Thursday, September 30, 2010

พลังอำนาจของชาติที่เหลืออยู่

National Power ยังหลงเหลืออยู่แค่ไหน?

ความหมายของ National Power ก็คือพลังอำนาจของชาติ ถือเป็นเรื่องสำคัญที่เอามาใช้ในทางยุทธศาสตร์ ผู้ริเริ่มเอามาใช้เป็นคนแรกในปลายศตวรรษที่ 15 ได้แก่ นิโคโล มาเคียเวลลี่ ซึ่งเป็นทั้งนักการทหารและนักปรัชญาชาวอิตาลี...พลังอำนาจของชาติในช่วงที่มาเคียเวลลี่นำเสนอ เขาได้จัดเป็นองค์ประกอบ 3 ประการคือ การเมือง สังคม และการทหาร กระทั่งต่อมามีการเพิ่มเติมโดยคาร์ล วอน เคลาสวีทซ์ ผู้เป็นซุนหวู่แห่งตะวันตก โดยเพิ่มพลังอำนาจของชาติในทางด้านเศรษฐกิจเข้ามาเป็นองค์ประกอบต่อการทำสงครามอีกปัจจัย

เรื่องพลังอำนาจของชาติ แม้จะเริ่มต้นมาจากหลักการดังกล่าว แต่ได้มีการพัฒนาและศึกษาเพิ่มเติมในฐานะเครื่องมือสำคัญที่จะผลักดันยุทธศาสตร์ชาติให้ดำเนินไปถึงการบรรลุวัตถุประสงค์และการรักษาผลประโยชน์ของชาติบ้านเมือง ประเด็นนี้จึงเป็นเรื่องที่ต้องยกขึ้นมาถกเถียงอย่างจริงจัง โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์ของประเทศไทยปัจจุบัน ตลอดเวลาของความขัดแย้งเราคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าพลังอำนาจของชาติได้กร่อนสลายลงไปถึงจุดวิกฤตที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง โดยบรรดาผู้ปกครองและผู้อยู่ในอำนาจทั้งหลายยังไม่ได้ตระหนัก หรืออาจจะไม่มีสำนึกในเรื่องนี้ด้วยซ้ำไป?

ประเด็นของการเมืองเป็นปัจจัยเบื้องต้นที่สุดเมื่อเราจะเขียนถึงพลังอำนาจของชาติ ตรงนี้คงไม่ต้องตั้งคำถามอะไรว่า “ปัจจัยทางการเมืองและการมีเสถียรภาพของรัฐบาลไทยมีทิศทางและความเป็นไปอย่างไรกันแน่? เมื่อการเมืองอยู่ในสภาพไม่มั่นคง ผลกระทบที่จะเชื่อมโยงเข้าไปถึงปัจจัยที่เป็นพลังอำนาจของชาติในด้านอื่นๆย่อมได้รับผลประทบ และตกต่ำเป็นโดมิโนไปด้วย? ประเด็นต่อมาเราก็ต้องเข้าใจว่าเศรษฐกิจก็ถือเป็นพลังอำนาจของชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศ ชาติบ้านเมืองที่ไม่มีความมั่งคั่ง ไม่มีเงินทองจนต้องไปกู้หนี้ยืมสินจะกลายเป็นชาติบ้านเมืองที่มีความเข้มแข็งได้อย่างไร?

เรื่องของเศรษฐกิจยังกระทบไปสู่เรื่องการทหาร โดยการทหารก็ยังเป็นพลังอำนาจของชาติที่สืบเนื่องมาจากประวัติศาสตร์ ถามว่าเมื่อการเมืองไร้ทิศทาง เศรษฐกิจของบ้านเมืองจะเข้มแข็งได้อย่างไร? แล้วในด้านการทหารจะเอาเงินทองจากที่ไหนเพื่อซื้อหาอาวุธ สร้างเขี้ยวเล็บให้ทหารได้กลายเป็นพลังอำนาจของชาติที่มีศักยภาพในการต่อรอง ซึ่งขุนศึกทั้งหลายต่างก็ใฝ่ฝันกัน?

ในโลกปัจจุบันพลังอำนาจของชาติยังต้องคลุมไปถึงอีกหลายปัจจัย รวมทั้งสังคมจิตวิทยา นี่ถือเป็นเรื่องใหญ่ไม่น้อยเลย เพราะสังคมจิตวิทยาของคนในชาติย่อมส่งผลให้ชาติบ้านเมืองเดินไปสู่ทิศทางใดก็ได้ ประเด็นของความคิดและความเชื่อจัดเป็นวาทกรรมที่ถูกสร้างขึ้นมา แต่มีไม่น้อยที่นำไปสู่ความล่มจมในภายหลัง ตัวอย่างเช่น แนวคิดสร้างอาณาจักรไรซ์ที่ 3 ของฮิตเลอร์ หรืออีกหลายๆตัวอย่างที่มองหาได้ไม่ยาก...วาทกรรมที่ครอบงำสังคมไทยมา 5 ปี เป็นอุดมการณ์กู้ชาติ ถือเป็นเรื่องปฏิบัติการสังคมจิตวิทยาที่นำไปสู่ความล่มจมได้ พลังอำนาจของชาติที่อ่อนแอลงในปัจจุบัน สร้างความขัดแย้งแตกแยกก็สืบเนื่องมาจากการใช้สังคมจิตวิทยาไปอย่างหลงทิศและผิดทาง กระทบไปสู่ทุกบริบทต่อพลังอำนาจของชาติในมิติอื่นๆ?

อีกเรื่องสำคัญซึ่งคงต้องกล่าวถึง โดยเฉพาะในยุคสังคมปัจจุบัน สารสนเทศถือเป็นอีกองค์ประกอบสำคัญในด้านพลังอำนาจของชาติในทศวรรษนี้ เราอาจจะยกตัวอย่างเมื่อสหรัฐอเมริกาได้ใช้สื่อสารมวลชนเข้าไปเกี่ยวข้องกับปฏิบัติการทางทหารทั้งในอิรักและอัฟกานิสถาน นั่นคือข้อเท็จจริงซึ่งส่งผลให้สหรัฐอเมริกาในช่วงนั้นมีความได้เปรียบในปฏิบัติการทางทหาร...ส่วนประเทศไทยระยะ 5 ปีผ่านมานี้ ระบบของอำนาจดั้งเดิมก็ได้ฉุดเอางานสารสนเทศเข้ามาใช้ปฏิบัติการอย่างกว้างขวาง กลายเป็นสงครามข้อมูลข่าวสาร แต่สะท้อนกลายเป็นผลสร้างสมให้สังคมไทยเต็มไปด้วยความแตกแยกและร้าวฉาน แม้เรายังมองงานสารสนเทศให้เป็นอีกหนึ่งพลังอำนาจของชาติก็คงจำเป็นต้องถอยหลัง ทบทวนเรื่องนี้ให้จริงจัง ก่อนที่พลังทางสารสนเทศจะกลายเป็นเครื่องมือทำลายตัวเองมากกว่าการกระทำหน้าที่ส่งเสริมในฐานะเป็นพลังอำนาจของชาติ?

ปัจจัยที่เกี่ยวกับพลังอำนาจของชาติยังมีเรื่องของภูมิศาสตร์ แต่หากพลังอำนาจในด้านอื่นๆหลงทิศผิดทาง Geopolitical หรือภูมิรัฐศาสตร์เห็นจะมิได้กลายเป็นความได้เปรียบอะไรทั้งสิ้นในฐานะพลังอำนาจของชาติ กระทั่งเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและประชากร สิ่งเหล่านี้ต่างล้วนถูกจัดให้เป็นพลังอำนาจของชาติ แต่เมื่อมองไปในภาพกว้าง ทุกสิ่งทุกอย่างดูเหมือนถูกกระทำให้อ่อนแอลง เราจะยังเหลือพลังอำนาจอยู่อีกสักเท่าไร? หรือแทบไม่เหลือแล้ว?

พลังอำนาจของชาติที่เหลืออยู่

National Power ยังหลงเหลืออยู่แค่ไหน?

ความหมายของ National Power ก็คือพลังอำนาจของชาติ ถือเป็นเรื่องสำคัญที่เอามาใช้ในทางยุทธศาสตร์ ผู้ริเริ่มเอามาใช้เป็นคนแรกในปลายศตวรรษที่ 15 ได้แก่ นิโคโล มาเคียเวลลี่ ซึ่งเป็นทั้งนักการทหารและนักปรัชญาชาวอิตาลี...พลังอำนาจของชาติในช่วงที่มาเคียเวลลี่นำเสนอ เขาได้จัดเป็นองค์ประกอบ 3 ประการคือ การเมือง สังคม และการทหาร กระทั่งต่อมามีการเพิ่มเติมโดยคาร์ล วอน เคลาสวีทซ์ ผู้เป็นซุนหวู่แห่งตะวันตก โดยเพิ่มพลังอำนาจของชาติในทางด้านเศรษฐกิจเข้ามาเป็นองค์ประกอบต่อการทำสงครามอีกปัจจัย

เรื่องพลังอำนาจของชาติ แม้จะเริ่มต้นมาจากหลักการดังกล่าว แต่ได้มีการพัฒนาและศึกษาเพิ่มเติมในฐานะเครื่องมือสำคัญที่จะผลักดันยุทธศาสตร์ชาติให้ดำเนินไปถึงการบรรลุวัตถุประสงค์และการรักษาผลประโยชน์ของชาติบ้านเมือง ประเด็นนี้จึงเป็นเรื่องที่ต้องยกขึ้นมาถกเถียงอย่างจริงจัง โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์ของประเทศไทยปัจจุบัน ตลอดเวลาของความขัดแย้งเราคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าพลังอำนาจของชาติได้กร่อนสลายลงไปถึงจุดวิกฤตที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง โดยบรรดาผู้ปกครองและผู้อยู่ในอำนาจทั้งหลายยังไม่ได้ตระหนัก หรืออาจจะไม่มีสำนึกในเรื่องนี้ด้วยซ้ำไป?

ประเด็นของการเมืองเป็นปัจจัยเบื้องต้นที่สุดเมื่อเราจะเขียนถึงพลังอำนาจของชาติ ตรงนี้คงไม่ต้องตั้งคำถามอะไรว่า “ปัจจัยทางการเมืองและการมีเสถียรภาพของรัฐบาลไทยมีทิศทางและความเป็นไปอย่างไรกันแน่? เมื่อการเมืองอยู่ในสภาพไม่มั่นคง ผลกระทบที่จะเชื่อมโยงเข้าไปถึงปัจจัยที่เป็นพลังอำนาจของชาติในด้านอื่นๆย่อมได้รับผลประทบ และตกต่ำเป็นโดมิโนไปด้วย? ประเด็นต่อมาเราก็ต้องเข้าใจว่าเศรษฐกิจก็ถือเป็นพลังอำนาจของชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศ ชาติบ้านเมืองที่ไม่มีความมั่งคั่ง ไม่มีเงินทองจนต้องไปกู้หนี้ยืมสินจะกลายเป็นชาติบ้านเมืองที่มีความเข้มแข็งได้อย่างไร?

เรื่องของเศรษฐกิจยังกระทบไปสู่เรื่องการทหาร โดยการทหารก็ยังเป็นพลังอำนาจของชาติที่สืบเนื่องมาจากประวัติศาสตร์ ถามว่าเมื่อการเมืองไร้ทิศทาง เศรษฐกิจของบ้านเมืองจะเข้มแข็งได้อย่างไร? แล้วในด้านการทหารจะเอาเงินทองจากที่ไหนเพื่อซื้อหาอาวุธ สร้างเขี้ยวเล็บให้ทหารได้กลายเป็นพลังอำนาจของชาติที่มีศักยภาพในการต่อรอง ซึ่งขุนศึกทั้งหลายต่างก็ใฝ่ฝันกัน?

ในโลกปัจจุบันพลังอำนาจของชาติยังต้องคลุมไปถึงอีกหลายปัจจัย รวมทั้งสังคมจิตวิทยา นี่ถือเป็นเรื่องใหญ่ไม่น้อยเลย เพราะสังคมจิตวิทยาของคนในชาติย่อมส่งผลให้ชาติบ้านเมืองเดินไปสู่ทิศทางใดก็ได้ ประเด็นของความคิดและความเชื่อจัดเป็นวาทกรรมที่ถูกสร้างขึ้นมา แต่มีไม่น้อยที่นำไปสู่ความล่มจมในภายหลัง ตัวอย่างเช่น แนวคิดสร้างอาณาจักรไรซ์ที่ 3 ของฮิตเลอร์ หรืออีกหลายๆตัวอย่างที่มองหาได้ไม่ยาก...วาทกรรมที่ครอบงำสังคมไทยมา 5 ปี เป็นอุดมการณ์กู้ชาติ ถือเป็นเรื่องปฏิบัติการสังคมจิตวิทยาที่นำไปสู่ความล่มจมได้ พลังอำนาจของชาติที่อ่อนแอลงในปัจจุบัน สร้างความขัดแย้งแตกแยกก็สืบเนื่องมาจากการใช้สังคมจิตวิทยาไปอย่างหลงทิศและผิดทาง กระทบไปสู่ทุกบริบทต่อพลังอำนาจของชาติในมิติอื่นๆ?

อีกเรื่องสำคัญซึ่งคงต้องกล่าวถึง โดยเฉพาะในยุคสังคมปัจจุบัน สารสนเทศถือเป็นอีกองค์ประกอบสำคัญในด้านพลังอำนาจของชาติในทศวรรษนี้ เราอาจจะยกตัวอย่างเมื่อสหรัฐอเมริกาได้ใช้สื่อสารมวลชนเข้าไปเกี่ยวข้องกับปฏิบัติการทางทหารทั้งในอิรักและอัฟกานิสถาน นั่นคือข้อเท็จจริงซึ่งส่งผลให้สหรัฐอเมริกาในช่วงนั้นมีความได้เปรียบในปฏิบัติการทางทหาร...ส่วนประเทศไทยระยะ 5 ปีผ่านมานี้ ระบบของอำนาจดั้งเดิมก็ได้ฉุดเอางานสารสนเทศเข้ามาใช้ปฏิบัติการอย่างกว้างขวาง กลายเป็นสงครามข้อมูลข่าวสาร แต่สะท้อนกลายเป็นผลสร้างสมให้สังคมไทยเต็มไปด้วยความแตกแยกและร้าวฉาน แม้เรายังมองงานสารสนเทศให้เป็นอีกหนึ่งพลังอำนาจของชาติก็คงจำเป็นต้องถอยหลัง ทบทวนเรื่องนี้ให้จริงจัง ก่อนที่พลังทางสารสนเทศจะกลายเป็นเครื่องมือทำลายตัวเองมากกว่าการกระทำหน้าที่ส่งเสริมในฐานะเป็นพลังอำนาจของชาติ?

