือง แต่ก็แยกอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งและนายทะเบียนพรรคการเมือง ไว้ต่างหากจากกัน โดยศาลรัฐธรรมนูญได้หยิบยกบทบัญญัติในกฎหมายที่กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะ กรรมการการเลือกตั้งและนายทะเบียนพรรคการเมืองมาแสดงให้เห็น และศาลรัฐธรรมนูญเห็นต่อไปว่า ในวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ได้ทำความเห็นไว้ ๒ ความเห็น คือ ความเห็นตามที่เกษียนสั่งให้นำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยระบุชัดเจนว่าเป็นความเห็นในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง และความเห็นในการลงมติในการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งเป็นความเห็นใน ฐานะประธานกรรมการเลือกตั้ง ความเห็นในการลงมติของนายอภิชาต สุขัคคานนท์เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ ไม่อาจถือได้ว่าเป็นความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมือง เพราะถ้าหากจะถือเช่นนั้นก็ปรากฏข้อเท็จจริงว่านายอภิชาต สุขัคคานนท์ได้เคยลงมติในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้งไปก่อนหน้านั้นแล้ว เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ ว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้นำเงินสนับสนุนพรรคการเมืองไปใช้ตรงตามวัตถุประสงค์ ของโครงการแล้ว ซึ่งในครั้งนั้นก็ไม่ได้ถือว่าความเห็นของนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้งดังกล่าว เป็นความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมืองแต่ประการใด

นอกจากนี้ความเห็นในหนังสือเกษียนสั่งของนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ก็มิได้เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดหรือเป็นความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมืองว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้กระทำการอันเป็นเหตุให้ต้องถูกยุบพรรคหรือไม่ แต่เป็นเพียงการเสนอเรื่องให้คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาว่าอาจมีการ กระทำตามมาตรา ๙๔ หรือไม่ก็ได้เท่านั้น และการกระทำตามมาตรา ๙๔ ก็มิได้เกี่ยวกับการใช้เงินสนับสนุนพรรคการเมืองผิดกฎหมาย หรือการรายงานการใช้เงินไม่ตรงตามความเป็นจริง อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๘๒ และเป็นเหตุให้ยุบพรรคตามมาตรา ๙๓ อันเป็นกรณีของคดีนี้แต่อย่างใด เมื่อนายทะเบียนพรรคการเมืองยังมิได้มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ตาม มาตรา ๙๓ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการยุบพรรคการเมืองฯ การให้ความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งจึงเป็นการกระทำที่ผิดขั้นตอน ของกฎหมายในส่วนสาระสำคัญ จึงไม่มีผลทางกฎหมายที่จะให้นายทะเบียนพรรคการเมืองมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาล รัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ได้

๑๑. นอกจากเหตุผลดังกล่าวแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญยังให้เหตุผลอีกทางหนึ่งด้วยว่ากรณีข้อกล่าวหาตามพระราช บัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง คือ ข้อกล่าวหาในมูลคดีนี้นั้น มาตรา ๙๓ วรรคสองมิได้บัญญัติให้นายทะเบียนพรรคการเมืองต้องเสนอความเห็นด้วยว่าพรรค การเมืองใดมีเหตุตามวรรคหนึ่งต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อขอความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ดังนั้นกรณีนี้นายทะเบียนพรรคการเมืองจะเสนอความเห็นว่าพรรคประชาธิปัตย์มี เหตุตามมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่งต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือไม่ก็ได้

แต่เมื่อข้อเท็จจริงในคดีนี้ปรากฏว่าเมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ คณะกรรมการการเลือกตั้งได้พิจารณารายงานของคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนทั้งสอง ข้อกล่าวหาแล้ว มีมติเสียงข้างมากให้ส่งเรื่องให้นายทะเบียนพรรคการเมืองดำเนินการตามพระราช บัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ กรณีถือได้ว่าคดีนี้ความปรากฏต่อนายทะเบียนว่าพรรคประชาธิปัตย์มีกรณีตาม มาตรา ๙๓ วรรคหนึ่งแล้ว และคณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นชอบให้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้แล้ว ระยะเวลาที่ต้องยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในสิบห้าวัน จึงต้องเริ่มนับตั้งวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ อันเป็นวันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติดังกล่าว การที่นายทะเบียนพรรคการเมืองมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ในเวลาต่อมา ตลอดจนการประชุมและการลงมติในวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ และวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๓ เป็นการตรวจสอบภายในองค์กรและเป็นเพียงการยืนยันการปรับบทบังคับใช้กฎหมาย ให้ชัดเจนเท่านั้น เมื่อนายทะเบียนพรรคการเมืองยื่นคำร้องคดีนี้ในวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๓ จึงพ้นระยะเวลาสิบห้าวันตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว กระบวนการยื่นคำร้องให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

๑๒. ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยโดยเสียงข้างมาก ๔ ต่อ ๒ ว่ากระบวนการยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยฝ่ายข้างมาก ๑ เสียงใน ๔ เสียง ให้เหตุผลว่าการยื่นคำร้องตามข้อกล่าวหาคดีนี้พ้นระยะเวลาสิบห้าวันตามที่ กฎหมายกำหนด และฝ่ายข้างมาก ๓ ใน ๔ เสียง ให้เหตุผลว่าความยังไม่ปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองว่ามีการกระทำฝ่าฝืน กฎหมาย อันจะเป็นเหตุให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ และนายทะเบียนพรรคการเมืองยังมิได้มีความเห็นว่ามีเหตุให้ต้องยุบพรรคประชา ธิปัตย์ตามมาตรา ๙๓ วรรคสอง และยังมิได้เสนอขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่อย่างใด โดยความเห็นของประธานกรรมการการเลือกตั้งในการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ มิใช่การทำความเห็นในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นอื่นอีกต่อไป ให้ยกคำร้อง

๑๓. คณาจารย์คณะนิติราษฎร์ นิติศาสตร์เพื่อราษฎร ได้พิเคราะห์คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวแล้ว เห็นว่าประเด็น หลักที่เป็นปัญหาในคำวินิจฉัยนี้ก็คือ คำวินิจฉัยนี้ได้เกิดขึ้นโดยเสียงข้างมากของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เป็น องค์คณะหรือไม่ ซึ่งเมื่อพิเคราะห์ข้อเท็จจริงแล้วจะเห็นได้ว่าแม้ศาลรัฐธรรมนูญจะเขียนคำ วินิจฉัยว่าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยโดยเสียงข้างมาก ๔ ต่อ ๒ ว่า กระบวนการยื่นคำร้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เหตุผลของตุลาการเสียงข้างมากแตกต่างกัน คือ มีตุลาการเพียง ๑ คน ที่เห็นว่าการยื่นคำร้องของนายทะเบียนพรรคการเมือง เป็นการยื่นคำร้องพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ส่วนตุลาการอีก ๓ คน เห็นว่าการยื่นคำร้องไม่ได้กระทำการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด

กล่าวคือ มีการยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรค ทั้งๆที่นายทะเบียนพรรคการเมือง ยังไม่ได้มีความเห็นและยังมิได้เสนอขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการการเลือก ตั้งแต่อย่างใด เหตุผลที่ แตกต่างกันของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องนี้ เป็นเหตุผลที่แตกต่างกันในแง่ประเด็นของการยกคำร้อง ปัญหาก็คือ ในแง่ของการดำเนินกระบวนพิจารณาและการวินิจฉัยชี้ขาดคดีรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญสามารถตั้งประเด็นและวินิจฉัยในลักษณะดังกล่าวได้หรือไม่

๑๔. ในการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาททางรัฐธรรมนูญนั้น การวินิจฉัยเงื่อนไขที่ทำให้ศาลมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณา กับการวินิจฉัยในเนื้อหาของคดี จะต้องวินิจฉัยแยกต่างหากจากกัน เงื่อนไขที่ทำให้ศาลมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณา ย่อมได้แก่ เขตอำนาจของศาลเหนือคดี อำนาจฟ้องคดีของผู้ฟ้องคดีหรือผู้ร้อง ความสามารถของผู้ฟ้องคดีหรือผู้ร้อง ความสามารถในการดำเนินกระบวนพิจารณา วัตถุแห่งคดี กระบวนการขั้นตอนที่ต้องดำเนินการก่อนการฟ้องคดี ความจำเป็นในการปกป้องคุ้มครองสิทธิ ระยะเวลาในการฟ้องคดี ฯลฯ เงื่อนไขเหล่านี้เป็นเงื่อนไขที่ศาลรัฐธรรมนูญจะต้องดำเนินการตรวจสอบเสีย ก่อน หากเงื่อนไขเหล่านี้ดำรงอยู่ครบถ้วน ศาลรัฐธรรมนูญจึงจะสามารถวินิจฉัยเนื้อหาของคดีได้ ในกรณีที่มีประเด็นโต้แย้งกันว่าเงื่อนไขเหล่านี้ดำรงอยู่อย่างครบถ้วนหรือ ไม่ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นที่โต้แย้งกันนั้นทีละ ประเด็น เช่น หากโต้แย้งกันว่าผู้ร้องมีอำนาจยื่นคำร้องหรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญจะต้องวินิจฉัยในประเด็นนี้เสียก่อน โดยตุลาการทุกคนที่เป็นองค์คณะจะต้องออกเสียงวินิจฉัย

หากผ่านประเด็นนี้ไปแล้ว มีข้อโต้แย้งกันอีกว่า คำร้องดังกล่าวได้ยื่นภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ ตุลาการทุกคนก็จะต้องวินิจฉัยในประเด็นนี้เช่นกัน การกำหนดประเด็นวินิจฉัยชี้ขาดเช่นนี้ จะทำให้ในที่สุดแล้วคำวินิจฉัยเกิดจากเสียงข้างมากขององค์คณะ และจะปรากฏเหตุผลในคำวินิจฉัยอย่างชัดเจนว่าคดีนั้นศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย คดีโดยอาศัยเหตุผลในทางกฎหมายเรื่องใด หากไม่กำหนดประเด็นวินิจฉัยเช่นนี้ แต่กำหนดประเด็นรวมๆกันไป สุดท้าย ย่อมจะหาเสียงข้างมากขององค์คณะไม่ได้ เช่น หากมีตุลาการในองค์คณะ ๖ คน ตุลาการสองคนอาจยกคำร้องเพราะเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจศาล ตุลาการอีกสองคนเห็นว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจ แต่ยกคำ ร้องเพราะเห็นว่าผู้ฟ้องคดีไม่มีอำนาจฟ้อง ตุลาการอีกสองคนเห็นว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจเช่นกัน แต่ยกคำร้องเพราะเห็นว่าฟ้องเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เช่นนี้จะถือว่าเหตุผลที่ยกคำร้องคืออะไร เพราะการยกคำร้องโดยอาศัยเหตุใดเหตุหนึ่งนั้น จะมีผลต่อการนำคดีมาฟ้องใหม่ไม่เหมือนกัน

๑๕. ในคดีนี้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ยกคำร้องเพราะเหตุที่การยื่นคำร้องกระทำการ ข้ามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดทำให้นายทะเบียนพรรคการเมืองไม่มีอำนาจยื่นคำร้อง มี ๓ คน จากตุลาการที่เป็นองค์คณะจำนวน ๖ คน ซึ่งยังถือไม่ได้ว่าเป็นเสียงข้างมากขององค์คณะ ในขณะที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ยกคำร้องเพราะเห็นว่าการยื่นคำร้องได้กระทำ เมื่อพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไปแล้วมีเพียง ๑ คน จากตุลาการที่เป็นองค์คณะจำนวน ๖ คน ซึ่งก็จะถือว่าเป็นเสียงข้างมากขององค์คณะไม่ได้เช่นกัน การลงมติเพื่อให้ได้เสียงข้างมากในคดีนี้ ศาลรัฐธรรมนูญจะต้องกำหนดประเด็นเสียก่อนว่าผู้ร้องมีอำนาจยื่นคำร้องหรือ ไม่ และตุลาการทุกคนต้องวินิจฉัยในประเด็นนี้ ในกรณีที่ลงมติไปแล้วยังหาเสียงข้างมากไม่ได้ จะต้องลงมติใหม่อีก และหากจำเป็นก็จะต้องกำหนดประเด็นย่อยลงไปอีก และให้ตุลาการที่เป็นองค์คณะวินิจฉัยทีละประเด็นในลักษณะที่ตุลาการที่มี สิทธิออกเสียงวินิจฉัย หากได้วินิจฉัยอย่างใดไปแล้วในประเด็นก่อนในฝ่ายข้างน้อย ตุลาการผู้นั้นจะต้องรับเอาผลของการวินิจฉัยในประเด็นถัดไปและต้องออกเสียง วินิจฉัยด้วย เพื่อจะได้ผลการวินิจฉัยที่เกิดจากเสียงข้างมาก เมื่อผ่านประเด็นเรื่องอำนาจในการยื่นคำร้องแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญจึงจะสามารถวินิจฉัยในประเด็นเรื่องของระยะเวลาในการยื่นคำ ร้องเป็นลำดับถัดไป มีข้อสังเกตว่าการที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดประเด็นวินิจฉัยในลักษณะที่ กล่าวมาข้างต้น และเขียนเหตุผลในคำวินิจฉัยทั้งสองกรณีลงในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้น ย่อมทำให้เกิดความสับสนต่อไปว่าตกลงแล้ว เหตุผลที่ศาลรัฐธรรมนูญใช้ในการยกคำร้องคือเหตุผลใดกันแน่ ยิ่งไปกว่านั้นคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยังขัดแย้งกันเองในบางส่วนอีกด้วย คือ ฝ่ายที่ถูกนับว่าเป็นฝ่ายข้างมาก ๓ คน เห็นว่า นายทะเบียนพรรคการเมืองจะต้องมีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์เสียก่อน จึงจะเสนอเรื่องให้คณะกรรมการการเลือกตั้งให้ความเห็นชอบได้ ในขณะที่ฝ่ายที่ถูกนับว่าเป็นฝ่ายข้างมาก ๑ คน เห็นว่านายทะเบียนพรรคการเมืองจะเสนอความเห็นว่าพรรคประชาธิปัตย์มีเหตุ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ มาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง (ซึ่งเป็นเหตุให้ยุบพรรคการเมือง) ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือไม่ก็ได้