ปัจจัยที่เกี่ยวกับพลังอำนาจของชาติยังมีเรื่องของภูมิศาสตร์ แต่หากพลังอำนาจในด้านอื่นๆหลงทิศผิดทาง Geopolitical หรือภูมิรัฐศาสตร์เห็นจะมิได้กลายเป็นความได้เปรียบอะไรทั้งสิ้นในฐานะพลังอำนาจของชาติ กระทั่งเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและประชากร สิ่งเหล่านี้ต่างล้วนถูกจัดให้เป็นพลังอำนาจของชาติ แต่เมื่อมองไปในภาพกว้าง ทุกสิ่งทุกอย่างดูเหมือนถูกกระทำให้อ่อนแอลง เราจะยังเหลือพลังอำนาจอยู่อีกสักเท่าไร? หรือแทบไม่เหลือแล้ว?

พลังอำนาจของชาติที่เหลืออยู่

National Power ยังหลงเหลืออยู่แค่ไหน?

ความหมายของ National Power ก็คือพลังอำนาจของชาติ ถือเป็นเรื่องสำคัญที่เอามาใช้ในทางยุทธศาสตร์ ผู้ริเริ่มเอามาใช้เป็นคนแรกในปลายศตวรรษที่ 15 ได้แก่ นิโคโล มาเคียเวลลี่ ซึ่งเป็นทั้งนักการทหารและนักปรัชญาชาวอิตาลี...พลังอำนาจของชาติในช่วงที่มาเคียเวลลี่นำเสนอ เขาได้จัดเป็นองค์ประกอบ 3 ประการคือ การเมือง สังคม และการทหาร กระทั่งต่อมามีการเพิ่มเติมโดยคาร์ล วอน เคลาสวีทซ์ ผู้เป็นซุนหวู่แห่งตะวันตก โดยเพิ่มพลังอำนาจของชาติในทางด้านเศรษฐกิจเข้ามาเป็นองค์ประกอบต่อการทำสงครามอีกปัจจัย

เรื่องพลังอำนาจของชาติ แม้จะเริ่มต้นมาจากหลักการดังกล่าว แต่ได้มีการพัฒนาและศึกษาเพิ่มเติมในฐานะเครื่องมือสำคัญที่จะผลักดันยุทธศาสตร์ชาติให้ดำเนินไปถึงการบรรลุวัตถุประสงค์และการรักษาผลประโยชน์ของชาติบ้านเมือง ประเด็นนี้จึงเป็นเรื่องที่ต้องยกขึ้นมาถกเถียงอย่างจริงจัง โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์ของประเทศไทยปัจจุบัน ตลอดเวลาของความขัดแย้งเราคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าพลังอำนาจของชาติได้กร่อนสลายลงไปถึงจุดวิกฤตที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง โดยบรรดาผู้ปกครองและผู้อยู่ในอำนาจทั้งหลายยังไม่ได้ตระหนัก หรืออาจจะไม่มีสำนึกในเรื่องนี้ด้วยซ้ำไป?

ประเด็นของการเมืองเป็นปัจจัยเบื้องต้นที่สุดเมื่อเราจะเขียนถึงพลังอำนาจของชาติ ตรงนี้คงไม่ต้องตั้งคำถามอะไรว่า “ปัจจัยทางการเมืองและการมีเสถียรภาพของรัฐบาลไทยมีทิศทางและความเป็นไปอย่างไรกันแน่? เมื่อการเมืองอยู่ในสภาพไม่มั่นคง ผลกระทบที่จะเชื่อมโยงเข้าไปถึงปัจจัยที่เป็นพลังอำนาจของชาติในด้านอื่นๆย่อมได้รับผลประทบ และตกต่ำเป็นโดมิโนไปด้วย? ประเด็นต่อมาเราก็ต้องเข้าใจว่าเศรษฐกิจก็ถือเป็นพลังอำนาจของชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศ ชาติบ้านเมืองที่ไม่มีความมั่งคั่ง ไม่มีเงินทองจนต้องไปกู้หนี้ยืมสินจะกลายเป็นชาติบ้านเมืองที่มีความเข้มแข็งได้อย่างไร?

เรื่องของเศรษฐกิจยังกระทบไปสู่เรื่องการทหาร โดยการทหารก็ยังเป็นพลังอำนาจของชาติที่สืบเนื่องมาจากประวัติศาสตร์ ถามว่าเมื่อการเมืองไร้ทิศทาง เศรษฐกิจของบ้านเมืองจะเข้มแข็งได้อย่างไร? แล้วในด้านการทหารจะเอาเงินทองจากที่ไหนเพื่อซื้อหาอาวุธ สร้างเขี้ยวเล็บให้ทหารได้กลายเป็นพลังอำนาจของชาติที่มีศักยภาพในการต่อรอง ซึ่งขุนศึกทั้งหลายต่างก็ใฝ่ฝันกัน?

ในโลกปัจจุบันพลังอำนาจของชาติยังต้องคลุมไปถึงอีกหลายปัจจัย รวมทั้งสังคมจิตวิทยา นี่ถือเป็นเรื่องใหญ่ไม่น้อยเลย เพราะสังคมจิตวิทยาของคนในชาติย่อมส่งผลให้ชาติบ้านเมืองเดินไปสู่ทิศทางใดก็ได้ ประเด็นของความคิดและความเชื่อจัดเป็นวาทกรรมที่ถูกสร้างขึ้นมา แต่มีไม่น้อยที่นำไปสู่ความล่มจมในภายหลัง ตัวอย่างเช่น แนวคิดสร้างอาณาจักรไรซ์ที่ 3 ของฮิตเลอร์ หรืออีกหลายๆตัวอย่างที่มองหาได้ไม่ยาก...วาทกรรมที่ครอบงำสังคมไทยมา 5 ปี เป็นอุดมการณ์กู้ชาติ ถือเป็นเรื่องปฏิบัติการสังคมจิตวิทยาที่นำไปสู่ความล่มจมได้ พลังอำนาจของชาติที่อ่อนแอลงในปัจจุบัน สร้างความขัดแย้งแตกแยกก็สืบเนื่องมาจากการใช้สังคมจิตวิทยาไปอย่างหลงทิศและผิดทาง กระทบไปสู่ทุกบริบทต่อพลังอำนาจของชาติในมิติอื่นๆ?

อีกเรื่องสำคัญซึ่งคงต้องกล่าวถึง โดยเฉพาะในยุคสังคมปัจจุบัน สารสนเทศถือเป็นอีกองค์ประกอบสำคัญในด้านพลังอำนาจของชาติในทศวรรษนี้ เราอาจจะยกตัวอย่างเมื่อสหรัฐอเมริกาได้ใช้สื่อสารมวลชนเข้าไปเกี่ยวข้องกับปฏิบัติการทางทหารทั้งในอิรักและอัฟกานิสถาน นั่นคือข้อเท็จจริงซึ่งส่งผลให้สหรัฐอเมริกาในช่วงนั้นมีความได้เปรียบในปฏิบัติการทางทหาร...ส่วนประเทศไทยระยะ 5 ปีผ่านมานี้ ระบบของอำนาจดั้งเดิมก็ได้ฉุดเอางานสารสนเทศเข้ามาใช้ปฏิบัติการอย่างกว้างขวาง กลายเป็นสงครามข้อมูลข่าวสาร แต่สะท้อนกลายเป็นผลสร้างสมให้สังคมไทยเต็มไปด้วยความแตกแยกและร้าวฉาน แม้เรายังมองงานสารสนเทศให้เป็นอีกหนึ่งพลังอำนาจของชาติก็คงจำเป็นต้องถอยหลัง ทบทวนเรื่องนี้ให้จริงจัง ก่อนที่พลังทางสารสนเทศจะกลายเป็นเครื่องมือทำลายตัวเองมากกว่าการกระทำหน้าที่ส่งเสริมในฐานะเป็นพลังอำนาจของชาติ?

ปัจจัยที่เกี่ยวกับพลังอำนาจของชาติยังมีเรื่องของภูมิศาสตร์ แต่หากพลังอำนาจในด้านอื่นๆหลงทิศผิดทาง Geopolitical หรือภูมิรัฐศาสตร์เห็นจะมิได้กลายเป็นความได้เปรียบอะไรทั้งสิ้นในฐานะพลังอำนาจของชาติ กระทั่งเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและประชากร สิ่งเหล่านี้ต่างล้วนถูกจัดให้เป็นพลังอำนาจของชาติ แต่เมื่อมองไปในภาพกว้าง ทุกสิ่งทุกอย่างดูเหมือนถูกกระทำให้อ่อนแอลง เราจะยังเหลือพลังอำนาจอยู่อีกสักเท่าไร? หรือแทบไม่เหลือแล้ว?

รัฐประหาร = อัตวินิบาตกรรม

นิธิ เอียวศรีวงศ์
มติชน วันที่ 27 กันยายน 2553

การชุมนุม "ฟ้องฟ้า" ของคุณสมบัติ บุญงามอนงค์ ที่สี่แยกราชประสงค์ เป็นเรื่องที่น่าสำเหนียกแก่กลุ่มชนชั้นนำที่ร่วมกันชักใยการเมืองไทยอยู่ใน เวลานี้

จำนวนของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากเกินคาดของทุกฝ่าย แม้แต่ของผู้จัดการชุมนุมเอง การจราจรถูกปิดไป "โดยปริยาย" โดยไม่มีใครเจตนา แต่เกิดขึ้นจากจำนวนคนที่เข้าร่วมมากเกินคาด
คุณฌอน บุญประคอง ซึ่งทำหน้าที่เหมือนเป็นโฆษกยืนยันว่า คนจำนวนมากเข้าร่วมการชุมนุมโดยสมัครใจและเกิดขึ้นอย่างไม่ได้วางแผนมาก่อน ทั้งไม่ได้รับการสนับสนุนใดๆ ทั้งทางลับหรือเปิดเผยจากคุณทักษิณ ชินวัตร โดยสิ้นเชิง คุณฌอนประเมินว่าเกือบทั้งหมดของผู้ชุมนุมคือคนชั้นกลางในกรุงเทพฯภาพข่าวใน ทีวีและหน้าหนังสือพิมพ์ดูจะส่อไปในทางเดียวกับการประเมินของคุณฌอน คำให้การของผู้เข้าร่วมชุมนุมคนอื่นก็ตรงกัน

ทั้งหมดนี้เกิด ขึ้นท่ามกลางการใช้ พ.ร.บ.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่รัฐบาลได้ตัดสินใจมาแต่ต้นแล้วว่า จะปล่อยให้มีการทำกิจกรรมทางการเมืองที่ "ไม่นำไปสู่การจลาจล หรือการละเมิดกฎหมาย" แปลว่า จะใช้อำนาจตามตัวอักษรในพ.ร.บ.หรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่ากิจกรรมทางการเมืองนั้นอยู่ในวิสัยที่ผู้มีอำนาจ "คุม" อยู่หรือไม่ หรือพูดให้ชัดกว่านั้นคือสะเทือนอำนาจของตนเองมากน้อยเพียงไร

ท่าทีอย่างนี้ สะท้อนให้เห็นว่า ในบรรดาผู้ถืออำนาจของบ้านเมืองทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังในเวลานี้ (อันมิได้เป็นเนื้อเดียวกัน แต่แยกออกเป็นหลายกลุ่มมาก) ยอมรับว่า จะต้องประคองตัวอยู่ท่ามกลางพลังสองชนิด คือพลังของอำนาจดิบอันมี พ.ร.บ.ฉุกเฉินและกองทัพเป็นฐาน กับพลังการเคลื่อนไหวทางการเมืองของประชาชน (ซึ่งมักเรียกกันว่า "ประชาธิปไตย") ระหว่างพลังทั้งสองนี้ ยังไม่มีฝ่ายใดล้มอีกฝ่ายหนึ่งได้อย่างราบคาบ จะประคองโครงสร้างอำนาจทางการเมืองในปัจจุบันให้อยู่รอดต่อไปได้ก็ต้องสร้าง สมดุลให้ดีระหว่างอำนาจทั้งสอง

แต่เรื่องนี้พูดง่ายทำยาก เพราะสังคมไทยไม่ได้หยุดนิ่งกับที่ หากเปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา และเปลี่ยนเร็วในบางมิติด้วย จนบางครั้งอำนาจที่อยู่เบื้องหน้าและเบื้องหลังเวลานี้คาดไปไม่ถึง

เช่นการชุมนุมของชาวเสื้อแดงในวันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน ดังที่กล่าวมา เป็นต้น

การตัดสินใจใช้กำลังทหารเข้าสลายการชุมนุมอย่างเหี้ยมโหดในเดือนพฤษภาคม ตามมาด้วยการไล่ล่าและปิดปากกลุ่มเสื้อแดง คือการใช้พลังของอำนาจดิบเพื่อลดทอนกำลังของพลัง "ประชาธิปไตย"ลง ด้วยความหวังว่าอำนาจที่ไม่ถูกตรวจสอบในช่วงนี้จะสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ ผู้ถืออำนาจพอที่จะเผชิญกับการเลือกตั้ง และการกลับมาของบรรยากาศประชาธิปไตยได้ใหม่ สมดุลก็จะกลับมาเอง

แต่ผู้คนจำนวนมากที่เข้าร่วมชุมนุม โดยไม่มีการจัดตั้งกันอย่างรัดกุมนัก บวกกับท่าทีที่ไม่เป็นมิตรของผู้คนในภาคเหนือ-อีสาน ทำให้ไม่อาจแน่ใจได้ว่า การเลือกตั้งจะส่งนักการเมืองกลุ่มเก่ากลับคืนสู่ตำแหน่งได้อีก ไม่ว่าการเลือกตั้งจะมาเมื่อไร จากนี้ไปจนถึงปลายปีหน้า

อันที่จริง พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้เป็นเครื่องมือทางการเมืองที่ขาดไม่ได้ของชนชั้นนำไทย ว่ากันไปแล้วโครงสร้างอำนาจเคยดำรงรักษาตนเองไว้ได้อย่างราบรื่นภายใต้ รัฐบาลหลายแบบ และพรรคการเมืองที่เป็นแกนกลางจัดตั้งรัฐบาลได้หลายพรรค พรรคการเมืองต่างๆ นั้นก็หาใช่ใครที่ไหน แต่เป็นสมาชิกในกลุ่มชนชั้นนำด้วยกันเอง พรรค ทรท.เองก็เป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นนำ เพียงแต่เป็นกลุ่มของชนชั้นนำที่กำลังจะใช้ความสำเร็จทางการเมืองไปรวบอำนาจ ทั้งหมดไว้ภายใต้การนำของตนแต่ผู้เดียว ผิดกติกาของการต่อรองอำนาจในหมู่ชนชั้นนำไทย ซึ่งมีความยืดหยุ่นสูง และไม่มีกลุ่มใดได้อำนาจนำไปอย่างเด็ดขาด แม้แต่กลุ่มที่มีโอกาสสร้างเครือข่ายได้กว้างขวางก็ยังต้องยืดหยุ่นให้แก่ กลุ่มอื่นบ้างเป็นครั้งคราว

พรรคทายาทของ ทรท.ต่างหากที่เป็นปัญหามากกว่า ไม่ใช่เพราะกลุ่มนี้เป็นคนหน้าใหม่จากที่อื่นและปราศจากโครงข่ายโยงใยกับชน ชั้นนำกลุ่มอื่นเสียเลย(คุณสมัคร, คุณสมชาย, คุณยงยุทธ, คุณปลอดประสพ, พลเอกชวลิต ฯลฯ เป็นใคร? ก็คนหน้าเก่าในแวดวงทั้งนั้นไม่ใช่หรือ?) แต่เพราะความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมต่างหาก ที่ทำให้พรรคทายาทต้องไปเกาะเกี่ยวกับฐานมวลชน

ทั้งๆ ที่พรรคเหล่านี้หาได้มีความพร้อมจะเล่นการเมืองที่มีฐานมวลชนแม้แต่น้อย

และเพราะไปเกาะเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวที่มีฐานมวลชน ทำให้พรรคทายาททั้งหลาย โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย ไม่อาจยืดหยุ่นในการต่อรองกับชนชั้นนำกลุ่มอื่นได้ ดังเช่นที่พรรคการเมืองไทยมักทำได้เสมอมา ยิ่งพรรคเพื่อไทยขาดการนำที่ชัดเจนก็ยิ่งทำให้ยากที่จะผนวกพรรคเพื่อไทยเข้า มาในโครงสร้างอำนาจของชนชั้นนำ และด้วยเหตุดังนั้นหากพรรคเพื่อไทยสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ก็อาจกระทบกระเทือนต่อโครงสร้างอำนาจได้มาก

ทุกกลุ่มชนชั้นนำ เวลานี้ ดูเหมือนได้ตัดสินใจไปแล้วว่า อย่างไรเสียพรรคเพื่อไทยก็จะเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ อย่างน้อยก็ในช่วงเวลาอันใกล้นี้

ผบ.ทบ.คนใหม่ซึ่งสามารถอยู่ ในตำแหน่งได้ต่อเนื่องถึง 4 ปี คงจะหวั่นไหวต่อการมี รมว.กลาโหมที่ไม่ได้เป็นมิตรต่อตน อย่าลืมว่าการปราบปรามประชาชนในเดือนพฤษภาคมจนมีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก นั้น ยังไม่มีการสืบสวนสอบสวนอย่างจริงจังและเที่ยงธรรมใดๆ แม้นายทหารผู้สั่งการอาจไม่ต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย เพราะกระทำอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ฉุกเฉินแต่ยังมีความรับผิดชอบทางการเมืองและสังคมซึ่งไม่มีกฎหมายใดๆ คุ้มครอง ด้วยการยกเหตุเพียงเท่านี้ก็สามารถ "แขวน" ผบ.ทบ.เสียได้ไม่ยากนัก

สายที่วางกันเอาไว้ตลอดเส้นในกองทัพจะขาดรุ่งริ่งอย่างไร กองทัพทั้งกองทัพนั่นแหละที่ไม่อาจรับพรรคเพื่อไทยเป็นแกนกลางจัดตั้งรัฐบาล ได้

นักการเมืองในพรรคเพื่อไทยรู้จักการเมืองไทยดีพอที่ทำให้ ไม่อยากไปยุ่งกับกองทัพ แต่พรรคเพื่อไทยจะมีทางเลือกอื่นหรือ มวลชนจำนวนมากที่เผชิญการปราบปรามอย่างเหี้ยมโหดจะยอมให้พรรคเพื่อไทยขาย ทิ้งกระนั้นหรือ

ฉะนั้นถึงอย่างไรพรรคเพื่อไทยก็ต้องเข้ามาจัดการกับกองทัพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ปีกว่าในตำแหน่ง ไม่ได้ทำให้โอกาสทางการเมืองของประชาธิปัตย์ดีขึ้นมากนัก แม้เศรษฐกิจของทุนระดับใหญ่ (ซึ่งที่จริงแล้วก็เป็นของต่างชาติเสียมากมาย) ส่งสัญญาณเงยหัวเพราะการส่งออกที่ดีขึ้น แต่เงินไม่ได้กระจายไปถึงผู้คนมากนักนอกจากข้าราชการซึ่งจะได้ปรับเงินเดือน ยิ่งกว่านี้ความแตกร้าวในสังคมยิ่งหนักมากขึ้น โดยไม่มีทีท่าว่าจะบรรเทาเบาบางลงแต่อย่างใด คาถาล้มเจ้านั้นปลุกไม่ขึ้น ทำให้ต้องใช้มาตรการปิดหูปิดปากประชาชนอย่างหนาแน่นเหมือนเดิม (ทั้งโดยเปิดเผยและโดยลับ) ทำให้ประชาชนที่เชิดชูเจ้าพลอยเดือดร้อนไปด้วยและเริ่มวิตกว่าการนำเอา สถาบันพระมหากษัตริย์มาใช้ประโยชน์ทางการเมืองเช่นนี้ ผลเสียย่อมตกอยู่แก่ตัวสถาบันเองมากกว่า

นายทุนเดือดร้อนกับ การชะลอตัวของการลงทุนเพราะนโยบายที่ไม่ชัดเจน และบรรยากาศทางการเมืองที่ไม่สงบ นับวันก็เห็นได้ชัดขึ้นว่าไม่สามารถฝากผลประโยชน์และอนาคตของตนไว้กับพรรค ประชาธิปัตย์ได้

ฝ่ายนิยมเจ้าอย่างสุดขั้วมองเห็นแต่ความอ่อนแอของประชาธิปัตย์ เพราะไม่อาจปิดกั้นเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างได้ผล ไม่ว่าในทางเทคโนโลยีหรือในทางกฎหมาย (หรือนอกกฎหมาย)

ท่ามกลางสภาวการณ์เช่นนี้ นักการเมืองประชาธิปัตย์ก็รู้ดีว่าไม่ว่าพรรคจะถูกยุบหรือไม่ หากหลุดจากรัฐบาลในครั้งนี้ โอกาสที่จะกลับมาเป็นรัฐบาลผ่านการเลือกตั้งอีกคงริบหรี่ไปอีกนาน

ควรกล่าวด้วยว่า ในท่ามกลางอนาคตที่ดูไม่ราบเรียบของชนชั้นนำนี้ ชนชั้นนำก็แตกแยกกันเองอย่างหนักด้วย ตามปกติชนชั้นนำก็ประกอบขึ้นจากหลายกลุ่มอยู่แล้ว แต่เวลานี้แม้ในกลุ่มเดียวกันก็แตกแยกกันอย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็นในกองทัพ, ฝ่ายนิยมเจ้า,ตำรวจ, นักการเมืองในพรรคร่วมรัฐบาล, นักวิชาการ,คนในวงการตุลาการ ฯลฯ จึงยิ่งทำให้ชนชั้นนำไทยในขณะนี้ไม่พร้อมจะผนึกกำลังกันเข้ามาต่อรองความ เปลี่ยนแปลงของสังคมได้ดีนัก

และนี่คือที่มาของข่าวการรัฐประหาร

เพราะดูเหมือนเป็นคำตอบเดียวที่ชนชั้นนำบางกลุ่มมีอยู่ในกระเป๋า เพราะไปคิดว่ารัฐประหารจะนำมาซึ่งการแก้ปัญหาทุกอย่าง นับตั้งแต่ความแตกร้าวภายในของชนชั้นนำเอง, การดำเนินนโยบายที่ทันท่วงทีต่อความเปลี่ยนแปลงภายในและภายนอก,ฟื้นฟูสมดุล ทางการเมืองระหว่างพลังดิบและพลัง"ประชาธิปไตย" กลับคืนมาได้อย่างมั่นคง, ให้อำนาจที่ค่อนข้างเด็ดขาดมากขึ้นแก่ชนชั้นนำที่จะประคับประคองการเปลี่ยน ผ่านของสถาบันทางการเมืองและวัฒนธรรมทุกสถาบัน ฯลฯ

รัฐประหารอาจเคยทำอย่างนั้นได้สำเร็จ แต่รัฐประหารครั้งสุดท้ายทำไม่สำเร็จ ไม่ใช่เพราะตัวบุคคลที่เข้ามาเป็นรัฐบาล เท่ากับว่าสังคมไทยได้เปลี่ยนไปแล้ว รัฐประหารไม่สามารถผนวกพลังใหม่ของประชาชนระดับล่างให้เข้ามาร่วมอยู่บนเวที การเมืองอย่างเสมอภาคได้ รัฐประหารทำให้เกิดความแตกร้าวในสังคมหนักขึ้น รัฐประหารทำให้ชนชั้นนำที่เคยอยู่แต่เบื้องหลังถูกดึงมาร่วมในการปะทะขัด แย้งกันเบื้องหน้ารัฐประหารไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจจำเริญมากขึ้น หรือการแบ่งปันทรัพย์สินดีขึ้น ฯลฯ

รัฐประหารครั้งใหม่ก็จะให้ ผลอย่างเดียวกัน และอาจเลวร้ายกว่า เช่นความแตกร้าวในกองทัพซึ่งแสดงออกให้เห็นได้แต่เพียงระเบิดไม่กี่ลูก ก็จะกลายเป็นระเบิดกันทุกวัน และวันละหลายครั้ง อำนาจรัฐอาจไม่ถูกท้าทายที่ราชประสงค์ แต่อาจถูกท้าทายไปทั่วทุกตารางนิ้วของประเทศ ฉะนั้นแม้ไม่มีศาลากลางใดถูกเผา แต่ศาลากลางอาจกลายเป็นศาลาวัด คือไม่มีอำนาจเหลือให้ทำอะไรได้สักอย่างเดียว พลังใดจะแพ้หรือชนะเดาไม่ถูก แต่จะไม่เหลือระเบียบทางการเมืองและสังคมใดๆ ไว้ให้ใครนำมาปะติดปะต่อกลับขึ้นมาใหม่ได้อีกเลย

ฉะนั้น ถ้าคิดผิด ก็คิดใหม่ได้ เพราะรถถังยังไม่ได้เติมน้ำมัน

รัฐประหาร = อัตวินิบาตกรรม

นิธิ เอียวศรีวงศ์
มติชน วันที่ 27 กันยายน 2553

การชุมนุม "ฟ้องฟ้า" ของคุณสมบัติ บุญงามอนงค์ ที่สี่แยกราชประสงค์ เป็นเรื่องที่น่าสำเหนียกแก่กลุ่มชนชั้นนำที่ร่วมกันชักใยการเมืองไทยอยู่ใน เวลานี้

จำนวนของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากเกินคาดของทุกฝ่าย แม้แต่ของผู้จัดการชุมนุมเอง การจราจรถูกปิดไป "โดยปริยาย" โดยไม่มีใครเจตนา แต่เกิดขึ้นจากจำนวนคนที่เข้าร่วมมากเกินคาด
คุณฌอน บุญประคอง ซึ่งทำหน้าที่เหมือนเป็นโฆษกยืนยันว่า คนจำนวนมากเข้าร่วมการชุมนุมโดยสมัครใจและเกิดขึ้นอย่างไม่ได้วางแผนมาก่อน ทั้งไม่ได้รับการสนับสนุนใดๆ ทั้งทางลับหรือเปิดเผยจากคุณทักษิณ ชินวัตร โดยสิ้นเชิง คุณฌอนประเมินว่าเกือบทั้งหมดของผู้ชุมนุมคือคนชั้นกลางในกรุงเทพฯภาพข่าวใน ทีวีและหน้าหนังสือพิมพ์ดูจะส่อไปในทางเดียวกับการประเมินของคุณฌอน คำให้การของผู้เข้าร่วมชุมนุมคนอื่นก็ตรงกัน

ทั้งหมดนี้เกิด ขึ้นท่ามกลางการใช้ พ.ร.บ.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่รัฐบาลได้ตัดสินใจมาแต่ต้นแล้วว่า จะปล่อยให้มีการทำกิจกรรมทางการเมืองที่ "ไม่นำไปสู่การจลาจล หรือการละเมิดกฎหมาย" แปลว่า จะใช้อำนาจตามตัวอักษรในพ.ร.บ.หรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่ากิจกรรมทางการเมืองนั้นอยู่ในวิสัยที่ผู้มีอำนาจ "คุม" อยู่หรือไม่ หรือพูดให้ชัดกว่านั้นคือสะเทือนอำนาจของตนเองมากน้อยเพียงไร

ท่าทีอย่างนี้ สะท้อนให้เห็นว่า ในบรรดาผู้ถืออำนาจของบ้านเมืองทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังในเวลานี้ (อันมิได้เป็นเนื้อเดียวกัน แต่แยกออกเป็นหลายกลุ่มมาก) ยอมรับว่า จะต้องประคองตัวอยู่ท่ามกลางพลังสองชนิด คือพลังของอำนาจดิบอันมี พ.ร.บ.ฉุกเฉินและกองทัพเป็นฐาน กับพลังการเคลื่อนไหวทางการเมืองของประชาชน (ซึ่งมักเรียกกันว่า "ประชาธิปไตย") ระหว่างพลังทั้งสองนี้ ยังไม่มีฝ่ายใดล้มอีกฝ่ายหนึ่งได้อย่างราบคาบ จะประคองโครงสร้างอำนาจทางการเมืองในปัจจุบันให้อยู่รอดต่อไปได้ก็ต้องสร้าง สมดุลให้ดีระหว่างอำนาจทั้งสอง

แต่เรื่องนี้พูดง่ายทำยาก เพราะสังคมไทยไม่ได้หยุดนิ่งกับที่ หากเปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา และเปลี่ยนเร็วในบางมิติด้วย จนบางครั้งอำนาจที่อยู่เบื้องหน้าและเบื้องหลังเวลานี้คาดไปไม่ถึง

เช่นการชุมนุมของชาวเสื้อแดงในวันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน ดังที่กล่าวมา เป็นต้น

การตัดสินใจใช้กำลังทหารเข้าสลายการชุมนุมอย่างเหี้ยมโหดในเดือนพฤษภาคม ตามมาด้วยการไล่ล่าและปิดปากกลุ่มเสื้อแดง คือการใช้พลังของอำนาจดิบเพื่อลดทอนกำลังของพลัง "ประชาธิปไตย"ลง ด้วยความหวังว่าอำนาจที่ไม่ถูกตรวจสอบในช่วงนี้จะสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ ผู้ถืออำนาจพอที่จะเผชิญกับการเลือกตั้ง และการกลับมาของบรรยากาศประชาธิปไตยได้ใหม่ สมดุลก็จะกลับมาเอง

แต่ผู้คนจำนวนมากที่เข้าร่วมชุมนุม โดยไม่มีการจัดตั้งกันอย่างรัดกุมนัก บวกกับท่าทีที่ไม่เป็นมิตรของผู้คนในภาคเหนือ-อีสาน ทำให้ไม่อาจแน่ใจได้ว่า การเลือกตั้งจะส่งนักการเมืองกลุ่มเก่ากลับคืนสู่ตำแหน่งได้อีก ไม่ว่าการเลือกตั้งจะมาเมื่อไร จากนี้ไปจนถึงปลายปีหน้า