ด้วยเหตุที่ได้แสดงให้เห็นดังกล่าวนี้ คณาจารย์คณะนิติราษฎร์จึงเห็นว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องนี้ไม่ ได้เกิดขึ้นจากเสียงข้างมากขององค์คณะ ไม่ชอบด้วยหลักการทำคำวินิจฉัยในทางตุลาการ และเกิดปัญหาขึ้นตามมาว่าคำวินิจฉัยดังกล่าวมีผลในทางกฎหมายหรือไม่ อย่างไร

๑๖. อนึ่ง มีประเด็นที่สมควรแสดงทัศนะไปในคราวเดียวกันเกี่ยวกับการตีความ "กระบวนการและขั้นตอนที่เป็นสาระสำคัญ" ของศาลรัฐธรรมนูญ ว่าสอดคล้องกับหลักการใช้และการตีความกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายมหาชนหรือไม่ คดีนี้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ถูกนับว่าเป็นฝ่ายข้างมาก ๓ คน เห็นว่า การที่นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ได้มีมติเห็นชอบในการประชุมเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ ให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์นั้น ไม่ใช่เป็นการให้ความเห็นในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง แต่เป็นความเห็นในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้ง จึงถือว่านายทะเบียนพรรคการเมืองยังไม่ได้มีความเห็นในเรื่องดังกล่าว กระบวนการยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย คณาจารย์คณะนิติราษฎร์พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า การที่ในที่สุดแล้ว นายทะเบียนพรรคการเมืองได้ยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ตามความเห็น ชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งก็เท่ากับนายทะเบียนพรรคการเมืองเห็นโดยปริยาย ว่าพรรคประชาธิปัตย์กระทำการอันต้องด้วยเหตุที่กฎหมายกำหนด สมควรถูกยุบพรรค ถึงแม้เรื่องนี้อาจมีข้อทักท้วงว่าในการนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะ กรรมการการเลือกตั้ง นายทะเบียนพรรคการเมืองยังไม่ได้ให้ความเห็นไว้จนเป็นที่ประจักษ์ชัดก็ตาม แต่การที่นายทะเบียนพรรคการเมืองดำเนินการในเวลาต่อมาก็มีผลเป็นการเยียว ยาความบกพร่องอันไม่ใช่เรื่องสาระสำคัญไปแล้ว กรณีเทียบเคียงได้กับบทบัญญัติในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ ที่หากเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครองซึ่งจะออกคำสั่งทางปกครองได้ จะต้องให้เจ้าหน้าที่อื่นให้ความเห็นชอบก่อน ได้ออกคำสั่งทางปกครองไปโดยไม่ได้ขอความเห็นชอบจากเจ้าหน้าที่อื่นเสียก่อน หากเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจให้ความเห็นชอบนั้น ได้ให้ความเห็นชอบในภายหลัง คำสั่งทางปกครองนั้นก็ย่อมมีผลสมบูรณ์ใช้ได้ตามกฎหมาย หาได้เสียเปล่าไป หรือมีปัญหาความชอบด้วยกฎหมายไม่ การที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแยกกระบวนการและขั้นตอนดังกล่าวออกจากกันเป็น ส่วนๆ อีกทั้งขั้นตอนดังกล่าวนั้นในเวลาต่อมาก็ถูกเยียวยาแล้วโดยการกระทำของ องค์กรผู้ทรงอำนาจ และแยกการกระทำของนายทะเบียนพรรคการเมืองกับการกระทำของประธานกรรมการการ เลือกตั้งออกจากกันอย่างสิ้นเชิง โดยมิได้พิเคราะห์เจตนาที่แท้จริงของเจ้าหน้าที่ผู้ทรงอำนาจในเรื่องดัง กล่าว คือนายอภิชาต สุขัคคานนท์ มาเป็นเหตุวินิจฉัยยกคำร้องของนายทะเบียนพรรคการเมืองนั้น คณาจารย์คณะนิติราษฎร์ไม่อาจเห็นพ้องด้วยได้

๑๗. โดยที่คดีนี้มีปัญหาในแง่ของการทำคำวินิจฉัยว่าเกิดจากเสียงข้างมากขององค์ คณะหรือไม่ และปัญหาในแง่ของเหตุผลในทางข้อกฎหมายที่ใช้ในการยกคำร้องของนายทะเบียนพรรค การเมือง คณาจารย์คณะนิติราษฎร์เห็นว่าองค์กรที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ สมควรจะต้องกระทำเรื่องนี้ให้กระจ่างต่อไป การดำเนินการในเรื่องนี้ย่อมรวมถึงการตรวจสอบกฎเกณฑ์ว่าด้วยวิธีพิจารณาของ ศาลรัฐธรรมนูญ การตรวจสอบการรักษากฎเกณฑ์ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ การตรวจสอบตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคน ไปจนกระทั่งถึงการตรวจสอบว่าคำวินิจฉัยในคดีนี้ซึ่งมีปัญหาว่าไม่ได้เกิดจาก เสียงข้างมากขององค์คณะมีผลในทางกฎหมายหรือไม่ อนึ่ง ในทางปฏิบัติ โดยเหตุที่กรณีนี้ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่ได้วินิจฉัยในเนื้อหาของคดี แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๑๖ วรรคห้าจะบัญญัติว่า "คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ" ก็ตาม แต่เมื่อเหตุผลในคำวินิจฉัยบางส่วนขัดแย้งกันเอง โดยเหตุผลของตุลาการฝ่ายที่ถูกนับเป็นเสียงข้างมาก ๓ คน เห็นว่า นายทะเบียนพรรคการเมืองยังไม่ได้ให้ความเห็นในเรื่องดังกล่าว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่นายทะเบียนพรรคการเมืองจะได้ให้ความเห็นในเรื่องดัง กล่าวเสียให้ชัดเจน เพื่อนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาให้วินิจฉัยในเนื้อหาของคดีต่อไป

วรเจตน์ ภาคีรัตน์
จันทจิรา เอี่ยมมยุรา
ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช
ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล
ธีระ สุธีวรางกูร
สาวตรี สุขศรี
ปิยบุตร แสงกนกกุล

คณะนิติราษฎร์ นิติศาสตร์เพื่อราษฎร
ท่าพระจันทร์, ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๓.

Monday, December 20, 2010

เวียดนามผงาด : การพัฒนาที่มีทิศทาง

โดย : กมล กมลตระกูล

ประเทศเวียดนามมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพที่สูง มาก โดยระหว่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจ 5 ปี ระหว่างปี 2001-2005 ตัวเลขจีดีพีเติบโตเฉลี่ย 7.51 ทุกปี ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นบทพิสูจน์ว่าระบอบเศรษฐกิจแบบรัฐสวัสดิการมิได้เป็นอุปสรรคต่อการ พัฒนาเศรษฐกิจ หรือทำให้ประเทศล้าหลังแต่อย่างใด

* สัดส่วนของภาคการผลิตด้านการเกษตร ป่าไม้ และประมง คิดเป็นร้อยละ 20.9 ของจีดีพี
* สัดส่วนภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้างคิดเป็นร้อยละ 41 ของจีดีพี
* สัดส่วนของภาคบริการคิดเป็นร้อยละ 38.1 ของจีดีพี
* มูลค่าของผลผลิตทั้งหมดได้นำส่งออกคิดเป็นร้อยละ 50 ของจีดีพี

ในขณะเดียวกัน สัดส่วนของคนจนได้ลดลงจากร้อยละ 17.5 เมื่อเริ่มต้นแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับนี้เมื่อปี 2001 เหลือเพียงร้อยละ 7 โดยที่ รัฐบาลได้สร้างงานเพิ่มขึ้น 7.5 ล้านตำแหน่ง และรายได้เฉลี่ยต่อคนเพิ่มขึ้นจาก 5.7 ล้านด่อง เป็น 10 ล้านด่อง ในด้านการรักษาพยาบาลก็มีการขยายโรงพยาบาลและเครือข่ายศูนย์อนามัยลงไปยัง ระดับรากหญ้าทุกระดับ

นอกจากนี้ราคายาก็ยังมีราคาถูกแสนถูก ยาแผนใหม่ส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศอินเดียซึ่งมีอุตสาหกรรมยาที่ทันสมัยและมี ราคาถูก แต่ประเทศไทยกลับห้ามนำเข้ายาราคาถูกจากอินเดีย ปล่อยให้ประชาชนรับกรรมกับการต้องจ่ายค่ายาราคาแพงของฝรั่งที่มีบริษัทผูก ขาดไม่กี่รายผูกขาดอยู่

เรื่องนี้ก็เป็นตัวชี้วัดถึงความรับผิดชอบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนของรัฐบาลสองประเทศว่า รัฐบาลไหนมีความจริงใจต่อประชาชนของตน

ทิศทางการพัฒนาของเวียดนามมีความชัดเจนและระบุไว้ในรายงานการประชุมสมัชชา พรรคครั้งที่ 10 ซึ่งประชุมไปในระหว่างวันที่ 18-25 เมษายน 2006 มีมติกำหนดทิศทางให้เป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ประชาชนมั่งคั่ง มีความเป็นประชาธิปไตยอย่างเท่าเทียม และเป็นสังคมพัฒนาที่เป็นอารยะประเทศให้ได้ในปี 2020

เรื่อง การศึกษา วิทยาศาสตร์และทคโนโลยี่ โดยระบุว่าเป็นนโยบายที่มีความสำคัญและเป็นเรื่องเร่งด่วนสูงสุดของชาติ

ในรัฐสวัสดิการภายใต้ระบอบประชาธิปไตยที่เท่าเทียมและเป็นธรรมต่อคนทุกกลุ่ม ในสังคม เวียดนามจึงสามารถระดมทรัพยากรมนุษย์ ที่มีถึง 54 ชนเผ่าซึ่งได้รับสิทธิและการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน มาเข้าร่วมในการพัฒนาประเทศ

ตัวอย่าง รูปธรรม คือ แม้แต่เมืองเดียนเบียนฟู ที่อยู่บนยอดดอยสูง ก็ยังมีโรงเรียนประชาบาลของชาวเขาเผ่าไทยดำเป็นตึกใหญ่โตทันสมัยเหมือนกับ โรงเรียนเอกชนในบ้านเรา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงนโยบายการให้การศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน อันเป็นรากฐานของการแก้ไขปัญหาความยากจนและล้าหลังที่ตรงจุดที่สุด แม้แต่ชาวเขาก็ไม่ถูกทอดทิ้ง ต่างกับคนจนและชาวชนบทไทยที่ถูกทอดทิ้ง โดยเฉพาะด้านการศึกษา

ประเทศที่เข้มแข็งได้ ทรัพยากรบุคคลในประเทศจะต้องได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม มีคุณภาพ และทั่วถึง จุดแข็งของเวียดนามจึงอยู่ที่ทรัพยากรบุคคล หรือประชาชนของเขานี่เอง

ผู้บริหารและนักการเมืองของไทยดีแต่คิดจะหากินและหาทางคอรัปชั่นกับนักเรียน นักศึกษาในทุกรูปแบบ เช่น เรื่องนมแจกเด็ก หรือ การนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ซึ่งจะทำให้ระบบการศึกษาเป็นการค้าและคนส่วนใหญ่ของประเทศ คนในชนบทจะถูกกีดกันออกไปโดยปริยาย แล้วประเทศจะเจริญได้อย่างไรใน เมื่อคนส่วนใหญ่เข้าไม่ถึงการศึกษาเพราะมีราคาแพง

ผิดกับเวียดนาม ในเรื่องการศึกษาเขาส่งเสริมอย่างครบวงจร เช่น ตำราเรียน และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษามีราคาถูกมาก ผมเห็นหนังสือการ์ตูนสำหรับเด็กที่เป็นเรื่องราวของนักปรัชญาระดับโลกเกือบ ทุกคน เช่น เปลโต โสกราติส คาร์ล มาร์กซ ชาร์ล ดาวิน ราคาเท่ากับราคาเฝอ (ก๋วยเตี๋ยวเวียดนาม) 2 ชาม

หนังสือหนังหา ตำราเรียน อุปกรณ์การเรียนการสอนบ้านเราแพงอย่างมหาโหด โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับรายได้ขั้นต่ำ หรือราคาข้าวแกง หรือก๋วยตี๋ยว แต่เงินเดือนคร ูและอาจารย์กลับถูกแสนถูก ทั้งๆ ที่รัฐบาลก็มีนโยบายคล้ายกับเวียดนามว่า การศึกษาเป็นเรื่องสำคัญของชาติ

การสร้างชาติของเวียดนามตั้งอยู่บนคำสั่งสอนของโฮจิมินห์ให้รักชาติ เสียสละอย่างไม่เห็นแก่ตัว เพื่อส่วนรวม และแบบอย่างการดำเนินชีวิตของท่านที่มีความเสียสละ อดทน ขยัน ซื่อสัตย์ มุ่งมั่น อย่างสูงไม่ว่าจะมีความยากลำบากเพียงใด