อันที่จริง พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้เป็นเครื่องมือทางการเมืองที่ขาดไม่ได้ของชนชั้นนำไทย ว่ากันไปแล้วโครงสร้างอำนาจเคยดำรงรักษาตนเองไว้ได้อย่างราบรื่นภายใต้ รัฐบาลหลายแบบ และพรรคการเมืองที่เป็นแกนกลางจัดตั้งรัฐบาลได้หลายพรรค พรรคการเมืองต่างๆ นั้นก็หาใช่ใครที่ไหน แต่เป็นสมาชิกในกลุ่มชนชั้นนำด้วยกันเอง พรรค ทรท.เองก็เป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นนำ เพียงแต่เป็นกลุ่มของชนชั้นนำที่กำลังจะใช้ความสำเร็จทางการเมืองไปรวบอำนาจ ทั้งหมดไว้ภายใต้การนำของตนแต่ผู้เดียว ผิดกติกาของการต่อรองอำนาจในหมู่ชนชั้นนำไทย ซึ่งมีความยืดหยุ่นสูง และไม่มีกลุ่มใดได้อำนาจนำไปอย่างเด็ดขาด แม้แต่กลุ่มที่มีโอกาสสร้างเครือข่ายได้กว้างขวางก็ยังต้องยืดหยุ่นให้แก่ กลุ่มอื่นบ้างเป็นครั้งคราว

พรรคทายาทของ ทรท.ต่างหากที่เป็นปัญหามากกว่า ไม่ใช่เพราะกลุ่มนี้เป็นคนหน้าใหม่จากที่อื่นและปราศจากโครงข่ายโยงใยกับชน ชั้นนำกลุ่มอื่นเสียเลย(คุณสมัคร, คุณสมชาย, คุณยงยุทธ, คุณปลอดประสพ, พลเอกชวลิต ฯลฯ เป็นใคร? ก็คนหน้าเก่าในแวดวงทั้งนั้นไม่ใช่หรือ?) แต่เพราะความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมต่างหาก ที่ทำให้พรรคทายาทต้องไปเกาะเกี่ยวกับฐานมวลชน

ทั้งๆ ที่พรรคเหล่านี้หาได้มีความพร้อมจะเล่นการเมืองที่มีฐานมวลชนแม้แต่น้อย

และเพราะไปเกาะเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวที่มีฐานมวลชน ทำให้พรรคทายาททั้งหลาย โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย ไม่อาจยืดหยุ่นในการต่อรองกับชนชั้นนำกลุ่มอื่นได้ ดังเช่นที่พรรคการเมืองไทยมักทำได้เสมอมา ยิ่งพรรคเพื่อไทยขาดการนำที่ชัดเจนก็ยิ่งทำให้ยากที่จะผนวกพรรคเพื่อไทยเข้า มาในโครงสร้างอำนาจของชนชั้นนำ และด้วยเหตุดังนั้นหากพรรคเพื่อไทยสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ก็อาจกระทบกระเทือนต่อโครงสร้างอำนาจได้มาก

ทุกกลุ่มชนชั้นนำ เวลานี้ ดูเหมือนได้ตัดสินใจไปแล้วว่า อย่างไรเสียพรรคเพื่อไทยก็จะเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ อย่างน้อยก็ในช่วงเวลาอันใกล้นี้

ผบ.ทบ.คนใหม่ซึ่งสามารถอยู่ ในตำแหน่งได้ต่อเนื่องถึง 4 ปี คงจะหวั่นไหวต่อการมี รมว.กลาโหมที่ไม่ได้เป็นมิตรต่อตน อย่าลืมว่าการปราบปรามประชาชนในเดือนพฤษภาคมจนมีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก นั้น ยังไม่มีการสืบสวนสอบสวนอย่างจริงจังและเที่ยงธรรมใดๆ แม้นายทหารผู้สั่งการอาจไม่ต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย เพราะกระทำอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ฉุกเฉินแต่ยังมีความรับผิดชอบทางการเมืองและสังคมซึ่งไม่มีกฎหมายใดๆ คุ้มครอง ด้วยการยกเหตุเพียงเท่านี้ก็สามารถ "แขวน" ผบ.ทบ.เสียได้ไม่ยากนัก

สายที่วางกันเอาไว้ตลอดเส้นในกองทัพจะขาดรุ่งริ่งอย่างไร กองทัพทั้งกองทัพนั่นแหละที่ไม่อาจรับพรรคเพื่อไทยเป็นแกนกลางจัดตั้งรัฐบาล ได้

นักการเมืองในพรรคเพื่อไทยรู้จักการเมืองไทยดีพอที่ทำให้ ไม่อยากไปยุ่งกับกองทัพ แต่พรรคเพื่อไทยจะมีทางเลือกอื่นหรือ มวลชนจำนวนมากที่เผชิญการปราบปรามอย่างเหี้ยมโหดจะยอมให้พรรคเพื่อไทยขาย ทิ้งกระนั้นหรือ

ฉะนั้นถึงอย่างไรพรรคเพื่อไทยก็ต้องเข้ามาจัดการกับกองทัพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ปีกว่าในตำแหน่ง ไม่ได้ทำให้โอกาสทางการเมืองของประชาธิปัตย์ดีขึ้นมากนัก แม้เศรษฐกิจของทุนระดับใหญ่ (ซึ่งที่จริงแล้วก็เป็นของต่างชาติเสียมากมาย) ส่งสัญญาณเงยหัวเพราะการส่งออกที่ดีขึ้น แต่เงินไม่ได้กระจายไปถึงผู้คนมากนักนอกจากข้าราชการซึ่งจะได้ปรับเงินเดือน ยิ่งกว่านี้ความแตกร้าวในสังคมยิ่งหนักมากขึ้น โดยไม่มีทีท่าว่าจะบรรเทาเบาบางลงแต่อย่างใด คาถาล้มเจ้านั้นปลุกไม่ขึ้น ทำให้ต้องใช้มาตรการปิดหูปิดปากประชาชนอย่างหนาแน่นเหมือนเดิม (ทั้งโดยเปิดเผยและโดยลับ) ทำให้ประชาชนที่เชิดชูเจ้าพลอยเดือดร้อนไปด้วยและเริ่มวิตกว่าการนำเอา สถาบันพระมหากษัตริย์มาใช้ประโยชน์ทางการเมืองเช่นนี้ ผลเสียย่อมตกอยู่แก่ตัวสถาบันเองมากกว่า

นายทุนเดือดร้อนกับ การชะลอตัวของการลงทุนเพราะนโยบายที่ไม่ชัดเจน และบรรยากาศทางการเมืองที่ไม่สงบ นับวันก็เห็นได้ชัดขึ้นว่าไม่สามารถฝากผลประโยชน์และอนาคตของตนไว้กับพรรค ประชาธิปัตย์ได้

ฝ่ายนิยมเจ้าอย่างสุดขั้วมองเห็นแต่ความอ่อนแอของประชาธิปัตย์ เพราะไม่อาจปิดกั้นเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างได้ผล ไม่ว่าในทางเทคโนโลยีหรือในทางกฎหมาย (หรือนอกกฎหมาย)

ท่ามกลางสภาวการณ์เช่นนี้ นักการเมืองประชาธิปัตย์ก็รู้ดีว่าไม่ว่าพรรคจะถูกยุบหรือไม่ หากหลุดจากรัฐบาลในครั้งนี้ โอกาสที่จะกลับมาเป็นรัฐบาลผ่านการเลือกตั้งอีกคงริบหรี่ไปอีกนาน

ควรกล่าวด้วยว่า ในท่ามกลางอนาคตที่ดูไม่ราบเรียบของชนชั้นนำนี้ ชนชั้นนำก็แตกแยกกันเองอย่างหนักด้วย ตามปกติชนชั้นนำก็ประกอบขึ้นจากหลายกลุ่มอยู่แล้ว แต่เวลานี้แม้ในกลุ่มเดียวกันก็แตกแยกกันอย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็นในกองทัพ, ฝ่ายนิยมเจ้า,ตำรวจ, นักการเมืองในพรรคร่วมรัฐบาล, นักวิชาการ,คนในวงการตุลาการ ฯลฯ จึงยิ่งทำให้ชนชั้นนำไทยในขณะนี้ไม่พร้อมจะผนึกกำลังกันเข้ามาต่อรองความ เปลี่ยนแปลงของสังคมได้ดีนัก

และนี่คือที่มาของข่าวการรัฐประหาร

เพราะดูเหมือนเป็นคำตอบเดียวที่ชนชั้นนำบางกลุ่มมีอยู่ในกระเป๋า เพราะไปคิดว่ารัฐประหารจะนำมาซึ่งการแก้ปัญหาทุกอย่าง นับตั้งแต่ความแตกร้าวภายในของชนชั้นนำเอง, การดำเนินนโยบายที่ทันท่วงทีต่อความเปลี่ยนแปลงภายในและภายนอก,ฟื้นฟูสมดุล ทางการเมืองระหว่างพลังดิบและพลัง"ประชาธิปไตย" กลับคืนมาได้อย่างมั่นคง, ให้อำนาจที่ค่อนข้างเด็ดขาดมากขึ้นแก่ชนชั้นนำที่จะประคับประคองการเปลี่ยน ผ่านของสถาบันทางการเมืองและวัฒนธรรมทุกสถาบัน ฯลฯ

รัฐประหารอาจเคยทำอย่างนั้นได้สำเร็จ แต่รัฐประหารครั้งสุดท้ายทำไม่สำเร็จ ไม่ใช่เพราะตัวบุคคลที่เข้ามาเป็นรัฐบาล เท่ากับว่าสังคมไทยได้เปลี่ยนไปแล้ว รัฐประหารไม่สามารถผนวกพลังใหม่ของประชาชนระดับล่างให้เข้ามาร่วมอยู่บนเวที การเมืองอย่างเสมอภาคได้ รัฐประหารทำให้เกิดความแตกร้าวในสังคมหนักขึ้น รัฐประหารทำให้ชนชั้นนำที่เคยอยู่แต่เบื้องหลังถูกดึงมาร่วมในการปะทะขัด แย้งกันเบื้องหน้ารัฐประหารไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจจำเริญมากขึ้น หรือการแบ่งปันทรัพย์สินดีขึ้น ฯลฯ

รัฐประหารครั้งใหม่ก็จะให้ ผลอย่างเดียวกัน และอาจเลวร้ายกว่า เช่นความแตกร้าวในกองทัพซึ่งแสดงออกให้เห็นได้แต่เพียงระเบิดไม่กี่ลูก ก็จะกลายเป็นระเบิดกันทุกวัน และวันละหลายครั้ง อำนาจรัฐอาจไม่ถูกท้าทายที่ราชประสงค์ แต่อาจถูกท้าทายไปทั่วทุกตารางนิ้วของประเทศ ฉะนั้นแม้ไม่มีศาลากลางใดถูกเผา แต่ศาลากลางอาจกลายเป็นศาลาวัด คือไม่มีอำนาจเหลือให้ทำอะไรได้สักอย่างเดียว พลังใดจะแพ้หรือชนะเดาไม่ถูก แต่จะไม่เหลือระเบียบทางการเมืองและสังคมใดๆ ไว้ให้ใครนำมาปะติดปะต่อกลับขึ้นมาใหม่ได้อีกเลย

ฉะนั้น ถ้าคิดผิด ก็คิดใหม่ได้ เพราะรถถังยังไม่ได้เติมน้ำมัน

รัฐประหาร = อัตวินิบาตกรรม

นิธิ เอียวศรีวงศ์
มติชน วันที่ 27 กันยายน 2553

การชุมนุม "ฟ้องฟ้า" ของคุณสมบัติ บุญงามอนงค์ ที่สี่แยกราชประสงค์ เป็นเรื่องที่น่าสำเหนียกแก่กลุ่มชนชั้นนำที่ร่วมกันชักใยการเมืองไทยอยู่ใน เวลานี้

จำนวนของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากเกินคาดของทุกฝ่าย แม้แต่ของผู้จัดการชุมนุมเอง การจราจรถูกปิดไป "โดยปริยาย" โดยไม่มีใครเจตนา แต่เกิดขึ้นจากจำนวนคนที่เข้าร่วมมากเกินคาด
คุณฌอน บุญประคอง ซึ่งทำหน้าที่เหมือนเป็นโฆษกยืนยันว่า คนจำนวนมากเข้าร่วมการชุมนุมโดยสมัครใจและเกิดขึ้นอย่างไม่ได้วางแผนมาก่อน ทั้งไม่ได้รับการสนับสนุนใดๆ ทั้งทางลับหรือเปิดเผยจากคุณทักษิณ ชินวัตร โดยสิ้นเชิง คุณฌอนประเมินว่าเกือบทั้งหมดของผู้ชุมนุมคือคนชั้นกลางในกรุงเทพฯภาพข่าวใน ทีวีและหน้าหนังสือพิมพ์ดูจะส่อไปในทางเดียวกับการประเมินของคุณฌอน คำให้การของผู้เข้าร่วมชุมนุมคนอื่นก็ตรงกัน

ทั้งหมดนี้เกิด ขึ้นท่ามกลางการใช้ พ.ร.บ.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่รัฐบาลได้ตัดสินใจมาแต่ต้นแล้วว่า จะปล่อยให้มีการทำกิจกรรมทางการเมืองที่ "ไม่นำไปสู่การจลาจล หรือการละเมิดกฎหมาย" แปลว่า จะใช้อำนาจตามตัวอักษรในพ.ร.บ.หรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่ากิจกรรมทางการเมืองนั้นอยู่ในวิสัยที่ผู้มีอำนาจ "คุม" อยู่หรือไม่ หรือพูดให้ชัดกว่านั้นคือสะเทือนอำนาจของตนเองมากน้อยเพียงไร

ท่าทีอย่างนี้ สะท้อนให้เห็นว่า ในบรรดาผู้ถืออำนาจของบ้านเมืองทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังในเวลานี้ (อันมิได้เป็นเนื้อเดียวกัน แต่แยกออกเป็นหลายกลุ่มมาก) ยอมรับว่า จะต้องประคองตัวอยู่ท่ามกลางพลังสองชนิด คือพลังของอำนาจดิบอันมี พ.ร.บ.ฉุกเฉินและกองทัพเป็นฐาน กับพลังการเคลื่อนไหวทางการเมืองของประชาชน (ซึ่งมักเรียกกันว่า "ประชาธิปไตย") ระหว่างพลังทั้งสองนี้ ยังไม่มีฝ่ายใดล้มอีกฝ่ายหนึ่งได้อย่างราบคาบ จะประคองโครงสร้างอำนาจทางการเมืองในปัจจุบันให้อยู่รอดต่อไปได้ก็ต้องสร้าง สมดุลให้ดีระหว่างอำนาจทั้งสอง

แต่เรื่องนี้พูดง่ายทำยาก เพราะสังคมไทยไม่ได้หยุดนิ่งกับที่ หากเปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา และเปลี่ยนเร็วในบางมิติด้วย จนบางครั้งอำนาจที่อยู่เบื้องหน้าและเบื้องหลังเวลานี้คาดไปไม่ถึง

เช่นการชุมนุมของชาวเสื้อแดงในวันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน ดังที่กล่าวมา เป็นต้น

การตัดสินใจใช้กำลังทหารเข้าสลายการชุมนุมอย่างเหี้ยมโหดในเดือนพฤษภาคม ตามมาด้วยการไล่ล่าและปิดปากกลุ่มเสื้อแดง คือการใช้พลังของอำนาจดิบเพื่อลดทอนกำลังของพลัง "ประชาธิปไตย"ลง ด้วยความหวังว่าอำนาจที่ไม่ถูกตรวจสอบในช่วงนี้จะสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ ผู้ถืออำนาจพอที่จะเผชิญกับการเลือกตั้ง และการกลับมาของบรรยากาศประชาธิปไตยได้ใหม่ สมดุลก็จะกลับมาเอง

แต่ผู้คนจำนวนมากที่เข้าร่วมชุมนุม โดยไม่มีการจัดตั้งกันอย่างรัดกุมนัก บวกกับท่าทีที่ไม่เป็นมิตรของผู้คนในภาคเหนือ-อีสาน ทำให้ไม่อาจแน่ใจได้ว่า การเลือกตั้งจะส่งนักการเมืองกลุ่มเก่ากลับคืนสู่ตำแหน่งได้อีก ไม่ว่าการเลือกตั้งจะมาเมื่อไร จากนี้ไปจนถึงปลายปีหน้า

อันที่จริง พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้เป็นเครื่องมือทางการเมืองที่ขาดไม่ได้ของชนชั้นนำไทย ว่ากันไปแล้วโครงสร้างอำนาจเคยดำรงรักษาตนเองไว้ได้อย่างราบรื่นภายใต้ รัฐบาลหลายแบบ และพรรคการเมืองที่เป็นแกนกลางจัดตั้งรัฐบาลได้หลายพรรค พรรคการเมืองต่างๆ นั้นก็หาใช่ใครที่ไหน แต่เป็นสมาชิกในกลุ่มชนชั้นนำด้วยกันเอง พรรค ทรท.เองก็เป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นนำ เพียงแต่เป็นกลุ่มของชนชั้นนำที่กำลังจะใช้ความสำเร็จทางการเมืองไปรวบอำนาจ ทั้งหมดไว้ภายใต้การนำของตนแต่ผู้เดียว ผิดกติกาของการต่อรองอำนาจในหมู่ชนชั้นนำไทย ซึ่งมีความยืดหยุ่นสูง และไม่มีกลุ่มใดได้อำนาจนำไปอย่างเด็ดขาด แม้แต่กลุ่มที่มีโอกาสสร้างเครือข่ายได้กว้างขวางก็ยังต้องยืดหยุ่นให้แก่ กลุ่มอื่นบ้างเป็นครั้งคราว

พรรคทายาทของ ทรท.ต่างหากที่เป็นปัญหามากกว่า ไม่ใช่เพราะกลุ่มนี้เป็นคนหน้าใหม่จากที่อื่นและปราศจากโครงข่ายโยงใยกับชน ชั้นนำกลุ่มอื่นเสียเลย(คุณสมัคร, คุณสมชาย, คุณยงยุทธ, คุณปลอดประสพ, พลเอกชวลิต ฯลฯ เป็นใคร? ก็คนหน้าเก่าในแวดวงทั้งนั้นไม่ใช่หรือ?) แต่เพราะความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมต่างหาก ที่ทำให้พรรคทายาทต้องไปเกาะเกี่ยวกับฐานมวลชน

ทั้งๆ ที่พรรคเหล่านี้หาได้มีความพร้อมจะเล่นการเมืองที่มีฐานมวลชนแม้แต่น้อย

และเพราะไปเกาะเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวที่มีฐานมวลชน ทำให้พรรคทายาททั้งหลาย โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย ไม่อาจยืดหยุ่นในการต่อรองกับชนชั้นนำกลุ่มอื่นได้ ดังเช่นที่พรรคการเมืองไทยมักทำได้เสมอมา ยิ่งพรรคเพื่อไทยขาดการนำที่ชัดเจนก็ยิ่งทำให้ยากที่จะผนวกพรรคเพื่อไทยเข้า มาในโครงสร้างอำนาจของชนชั้นนำ และด้วยเหตุดังนั้นหากพรรคเพื่อไทยสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ก็อาจกระทบกระเทือนต่อโครงสร้างอำนาจได้มาก

ทุกกลุ่มชนชั้นนำ เวลานี้ ดูเหมือนได้ตัดสินใจไปแล้วว่า อย่างไรเสียพรรคเพื่อไทยก็จะเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ อย่างน้อยก็ในช่วงเวลาอันใกล้นี้

ผบ.ทบ.คนใหม่ซึ่งสามารถอยู่ ในตำแหน่งได้ต่อเนื่องถึง 4 ปี คงจะหวั่นไหวต่อการมี รมว.กลาโหมที่ไม่ได้เป็นมิตรต่อตน อย่าลืมว่าการปราบปรามประชาชนในเดือนพฤษภาคมจนมีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก นั้น ยังไม่มีการสืบสวนสอบสวนอย่างจริงจังและเที่ยงธรรมใดๆ แม้นายทหารผู้สั่งการอาจไม่ต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย เพราะกระทำอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ฉุกเฉินแต่ยังมีความรับผิดชอบทางการเมืองและสังคมซึ่งไม่มีกฎหมายใดๆ คุ้มครอง ด้วยการยกเหตุเพียงเท่านี้ก็สามารถ "แขวน" ผบ.ทบ.เสียได้ไม่ยากนัก

สายที่วางกันเอาไว้ตลอดเส้นในกองทัพจะขาดรุ่งริ่งอย่างไร กองทัพทั้งกองทัพนั่นแหละที่ไม่อาจรับพรรคเพื่อไทยเป็นแกนกลางจัดตั้งรัฐบาล ได้

นักการเมืองในพรรคเพื่อไทยรู้จักการเมืองไทยดีพอที่ทำให้ ไม่อยากไปยุ่งกับกองทัพ แต่พรรคเพื่อไทยจะมีทางเลือกอื่นหรือ มวลชนจำนวนมากที่เผชิญการปราบปรามอย่างเหี้ยมโหดจะยอมให้พรรคเพื่อไทยขาย ทิ้งกระนั้นหรือ

ฉะนั้นถึงอย่างไรพรรคเพื่อไทยก็ต้องเข้ามาจัดการกับกองทัพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ปีกว่าในตำแหน่ง ไม่ได้ทำให้โอกาสทางการเมืองของประชาธิปัตย์ดีขึ้นมากนัก แม้เศรษฐกิจของทุนระดับใหญ่ (ซึ่งที่จริงแล้วก็เป็นของต่างชาติเสียมากมาย) ส่งสัญญาณเงยหัวเพราะการส่งออกที่ดีขึ้น แต่เงินไม่ได้กระจายไปถึงผู้คนมากนักนอกจากข้าราชการซึ่งจะได้ปรับเงินเดือน ยิ่งกว่านี้ความแตกร้าวในสังคมยิ่งหนักมากขึ้น โดยไม่มีทีท่าว่าจะบรรเทาเบาบางลงแต่อย่างใด คาถาล้มเจ้านั้นปลุกไม่ขึ้น ทำให้ต้องใช้มาตรการปิดหูปิดปากประชาชนอย่างหนาแน่นเหมือนเดิม (ทั้งโดยเปิดเผยและโดยลับ) ทำให้ประชาชนที่เชิดชูเจ้าพลอยเดือดร้อนไปด้วยและเริ่มวิตกว่าการนำเอา สถาบันพระมหากษัตริย์มาใช้ประโยชน์ทางการเมืองเช่นนี้ ผลเสียย่อมตกอยู่แก่ตัวสถาบันเองมากกว่า

นายทุนเดือดร้อนกับ การชะลอตัวของการลงทุนเพราะนโยบายที่ไม่ชัดเจน และบรรยากาศทางการเมืองที่ไม่สงบ นับวันก็เห็นได้ชัดขึ้นว่าไม่สามารถฝากผลประโยชน์และอนาคตของตนไว้กับพรรค ประชาธิปัตย์ได้

ฝ่ายนิยมเจ้าอย่างสุดขั้วมองเห็นแต่ความอ่อนแอของประชาธิปัตย์ เพราะไม่อาจปิดกั้นเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างได้ผล ไม่ว่าในทางเทคโนโลยีหรือในทางกฎหมาย (หรือนอกกฎหมาย)

ท่ามกลางสภาวการณ์เช่นนี้ นักการเมืองประชาธิปัตย์ก็รู้ดีว่าไม่ว่าพรรคจะถูกยุบหรือไม่ หากหลุดจากรัฐบาลในครั้งนี้ โอกาสที่จะกลับมาเป็นรัฐบาลผ่านการเลือกตั้งอีกคงริบหรี่ไปอีกนาน

ควรกล่าวด้วยว่า ในท่ามกลางอนาคตที่ดูไม่ราบเรียบของชนชั้นนำนี้ ชนชั้นนำก็แตกแยกกันเองอย่างหนักด้วย ตามปกติชนชั้นนำก็ประกอบขึ้นจากหลายกลุ่มอยู่แล้ว แต่เวลานี้แม้ในกลุ่มเดียวกันก็แตกแยกกันอย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็นในกองทัพ, ฝ่ายนิยมเจ้า,ตำรวจ, นักการเมืองในพรรคร่วมรัฐบาล, นักวิชาการ,คนในวงการตุลาการ ฯลฯ จึงยิ่งทำให้ชนชั้นนำไทยในขณะนี้ไม่พร้อมจะผนึกกำลังกันเข้ามาต่อรองความ เปลี่ยนแปลงของสังคมได้ดีนัก

และนี่คือที่มาของข่าวการรัฐประหาร

เพราะดูเหมือนเป็นคำตอบเดียวที่ชนชั้นนำบางกลุ่มมีอยู่ในกระเป๋า เพราะไปคิดว่ารัฐประหารจะนำมาซึ่งการแก้ปัญหาทุกอย่าง นับตั้งแต่ความแตกร้าวภายในของชนชั้นนำเอง, การดำเนินนโยบายที่ทันท่วงทีต่อความเปลี่ยนแปลงภายในและภายนอก,ฟื้นฟูสมดุล ทางการเมืองระหว่างพลังดิบและพลัง"ประชาธิปไตย" กลับคืนมาได้อย่างมั่นคง, ให้อำนาจที่ค่อนข้างเด็ดขาดมากขึ้นแก่ชนชั้นนำที่จะประคับประคองการเปลี่ยน ผ่านของสถาบันทางการเมืองและวัฒนธรรมทุกสถาบัน ฯลฯ

รัฐประหารอาจเคยทำอย่างนั้นได้สำเร็จ แต่รัฐประหารครั้งสุดท้ายทำไม่สำเร็จ ไม่ใช่เพราะตัวบุคคลที่เข้ามาเป็นรัฐบาล เท่ากับว่าสังคมไทยได้เปลี่ยนไปแล้ว รัฐประหารไม่สามารถผนวกพลังใหม่ของประชาชนระดับล่างให้เข้ามาร่วมอยู่บนเวที การเมืองอย่างเสมอภาคได้ รัฐประหารทำให้เกิดความแตกร้าวในสังคมหนักขึ้น รัฐประหารทำให้ชนชั้นนำที่เคยอยู่แต่เบื้องหลังถูกดึงมาร่วมในการปะทะขัด แย้งกันเบื้องหน้ารัฐประหารไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจจำเริญมากขึ้น หรือการแบ่งปันทรัพย์สินดีขึ้น ฯลฯ

รัฐประหารครั้งใหม่ก็จะให้ ผลอย่างเดียวกัน และอาจเลวร้ายกว่า เช่นความแตกร้าวในกองทัพซึ่งแสดงออกให้เห็นได้แต่เพียงระเบิดไม่กี่ลูก ก็จะกลายเป็นระเบิดกันทุกวัน และวันละหลายครั้ง อำนาจรัฐอาจไม่ถูกท้าทายที่ราชประสงค์ แต่อาจถูกท้าทายไปทั่วทุกตารางนิ้วของประเทศ ฉะนั้นแม้ไม่มีศาลากลางใดถูกเผา แต่ศาลากลางอาจกลายเป็นศาลาวัด คือไม่มีอำนาจเหลือให้ทำอะไรได้สักอย่างเดียว พลังใดจะแพ้หรือชนะเดาไม่ถูก แต่จะไม่เหลือระเบียบทางการเมืองและสังคมใดๆ ไว้ให้ใครนำมาปะติดปะต่อกลับขึ้นมาใหม่ได้อีกเลย

ฉะนั้น ถ้าคิดผิด ก็คิดใหม่ได้ เพราะรถถังยังไม่ได้เติมน้ำมัน

Wednesday, September 29, 2010

'รักเฉวงโมเดล' ต้นแบบภาคประชาชนเข้มแข็ง

โมเดลต้นแบบของภาคประชาชนเข้มแข็งแห่งแรกบนเกาะสมุย


ร่วมแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยตัวเองไม่ง้อภาครัฐ
Produced by VoiceTV

'รักเฉวงโมเดล' ต้นแบบภาคประชาชนเข้มแข็ง

โมเดลต้นแบบของภาคประชาชนเข้มแข็งแห่งแรกบนเกาะสมุย


ร่วมแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยตัวเองไม่ง้อภาครัฐ
Produced by VoiceTV

'รักเฉวงโมเดล' ต้นแบบภาคประชาชนเข้มแข็ง

โมเดลต้นแบบของภาคประชาชนเข้มแข็งแห่งแรกบนเกาะสมุย


ร่วมแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยตัวเองไม่ง้อภาครัฐ
Produced by VoiceTV

จากทุ่งนา แนวป่า สู่นาคร

ไพร่แดง

ประวัติศาสตร์ ไม่อาจจดจารวีรกรรมของวีรชนได้หมดทุกด้าน ทุกแง่มุม แต่โลกทั้งใบได้ถูกขับเคลื่อนไปสู่ความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย การสืบทอดเจตนาของผู้กล้าผ่านกาลเวลายิ่งนาน ก็ยิ่งเข้มข้น ไม่จางหาย

เดินทางไปหลายอำเภอ หลายจังหวัดได้เห็นผู้คนตื่นตัว สนใจการเมืองทุกช่วงวัย มีทั้งหนุ่มสาวจนถึงผู้สูงอายุ เป็นปรากฏการณ์ ที่ไม่เคยมีมาก่อน เป็นสัญญาณบอกว่าประชาชนหมดความอดทน อดกลั้นแล้ว กับสิ่งที่เขาได้รับ ที่เป็นการตอกย้ำความเข้าใจในสิ่งที่เขาเคยสงสัยต่อผู้ปกครอง ในการเอารัดเอาเปรียบ ความตายของพี่น้องของเขาที่ราชดำเนินและราชประสงค์ เป็นคำอธิบายบ่งบอกถึงความอำมหิต ดิบ ถ่อย ของปีศาจ และเป็นลางร้ายของเหล่าอำมาตย์เผด็จการใกล้สูญพันธุ์

ถึงวันนี้ แม้ผู้ปกครองสามารถครอบงำสื่อได้ทั้งหมด ก็ไม่สามารถปิดปากประชาชนได้ ความตายที่เกิดจากความอำมหิต ดิบ ถ่อย ได้ถูกพูดกันไป ปากต่อปาก ทั่วทั้งแผ่นดินแล้ว