การสร้างคนรุ่นใหม่ให้มีคุณสมบัติข้างต้นเพื่อมาพัฒนาประเทศจึงเป็นเรื่อง สำคัญที่สุด และเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา ไม่ใช่ทำกันเพียงแค่การเสนอคำขวัญ การจัดงานรณรงค์ การกล่าวปาฐกถาในวันสำคัญแล้วก็ลอยหายไป หรือการปล่อยเสรีให้โรงเรียน หรือ ภาคธุรกิจ ภาคบันเทิงหากินกับเยาวชนด้วยการสร้างค่านิยมผิดๆในเรื่องการบริโภคที่ ฟุ่มเฟือย หรือ โดยมอมเมาเยาวชนด้วยธุรกิจเกมส์

โฮจิมินห์ได้ตระหนักว่าภาระกิจในการสร้างชาติไม่สามารถทำได้ในคนเพียงหนึ่ง รุ่นในชั่วชีวิตของตน จึงได้ก่อตั้งสหภาพเยาวชนอินโดจีนในปี ค.ศ. 1936 ปัจจุบันนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็นสหภาพเยาวชนโฮจิมินห์ และมีสมาชิกกว่า 3.5 ล้านคน

สมาชิกเหล่านี้จะได้รับการอบรมให้มีอุดมการณ์รักชาติ รักเอกราช และให้ร่วมกันสร้างประเทศให้เจริญ มั่งคั่ง เข้มแข็ง เป็นธรรมตามอุดมการณ์รัฐสวัสดิการ และดำรงชีวิตอย่างมีคุณธรรมและไม่ประพฤติเหลวไหล เหลวแหลก หรือใช้ชีวิตอย่างไร้สาระเช่นการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ การเที่ยวดิสโคเธค แต่ต้องศึกษาอย่างขยันขันแข็งทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี่ และการบริหารจัดการ

นอกจากนี้สมาชิกเหล่านี้ยังต้องสมัครเป็นอาสาสมัคร ทำงานในโครงการพัฒนาที่สำคัญของรัฐ โครงการพัฒนาของชุมชน ของท้องถิ่น เพื่อที่จะได้กลายเป็นคนติดดินและรู้จักความยากลำบากของประชาชน โดยมีคำขวัญเพื่อสร้างจิตวิญญานว่า "สามพร้อม ห้าอาสา"

พร้อมแรกคือ พร้อมที่จะไปในที่รัฐบาลเรียกร้อง พร้อมที่สอง คือ พร้อมที่จะไปในที่ยากลำบาก และพร้อมที่สาม คือ พร้อมที่จะไปช่วยเหลือประชาชนและประเทศชาติ

ส่วนอาสาแรก คือ อาสาไปปลูกป่าในที่ถูกทำลาย หรือ ที่ว่างเปล่า อาสาที่สองคือ อาสาไปสร้างโครงการพัฒนาการประมง อาสาที่สาม คือ อาสาไปร่วมสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของชาติ อาสาที่สี่ คือการอาสาไปร่วมสร้างเขตเศรษฐกิจใหม่ และอาสาที่ห้า คือ อาสาไปสร้างโครงการริเริ่มใหม่ๆในชุมชนที่แร้นแค้นกันดาร

การสร้างอุดมการณ์เพื่อร่วมกันพัฒนาชาติอย่างมีทิศทางโดยพลังของเยาวชนนี้ มีภาพให้เห็นทั่วไป เช่น ในกรุงฮานอยซึ่งมีบึงขนาดใหญ่มากมายในใจกลางเมืองเต็มไปหมด ตามริมบึงจะเห็นมีกระชอนด้ามยาววางอยู่ตามริมบึง จะเห็นมีคนหยิบมาตักเศษขยะ หรือใบไม้แห้ง ออกจากบึงมาวางไว้ริมบึงเพื่อไม่ให้บึงสกปรกหรือ เกิดน้ำเน่า นี่ คือ การสร้างคนให้มีคุณภาพและมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อผลประโยชน์ของสาธารณะอย่าง ได้ผล

นอกจากนี้ฮานอยยังเป็นเมืองหลวงที่มีต้นไม้ยักษ์ที่ต้องใช้หลายคนโอบรอบนับ เป็นพันต้นๆทั่วไปหมดทั้งเมือง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการสร้างชาติโดยการสร้างคนให้มีอุดมการณ์ไม่ใช่ปล่อย เสรีอย่างสะเปะสะปะอย่างบ้านเรานั้นทำให้เกิดขึ้นได้

แม้แต่พื้ที่ใจกลางเมืองเพียง 2-300 ตารางวาก็สามารถสร้างเป็นสวนหย่อมได้โดยการปลูกต้นไม้ยืนต้นให้แน่นสัก 40-50 ต้น ส่วนพื้นดินก็เพียงปลูกหญ้าคลุม แล้วตั้งม้านั่งให้ประชาชนพักผ่อน หลบแดด และสูดโอโซน

ในบ้านเราจะเป็นตรงกันข้ามคือ คนขับรถเก๋งคันหรูก็ยังเปิดกระจกโยนก้นบุหรี่ออกมาที่ท้องถนนกันเฉย หรือการทิ้งขยะลงลำคลองจนน้ำเน่าทั้งกรุงเทพฯแทนที่จะช่วยกันเก็บขยะออกจาก คลอง ส่วนต้นไม้ที่มีอายุเป็นร้อยๆปี ก็ตัดทิ้งกันง่ายๆ มีการเผาป่าอย่างเห็นแก่ตัวจนเกิดหมอกพิษทั่วภาคเหนือ ทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวย่อยยับคิดเป็นมูลค่านับแสนล้านบาท เป็นต้น

เวียดนามได้ตระเตรียมเยาวชนขึ้นมาแบกรับภาระสร้างชาติ (ตามมติของสมัชาฯ 10) ให้เป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ประชาชนมั่งคั่ง มีความเป็นประชาธิปไตยอย่างเท่าเทียม และเป็นสังคมอารยะ โดยสนับสนุนสันนิบาตเยาวชนโฮจิมินห์ (ก่อตั้งเมื่อปี 1931 ) ที่เปิดกว้างให้เยาวชนที่มีอายุ 15-30 ปีจากทุกเผ่าชนในประเทศมาเข้าร่วมได้อย่างเท่าเทียมกัน

สมาชิกของสันนิบาตฯในปัจจุบันมีจำนวน 3.5 ล้านคน ซึ่งได้รับการตระเตรียมอบรมทั้งในด้านอุดมการณ์และ วัฒน ธรรม ของชาติ ด้านความรู้สมัยใหม่ทั้งด้านวิทยาศาตร์และ เทคโนโลยี่ รวมทั้งการเป็นอาสาสมัครไปช่วยเหลือและเรียนรู้จากมวลชนด้วย

อุดมการณ์ ชาติของเวียดนามเน้นที่เอกราช สังคมประชาธิปไตย การสร้างชาติให้มั่งคั่ง เข้มแข็งทางการทหาร สร้างสังคมที่เป็นธรรม สร้างความภูมิใจในความเป็นชาติ และสร้างสังคมที่มีความศิวิไลส์ เน้นในเรื่องคุณธรรม และการดำรงชีวิตอย่างสร้างสรรค์ มีรสนิยม และถูกสุขอนามัย

กล่าวให้สั้นคือ ไม่ส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างเหลวแหลก เละเทะ ไร้สาระ ฟุ่มเฟือย และไร้รสนิยม ซึ่งตรงกันข้ามกับปรากฏการณ์ในสังคมไทยในทุกวันนี้

นี่คือทรัพยากรบุคคลอันล้ำค่าที่มีคุณภาพและอุดมการณ์ และเป็นทุนทางสังคมที่เป็นหลักประกันอนาคตของชาติ

อันที่จริง การเขียน หรือ การสร้างอุดมการณ์ชาติให้สวยหรูอย่างไรก็ได้เป็นเรื่องง่าย และหลายๆประเทศก็ทำกันอยู่ แต่ความสำคัญอยู่ที่ได้มีมาตรการ นโยบาย โครงการ การสร้างโครงงานและกิจกรรมต่อเนื่อง และงบประมาณส่งเสริมเป้าหมายของอุดมการณ์ของชาติหรือไม่ต่างหาก ซึ่งประเทศไทยไม่มีมาตรการเหล่านี้เลย นอกจาก การเทศนา การโฆษณา การเสนอคำขวัญ การจัดรณรงค์เป็นครั้งคราว ไม่เพียงแค่นั้นยังปล่อยเสรีให้ภาคเอกชนโฆษณามอมเมาเยาวชนประชาชนอย่างเสรี เต็มที่

ผลจากการพัฒนาประเทศอย่างมีทิศทางชัดเจน ปัจจุบันเวียดนามกลายเป็นผู้ต่อเรืออันดับ 7 ของโลก โดยในเอเชียก็เป็นรองแค่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจีนเท่านั้น โดย บริษัทอุตสาหกรรมต่อเรือ วีนาชิน ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่ก่อตั้งเมื่อปี 1960 โดยมีบทบาทสร้างเรือรบ เรือขนส่งและตอร์ปิโดให้รัฐบาลใช้ต่อสู้กับการรุกรานของอเมริกา

ในปี 2004 วีนาชิน ได้รับจ้างต่อเรือจากประเทศอังกฤษจำนวน 15 ลำ ขนาด 53,000 ตัน มีมูลค่า หมื่นล้านบาท นายกรัฐมนตรี ผ่าม วัน ไก๋ ให้สัมภาษณ์ว่า วีนาชินมีทิศทางที่จะสร้างเรือสินค้าขนาด 80,000 ตัน ภายในปี 2010 รวมทั้ง เรือบรรทุกน้ำมันขนาด 100,00-300,000 ตัน และบรรทุกคอนเทนเนอร์ได้ 3000 ตู้ และท่าซ่อมเรือขนาด 400,000 ตัน ตามเมืองท่าต่างๆ

มติของการประชุมสมัชชาพรรคครั้งที่ 10ที่กำหนด ทิศทางให้เวียดนามเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ประชาชนมั่งคั่ง มีความเป็นประชาธิปไตยอย่างเท่าเทียม เป็นธรรม และเป็นสังคมพัฒนา เป็นอารยะประเทศให้ได้ในปี 2020 จึงไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน

หันมามองประเทศไทยรัฐบาลและข้าราชการทำได้แค่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าแบบปัดสวะให้ พ้นหน้าบ้านไปวันๆ หรือ รอวัวหายแล้วจึงล้อมคอก ทุกวันนี้ก็ยังทะเลาะกันเพื่อแย่งชิงอำนาจทางการเมืองโดยที่แต่ละฝ่ายก็ล้วน มีทิศทางแต่จะหาทางคอรัปชั่น หาสัมปทาน หาวิธีเอาเปรียบสังคม และผู้ที่อ่อนแอกว่า หาวิธีฮั๊ว หาวิธีผูกขาด หาวิธีรักษาการผูกขาด หาวิธีเลี่ยงภาษี และหาวิธีเอาเปรียบผู้บริโภคเหมือนเดิม โดยไม่สนใจว่าประเทศกำลังเดินไปตกเหวเศรษฐกิจที่รุนแรงในระยะเวลาอันใกล้ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อทุกคน และความสงบสุขปลอดภัย ความอยู่เย็นเป็นสุข ก็จะกลายเป็นอดีตหรือ ตำนานไปเท่านั้น

ส่วนภาคประชาชน และ เอ็นจีโอ ก็ไม่ต่างจากกลุ่มธุรกิจการเมือง และกลุ่มอำมาตย์การเมือง คือ ไม่ศึกษา ไม่สนใจศึกษา ไม่มีเวลาศึกษา ไม่อ่านหนังสือ ไม่ซื้อหนังสือ เมื่อได้รับหนังสือฟรีก็ยังไม่ยอมอ่านอีก ดีแต่วิพากษ์วิจารณ์ และเคลื่อนไหว สะเปะสะปะเพราะไม่ได้ศึกษา และไม่รู้ว่า ทิศทางอนาคตที่มีหลักประกันของชาติจะเดินไปอย่างไร จึงไม่มีเครดิต และก็มักจะทะเลาะแบ่งพวกในหมู่กันเอง ส่วนนักวิชาการก็ล้วนมีอหังการ์ ติดยึดในตัวตน และทฤษฎีที่ตัวเองหลงใหล

ดังนั้นจึงมักเคลื่อนไหวเข้า ทางหรือเป็นเครื่องมือของ 2 กลุ่มข้างต้น หรือ ของกลุ่มองค์กรข้ามชาติหรือ รัฐบาลมหาอำนาจที่มีวาระแฝงเร้นผ่านองค์กรเอ็นจีโอ

อนาคตของชาติจึงดูแสนจะ วังเวงอะไรเช่นนี้ น่าอิจฉาประชาชนชาวเวียดนามที่มีพรรค และรัฐบาลที่มีความรับผิดชอบ ต่อปัจจัยการดำรงชีพ และชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างไม่เลือกปฏิบัติ

Sunday, December 19, 2010

ความยุติธรรมที่เป็นอิสระ

สราวุธ เบญจกุล
รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
ที่มา : มติชน

เมื่อไม่นานมานี้ข่าวการถอนตัวจากการพิจารณาคดีของผู้พิพากษาใน คดีที่อยู่ในความสนใจของประชาชนคดีหนึ่ง ได้สะท้อนให้เห็นถึงการอำนวยความยุติธรรมที่เป็นอิสระเพื่อรักษาความเชื่อ ถือศรัทธาของประชาชนที่มีต่อศาล

การอำนวยความยุติธรรมจะสัมฤทธิ์ผลได้เมื่อศาลและผู้พิพากษามีความเป็น อิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี ปราศจากอิทธิพลอันไม่ชอบไม่ว่าจะเป็นอิทธิพลจากภายนอกหรือจากการก้าวก่ายของ บุคคลในวงการศาลหรือจากบุคคลอื่นใดก็ตาม ผู้พิพากษาจึงต้องถือเรื่องนี้เป็นหลักสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่ราชการของ ศาลยุติธรรม
ความเป็นอิสระนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เห็นได้จากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 197 ได้บัญญัติเรื่องความเป็นอิสระของศาลและผู้พิพากษาว่า

“การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาล ซึ่งต้องดำเนินการให้เป็นไปโดยยุติธรรม ตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปโดยถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย........”