ความเปลี่ยนแปลงถูกขับเคลื่อนไปอย่างไม่เคยหยุด ประวัติศาสตร์จะไม่ถูกเขียนโดยผู้ชนะเพียงฝ่ายเดียวอีกต่อไป จาก 2475 ถึง 2553 ประชาชนไม่ได้โง่ อย่างที่เหล่าอำมาตย์คิด และคนในเมืองไม่ได้ฉลาดกว่าคนบ้านนอก การตื่นตัวทางการเมืองของคนต่างจังหวัดมีมากกว่าคนกรุงเทพฯ จะเห็นได้จากการใช้สิทธิเลือกตั้ง. ผู้ที่รับราชการ ผู้ที่ประสบความสำเร็จทางการค้า กระทั่งเศรษฐีใหม่ล้วนเป็นคนมาจากต่างจังหวัดและชนบททั้งสิ้น

การหลั่งไหลของกระแสวัฒนธรรมโลกไม่ได้หยุดอยู่ที่เมืองหลวง แต่มันเคลื่อนตรงเข้าสู่ทุกหนทุกแห่งที่เปิดรับทาง internet ข้อมูลข่าวสารทุกชนิดไม่มีใครปิดกั้นได้ ความเน่าฟอนเฟะ น่าสะอิดสะเอียน น่าขยะแขยง ของคนในสังคมไหนก็ตาม จะถูกแฉจนหมดเปลือก

สื่อไหนก็ตามที่ยังทำตัวเป็นสุนัขรับใช้ เห่า หอน ตามสัญชาตญาณดิบ จะถูกปฏิเสธ

คำแก้ตัวของผู้ปกครองที่กระทำการอันโหดเหี้ยมกับประชาชน ต่อประชาคมโลกจะถูกจับตามอง
การเอารัดเอาเปรียบผลผลิตทางการเกษตรด้วยเล่ห์เหลี่ยมกลโกงของพ่อค้าที่สมคบกับข้าราชการเลวจะถูกทวงถาม

กรรมกรกับผู้ประกอบการและรัฐบาลจะต้องมีความสำคัญเท่าเทียมกัน
เงินภาษีทุกบาททุกสตางค์ที่ประชาชนเสียไปเป็นเงินเดือนข้าราชการ เป็นงบประมาณทุกรูปแบบจะถูกตรวจสอบจากภาคพลเมือง

ความเปลี่ยนแปลงกำลังเกิดขึ้นในทุกอนุภาคของสังคมในทุกเวลา ตามกระแสโลก ตามธรรมชาติ จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับขนาดของความโหดเหี้ยม อำมหิต ดิบ ถ่อย ของผู้ปกครอง เป็นตัวเร่ง

โซ่ตรวน กำลังถูกกระชากออกจากประตูที่ปิดกั้นความจริง เพื่อเผยให้เห็นความทุกข์ยาก และความยิ่งใหญ่ของประชาชน

ใบไม้แห่งวีรชน ในอดีตและปัจจุบันที่ร่วงลงดินไม่สูญเปล่า ล้วนเป็นปุ๋ยชั้นดีที่บำรุงราก ใบ และลำต้นประชาธิปไตยให้เติบใหญ่ในชนบท ในขณะที่ใบไม้ในเมืองหลวงก็เริ่มจะเหลีองตามกาลเวลา รอปลิดขั่วใบหล่นลงบนพื้นคอนกรีต หาประโยชน์อะไรไม่ได้

จากทุ่งนา แนวป่า สู่นาคร

ไพร่แดง

ประวัติศาสตร์ ไม่อาจจดจารวีรกรรมของวีรชนได้หมดทุกด้าน ทุกแง่มุม แต่โลกทั้งใบได้ถูกขับเคลื่อนไปสู่ความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย การสืบทอดเจตนาของผู้กล้าผ่านกาลเวลายิ่งนาน ก็ยิ่งเข้มข้น ไม่จางหาย

เดินทางไปหลายอำเภอ หลายจังหวัดได้เห็นผู้คนตื่นตัว สนใจการเมืองทุกช่วงวัย มีทั้งหนุ่มสาวจนถึงผู้สูงอายุ เป็นปรากฏการณ์ ที่ไม่เคยมีมาก่อน เป็นสัญญาณบอกว่าประชาชนหมดความอดทน อดกลั้นแล้ว กับสิ่งที่เขาได้รับ ที่เป็นการตอกย้ำความเข้าใจในสิ่งที่เขาเคยสงสัยต่อผู้ปกครอง ในการเอารัดเอาเปรียบ ความตายของพี่น้องของเขาที่ราชดำเนินและราชประสงค์ เป็นคำอธิบายบ่งบอกถึงความอำมหิต ดิบ ถ่อย ของปีศาจ และเป็นลางร้ายของเหล่าอำมาตย์เผด็จการใกล้สูญพันธุ์

ถึงวันนี้ แม้ผู้ปกครองสามารถครอบงำสื่อได้ทั้งหมด ก็ไม่สามารถปิดปากประชาชนได้ ความตายที่เกิดจากความอำมหิต ดิบ ถ่อย ได้ถูกพูดกันไป ปากต่อปาก ทั่วทั้งแผ่นดินแล้ว

ความเปลี่ยนแปลงถูกขับเคลื่อนไปอย่างไม่เคยหยุด ประวัติศาสตร์จะไม่ถูกเขียนโดยผู้ชนะเพียงฝ่ายเดียวอีกต่อไป จาก 2475 ถึง 2553 ประชาชนไม่ได้โง่ อย่างที่เหล่าอำมาตย์คิด และคนในเมืองไม่ได้ฉลาดกว่าคนบ้านนอก การตื่นตัวทางการเมืองของคนต่างจังหวัดมีมากกว่าคนกรุงเทพฯ จะเห็นได้จากการใช้สิทธิเลือกตั้ง. ผู้ที่รับราชการ ผู้ที่ประสบความสำเร็จทางการค้า กระทั่งเศรษฐีใหม่ล้วนเป็นคนมาจากต่างจังหวัดและชนบททั้งสิ้น

การหลั่งไหลของกระแสวัฒนธรรมโลกไม่ได้หยุดอยู่ที่เมืองหลวง แต่มันเคลื่อนตรงเข้าสู่ทุกหนทุกแห่งที่เปิดรับทาง internet ข้อมูลข่าวสารทุกชนิดไม่มีใครปิดกั้นได้ ความเน่าฟอนเฟะ น่าสะอิดสะเอียน น่าขยะแขยง ของคนในสังคมไหนก็ตาม จะถูกแฉจนหมดเปลือก

สื่อไหนก็ตามที่ยังทำตัวเป็นสุนัขรับใช้ เห่า หอน ตามสัญชาตญาณดิบ จะถูกปฏิเสธ

คำแก้ตัวของผู้ปกครองที่กระทำการอันโหดเหี้ยมกับประชาชน ต่อประชาคมโลกจะถูกจับตามอง
การเอารัดเอาเปรียบผลผลิตทางการเกษตรด้วยเล่ห์เหลี่ยมกลโกงของพ่อค้าที่สมคบกับข้าราชการเลวจะถูกทวงถาม

กรรมกรกับผู้ประกอบการและรัฐบาลจะต้องมีความสำคัญเท่าเทียมกัน
เงินภาษีทุกบาททุกสตางค์ที่ประชาชนเสียไปเป็นเงินเดือนข้าราชการ เป็นงบประมาณทุกรูปแบบจะถูกตรวจสอบจากภาคพลเมือง

ความเปลี่ยนแปลงกำลังเกิดขึ้นในทุกอนุภาคของสังคมในทุกเวลา ตามกระแสโลก ตามธรรมชาติ จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับขนาดของความโหดเหี้ยม อำมหิต ดิบ ถ่อย ของผู้ปกครอง เป็นตัวเร่ง

โซ่ตรวน กำลังถูกกระชากออกจากประตูที่ปิดกั้นความจริง เพื่อเผยให้เห็นความทุกข์ยาก และความยิ่งใหญ่ของประชาชน

ใบไม้แห่งวีรชน ในอดีตและปัจจุบันที่ร่วงลงดินไม่สูญเปล่า ล้วนเป็นปุ๋ยชั้นดีที่บำรุงราก ใบ และลำต้นประชาธิปไตยให้เติบใหญ่ในชนบท ในขณะที่ใบไม้ในเมืองหลวงก็เริ่มจะเหลีองตามกาลเวลา รอปลิดขั่วใบหล่นลงบนพื้นคอนกรีต หาประโยชน์อะไรไม่ได้

จากทุ่งนา แนวป่า สู่นาคร

ไพร่แดง

ประวัติศาสตร์ ไม่อาจจดจารวีรกรรมของวีรชนได้หมดทุกด้าน ทุกแง่มุม แต่โลกทั้งใบได้ถูกขับเคลื่อนไปสู่ความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย การสืบทอดเจตนาของผู้กล้าผ่านกาลเวลายิ่งนาน ก็ยิ่งเข้มข้น ไม่จางหาย

เดินทางไปหลายอำเภอ หลายจังหวัดได้เห็นผู้คนตื่นตัว สนใจการเมืองทุกช่วงวัย มีทั้งหนุ่มสาวจนถึงผู้สูงอายุ เป็นปรากฏการณ์ ที่ไม่เคยมีมาก่อน เป็นสัญญาณบอกว่าประชาชนหมดความอดทน อดกลั้นแล้ว กับสิ่งที่เขาได้รับ ที่เป็นการตอกย้ำความเข้าใจในสิ่งที่เขาเคยสงสัยต่อผู้ปกครอง ในการเอารัดเอาเปรียบ ความตายของพี่น้องของเขาที่ราชดำเนินและราชประสงค์ เป็นคำอธิบายบ่งบอกถึงความอำมหิต ดิบ ถ่อย ของปีศาจ และเป็นลางร้ายของเหล่าอำมาตย์เผด็จการใกล้สูญพันธุ์

ถึงวันนี้ แม้ผู้ปกครองสามารถครอบงำสื่อได้ทั้งหมด ก็ไม่สามารถปิดปากประชาชนได้ ความตายที่เกิดจากความอำมหิต ดิบ ถ่อย ได้ถูกพูดกันไป ปากต่อปาก ทั่วทั้งแผ่นดินแล้ว

ความเปลี่ยนแปลงถูกขับเคลื่อนไปอย่างไม่เคยหยุด ประวัติศาสตร์จะไม่ถูกเขียนโดยผู้ชนะเพียงฝ่ายเดียวอีกต่อไป จาก 2475 ถึง 2553 ประชาชนไม่ได้โง่ อย่างที่เหล่าอำมาตย์คิด และคนในเมืองไม่ได้ฉลาดกว่าคนบ้านนอก การตื่นตัวทางการเมืองของคนต่างจังหวัดมีมากกว่าคนกรุงเทพฯ จะเห็นได้จากการใช้สิทธิเลือกตั้ง. ผู้ที่รับราชการ ผู้ที่ประสบความสำเร็จทางการค้า กระทั่งเศรษฐีใหม่ล้วนเป็นคนมาจากต่างจังหวัดและชนบททั้งสิ้น

การหลั่งไหลของกระแสวัฒนธรรมโลกไม่ได้หยุดอยู่ที่เมืองหลวง แต่มันเคลื่อนตรงเข้าสู่ทุกหนทุกแห่งที่เปิดรับทาง internet ข้อมูลข่าวสารทุกชนิดไม่มีใครปิดกั้นได้ ความเน่าฟอนเฟะ น่าสะอิดสะเอียน น่าขยะแขยง ของคนในสังคมไหนก็ตาม จะถูกแฉจนหมดเปลือก

สื่อไหนก็ตามที่ยังทำตัวเป็นสุนัขรับใช้ เห่า หอน ตามสัญชาตญาณดิบ จะถูกปฏิเสธ

คำแก้ตัวของผู้ปกครองที่กระทำการอันโหดเหี้ยมกับประชาชน ต่อประชาคมโลกจะถูกจับตามอง
การเอารัดเอาเปรียบผลผลิตทางการเกษตรด้วยเล่ห์เหลี่ยมกลโกงของพ่อค้าที่สมคบกับข้าราชการเลวจะถูกทวงถาม

กรรมกรกับผู้ประกอบการและรัฐบาลจะต้องมีความสำคัญเท่าเทียมกัน
เงินภาษีทุกบาททุกสตางค์ที่ประชาชนเสียไปเป็นเงินเดือนข้าราชการ เป็นงบประมาณทุกรูปแบบจะถูกตรวจสอบจากภาคพลเมือง

ความเปลี่ยนแปลงกำลังเกิดขึ้นในทุกอนุภาคของสังคมในทุกเวลา ตามกระแสโลก ตามธรรมชาติ จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับขนาดของความโหดเหี้ยม อำมหิต ดิบ ถ่อย ของผู้ปกครอง เป็นตัวเร่ง

โซ่ตรวน กำลังถูกกระชากออกจากประตูที่ปิดกั้นความจริง เพื่อเผยให้เห็นความทุกข์ยาก และความยิ่งใหญ่ของประชาชน

ใบไม้แห่งวีรชน ในอดีตและปัจจุบันที่ร่วงลงดินไม่สูญเปล่า ล้วนเป็นปุ๋ยชั้นดีที่บำรุงราก ใบ และลำต้นประชาธิปไตยให้เติบใหญ่ในชนบท ในขณะที่ใบไม้ในเมืองหลวงก็เริ่มจะเหลีองตามกาลเวลา รอปลิดขั่วใบหล่นลงบนพื้นคอนกรีต หาประโยชน์อะไรไม่ได้

Tuesday, September 28, 2010

สาเหตุใดกัน ที่ไม่ควรเลือกตั้ง"ผวจ."