นอกจากนี้ เพื่อให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนในการที่จะให้ความเที่ยงธรรมแก่คู่ความ และสร้างความเชื่อถือศรัทธาในตัวผู้พิพากษา คณะกรรมการตุลาการจึงได้มีการจัดทำประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2529 โดยมีสภาพบังคับทางวินัยหากมีการฝ่าฝืน ประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการมีอยู่ด้วยกัน 44 ข้อ เป็นการวางกรอบในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษา บทบัญญัติที่สำคัญที่กล่าวถึงความเป็นอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดีได้แก่

หน้าที่สำคัญของผู้พิพากษา คือ การประสาทความยุติธรรมแก่ผู้มีอรรถคดี ซึ่งจะต้องปฏิบัติด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเที่ยงธรรม ถูกต้องตามหลักกฎหมาย และนิติประเพณี และต้องแสดงให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนด้วยว่าตนปฏิบัติเช่นนั้นอย่าง เคร่งครัดครบถ้วน

ในการนั่งพิจารณาคดี ผู้พิพากษาจะต้องวางตนเป็นกลางและปราศจากอคติ และพึงสำรวมตนให้เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ แต่งกายเรียบร้อย ใช้วาจาสุภาพ ฟังความจากคู่ความและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างตั้งใจ ให้ความเสมอภาค และมีเมตตาธรรม ดังที่ โซคราตีสนักปรัชญาชาวกรีกให้ทรรศนะไว้ว่า คุณสมบัติสำคัญของผู้พิพากษามีสี่ประการคือ : ฟังด้วยความตั้งใจ, ตอบด้วยความสุขุม, พิจารณาด้วยความพินิจพิเคราะห์ และวินิจฉัยโดยปราศจากความลำเอียง

ผู้พิพากษาต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคู่ความหรือคดีที่ตนนั่ง พิจารณา ไม่ว่าด้วยประการใดๆ ผู้พิพากษาพึงถอนตัวจากการพิจารณาและพิพากษาคดี เมื่อมีเหตุที่ตนอาจถูกคัดค้านได้ตามกฎหมาย หรือเมื่อมีเหตุประการอื่นที่เกี่ยวกับตัวผู้พิพากษา อันอาจทำให้การพิจารณาพิพากษาคดีนั้นเสียความยุติธรรม และจะต้องไม่กระทำการใดๆอันเป็นการจูงใจ ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาพิพากษาคดีนั้นในภายหลังในประการที่อาจทำให้เสียความ ยุติธรรมได้

เพื่อสร้างความมั่นใจให้เกิดแก่ประชาชนว่า ศาลและผู้พิพากษาทำหน้าที่อำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนโดยซื่อสัตย์ สุจริตและเป็นกลาง กฎหมายจึงเปิดโอกาสให้มีการคัดค้านผู้พิพากษาได้ทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาตาม หลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 11- มาตรา 14 ซึ่งได้บัญญัติเหตุที่จะยกขึ้นคัดค้าน ผู้พิพากษาตามที่กฎหมายกำหนด คือ ผู้พิพากษานั้นมีผลประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องอยู่ในคดีนั้น

เป็นญาติเกี่ยวข้องกับคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง คือว่าเป็นบุพการี หรือผู้สืบสันดานไม่ว่าชั้นใด ๆ หรือเป็นพี่น้องหรือลูกพี่ลูกน้องนับได้ภายในสามชั้น หรือเป็นญาติเกี่ยวพันทางแต่งงานนับได้สองชั้น เป็นผู้ที่ได้ถูกอ้างเป็นพยานโดยที่ได้รู้ได้เห็นเหตุการณ์ หรือโดยเป็นผู้เชี่ยวชาญมีความรู้เป็นพิเศษเกี่ยวข้องกับคดีนั้น เป็นหรือเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้แทน หรือได้เป็นทนายความของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาแล้ว

เป็นผู้พิพากษานั่งพิจารณาคดีเดียวกันนั้นในศาลอื่นมาแล้ว หรือเป็นอนุญาโตตุลาการมาแล้ว มีคดีอีกเรื่องหนึ่งอยู่ในระหว่างพิจารณาซึ่งผู้พิพากษานั้นเอง หรือภริยา หรือญาติทางสืบสายโลหิตตรงขึ้นไป หรือตรงลงมาของผู้พิพากษานั้นฝ่ายหนึ่ง พิพาทกับคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือภริยา หรือญาติทางสืบสายโลหิตตรงขึ้นไปหรือตรงลงมาของคู่ความฝ่ายนั้นอีกฝ่ายหนึ่ง และผู้พิพากษานั้นเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ หรือเป็นนายจ้างของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

เมื่อมีเหตุที่จะยกขึ้นคัดค้านผู้พิพากษา ผู้พิพากษานั้นเองจะยื่นคำบอกกล่าวต่อศาลแสดงเหตุที่ตนอาจถูกคัดค้าน แล้วขอถอนตัวออกจากการนั่งพิจารณาคดีนั้นก็ได้ หรือคู่ความที่เกี่ยวข้องอาจยกข้อคัดค้านขึ้นอ้างโดยทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาล ก็ได้ เมื่อได้ยื่นคำร้องดังกล่าวแล้ว ให้ศาลงดกระบวนพิจารณาทั้งปวงไว้ก่อนจนกว่าจะได้มีคำชี้ขาดในเรื่องที่คัด ค้านนั้นแล้ว

แม้จะไม่ปรากฏเหตุที่คู่ความคัดค้านผู้พิพากษาที่ นั่งพิจารณาคดีนั้นได้ตามกฎหมาย หากผู้พิพากษาผู้นั่งพิจารณาคดีนั้นเองเห็นว่า การที่ตนจะนั่งพิจารณาคดีต่อไปอาจจะทำให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งคลางแคลงใจ หรือตนเองเห็นเองว่าไม่สมควรที่จะนั่งพิจารณาคดีนั้นต่อไปด้วยเหตุผลอื่น เช่น เป็นเพื่อนสนิทหรือเป็นอริกับคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาก่อน หรือเคารพนับถือคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสมือนญาติผู้ใหญ่ ผู้พิพากษาพึงถอนตัวจากการพิจารณาพิพากษาคดีนั้น

ผู้พิพากษาไม่ได้มีหน้าที่เฉพาะการอำนวยความยุติธรรมให้แก่คู่ความเท่า นั้น แต่ยังต้องแสดงให้ปรากฏแก่สาธารณชนด้วยว่าตนเองทรงไว้ซึ่งความเที่ยงธรรม และไม่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับคดีความเรื่องนั้นๆไม่ว่าในทางใดทางหนึ่ง

นอกจากการอำนวยความยุติธรรมให้คู่ความอย่างเที่ยงธรรมแล้ว สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน คือ ความเชื่อถือศรัทธาที่ประชาชนมีต่อศาล และการสร้างความมั่นใจให้เกิดแก่ประชาชนว่า สถาบันตุลาการเป็นที่พึ่งสุดท้ายของประชาชนได้อย่างแท้จริง.

Friday, December 17, 2010

ศัพท์ใหม่ "ประชาวิวัฒน์"

ประชาวิวัฒน์นั้นคือ การขยายผลของอภิมหาประชานิยมภายใต้ รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ว่าจะเป็นราคาหมู ไก่ ไข่ ไปจนถึงการกระชับพื้นที่หาบเร่ ช่วยเหลือมอเตอร์ไซค์ ล้วนแล้วแต่อยู่ภายใต้กรอบของประชานิยมยี่ห้ออภิสิทธิ์ ที่เรียกว่าประชาวิวัฒน์ทั้งสิ้น

คุณกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีคลัง บอกว่า รัฐบาลเตรียมจะออกโครงการปฏิบัติการประชาวิวัฒน์ "คิดนอกกฎ บริหารนอกกรอบ" เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้แก่ประชาชน

17 ธันวาคม นี้ นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะรับฟังข้อสรุปของทีมนักวิชาการและหน่วยงานกว่า 30 แห่ง ก่อนจะประกาศใช้วันที่ 8 หรือ 9 มกราคม 2554

คุณกรณ์บอกว่า โครงการนี้จะช่วยเหลือคนที่อยู่นอกระบบกว่า 10 ล้านคน เช่น กลุ่มคนขับรถแท็กซี่ รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง หาบเร่ แผงลอย ให้มีสิทธิ์ประกันสังคมเข้าถึงแหล่งทุนลดค่าครองชีพ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร เรื่องส่วย หรือหัวคิวรายเดือนให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐ และนั่นยังไม่รวมถึงมาตรการลดค่าครองชีพที่จะเน้นไปที่โครงสร้างราคาอาหาร เช่น ไข่ไก่ ไก่ สุกร รวมไปถึงพลังงาน ทั้งแก๊สแอลพีจี และค่าไฟฟ้า

ขณะเดียวกัน รัฐมนตรีคลังก็จะเสนอคณะรัฐมนตรีในสัปดาห์หน้า ต่ออายุมาตรการรถเมล์ และรถไฟฟรี รวมถึงค่าไฟฟ้าออกไป 1-2 เดือน จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2553 ทั้งสิ้นทั้งปวงนี้ถ้าออกมาในลักษณะช่วยเหลือคนยากคนจน คนไร้โอกาส ถือว่าเป็นหน้าที่ของรัฐบาล

แต่ขณะเดียวกัน ถ้าออกมาเป็นชุดอย่างนี้ใกล้กับการเลือกตั้งอย่างนี้ หนีไม่พ้นว่าจะถูกมองว่าเป็นอภิมหาประชานิยม เอาภาษีประชาชนไปเอาใจคนบางกลุ่ม เพื่อคะแนนเสียงของพรรคตัวเองหรือไม่

ฉะนั้นเส้นแบ่งระหว่างการหาเสียงกับการทำเพื่อคนไร้โอกาส คนด้อยโอกาสนั้นเบาบาง ต้องพิสูจน์กันตรงที่ว่าทำด้วยความจริงใจและจะลงไปถึงมือของประชาชนมากน้อย แค่ไหน อีกทั้งจะต้องไม่เป็นภาระกับสถานะทางการเงินการคลังของบ้านเมือง

นั่นก็แปลว่าการกระทำนี้จะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า นี่เป็นการทำเพื่อคนที่เขาต้องการความช่วยเหลือ มิใช่ยื่นไปเพื่อจะสร้างให้เกิดความรู้สึกต้องพึ่งพารัฐบาลตลอดไป ไม่สามารถสร้างพลังของสังคมให้ช่วยเหลือตัวเองเพื่อพัฒนาให้เป็นอำนาจของ ประชาชนอย่างยั่งยืนที่แท้จริง

นักการเมืองต้องพิสูจน์ว่า ไม่ใช่เพียงเพื่อเสียงของการเลือกตั้งคราวหน้า แต่เพื่อสร้างประชาชนให้แข็งแกร่งสามารถต่อรองกับนักการเมืองได้อย่างแท้ จริง

สุทธิชัย หยุ่น

ครั้งแรกที่ศาลไทย ใช้แนวคิด Legal pluralism

ถ้ายอมรับความแตกต่าง ย่อมเห็นคนอื่นเป็นมนุษย์

มื่อไม่นานมานี้ ในงานเสวนาถกเรื่องพหุวัฒนธรรม ประจำเดือนธันวาคม 2553 โดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร หัวข้อเรื่อง “Legal pluralism” ศ.ดร. อานันท์ กาญจนพันธุ์ กล่าวบรรยายว่า Legal pluralism แปลตรงตัวว่า “พหุนิยมทางกฎหมาย” ความหมายของมันกว้างจนยากจะหาคำอธิบายที่ถูกต้องชัดเจนได้ แต่หากจะให้อธิบายง่ายๆแล้ว พหุนิยมทางกฎหมาย คือ การใช้กฏหมายตั้งแต่สองฉบับ ในพื้นที่เดียวกัน โดยมีเงื่อนไข ในการใช้กฏหมายแต่ละฉบับ ในที่นี้ กฏหมาย มิเพียงหมายถึง กฏหมายที่รัฐเป็นผู้บัญญัติ แต่ยังหมายถึง ประเพณี วัฒนธรรมของสังคม ซึ่งเปรียบเสมือนกฏหมาย แม้แต่ข้อปฏิบัติในศาสนาก็ไม่ต่างกัน

ตัวอย่าง เช่น ในแคนาดา มีเผ่าอินเดียนแดงอาศัยอยู่ในเขตป่าสงวน สามารถตกปลา ตัดไม้ ทำมาหากิน ในเขตป่าสงวนได้อย่างไม่มีความผิด แต่หากเป็นคนแคนาดาซึ่งเป็นผู้มาทีหลังจะโดนจับทันที บอกเช่นนี้ ทุกคนอาจคิดว่าไม่ยุติธรรม