โดย ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล
ประธานหอสมุดสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
(ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๓)

เป็นที่พูดคุยกันภายในแวดวงสภาพัฒน์ เมื่อเร็วๆ นี้เกี่ยวกับการจัดทำ "แผน 10" และมีแนวคิดเรื่อง "การเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด" ที่อยากจะเลียนแบบกรุงเทพฯ ซึ่งเรียกชื่อตำแหน่งในระยะหลังนี้ว่า "ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร" อันเป็นความเข้าใจผิดกันอย่างมาก สับสนกันมาก โดยเฉพาะข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ถือเป็นศักดิ์ศรีทางรัฐศาสตร์การปกครองของประเทศชาติมาช้านาน

วันนี้ จึงนำเสนอเป็นกรณีศึกษา เรื่อง "ชื่อตำแหน่ง ผวจ.นั้นมีความแตกต่างกับผู้บริหารท้องถิ่น กทม. หรือผู้ว่าฯ กทม.อย่างไร"

เราทุกคนควรทำความเข้าใจข้อเท็จจริงประการนี้ไว้ ก่อนที่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไรที่ไม่ถูกต้องจะเกิดขึ้นและนำไปสู่ความวุ่นวายอลหม่านทางรัฐศาสตร์การปกครองของประเทศชาติยิ่งขึ้นไปอีก

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ องค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงตรัสว่า "ผู้ว่าราชการจังหวัดตลอดจนข้าราชการทุกคน ต่างล้วนเป็นข้าพระบาทต่างพระเนตรพระกรรณของในหลวง" โดยความหมายก็คือ ข้าราชการทุกท่านเหล่านี้มาจากสายข้าราชการประจำต่างดำรงตำแหน่งหน้าที่และรักษาคุณงามความดีของตนมาตั้งแต่ยังเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยหรือที่ทรงเรียกว่า "Junior Officer"

ตำแหน่ง "ผวจ." ในทั่วทั้ง 75 จังหวัดปัจจุบัน จึงต่างเป็นข้าราชการต่างพระเนตรพระกรรณ เชื่อมโยงกรุงเทพฯ กับจังหวัดที่ ผวจ.ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง เพื่อให้เป็นไปในรูปแบบเดียวกันทางระบบราชการทั่วราชอาณาจักร ก่อให้เกิดความเป็น "Uniform" ทางการปกครองและความมั่นคงปลอดภัยของราชอาณาจักร มิใช่ต่างคนต่างคิดต่างทำและขาดความเชื่อมโยงกับกรุงเทพฯอันหมายถึง "รัฐบาลกลาง" หากจะเรียกกันเช่นนี้

กว่าสยามหรือ "ประเทศไทย" จะได้มีวิวัฒนาการมาเป็น "รัฐชาติ" (Nation State) หรือความเป็น "ราชอาณาจักร" (Kingdom) นั้น ได้ผ่านความยากลำบากมามากมายและใช้เวลาอันยาวนานในการสร้างความเป็นปึกแผ่นแก่แผ่นดินตามพระบรมราชปณิธานของสมเด็จพระปิยมหาราช จนกระทั่งสามารถธำรงความเป็นเอกราชไว้ได้เพียงชาติเดียวในภูมิภาค

ในหลวง รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำรัสกับพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ว่า กว่าจะมาเป็นราชอาณาจักรสยามในทุกวันนี้ ได้ทรงเพียรพยายามในทุกๆ ทางด้วยความเหนื่อยยาก ทรงโปรดให้รวม "รัฐเล็กรัฐน้อย" (Little Government) ที่ไม่เชื่อฟังกรุงเทพฯ กลับกลายเป็น "ราชอาณาจักรที่มั่นคง" โดยผสานผู้คนทุกเชื้อชาติศาสนาเข้าด้วยกันรวมเรียกว่า "ประชาชนชาวสยาม" แล้วเราทุกคนจะเดินย้อนกลับไปสู่ความเป็น "รัฐเล็กรัฐน้อย" อีกเช่นนั้นหรือ

ตำแหน่ง "ผวจ." หรือที่เรียกว่า "เจ้าเมือง" ในอดีต บ่งบอกถึงความเป็นข้าต่างพระเนตรพระกรรณของพระเจ้าแผ่นดินต่อภารกิจ "บำบัดทุกข์ บำรุงสุข อาณาประชาราษฎร์" เป็นผู้อัญเชิญพระแสงราชศัสตราในพระปรมาภิไธยของพระองค์ท่าน มิได้มีที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งต้องได้รับคะแนนนิยมเป็นอันดับแรก แต่เป็นผู้ซึ่งยังจะมาทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยทั้งแก้ปัญหาต่างๆ ระหว่างหน่วยงานภายในพื้นที่จังหวัด ในความหมายนั้นก็คือ ความเป็นกลางในการรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน โดยไม่ฝักใฝ่ทางการเมือง

ในขณะที่กรุงเทพมหานคร มิได้มีสถานะเป็น "จังหวัด" แต่เป็นรูปแบบการปกครองพิเศษไม่ใช่จังหวัดที่ 76 หรือ "สุวรรณภูมิ" เป็นจังหวัดที่ 77 อย่างที่ปรากฏเป็นข่าวและสื่อกันผิดๆ ในขณะนี้ เด็กและเยาวชนจะเรียนรู้กันผิดๆ ไม่ได้เพราะกรุงเทพฯ หรือแม้แต่สุวรรณภูมิหากจะเกิดขึ้นจริง ย่อมมิใช่จังหวัด ในเมื่อตำแหน่ง "ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร" ไม่มีคำว่า "จังหวัด" และไม่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งแต่อย่างใด

ตำแหน่ง "ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร" จึงมีสถานะทางการปกครองเท่าเทียมกับ "นายกเทศมนตรีมหานคร" หรือ "Lord Mayor" ที่มาจากการเลือกตั้ง

ส่วนในระดับ "จังหวัด" ก็มี อบจ. เทศบาลระดับต่างๆ และ อบต.มากมายหลายแห่ง ซึ่งถือเป็นหลักการกระจายอำนาจทางการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยเช่นเดียวกัน

ณ ที่นี้ เพื่อไม่ก่อให้เกิดความสับสนทางรูปแบบการปกครอง หรือสื่อกันอย่างผิดๆ อีกต่อไป ก็สมควรทำความเข้าใจกันให้ถูกต้องเสียใหม่ว่า

ผวจ. คือ ข้าราชการประจำผู้ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งหน้าที่เช่นเดียวกับเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม พิพากษา ฯลฯ และเป็นผู้ทำหน้าที่เชื่อมโยงจังหวัดในส่วนภูมิภาคกับส่วนกลาง รักษาไว้ซึ่งปรัชญาทางการบริหาร คือ ความเป็นราชอาณาจักร ที่เป็น "รัฐเดี่ยว" หรือ "Unitary State" มิใช่ระบบ "สหรัฐ" หรือ "Federation" แต่อย่างใด

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเข้าดำรงตำแหน่งโดยผลจากการเลือกตั้งทางตรง ก็ควรที่จะได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อตำแหน่งกลับไปเหมือนก่อน ซึ่งสามารถสื่อความหมายได้อย่างถูกต้องชัดเจนตามหลักการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น คือ "นายกเทศมนตรีกรุงเทพมหานคร" ฟังดูทั้งไพเราะ สง่างาม และมีความหมายชัดเจนโดยทันทีว่า มาจาก "การเลือกตั้ง"

เราต้องช่วยกันดำรงรักษาความมั่นคงของประเทศ ทั้งความเป็น "ราชอาณาจักร" และ "รัฐเดี่ยว" ที่มิใช่การแบ่งแยกแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดออกเป็นมลรัฐนั้นมลรัฐนี้ อย่างที่เข้าใจกันอย่างไม่ถูกต้องในขณะนี้

.....มติชน

สาเหตุใดกัน ที่ไม่ควรเลือกตั้ง"ผวจ."

โดย ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล
ประธานหอสมุดสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
(ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๓)

เป็นที่พูดคุยกันภายในแวดวงสภาพัฒน์ เมื่อเร็วๆ นี้เกี่ยวกับการจัดทำ "แผน 10" และมีแนวคิดเรื่อง "การเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด" ที่อยากจะเลียนแบบกรุงเทพฯ ซึ่งเรียกชื่อตำแหน่งในระยะหลังนี้ว่า "ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร" อันเป็นความเข้าใจผิดกันอย่างมาก สับสนกันมาก โดยเฉพาะข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ถือเป็นศักดิ์ศรีทางรัฐศาสตร์การปกครองของประเทศชาติมาช้านาน

วันนี้ จึงนำเสนอเป็นกรณีศึกษา เรื่อง "ชื่อตำแหน่ง ผวจ.นั้นมีความแตกต่างกับผู้บริหารท้องถิ่น กทม. หรือผู้ว่าฯ กทม.อย่างไร"

เราทุกคนควรทำความเข้าใจข้อเท็จจริงประการนี้ไว้ ก่อนที่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไรที่ไม่ถูกต้องจะเกิดขึ้นและนำไปสู่ความวุ่นวายอลหม่านทางรัฐศาสตร์การปกครองของประเทศชาติยิ่งขึ้นไปอีก

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ องค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงตรัสว่า "ผู้ว่าราชการจังหวัดตลอดจนข้าราชการทุกคน ต่างล้วนเป็นข้าพระบาทต่างพระเนตรพระกรรณของในหลวง" โดยความหมายก็คือ ข้าราชการทุกท่านเหล่านี้มาจากสายข้าราชการประจำต่างดำรงตำแหน่งหน้าที่และรักษาคุณงามความดีของตนมาตั้งแต่ยังเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยหรือที่ทรงเรียกว่า "Junior Officer"

ตำแหน่ง "ผวจ." ในทั่วทั้ง 75 จังหวัดปัจจุบัน จึงต่างเป็นข้าราชการต่างพระเนตรพระกรรณ เชื่อมโยงกรุงเทพฯ กับจังหวัดที่ ผวจ.ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง เพื่อให้เป็นไปในรูปแบบเดียวกันทางระบบราชการทั่วราชอาณาจักร ก่อให้เกิดความเป็น "Uniform" ทางการปกครองและความมั่นคงปลอดภัยของราชอาณาจักร มิใช่ต่างคนต่างคิดต่างทำและขาดความเชื่อมโยงกับกรุงเทพฯอันหมายถึง "รัฐบาลกลาง" หากจะเรียกกันเช่นนี้

กว่าสยามหรือ "ประเทศไทย" จะได้มีวิวัฒนาการมาเป็น "รัฐชาติ" (Nation State) หรือความเป็น "ราชอาณาจักร" (Kingdom) นั้น ได้ผ่านความยากลำบากมามากมายและใช้เวลาอันยาวนานในการสร้างความเป็นปึกแผ่นแก่แผ่นดินตามพระบรมราชปณิธานของสมเด็จพระปิยมหาราช จนกระทั่งสามารถธำรงความเป็นเอกราชไว้ได้เพียงชาติเดียวในภูมิภาค

ในหลวง รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำรัสกับพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ว่า กว่าจะมาเป็นราชอาณาจักรสยามในทุกวันนี้ ได้ทรงเพียรพยายามในทุกๆ ทางด้วยความเหนื่อยยาก ทรงโปรดให้รวม "รัฐเล็กรัฐน้อย" (Little Government) ที่ไม่เชื่อฟังกรุงเทพฯ กลับกลายเป็น "ราชอาณาจักรที่มั่นคง" โดยผสานผู้คนทุกเชื้อชาติศาสนาเข้าด้วยกันรวมเรียกว่า "ประชาชนชาวสยาม" แล้วเราทุกคนจะเดินย้อนกลับไปสู่ความเป็น "รัฐเล็กรัฐน้อย" อีกเช่นนั้นหรือ

ตำแหน่ง "ผวจ." หรือที่เรียกว่า "เจ้าเมือง" ในอดีต บ่งบอกถึงความเป็นข้าต่างพระเนตรพระกรรณของพระเจ้าแผ่นดินต่อภารกิจ "บำบัดทุกข์ บำรุงสุข อาณาประชาราษฎร์" เป็นผู้อัญเชิญพระแสงราชศัสตราในพระปรมาภิไธยของพระองค์ท่าน มิได้มีที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งต้องได้รับคะแนนนิยมเป็นอันดับแรก แต่เป็นผู้ซึ่งยังจะมาทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยทั้งแก้ปัญหาต่างๆ ระหว่างหน่วยงานภายในพื้นที่จังหวัด ในความหมายนั้นก็คือ ความเป็นกลางในการรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน โดยไม่ฝักใฝ่ทางการเมือง

ในขณะที่กรุงเทพมหานคร มิได้มีสถานะเป็น "จังหวัด" แต่เป็นรูปแบบการปกครองพิเศษไม่ใช่จังหวัดที่ 76 หรือ "สุวรรณภูมิ" เป็นจังหวัดที่ 77 อย่างที่ปรากฏเป็นข่าวและสื่อกันผิดๆ ในขณะนี้ เด็กและเยาวชนจะเรียนรู้กันผิดๆ ไม่ได้เพราะกรุงเทพฯ หรือแม้แต่สุวรรณภูมิหากจะเกิดขึ้นจริง ย่อมมิใช่จังหวัด ในเมื่อตำแหน่ง "ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร" ไม่มีคำว่า "จังหวัด" และไม่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งแต่อย่างใด

ตำแหน่ง "ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร" จึงมีสถานะทางการปกครองเท่าเทียมกับ "นายกเทศมนตรีมหานคร" หรือ "Lord Mayor" ที่มาจากการเลือกตั้ง

ส่วนในระดับ "จังหวัด" ก็มี อบจ. เทศบาลระดับต่างๆ และ อบต.มากมายหลายแห่ง ซึ่งถือเป็นหลักการกระจายอำนาจทางการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยเช่นเดียวกัน

ณ ที่นี้ เพื่อไม่ก่อให้เกิดความสับสนทางรูปแบบการปกครอง หรือสื่อกันอย่างผิดๆ อีกต่อไป ก็สมควรทำความเข้าใจกันให้ถูกต้องเสียใหม่ว่า

ผวจ. คือ ข้าราชการประจำผู้ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งหน้าที่เช่นเดียวกับเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม พิพากษา ฯลฯ และเป็นผู้ทำหน้าที่เชื่อมโยงจังหวัดในส่วนภูมิภาคกับส่วนกลาง รักษาไว้ซึ่งปรัชญาทางการบริหาร คือ ความเป็นราชอาณาจักร ที่เป็น "รัฐเดี่ยว" หรือ "Unitary State" มิใช่ระบบ "สหรัฐ" หรือ "Federation" แต่อย่างใด

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเข้าดำรงตำแหน่งโดยผลจากการเลือกตั้งทางตรง ก็ควรที่จะได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อตำแหน่งกลับไปเหมือนก่อน ซึ่งสามารถสื่อความหมายได้อย่างถูกต้องชัดเจนตามหลักการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น คือ "นายกเทศมนตรีกรุงเทพมหานคร" ฟังดูทั้งไพเราะ สง่างาม และมีความหมายชัดเจนโดยทันทีว่า มาจาก "การเลือกตั้ง"

เราต้องช่วยกันดำรงรักษาความมั่นคงของประเทศ ทั้งความเป็น "ราชอาณาจักร" และ "รัฐเดี่ยว" ที่มิใช่การแบ่งแยกแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดออกเป็นมลรัฐนั้นมลรัฐนี้ อย่างที่เข้าใจกันอย่างไม่ถูกต้องในขณะนี้

.....มติชน

สาเหตุใดกัน ที่ไม่ควรเลือกตั้ง"ผวจ."