แต่ลองคิดดูดีๆ ชนเผ่าอินเดียนแดงทำมาหากินในดินแดนนี้ตั้งแต่แรก หากเราแย่งที่อยู่ ที่ทำมาหากินของเขา พวกเขาจะหาอะไรเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง และถึงแม้จะมีการจัดเขตแดนพิเศษให้พวกเขา แต่สักวันหนึ่งที่ดินแถบนั้น ต้องแห้งแล้ง เสื่อมสภาพ เช่นนั้น ที่นั้นก็ไม่ต่างจาก “กรงขัง” ดีๆ นี่เอง และเมื่อเป็นเช่นนั้น ผลที่ตามมาย่อมเกิดเป็นความขัดแย้ง

ในประเทศไทยเองก็มีตัวอย่าง ซึ่งเพิ่งเกิดได้ไม่นาน ในจังหวัดตาก มีเผ่าชนเผ่าพื้นเมืองกลุ่มหนึ่ง บุกรุกพื้นป่าสงวน ทำไร่เลื่อนลอย จึงมีการดำเนินคดี ขึ้นโรงขึ้นศาล โดยธรรมดาการบุกรุกป่าสงวนต้องโดนลงโทษ แต่คดีนี้ผู้พิพากษากลับยกฟ้องคดี ซึ่งอาจจะเป็นครั้งแรกที่ศาลในไทย นำแนวคิด Legal pluralism มาใช้

อย่างในกรณีนี้ การพิจารณาคดีได้มีนำการวิจัยเรื่องประวัติการทำไร่เลื่อนลอยของเผ่าพื้น เมืองกลุ่มนี้ ซึ่งมีมานานแล้ว และด้วยความจำเป็นที่ชนเผ่าต้องทำไร่เลื่อนลอยเพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้องไม่ ให้อดตาย เราอาจเคยได้ยินว่า การทำไร่เลื่อนลอยเป็นสิ่งไม่ดี จริงอยู่เมื่อการทำไรเลื่อนลอยทำให้คุณภาพดินเสื่อม ต้องย้ายไปสลับ รอดินฟื้นตัวเรื่อยๆ อีกประการพวกเขาไม่มีเงินมากมายถึงขนาดซื้อปุ๋ยบำรุงดินได้ตลอด จากพิจารณาคดีครั้งนี้ของผู้พิพากษา จึงไม่ได้ใช้กฏหมายที่รัฐบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ยังใช้ความเป็นจริงในสังคมนั้นเข้ามาประกอบด้วย

Legal pluralism เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นมานานแล้ว ผสมกลมกลืนอยู่ในชีวิต ในสังคม โดยที่เราไม่รู้ตัว อย่าง พี่น้องทะเลาะแย่งของเล่นกัน ก็ตกลง แบ่งเวลาเล่นของเล่นกัน หรือคนขับรถชนกันตกลงจะจ่ายเงินค่าซ่อมกันคนละครึ่ง เป็นต้น

Legal pluralism อาจพูดได้ว่าเป็น หลักการของการเจรจา ประนีประน้อมกันก็ว่าได้ เราต้องยอมรับสิทธิของคนๆนั้น แม้เขาจะมีความแตกต่าง ไม่เหมือนเรา ไม่จะด้วยเหตุใดก็ตาม

Legal pluralism จึงไม่ใช่เรื่องวิชาการเลย เป็นเพียงการสร้าง หนทางที่จะอยู่รอดต่อไป

หากสิ่งที่ถูกต้องเป็นสีขาว สิ่งผิดเป็นสีดำ แนวคิด Legal pluralism ก็คงเป็นสีเทา

การยอมรับข้อแตกต่างซึ่งกันและกัน เป็นเรื่องยาก ซึ่งเราเห็นได้ในประวัติศาสตร์ความขัดแย้งในโลก ฮิตเลอร์ล่าล้างชาวยิว หรือในช่วงสงครามเวียดนาม และแม้แต่ความขัดแย้งของเหล่าเสื้อสีในบ้านเราเอง

การยอมรับสิทธิ ความแตกต่าง ของกันและกัน นั้นหมายความว่า คุณมองเห็นเขา เป็น มนุษย์เช่นเดียวกับคุณ
เรื่องและภาพ โดย วิศาสตร์ สวัสดิ์ภักดี

Thursday, December 16, 2010

การสื่อสารมวลชนไทย อยู่ในทฤษฎีแบบไหนก้น ?

ทฤษฎีสื่อสารมวลชน

ในวงวิชาการสื่อสารมวลชน มีทฤษฎีเกี่ยวข้องมากมายด้วยกัน ส่วนมากยังไม่วิวัฒนาการเป็นทฤษฎีสมบูรณ์ตามความหมายทฤษฎีที่แท้จริง ยังคงเป็นสมมติฐานเท่านั้น ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างแนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีสื่อสารมวลชนมา 4 ตัวอย่างด้วยกัน ที่เทียบกับการสื่อสารในจีน ได้อย่างใกล้เคียงกันพอสมควร

แนวความคิดแรกเน้นศึกษา "ประสิทธิผล" (Effect) ของสื่อสารมวลชนในสังคม แนวความคิดนี้เริ่มมีมานานแล้วจนกลายเป็นประเพณีการวิจัยสื่อสารมวลชนในปัจจุบัน ทุกครั้งที่พูดถึงสื่อสารมวลชนเรามักจะนึกถึง "ประสิทธิผล" ของมันมากกว่าองค์ประกอบอย่างอื่นเท่าที่ผ่านมานั้น ได้มีวิวัฒนาการเกี่ยวกับการศึกษาประสิทธิผลสื่อมวลชน (Effect Approach) แตกต่างกันไป แยกได้เป็นสามขั้นตอนสำคัญ คือในระยะแรก นักวิชาการเชื่อ ว่าสื่อมวลชนมีอิทธิพลอย่างมาก จึงเรียกแนวความคิดนี้ว่า Hypodermic needle theory (ทฤษฎีเข็มฉีดยา)

ครั้นต่อมา เกิดมีแนวความคิดตรงกันข้ามว่า สื่อสารมวลชนมีอิทธิพลโดยตรงน้อยมาก เลยเกิดทฤษฎีใหม่ชื่อ Two - step flow theory (ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ) ตามด้วยทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูข่าวสาร ต่อมาในระยะหลังนี้เริ่มมีผู้เสนอแนวความคิดใหม่เรียกว่า Agenda - setting theory (ทฤษฎีกำหนดวาระ) เน้นวิเคราะห์ประสิทธิผลการสื่อสารในระยะยาว นับเป็นการเดินสายกลางระหว่างสองแนวความคิดแรก ทฤษฎีทั้งสามจัดอยู่ในระดับมหภาค (Macro level) ถ้าพิจารณาในแง่ Dialectic theory ของ Karl Marx แล้วอาจกล่าวได้ว่า Hypodermic needle theory เป็น Thesis และ Two - step flow theory เป็น antithesis (สิ่งที่ตรงกันข้ามหรือความค้านหรือการใช้ถ้อยคำซึ่งมีความกลับกัน) ส่วน Agenda - setting theory เป็น synthesis (การนำสิ่งใด ๆ มาสร้างขึ้นเป็นรูป,การประกอบสิ่งต่าง ๆ ขึ้นเป็นตัว,การปะติดปะต่อ)

อีกแนวความคิดหนึ่ง มุ่งอธิบายปรากฎการณ์สื่อสารมวลชนในระดับจุลภาค (Micro level) และระดับกลาง (interpersonal level) แนวความคิดนี้มีรากฐานมาจากทฤษฎีทางจิตวิทยา Balance theory ของ Heider และ Newcomb ทฤษฎีนี้ชื่อ Co - orientation theory ซึ่งในปัจจุบันกำลังได้รับความสนใจมาก

1. ทฤษฎีเข็มฉีดยา
หรือทฤษฎีการสื่อสารจังหวะเดียวหรือทฤษฎีการสื่อสาร 1( ( (Hypodermic needle theory,One - step flow theory ) ทฤษฎีการสื่อสารประเภทนี้นับเป็นวิวัฒนาการแรกของแนวความคิดเกี่ยวกับอิทธิพลของสื่อมวลชน เสนอว่าสื่อมวลชนทั้งหลายมีผล (Effects) อย่างมหาศาลโดยตรงและทันทีทันใด ต่อมวลชน (Mass audience) ความเชื่อเกี่ยวกับอิทธิพลของสื่อมวลชนทำนองนี้เปรียบได้กับแนวความคิดทางจิตวิทยาสมัยปี ค.ศ. 1930 และ 1940 ที่ว่าทันทีที่มีสิ่งเร้า(Stimulus) ก็จะมีสิ่งตอบสนอง (Response) ความคิดดังกล่าวเกิดก่อนที่จะมีผู้ค้นคิดว่าในกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้า (S-R Principle) นั้น มีตัวแปรกลาง (Intervening variables) แทรกเข้ามามีอิทธิพลรวมอยู่ด้วย ตามทรรศนะของ Hypodermic needle hypothesis นี้สื่อมวลชนเปรียบได้กับเข็มฉีดยาที่คอยทิ่มแทงผู้รับสารหรือมวลชนซึ่งมีแต่ความเฉื่อยชาเหมือนคนไข้ (Passive audience) ที่ต้องการการเยียวยารักษา ทฤษฎี Hypodermic needle นี้ประจวบเหมาะกับการพัฒนา "สังคมมวลชน" (Mass society) ในสหรัฐอเมริการะหว่างปี 1930 และ 1940 ในระบบสังคมมวลชนนั้นถือว่าพลเมืองทั้งหมดมีสภาพคล้ายคลึงกัน และรวมกันอยู่เป็นกลุ่มก้อนเหมือนอนุภาค (Atom) โดยมีการติดต่อกันอย่างหละหลวมเฉพาะในรูปแบบความสัมพันธ์ตัวต่อตัวเท่านั้น มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าในระยะนั้น พลเมืองชาวอเมริกันส่วนมากมีลักษณะคล้ายคลึงกันหลายอย่าง เช่น ด้านเครื่องแต่งกาย แบบการพูดจา และค่านิยมทางสังคม เป็นต้น เชื่อกันว่า แนวโน้มเช่นนี้ จะนำไปสู่กระบวนการที่เรียกว่า "วัฒนธรรมมวลชน" (Mass culture) นักวิชาการ ส่วนมากลงมติว่าลักษณะคล้ายคลึงกันและแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นนั้นมีสาเหตุจากปัจจัยสำคัญสองประการ คือ "สื่อมวลชน" (Mass media) และ "การผลิตมวลชน" (Mass production)

Hypodermic needle hypothesis ถือว่าสื่อมวลชนเป็นเหมือนอาวุธที่มีอำนาจมหาศาลสามารถดลบันดาลให้ประชาชนเป็นอะไรก็ได้ ข่าวสารจากสื่อมวลชนจะถึงและมีผลต่อประชาชนโดยตรงและทันทีทันใดโดยไม่มีอะไรกีดขวางและปราศจากการต่อต้านจากผู้รับสาร ความเชื่อเรื่องอิทธิพลของสื่อมวลชนนี้มีสาเหตุสำคัญ 3 ประการ คือ
1. กำเนิดและความก้าวหน้าของวิทยุโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Transistor radio ซึ่งมีอิทธิพลแทรกซึม แพร่ข่าวได้อย่างรวดเร็วมาก ให้ความรู้สึกเหมือนจริงเหมือนได้ร่วมในเหตุการณ์นั้นจริง ๆ และมีอำนาจไปตามครอบครัวต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย
2. การขยายตัวของงานโฆษณาทางการค้า (Advertising) ซึ่งมีอิทธิพลต่อผู้บริโภคอย่างมาก
3. โฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) ในด้านการโฆษณาชวนเชื่อนี้ เห็นได้จากเหตุการณ์ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากฝ่ายเยอรมันมีการยึดเอกสิทธิ์ ใช้สื่อมวลชนในการโฆษณาชวนเชื่ออย่างหนัก

มีข้อน่าสังเกตว่า สมมติฐาน Hypodermic needle นี้ เป็นเรื่องของความเชื่อถือและการคาดคะเนเสียส่วนมาก ไม่มีหลักฐานจากการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ หรือจากเหตุการณ์ที่เกิดจริง (Empirical evidence) มาสนับสนุนอย่างเพียงพอ ประกอบกับต่อมามีผู้ศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์อย่างจริงจังมากขึ้นความเชื่อด้านนี้ก็เริ่มหมดไป สื่อมวลชนกลับมีอิทธิพลน้อยลงมีทฤษฎีใหม่เกิดขึ้นมาแทนที่ ซึ่งเรียกว่า Two - step flow

2. ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ (Two - step flow theory )
ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะนี้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายและได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง นับว่าเป็นปรากฎการณ์ครั้งสำคัญยิ่งในวงการค้นคว้าสื่อสารมวลชน ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา Two - step flow hypothesis ค้นพบโดย Paul F. Lazarsfeld และคณะ (Lazarsfeld เป็นนักสังคมวิทยา ได้รับการยกย่องว่าเป็น "บิดา" หรือ "Founding father" วางรากฐานการค้นคว้าทางสื่อสารมวลชนคนหนึ่ง) เดิมทีเดียว Lazarsfeld และคณะต้องการที่จะศึกษาดูว่าสื่อมวลชน (Mass media) มีอิทธิพล (Effect) ต่อการเปลี่ยนแปลงความตั้งใจ (Intention) หรือการตัดสินใจของผู้ออกเสียงเลือกตั้งในสมัยการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา สมัย ค.ศ. 1940 จริงหรือไม่ อีกนัยหนึ่ง Lazarsfeld และคณะมุ่งวิจัยอิทธิพลของสื่อมวลชนตามทรรศนะของHypodermic needle hypothesis การวิจัยครั้งนี้นับว่าเป็นโครงการใหญ่โต มีการวางระเบียบวิจัยอย่างรอบคอบและอาศัยกำลังคนและเงินมาก Lazarsfeld ใช้การสำรวจวิจัยที่เรียกว่า Panel study (คือ สัมภาษณ์บุคคลคนเดียวซ้ำกันในช่วงระยะเวลาแตกต่างกัน) ประกอบด้วยกลุ่มควบคุม (Control groups) ถึง 3 กลุ่ม สุ่มตัวอย่าง ทั้งหมดร่วม 3,000 คน ใช้ระยะเวลาวิจัยถึงหกเดือนก่อนมีการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตามผลที่ได้รับเป็นที่แปลกใจแก่ผู้วิจัยอย่างมาก แทนที่จะพบว่า สื่อมวลชนมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจออกเสียงเลือกตั้งตามที่คาดหมายไว้ Lazarsfeld และคณะกลับพบว่า "...ความคิด (Ideas) กระจาย (Flow) จากวิทยุและสิ่งพิมพ์ไปยังผู้นำด้านความเห็น (Opinion leaders) จากนั้นจึงกระจายต่อไปถึงประชาชนทั่วไป" (ดู Lazarsfeld, Berelson and Gaudet,1948) คณะผู้วิจัยพบว่าผู้นำด้านความเห็นหรือ Opinion leaders นั้นอ่านและรับฟังข่าวสารเกี่ยวกับการรณรงค์หาเสียงมากกว่าประชาชนธรรมดาทั่วไป นอกจากนี้ยังพบว่า ในระหว่างกลุ่มผู้ออกเสียงเลือกตั้งที่ได้เปลี่ยนความตั้งใจเดิมในการลงคะแนนเลือกตั้งจำนวนไม่เท่าไรนั้น ส่วนมากรายงานว่าได้รับอิทธิพลและการชักจูงจากบุคคลอื่นมิใช่จากสื่อมวลชน

สรุปผลการค้นพบข้างต้นก็คือว่า สื่อมวลชนแทบไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลงคะแนนออกเสียงเลือกตั้ง อิทธิพลส่วนมากมาจากการสื่อสารประเภทตัวต่อตัว ผลนี้ตรงข้ามกับทรรศนะของ Hypodermic needle hypothesis ถ้าวิเคราะห์ในเชิง Two – step flow ก็หมายความว่า การกระจายข่าวสารนั้นเกิดขึ้นสองจังหวะจากสื่อมวลชนไปถึง Opinion leaders จังหวะหนึ่ง แล้วจาก Opinion leaders ไปถึงประชาชนทั่วไปอีกจังหวะหนึ่ง ดังนั้นจึงเป็นการยากที่สื่อมวลชนจะไปมีอิทธิพลต่อประชาชนทั่วไปได้ เนื่องจากการค้นพบ Two - step flow เกิดขึ้นโดยบังเอิญไม่มีการวางแผนการมาก่อน จึงได้มีการศึกษาวิจัยมากมายในระยะหลังเพื่อทดสอบแนวความคิดและสมมติฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ แทบจะกล่าวได้ว่าในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา Two - step flow เป็นเสมือนจุดรวมหรือแกนกลางในทางความคิดของการวิจัยทางสื่อสารมวลชน

ปรากฎการณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการค้นพบ Two - step flow ก็คือนอกจากการวิจัยค้นคว้าเกี่ยวกับผล (Effect) ของสื่อมวลชนในการเลือกตั้งประธานาธิบดีตามที่กล่าวมาแล้วยังมีการวิจัยค้นคว้าที่สำคัญอีกด้านหนึ่งเกี่ยวกับ Diffusion of innovations (นวกรรม) ซึ่งปรากฎผลการค้นคว้าออกมาเหมือนกัน เป็นการสนับสนุนแนวความคิด Two - step flow ที่ว่าสื่อมวลชนมีอิทธิพลน้อยมากเมื่อเทียบกับการสื่อสารแบบตัวต่อตัวในการชักจูงให้ประชาชนยอมรับความคิด วัตถุสิ่งของ หรือการปฏิบัติที่แปลกใหม่

ผลการค้นคว้าในระยะหลังมีทั้งสนับสนุนและขัดแย้งกับหลักของ Two – step flow hypothesis ที่พบในระยะแรก ถ้าประมวลจากการค้นพบทั่วไปแล้วจะพิจารณาเห็นว่า Two - step flow มีจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องหลายประการ คือ
1. การสื่อสาร Two - step flow ไม่สะท้อนให้เห็นสภาพของกระบวนการสื่อสารในสังคมที่แท้จริง การสื่อสารอาจมีมากกว่าสองจังหวะก็เป็นได้ คือหลังจากประชาชนได้รับทราบข่าวสารจากสื่อสารมวลชนแล้ว ก็มีการส่งต่อกันไปเป็นทอด ๆ ไม่จบสิ้น หรือไม่ก็การสื่อสารมวลชนอาจมีจังหวะเดียว คือสื่อสารมวลชนสามารถส่งสารถึงประชาชนโดยตรงทีเดียว
2. การสื่อสาร Two - step flow ไม่แยกให้เห็นข้อแตกต่างในด้าน Function (หน้าที่) ของสื่อ (Channels) แต่ละประเภทเกี่ยวกับขั้นตอนของการตัดสินใจรับแนวความคิดใหม่ (Innovation-decision process) นักวิชาการส่วนมากค้นพบว่าสื่อมวลชนมีผลอย่างมากสำหรับกระตุ้นให้คนตระหนัก (Awareness) เกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ ส่วนสื่อสารแบบตัวต่อตัวมีอิทธิพลสำคัญชักจูง (Persuasion) ให้ประชาชนเปลี่ยนทัศนคติ (Attitude) หรือ ยอมรับแนวความคิดใหม่ (Adoption)
3. การสื่อสาร Two - step flow ถือว่าเฉพาะบุคคลที่เรียกว่า Opinion leaders (ผู้นำด้านความเห็น) เท่านั้นที่กระตือรือร้นและสนใจในการรับฟังและถ่ายทอดข่าวสาร ส่วนประชาชนทั่วไป (Publics) นั้นค่อนข้างเฉื่อยชาและขาดความสนใจข่าวสาร สมมติฐานนี้ดูเหมือนไม่จริงเสมอไป ได้มีการค้นพบว่า Opinion leaders อาจกระตือรือร้นหรือเฉื่อยชาได้ และอาจเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับข่าวสารจากผู้อื่น
4. การสื่อสาร Two - step flow ถือว่า บุคคลที่เรียกว่า Opinion leaders (ผู้นำด้านความเห็น) นั้น รับทราบข่าวสารเฉพาะจากสื่อสารมวลชน (Mass media) และหน้าที่เบื้องต้นของสื่อมวลชนก็คือมุ่งเสนอข่าวสารให้ Opinion leaders การเข้าใจเช่นนี้ไม่ถูกต้องนัก จากผลการวิจัยหลายแห่งพบว่า Opinion leaders จริง ๆ นั้น มักจะได้ข่าวสารมาจากแหล่งต่าง ๆ มากมายด้วยกัน มิใช่เฉพาะจากสื่อมวลชน อาจเป็นการติดต่อกับบุคคลภายนอกหรือการเดินทางติดต่อกับเมืองใหญ่ ๆ เป็นต้น ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น สื่อสารมวลชนอาจส่งสารโดยตรงถึงประชาชนทั่วไปได้โดยไม่ต้องผ่านคนกลาง
5. การสื่อสาร Two - step flow ไม่แยกให้เห็นความแตกต่างของพฤติกรรมทางการสื่อสาร (Communication behaviors) ของผู้รับสารตามช่วงเวลาของการรับรู้ความคิดใหม่ (Innovative ideas) ผลจากการค้นคว้าเกี่ยวกับการกระจายความคิดใหม่แสดงว่าประชาชนที่รับรู้หรือยอมรับประดิษฐกรรมใหม่ในระยะเริ่มแรก Early Knowers and adopters) มักจะใช้สื่อมวลชนมากกว่าผู้รับรู้หรือยอมรับในระยะหลัง (Late knowers and adopters) ฉะนั้น บุคคลที่เรียกว่า Opinion leaders นั้นแท้จริงอาจเป็นเพียงผู้ที่รับรู้หรือยอมรับความคิดใหม่ก่อนคนอื่นก็ได้หาใช่มีคุณลักษณะเป็นผู้นำด้านความเห็นที่แท้จริงไม่
6. การสื่อสาร Two - step flow ถือว่าผู้รับสาร (Audience) นั้นแยกได้เป็น 2 ประเภทเท่านั้น คือ Opinion leaders (ผู้นำด้านความเห็น) และNon-leaders หรือ Followers (ผู้ตาม) การแบ่งแยกแบบนี้เป็นการบิดเบือนแนวความคิดเกี่ยวกับลักษณะของ Audience ประการแรกลักษณะการเป็นผู้นำนั้นควรจะมองในลักษณะความต่อเนื่อง (Continuum) จากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่งตรงข้ามมิใช่แยกเป็นกลุ่ม (Category) อย่างชัดเจน ดังนั้น

คนเราอาจมีลักษณะความเป็นผู้นำได้ ต่างกันตรงขอบเขตความมากน้อยของคุณสมบัตินั้น อีกประการหนึ่งบุคคลที่จัดเข้าเป็นผู้ตามนั้นความจริงแล้ว ใช่ว่าจะคอยตามผู้นำคนอื่นไปเสียหมดทุกอย่างและทุกเวลา จะเห็นได้ว่าจุดเด่นของทฤษฎีการสื่อสารมวลชน 2 จังหวะ ก็คือได้พิจารณาถึงความจริงที่ว่า มนุษย์มิได้อยู่โดดเดี่ยวในสังคม แต่มีการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในลักษณะเป็นกลุ่มปฐมภูมิ คือความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมนี้ก่อให้เกิดเป็นเครือข่าย (interpersonal network) ในการสื่อสารมวลชน ซึ่งมีหน้าที่ต่อไปนี้
1. เป็นช่องทางการถ่ายทอดข่าวสารเข้าในสังคม
2.เป็นแหล่งของอิทธิพลกลุ่มหรืออิทธิพลบุคคลที่มีผลต่อความคิดและการกระทำของสมาชิกในสังคม ผลการวิจัยของลาซาร์สเฟลด์และคณะนี้ นอกจากจะชี้ให้เห็นว่าข่าวสารของสื่อมวลชนมิได้เข้าถึงและมีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับแล้ว ยังมีการค้นพบปัจจัยแทรกที่สำคัญระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร นั่นคืออิทธิพลของบุคคล (personal influence) หรือความเป็นผู้นำความคิดเห็น (opinion leadership) ซึ่งแนวความคิดเกี่ยวกับอิทธิพลของบุคคลที่เราเรียกว่า "ผู้นำความคิดเห็น" (Opinion Leaders) นี้ได้กลายเป็นหัวข้อที่ศึกษากันอย่างกว้างขวางอยู่ระยะหนึ่ง และได้มีการนำแนวความคิดเกี่ยวกับผู้นำความคิดเห็นไปทำการวิจัยในหลายสาขาวิชา นอกเหนือจากการสื่อสาร เช่น การตลาด สังคมวิทยาชนบทการศึกษาและการแพทย์ เป็นต้น ทั้งนี้โดยเน้นในเรื่องอิทธิพลและบทบาทของผู้นำความคิดในการชักจูงให้เกิดการยอมรับนวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ

ผู้นำความคิดเห็น (Opinion Leaders) เป็นบุคคลในสังคมซึ่งติดต่อกับบุคคลอื่น ๆ ในลักษณะความสัมพันธ์แบบใกล้ชิด หรือแบบกลุ่มปฐมภูมิ เช่น ญาติ เพื่อนบ้าน หรือเพื่อนร่วมงานและมีอิทธิพลในลักษณะที่ไม่เป็นทางการเกี่ยวกับความคิดเห็น หรือการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ

พฤติกรรมการเป็นผู้นำความคิดเห็นนี้ มีปรากฎอยู่ทั่วไปในสังคมส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าที่บ้าน ที่ทำงาน โรงเรียน หรือที่ใดก็ตามที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเกิดขึ้น ผู้นำความคิดเห็นบางคนอาจจะมีอิทธิพลในหลายด้าน แต่ส่วนมากมักจะมีอิทธิพลต่อความคิดเห็นเฉพาะเรื่องเช่นเรื่องแฟชั่นการแต่งกาย การซื้อสินค้าบางอย่าง การบ้านการเมือง การเลือกตั้ง การทำมาหากิน การกีฬา เป็นต้น ผู้นำความคิดเห็น มักจะมีลักษณะไม่แตกต่างไปจากผู้ตาม (follower) มากนัก ทั้งนี้เนื่องจากการเป็นผู้นำความคิดเห็นนั้น ผู้นำกับผู้ตามมักจะต้องมีความสัมพันธ์กันค่อนข้างใกล้ชิด ดังนั้นทั้งสองฝ่ายจึงต้องมีความคล้ายคลึงกันพอสมควร แต่โดยทั่วไปแล้วผู้นำความคิดเห็นมักจะมีการศึกษา มีรายได้ หรือมีสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมสูงกว่าผู้ตามเล็กน้อย นอกจากนั้นผู้นำความคิดเห็นมักจะติดต่อกับโลกภายนอกมากกว่า เช่นเปิดรับสื่อมวลชนสูงกว่า เข้าร่วมกิจกรรมสังคมมากกว่า เดินทางไปต่างถิ่นบ่อยกว่า และติดต่อกับบุคคลที่มีความรู้หรือความเชี่ยวชาญบ่อยกว่า ฯลฯ ผู้นำความคิดเห็นตามแนวความคิดดังกล่าวนี้แตกต่างจากผู้นำ (leader) ในความเข้าใจทั่วไป คือมิได้เป็นผู้นำโดยตำแหน่งหรือแต่งตั้งเป็นทางการ ดังนั้นการมีอิทธิพลโดยตำแหน่งจึงไม่ใช่การเป็นผู้นำความคิดเห็นตามแนวความคิดนี้ เช่นการที่ผู้ใหญ่บ้านสั่งให้ลูกบ้านลงคะแนนเสียงให้ผู้สมัครเลือกตั้งหมายเลข 1 ลักษณะนี้มิใช่การเป็นผู้นำความคิดเห็น แต่ในกรณีที่ผู้ใหญ่บ้านพูดคุยกับลูกบ้านในฐานะเพื่อนบ้านหรือเพื่อนฝูงและลูกบ้านเหล่านั้นได้รับอิทธิพลชักจูงใจจากการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการกับผู้ใหญ่ให้เลือกผู้สมัครหมายเลข 1 กรณีนี้ถือว่าเป็นผู้นำความคิดเห็นซึ่งโดยทั่วไปแล้วผู้นำโดยตำแหน่งกับผู้นำความคิดเห็นมักจะไม่ใช่บุคคลเดียวกัน เนื่องจากความแตกต่างทางสถานภาพที่ห่างกันไม่เอื้ออำนวยให้เกิดความใกล้ชิดสนิทสนมในลักษณะที่จะมีอิทธิพลแบบไม่เป็นทางการได้ อย่างไรก็ดีในชนบทเราอาจจะพบว่าผู้นำที่เป็นทางการ เช่นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มักจะเป็นทั้งผู้นำโดยตำแหน่งและผู้นำความคิดเห็นพร้อมกันไป เนื่องจากทั้งผู้ใหญ่บ้านและลูกบ้านไม่มีความแตกต่างกันมากนัก และต่างก็มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดพอสมควร

กล่าวโดยสรุป ทฤษฎีสื่อสารมวลชน 2 จังหวะนี้ จะมีลักษณะที่ได้เสนอแนะว่า
1.การตัดสินใจของบุคคลแต่ละคนนั้นได้รับแรงจูงใจโดยตรงจากสื่อมวลชนน้อยกว่าแรงจูงใจจากผู้อื่น
2. บุคคลผู้ซึ่งจูงใจบุคคลอื่น หรือผู้นำความคิดเห็นตามทฤษฎีนี้ เป็นบุคคลที่ชอบเปิดตัวเองในการรับสารจากสื่อมวลชนมากกว่าบุคคลที่เขาทำการจูงใจแต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทฤษฎีสื่อสารมวลชนแบบ 2 จังหวะนี้ จะมุ่งเน้นการรับข่าวสารของบรรดาผู้นำความคิดเห็นจากสื่อมวลชนเท่านั้น แต่แท้ที่จริงแล้วผู้นำความคิดเห็นอาจจะรับข่าวสารจากแหล่งอื่น ๆ ก็ได้เช่น ผู้นำความคิดเห็นทางการเกษตรอาจจะรับข่าวสารจากเจ้าหน้าที่เผยแพร่หรือจากสำนักงานการเกษตรท้องถิ่น แล้วจึงนำไปถ่ายทอดต่อยังเกษตรกรอื่น ๆ

แนวความคิดเกี่ยวกับคำว่าผู้นำทางความคิดหรือผู้นำความคิดเห็น (Opinion leader)

เมื่อกล่าวถึงการเป็นผู้นำทางความคิดหรือผู้นำความคิดเห็นแล้วจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราทราบถึงการหลั่งไหลของการสื่อสารด้วย โดยเราสามารถเริ่มดูจากผู้นำทางความคิดในเรื่องนี้ "แมคเคียวเวลลี่ กล่าวว่า มนุษย์มักจะเลียนแบบการกระทำของคนอื่นที่เคยทำมาก่อนกระนั้นก็ตาม ใช่ว่ามนุษย์จะเลียนแบบการกระทำที่ผู้อื่นเคยทำมาก่อนทั้งหมดโดยสิ้นเชิง" ความสำเร็จหรือล้มเหลวของโครงการในการสร้างความเปลี่ยนแปลง ในที่สุดแล้วขึ้นอยู่กับความสามารถและการร่วมมือกันของผู้นำท้องถิ่นระดับหมู่บ้าน ตัวกลางที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (change agent) ควรมุ่งสร้างให้ผู้นำหมู่บ้านมีการริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ แต่ในวงการศึกษาเราก็ยังก้าวไปได้ถึงขั้นที่จะทราบได้อย่างแน่นอนเกี่ยวกับธรรมชาติของการเป็นผู้นำที่ไม่เป็นทางการและเกี่ยวกับบทบาทในการพัฒนาให้เกิดความเป็นสมัยใหม่ และอีกประการหนึ่งในการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดความทันสมัยหรือสมัยใหม่นั้น โดยความเป็นจริงสามารถสร้างโดยการเน้นที่ระดับผู้นำท้องถิ่นได้หรือไม่ ในประเด็นเหล่านี้ Homan ได้แสดงความเห็นคัดค้านว่า ผู้นำโดยความเป็นจริงแล้ว มีความผูกติดอยู่กับบรรทัดฐานของสังคมที่เขาอยู่ ดังนั้นการจะสร้างผู้นำทางความคิดได้นั้นต้องมีการสร้างให้สังคมมีบรรทัดฐาน ที่เปลี่ยนแปลงไปเสียก่อนคือให้สังคมทันสมัยขึ้น แล้วผู้นำจึงจะมีความทันสมัยตาม สิ่งนี้หมายถึงการต้องมีการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมจากสังคมหนึ่งสู่อีกสังคมหนึ่งเสียก่อน สมมติฐานของHoman จึงถือว่า ผู้นำทางความคิดเกิดจากการที่ผู้นำรับเอาความคิดใหม่มาจากอีกสังคมหนึ่ง

การเป็นผู้นำทางความคิด การริเริ่มนำสิ่งใหม่ และการเบี่ยงเบนออกจากบรรทัดฐานทางสังคม (Opinion Leadership, Innovativeness, And Devianey From Norms) ตามความเป็นจริงแล้ว ผู้นำไม่ค่อยได้เป็นผู้นำเท่าใดนัก เพราะมีนิสัยหรือลักษณะเฉพาะที่มักผูกติดอยู่กับผู้ตามมากกว่าที่จะแข่งขันหรือเป็นผู้ต่อสู้ให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ คือ มีความคล้อยตามไปกับผู้ที่เขาปฏิสัมพันธ์หรือติดต่อด้วยคำถามที่ตามมาก็คือ "แล้วผู้นำทางความคิดจะสามารถปฏิบัติตัวให้สอดคล้องกับบรรทัดฐานทางสังคม ในขณะเดียวกับรับรู้ความคิดใหม่ ๆ เข้ามาได้อย่างไร" คำตอบคือ
ประการแรก ความจริงแล้วผู้นำทางความคิดมิได้เป็นผู้รับเอาสิ่งใหม่ ๆ เข้ามา แต่ยังอาจชักจูงให้ผู้ปฏิบัติตามปฏิเสธสิ่งใหม่ ๆ อีกด้วย
ประการที่สอง ที่ใดซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีบรรทัดฐานเกื้อหนุนต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่แล้ว ผู้นำความคิดก็จะมีความคิดริเริ่มมากขึ้น ซึ่งก็เป็นการสอดคล้องกับสังคมที่ส่งเสริมให้มีการริเริ่มนั่นเอง
ประการที่สาม ผู้ที่เริ่มสิ่งใหม่ ๆ ในระบบสังคมจารีตประเพณี (สังคมเก่า) คือปัจเจกชนซึ่งแยกตัวออกมาจากผู้นำทางความคิด ผู้ริเริ่มสิ่งใหม่ที่แท้จริงมักเป็นผู้ซึ่งถูกจับตามองด้วยความระแวงสงสัย และถูกปฏิเสธหรือการให้ความยอมรับนับถือจากชาวบ้านเสียมากกว่า

ผู้นำทางความคิดเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งยวด ในการเผยแพร่สิ่งใหม่หรือนวตกรรม ไม่ว่า
นวตกรรมนั้นจะเป็นเรื่องกีฬา เครื่องแต่งกาย การเมือง หรือเรื่องอื่นใดก็ตาม หากเทียบผู้นำทางความคิดกับผู้ตามความคิด เราอาจกล่าวได้ว่า ผู้นำทางความคิดเข้าถึงสื่อมวลชนมากกว่า มีลักษณะที่เป็นสากลหรือลักษณะระหว่างท้องถิ่นมากกว่า มีสถานะภาพทางสังคมสูงกว่า และยอมรับนวตกรรมรวดเร็วกว่า นอกจากนี้ผู้นำทางความคิดจะทำอะไรให้เป็นไปตามบรรทัดฐานของระบบสังคมมากกว่าผู้ตามความคิด เมื่อบรรทัดฐานของระบบสังคมเอื้ออำนวยต่อการเปลี่ยนแปลง ผู้นำความคิดจะมีลักษณะที่ยอมรับนวตกรรมค่อนข้างรวดเร็วแต่เมื่อบรรทัดฐานของสังคมมีลักษณะตามแบบประเพณีโบราณ ผู้นำทางความคิดจะมีลักษณะที่ไม่ยอมรับนวตกรรมเร็วนัก แต่อย่างไรก็ตาม การพัฒนาด้านนวตกรรมหากต้องการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพนั้น เรื่องผู้นำความคิดต่อนวตกรรมเป็นสิ่งที่ควรศึกษาและเข้าให้ถึงอย่างมาก นั่นหมายความว่า หากสามารถใช้ผู้นำทางความคิดให้คล้อยตามนวตกรรมที่ต้องการเสนอได้เปอร์เซ็นต์หรือหนทางสู่ความสำเร็จก็มีมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมประเทศไทยนั้น ลักษณะของการยึดตัวบุคคลมีสูงมาก ไม่ว่าจะเริ่มตั้งแต่ครอบครัว หมู่บ้าน โรงเรียน อันได้แก่ พ่อ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน คนมีชื่อเสียง นักการเมือง ดารา ถ้าสามารถเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมบรรทัดฐานทางความคิด หรือบรรทัดฐานทางความรู้สึกได้แล้ว นั่นหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม หรือบรรดาผู้ตามต่าง ๆ ได้ ดังนั้นการสื่อสารเพื่อการพัฒนาหรือการพัฒนาของหน่วยงานใดก็ตามหากได้คำนึงถึงผู้นำความคิดบ้าง ก็จะสามารถพัฒนาได้ไกล และนำนวกรรมนั้น ๆ เข้าไปได้ง่าย และที่สำคัญคือ เป็นการรู้จักใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างได้ประโยชน์เต็มที่สนองนโยบายของรัฐบาลในหัวข้อ"ประหยัด" ได้เต็มที่ด้วยที่ด้วย

3. ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร (Gatekeeper Theory)
จากการที่นักสื่อสารมวลชนมีหน้าที่เลือกสรร ตกแต่ง เรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก่อนที่จะเสนอไปยังผู้รับสาร ซึ่งลักษณะหน้าที่เช่นนี้คล้ายกับว่าทำหน้าที่เป็น"ผู้เฝ้าประตู" (Gatekeeper) หรือบางแห่งก็เรียกกันว่านายทวารข่าวสาร หรือผู้ปิดและเปิดประตูสาร ซึ่งการจะเรียกเช่นใดนั้นความหมายก็คงไม่พ้นผู้ที่คอยกลั่นกรองข่าวสารเพื่อที่จะส่งผ่านสื่อมวลชนไปยังผู้รับสารนั่นเอง
แนวความคิดเกี่ยวกับหน้าที่ "ผู้เฝ้าประตู" (Gatekeeper) นี้มาจากข้อเขียนของ เค เลวิน (Lewin, K. 1947) ซึ่งได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า ข่าวสารมักจะไหลผ่านช่องทางต่าง ๆ อันประกอบไปด้วยบริเวณประตูที่ซึ่งมีการปล่อยหรือกักข่าวสารต่าง ๆ ตามกฎเกณฑ์ที่ตั้งไว้ หรือโดยวินิจฉัยของผู้เฝ้าประตูเองว่าจะยอมให้ข่าวสารใดไหลผ่านไปได้หรือไม่ หรือข่าวสารอะไรควรจะส่งไปถึงผู้รับสารช้าหน่อย หรือข่าวสารอะไรควรตัดออกไปทั้งหมด ซึ่งแนวความคิดนี้เอง ได้ถูกนำมาอธิบายลักษณะการไหลของข่าวสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารในกระบวนการสื่อสารมวลชน หรือเปรียบเสมือนเป็นบุคคลผู้ทำหน้าที่ปิดและเปิดประตูข่าวสารที่ยืนอยู่ระหว่างตัวข่าวสารและผู้รับสารจากสื่อสารมวลชน จากแนวความคิดเรื่อง "ผู้เฝ้าประตู" ของเลวิน นี้ ดี เอ็ม ไวท์ (White,D. M. 1950) ได้นำมาใช้ในการศึกษากิจกรรมของบรรณาธิการข่าวโทรพิมพ์ของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นฉบับหนึ่งในอเมริกา ซึ่งกิจกรรมในการตัดสินใจคัดเลือกข่าวเพื่อตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์นี้มีส่วนคล้ายกับหน้าที่ผู้เฝ้าประตู (Gatekeeper)
วิลเบอร์ ชแรมม์ (Wilbur Schramm) กล่าวไว้ว่า Gatekeeper เป็นผู้มีสิทธิในการเปิดและปิดประตูสารต่าง ๆ ที่มีมาถึง gatekeeper ซึ่งการสื่อสารในสังคมทุกวันนี้ Gatekeeper ก็ยังคงมีบทบาทอย่างสำคัญมากทั้งนี้เพราะ Gatekeeper เหล่านี้ ได้แก่ นักข่าว บรรณาธิการข่าว หัวหน้าฝ่ายข่าวต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นข่าวเศรษฐกิจ การเมือง สังคม หรือวัฒนธรรม ผู้เขียน ผู้พิมพ์ นักวิจารณ์ หัวหน้าหน่วยงานด้านสื่อสาร ผู้จัดการโฆษณา ประธาน ครู และพ่อแม่

หน้าที่ของ Gatekeeper ไม่เพียงแต่เลือกหรือปฏิเสธสารต่าง ๆ ที่เข้ามาเท่านั้น Gatekeeper ยังทำหน้าที่จัดสารนั้น ๆ ให้อยู่ในรูปที่เขาต้องการตลอดจนกระทั่งกำหนดการนำเสนอข่าวสาร ระยะเวลาที่หน่วงเหนี่ยวข่าวสารนั้นไว้ว่าจะเสนอในช่วงเวลาใดหรือเสนอสารทั้งหมดซ้ำ ๆ กัน หรือเลือกเสนอเพียงบางส่วนเท่านั้น Gatekeeper ผู้ซึ่งควบคุมการไหลของข่าวสารทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นก็มีนักข่าว บรรณาธิการข่าว ผู้จัดการโฆษณา ของทั้งหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นและหนังสือพิมพ์แห่งชาติและเครือสถานีโทรทัศน์ ตลอดจนสำนักข่าว อย่างไรก็ตาม กรณีที่นักข่าวได้รับมอบหมายจากบรรณาธิการข่าวให้ไปหาข่าว นักข่าวผู้นั้นก็จะทำหน้าที่เหมือนกับผู้เฝ้าประตูหรือผู้ปิดเปิดประตูสารเช่นกัน คือจะเป็นคนตัดสินใจในเบื้องต้นว่าจะเขียนข้อเท็จจริงในเรื่องของข่าวที่ตนหามาอย่างไร การที่นักข่าว และบรรณาธิการข่าว จะตัดสินใจเลือกข่าวอย่างไรนั้น ข้อเขียนของ Bagdikian ได้บอกไว้ว่า ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้

1. หลักที่ยึดถือในการบริหาร
2.การมองโลกของความจริงและนิสัยของคนโดยมองว่าผู้อ่านต้องการอะไร และ อย่างไร
3. ค่านิยม ซึ่งยึดถือโดยกองบรรณาธิการที่มีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ มีมาตรฐานทางด้านความยุติธรรม และเป็นที่ยอมรับในวงวิชาชีพ คือเขาจะเป็นผู้ตัดสินว่าอะไรที่ผู้อ่านในหมู่คณะของเขาควรจะได้รู้
4. การประเมินค่าของข่าวสาร โดยการแข่งขันของสื่อ
5. ค่านิยมส่วนตัว และนิสัยแปลก ๆ ของบรรณาธิการเช่น ถ้าบรรณาธิการกลัวหรือไม่ชอบอะไรบางอย่าง เขาจะไม่อนุญาตให้สิ่งที่เขาไม่ชอบปรากฏอยู่ในข่าว หรือตีพิมพ์บนหนังสือพิมพ์ในขณะที่เขาเป็นบรรณาธิการอยู่
นอกจากปัจจัยทั้ง 5 แล้ว ยังมีสิ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของบรรณาธิการอีก เช่น ปัจจัยเรื่องเวลา และเนื้อที่การเสนอข่าวสาร ตัวอย่างเช่น นักข่าวที่หาข่าวมาได้แล้ว รายงานข่าวเข้าสู่หน่วยงานของตนก็จะมีคนอื่น ๆ คือพวก rewriter เป็นผู้เฝ้าประตูอีกต่อหนึ่ง พวกนี้จะทำหน้าที่ตบแต่งข่าว จะโดยการตัดทอน ย่อหน้า ตัดบางประโยค บางคำของข่าว หรืออาจจะไม่แก้ไขต้นฉบับข่าวที่นักข่าวคนนั้นส่งมาเลยก็ได้ แล้วก็ส่งข่าวนั้นออกไปตีพิมพ์หรือออกอากาศ แต่บางครั้งเมื่อส่งข่าวไปแล้วไม่ได้ตีพิมพ์ก็มี ทั้งนี้เพราะเนื้อที่ในหน้าหนังสือพิมพ์ไม่พอ หรือเวลาในการกระจายเสียงมีไม่พอ อาจจะเป็นเพราะผู้จัดการฝ่ายโฆษณารับโฆษณาเข้ามามากจนทำให้เนื้อที่และเวลาในการเสนอข่าวไม่พอ ตัวผู้จัดการฝ่ายโฆษณานี้ก็ถือว่าทำหน้าที่เป็น gatekeeper เช่นกัน


4. ทฤษฎีการครอบงำของสื่อมวลชน หรือทฤษฎีความเป็นผู้นำ (Hegemonic Theory)
ทฤษฎีที่ใช้แนวทางการศึกษาและความเชื่อแบบมาร์กซิสต์สำหรับการวิเคราะห์สื่อมวลชน ก็คือ "ทฤษฎีการครอบงำ หรืออาจจะเรียกว่าทฤษฎีความเป็นผู้นำ"(Hegemonie Theory) ซึ่ง Gramsci (1971) เป็นผู้เรียกชื่อทฤษฎีเช่นนี้เป็นคนแรกเนื่องจากต้องการให้สามารถจำแนกทฤษฎีนี้ออกจากงานของนักทฤษฎีท่านอื่น ๆ ได้ ทฤษฎีนี้Gramsci นำมาใช้ในแง่ที่เป็น "อุดมการณ์ของชนชั้นปกครอง" ทฤษฎีนี้ไม่ได้ให้ความสนใจต่อปัจจัยหรือสภาวะทางเศรษฐกิจและโครงสร้างที่เป็นตัวกำหนดอุดมการณ์ของชนชั้น (โครงสร้างของความไม่เสมอภาคทางชนชั้น) แต่ทฤษฎีนี้กลับไปเน้นตัวอุดมการณ์ (แนวความคิดหรือภาษาอังกฤษว่า Ideology) เอง โดยให้ความสนใจต่อตัวอุดมการณ์หรือแนวความคิดในฐานะที่เป็นรูปลักษณะของการแสดงออก และวิธีการที่ทำให้เกิดความหมายขึ้น (หรือวิธีการเฉพาะที่ชัดเจน) ตลอดจนความเป็นระบบหรือกลไกของอุดมการณ์ที่สามารถทำให้เกิดการยอมปฏิบัติตาม รวมทั้งความสำเร็จของอุดมการณ์ในการสร้างจิตสำนึก จะเห็นได้ว่าแนวทฤษฎีการครอบงำนี้แตกต่างจากแนวทฤษฎีดั้งเดิมของคาร์ล มาร์ก และแนวทฤษฎีเศรษฐกิจการเมือง ในแง่ที่แนวทฤษฎีการครอบงำนั้นยอมรับความเป็นอิสระ (หรือให้ความเป็นไท)อย่างมากกับอุดมการณ์ (แนวความคิด) จากโครงสร้างทางเศรษฐกิจ อันเป็นอุดมการณ์ที่อยู่ในรูปลักษณะของความเป็นจริงที่ถูกบิดเบือนหรือเป็นการให้คำจำกัดความที่บิดเบือนของคำว่าความเป็นจริง (Reality) และเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้น(Class Relationship) หรือถ้าใช้ตามความหมายของ Althusser (1971) ก็คือ"ความสัมพันธ์ที่สมมติขึ้นของปัจเจกชนที่มีต่อสภาวะ (เงื่อนไข) ความเป็นจริงของสิ่งที่ปรากฎอยู่" ในแง่นี้แนวความคิด (อุดมการณ์) ไม่ได้ถูกครอบงำโดยการบังคับจากชนชั้นปกครองแต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากอิทธิพลทางวัฒนธรรมโดยทำหน้าที่ในการตีความ (การแปล)ประสบการณ์ที่ปรากฏอยู่จริง

Hall (1982) ได้เสนอแนวคิดไว้ว่า "แนวความคิดเกี่ยวกับการครอบงำ หมายถึง การกำหนดกรอบหรือการบังคับโดยตรงโดยกวดขันให้ใช้กรอบความคิดที่กำหนดให้ด้วยวิธีการใช้กำลังบังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเปิดเผย หรือ โดยการบังคับทางอุดมการณ์ต่อชนชั้นที่เป็นเบี้ยล่าง (ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา) ซึ่งวิธีการเหล่านี้ยังไม่บังเกิดผลสำเร็จเพียงพอที่จะนำไปเปรียบเทียบกับความสลับซับซ้อนของเรื่องนี้ เราอาจจะเห็นภาพ(เข้าใจ) ด้วยว่าการครอบงำจะประสบความสำเร็จหรือเกิดขึ้นได้ในสภาวะใดสภาวะหนึ่ง ทั้งโดยรู้ตัว (ระดับจิตสำนึก) หรือไม่รู้ตัว (ระดับจิตไร้สำนึก) ก็ได้ เพื่อที่เราจะได้เห็นว่าการครอบงำเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของระบบที่มีเรื่องของความสัมพันธ์เข้ามาเกี่ยวข้อง แทนที่จะมองเห็นว่าการครอบงำนั้นมีลักษณะเป็นอคติ (หรือความไม่เที่ยงธรรม) ของปัจเจกชนอย่างจงใจและเป็นที่เปิดเผย ปรากฎอยู่ในกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีกำหนดกฎเกณฑ์ (การเปลี่ยนแปลง) และขอบเขตจำกัดเฉพาะ (ปกป้องไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง) ซึ่งจะพิจารณาได้จากข้อเขียน (ภาษา) และคำบรรยาย (การเสวนา) ที่ปรากฎทางสื่อ"

แนวคิดของนักทฤษฎีแนวมาร์กซิสต์หลายท่าน โดยเฉพาะ Poulantzas (1979) และ Althusser (1971) ได้สร้างผลงานอันเป็นพื้นฐาน (หรือเป็นการสนับสนุน) ไว้กับแนวทางการศึกษาแบบนี้ โดยมุ่งความสนใจไปที่วิธีการสร้างความสัมพันธ์ของลัทธิทุนนิยม ว่าจะต้องมีการสร้างขึ้นใหม่และมีการยอมรับลัทธิอันชอบธรรมด้วยการยินยอมพร้อมใจของชนชั้นกลาง การศึกษาเหล่านี้สามารถดำเนินต่อไปได้เนื่องจากการพยายามให้ความหมายอย่างเป็นกลางแบบประนีประนอมและใช้การวิเคราะห์โครงสร้างเพื่ออธิบายความหมายที่ซ่อนเร้นอยู่และเน้นความสำคัญไปที่โครงสร้างของคำนิยามนั้น การหันเหความสนใจจากการเน้นเรื่องสาเหตุทางเศรษฐกิจมาสู่สาเหตุทางด้านความคิด (อุดมการณ์) ที่ทำให้ระบบทุนนิยมยังคงอยู่ ทำให้เกิดความตื่นตัวต่อการศึกษาสื่อมวลชนในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการนำเสนอแนวความคิด (อุดมการณ์) ของรัฐ ด้วยเหตุนี้จึงนำไปสู่ความขัดแย้งกันเองในกลุ่มมาร์กซิสต์ ระหว่างพวกที่ยึดถืออยู่กับตัวกำหนดทางเศรษฐกิจและโครงสร้างกับพวกที่ยึดถือแนวอุดมการณ์ (แนวความคิด)

เนื่องจาก จีนเป็นประเทศสังคมนิยม แนวคิดทฤษฎีแนวมาร์กซิสต์ การครอบงำสื่อ คือ ทฤษฎีความเป็นผู้นำ จึงมีอิทธิพล ต่อการบริหารการสื่อสาร อย่างไรก็ตามสื่อมวลชนกับสังคม มีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างยิ่ง สื่อจึงสะท้อนให้เห็นกรอบแนวคิดทฤษฎี ของสังคมนั้นๆ ต่อสายตาชาวโลกได้เป็นอย่างดี แต่เนื่องจากสถานการณ์ ของประเทศสังคมนิยม เริ่มเปลี่ยนตามกระแสโลกยุคใหม่ สู่โลกาภิวัตน์ สาธารณรัฐสังคมนิยมจีน ก็ได้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่นกันได้อนุญาตให้เอกชน เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ เมื่อ ค.ศ. 1980 สามารถวิพากษ์วิจารณ์บุคคลหรือนโยบายระดับท้องถิ่นได้บ้าง

ทฤษฎี โซเวียต อำนาจเบ็ดเสร็จ ( Soviet – Totalitarian Theory )
ในประเทศสังคมนิยมเริ่มเข้าสู่การพัฒนา อำนาจเบ็ดเสร็จได้ผ่อนคลายลงจากการควบคุมทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง ในระดับท้องถิ่น แต่ก็ยังอยู่ภายใต้การสอดส่องดูแลของรัฐ แม้ว่าจะมีเสรีภาพขึ้นมาบ้างก็ตาม การใช้สื่อก็ยังอยู่ในพวกสมาชิกพรรค ที่ยังจงรักภักดีต่อแนวทางสังคมนิยม มากกว่า