โดย ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล
ประธานหอสมุดสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
(ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๓)

เป็นที่พูดคุยกันภายในแวดวงสภาพัฒน์ เมื่อเร็วๆ นี้เกี่ยวกับการจัดทำ "แผน 10" และมีแนวคิดเรื่อง "การเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด" ที่อยากจะเลียนแบบกรุงเทพฯ ซึ่งเรียกชื่อตำแหน่งในระยะหลังนี้ว่า "ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร" อันเป็นความเข้าใจผิดกันอย่างมาก สับสนกันมาก โดยเฉพาะข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ถือเป็นศักดิ์ศรีทางรัฐศาสตร์การปกครองของประเทศชาติมาช้านาน

วันนี้ จึงนำเสนอเป็นกรณีศึกษา เรื่อง "ชื่อตำแหน่ง ผวจ.นั้นมีความแตกต่างกับผู้บริหารท้องถิ่น กทม. หรือผู้ว่าฯ กทม.อย่างไร"

เราทุกคนควรทำความเข้าใจข้อเท็จจริงประการนี้ไว้ ก่อนที่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไรที่ไม่ถูกต้องจะเกิดขึ้นและนำไปสู่ความวุ่นวายอลหม่านทางรัฐศาสตร์การปกครองของประเทศชาติยิ่งขึ้นไปอีก

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ องค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงตรัสว่า "ผู้ว่าราชการจังหวัดตลอดจนข้าราชการทุกคน ต่างล้วนเป็นข้าพระบาทต่างพระเนตรพระกรรณของในหลวง" โดยความหมายก็คือ ข้าราชการทุกท่านเหล่านี้มาจากสายข้าราชการประจำต่างดำรงตำแหน่งหน้าที่และรักษาคุณงามความดีของตนมาตั้งแต่ยังเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยหรือที่ทรงเรียกว่า "Junior Officer"

ตำแหน่ง "ผวจ." ในทั่วทั้ง 75 จังหวัดปัจจุบัน จึงต่างเป็นข้าราชการต่างพระเนตรพระกรรณ เชื่อมโยงกรุงเทพฯ กับจังหวัดที่ ผวจ.ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง เพื่อให้เป็นไปในรูปแบบเดียวกันทางระบบราชการทั่วราชอาณาจักร ก่อให้เกิดความเป็น "Uniform" ทางการปกครองและความมั่นคงปลอดภัยของราชอาณาจักร มิใช่ต่างคนต่างคิดต่างทำและขาดความเชื่อมโยงกับกรุงเทพฯอันหมายถึง "รัฐบาลกลาง" หากจะเรียกกันเช่นนี้

กว่าสยามหรือ "ประเทศไทย" จะได้มีวิวัฒนาการมาเป็น "รัฐชาติ" (Nation State) หรือความเป็น "ราชอาณาจักร" (Kingdom) นั้น ได้ผ่านความยากลำบากมามากมายและใช้เวลาอันยาวนานในการสร้างความเป็นปึกแผ่นแก่แผ่นดินตามพระบรมราชปณิธานของสมเด็จพระปิยมหาราช จนกระทั่งสามารถธำรงความเป็นเอกราชไว้ได้เพียงชาติเดียวในภูมิภาค

ในหลวง รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำรัสกับพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ว่า กว่าจะมาเป็นราชอาณาจักรสยามในทุกวันนี้ ได้ทรงเพียรพยายามในทุกๆ ทางด้วยความเหนื่อยยาก ทรงโปรดให้รวม "รัฐเล็กรัฐน้อย" (Little Government) ที่ไม่เชื่อฟังกรุงเทพฯ กลับกลายเป็น "ราชอาณาจักรที่มั่นคง" โดยผสานผู้คนทุกเชื้อชาติศาสนาเข้าด้วยกันรวมเรียกว่า "ประชาชนชาวสยาม" แล้วเราทุกคนจะเดินย้อนกลับไปสู่ความเป็น "รัฐเล็กรัฐน้อย" อีกเช่นนั้นหรือ

ตำแหน่ง "ผวจ." หรือที่เรียกว่า "เจ้าเมือง" ในอดีต บ่งบอกถึงความเป็นข้าต่างพระเนตรพระกรรณของพระเจ้าแผ่นดินต่อภารกิจ "บำบัดทุกข์ บำรุงสุข อาณาประชาราษฎร์" เป็นผู้อัญเชิญพระแสงราชศัสตราในพระปรมาภิไธยของพระองค์ท่าน มิได้มีที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งต้องได้รับคะแนนนิยมเป็นอันดับแรก แต่เป็นผู้ซึ่งยังจะมาทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยทั้งแก้ปัญหาต่างๆ ระหว่างหน่วยงานภายในพื้นที่จังหวัด ในความหมายนั้นก็คือ ความเป็นกลางในการรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน โดยไม่ฝักใฝ่ทางการเมือง

ในขณะที่กรุงเทพมหานคร มิได้มีสถานะเป็น "จังหวัด" แต่เป็นรูปแบบการปกครองพิเศษไม่ใช่จังหวัดที่ 76 หรือ "สุวรรณภูมิ" เป็นจังหวัดที่ 77 อย่างที่ปรากฏเป็นข่าวและสื่อกันผิดๆ ในขณะนี้ เด็กและเยาวชนจะเรียนรู้กันผิดๆ ไม่ได้เพราะกรุงเทพฯ หรือแม้แต่สุวรรณภูมิหากจะเกิดขึ้นจริง ย่อมมิใช่จังหวัด ในเมื่อตำแหน่ง "ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร" ไม่มีคำว่า "จังหวัด" และไม่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งแต่อย่างใด

ตำแหน่ง "ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร" จึงมีสถานะทางการปกครองเท่าเทียมกับ "นายกเทศมนตรีมหานคร" หรือ "Lord Mayor" ที่มาจากการเลือกตั้ง

ส่วนในระดับ "จังหวัด" ก็มี อบจ. เทศบาลระดับต่างๆ และ อบต.มากมายหลายแห่ง ซึ่งถือเป็นหลักการกระจายอำนาจทางการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยเช่นเดียวกัน

ณ ที่นี้ เพื่อไม่ก่อให้เกิดความสับสนทางรูปแบบการปกครอง หรือสื่อกันอย่างผิดๆ อีกต่อไป ก็สมควรทำความเข้าใจกันให้ถูกต้องเสียใหม่ว่า

ผวจ. คือ ข้าราชการประจำผู้ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งหน้าที่เช่นเดียวกับเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม พิพากษา ฯลฯ และเป็นผู้ทำหน้าที่เชื่อมโยงจังหวัดในส่วนภูมิภาคกับส่วนกลาง รักษาไว้ซึ่งปรัชญาทางการบริหาร คือ ความเป็นราชอาณาจักร ที่เป็น "รัฐเดี่ยว" หรือ "Unitary State" มิใช่ระบบ "สหรัฐ" หรือ "Federation" แต่อย่างใด

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเข้าดำรงตำแหน่งโดยผลจากการเลือกตั้งทางตรง ก็ควรที่จะได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อตำแหน่งกลับไปเหมือนก่อน ซึ่งสามารถสื่อความหมายได้อย่างถูกต้องชัดเจนตามหลักการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น คือ "นายกเทศมนตรีกรุงเทพมหานคร" ฟังดูทั้งไพเราะ สง่างาม และมีความหมายชัดเจนโดยทันทีว่า มาจาก "การเลือกตั้ง"

เราต้องช่วยกันดำรงรักษาความมั่นคงของประเทศ ทั้งความเป็น "ราชอาณาจักร" และ "รัฐเดี่ยว" ที่มิใช่การแบ่งแยกแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดออกเป็นมลรัฐนั้นมลรัฐนี้ อย่างที่เข้าใจกันอย่างไม่ถูกต้องในขณะนี้

.....มติชน

Sunday, September 26, 2010

ปฏิบัติการปฏิวัติชุมชน

ปรีชา ทองเสงี่ยม
เกษตรกร อ.เขาฉกรรจ์ จ.สระแก้ว

ปรัชญาในการปฏิวัติ
"พอกิน พอใช้ ยั่งยืน ทันโลก"

วัตถุประสงค์ในการปฏิวัติ
1. หยุดความล่มสลายของครอบครัวและชุมชนเกษตรกรรม
2. ขจัดความไม่เป็นธรรมและการถูกเอารัดเอาเปรียบ
3. นำวิถีชีวิตเกษตรกรรมเข้าสู่ความยั่งยืนและมั่นคง
4. สามารถพึ่งตนเองได้และใช้ทรัพยากรที่ไม่มีวันหมด

ขอบข่ายการทำงาน
1. เพิ่มขีดความสามารถในชุมชนให้สูงขึ้น จากเคยปลูกพืชอาหารสัตว์ มาทำการผลิต เนื้อ นม ไข่ไก่
2. ฟื้นฟูสภาพพื้นที่เพาะปลูกให้กลับคืนมา ด้วยมูลสัตว์และเศษพืชที่เหลือจากการผลิต
3. ฟื้นสภาพครอบครัวและพี่น้อง ในชุมชนที่ต้องออกไปทำงานในเมืองให้กลับคืนมาสู่ท้องถิ่น
4. ผลิตเนื้อ นม ไข่ไก่ คุณภาพดี จากระบบเกษตรกรรมธรรมชาติ มีต้นทุนต่ำ สามารถแข่งขันในตลาดได้
5. เพิ่มขีดความสามารถในการแปรรูป วัตถุดิบ การเก็บรักษา การผลิตอาหารสัตว์ ด้วยการสร้างเครื่องจักรผลิตอาหารสัตว์ขนาดเล็ก
6. ลดภาวะโลกร้อน โดยไม่ต้องขนย้ายพืชอาหารสัตว์ออกนอกชุมชนละไม่ต้องขน เนื้อ นม ไข่ไก่มาจากที่อื่น เพราะมีการผลิตได้ในชุมชน
7. ทำชุมชนของเราให้มีความพร้อมเรื่องอาหารมากที่สุด โดยมีการผลิตเริ่มตั้งแต่ ข้าว พืชผัก เนื้อ นม ไข่ไก่ และในที่สุดความสมบูรณ์ ความมั่งคั่งจะอยู่ที่ชุมชนของเรา

ปฏิบัติการปฏิวัติชุมชน

ปรีชา ทองเสงี่ยม
เกษตรกร อ.เขาฉกรรจ์ จ.สระแก้ว

ปรัชญาในการปฏิวัติ
"พอกิน พอใช้ ยั่งยืน ทันโลก"

วัตถุประสงค์ในการปฏิวัติ
1. หยุดความล่มสลายของครอบครัวและชุมชนเกษตรกรรม
2. ขจัดความไม่เป็นธรรมและการถูกเอารัดเอาเปรียบ
3. นำวิถีชีวิตเกษตรกรรมเข้าสู่ความยั่งยืนและมั่นคง
4. สามารถพึ่งตนเองได้และใช้ทรัพยากรที่ไม่มีวันหมด

ขอบข่ายการทำงาน
1. เพิ่มขีดความสามารถในชุมชนให้สูงขึ้น จากเคยปลูกพืชอาหารสัตว์ มาทำการผลิต เนื้อ นม ไข่ไก่
2. ฟื้นฟูสภาพพื้นที่เพาะปลูกให้กลับคืนมา ด้วยมูลสัตว์และเศษพืชที่เหลือจากการผลิต
3. ฟื้นสภาพครอบครัวและพี่น้อง ในชุมชนที่ต้องออกไปทำงานในเมืองให้กลับคืนมาสู่ท้องถิ่น
4. ผลิตเนื้อ นม ไข่ไก่ คุณภาพดี จากระบบเกษตรกรรมธรรมชาติ มีต้นทุนต่ำ สามารถแข่งขันในตลาดได้
5. เพิ่มขีดความสามารถในการแปรรูป วัตถุดิบ การเก็บรักษา การผลิตอาหารสัตว์ ด้วยการสร้างเครื่องจักรผลิตอาหารสัตว์ขนาดเล็ก
6. ลดภาวะโลกร้อน โดยไม่ต้องขนย้ายพืชอาหารสัตว์ออกนอกชุมชนละไม่ต้องขน เนื้อ นม ไข่ไก่มาจากที่อื่น เพราะมีการผลิตได้ในชุมชน
7. ทำชุมชนของเราให้มีความพร้อมเรื่องอาหารมากที่สุด โดยมีการผลิตเริ่มตั้งแต่ ข้าว พืชผัก เนื้อ นม ไข่ไก่ และในที่สุดความสมบูรณ์ ความมั่งคั่งจะอยู่ที่ชุมชนของเรา

ปฏิบัติการปฏิวัติชุมชน

ปรีชา ทองเสงี่ยม
เกษตรกร อ.เขาฉกรรจ์ จ.สระแก้ว

ปรัชญาในการปฏิวัติ
"พอกิน พอใช้ ยั่งยืน ทันโลก"

วัตถุประสงค์ในการปฏิวัติ
1. หยุดความล่มสลายของครอบครัวและชุมชนเกษตรกรรม
2. ขจัดความไม่เป็นธรรมและการถูกเอารัดเอาเปรียบ
3. นำวิถีชีวิตเกษตรกรรมเข้าสู่ความยั่งยืนและมั่นคง
4. สามารถพึ่งตนเองได้และใช้ทรัพยากรที่ไม่มีวันหมด

ขอบข่ายการทำงาน
1. เพิ่มขีดความสามารถในชุมชนให้สูงขึ้น จากเคยปลูกพืชอาหารสัตว์ มาทำการผลิต เนื้อ นม ไข่ไก่
2. ฟื้นฟูสภาพพื้นที่เพาะปลูกให้กลับคืนมา ด้วยมูลสัตว์และเศษพืชที่เหลือจากการผลิต
3. ฟื้นสภาพครอบครัวและพี่น้อง ในชุมชนที่ต้องออกไปทำงานในเมืองให้กลับคืนมาสู่ท้องถิ่น
4. ผลิตเนื้อ นม ไข่ไก่ คุณภาพดี จากระบบเกษตรกรรมธรรมชาติ มีต้นทุนต่ำ สามารถแข่งขันในตลาดได้
5. เพิ่มขีดความสามารถในการแปรรูป วัตถุดิบ การเก็บรักษา การผลิตอาหารสัตว์ ด้วยการสร้างเครื่องจักรผลิตอาหารสัตว์ขนาดเล็ก
6. ลดภาวะโลกร้อน โดยไม่ต้องขนย้ายพืชอาหารสัตว์ออกนอกชุมชนละไม่ต้องขน เนื้อ นม ไข่ไก่มาจากที่อื่น เพราะมีการผลิตได้ในชุมชน
7. ทำชุมชนของเราให้มีความพร้อมเรื่องอาหารมากที่สุด โดยมีการผลิตเริ่มตั้งแต่ ข้าว พืชผัก เนื้อ นม ไข่ไก่ และในที่สุดความสมบูรณ์ ความมั่งคั่งจะอยู่ที่ชุมชนของเรา

“3 ปีแก้ 3 ปัญหาชาวบ้านได้ แม้ตายไม่เสียดายชีวิต”

ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์
โดย โต๊ะข่าวเพื่อชุมชน ศูนย์ข่าวอิศรา

น้ำเสียงมุ่งมั่นแต่อารมณ์ดีของ “เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์” ผู้ผันชีวิตจากข้าราชการกรมป่าไม้ จนได้ฉายาว่า “ดร.เกษตรกร” และปัจจุบันเป็นหนึ่งในคณะกรรมการปฏิรูป(คปร.) สะท้อนว่าชนบทถูกรุกล้ำด้วยกระบวนการ-นโยบายพัฒนาที่ขาดสมดุล และภายใต้วาระงาน 3 ปีหากแก้ปัญหาหนี้สินฟื้นฟูชีวิตเกษตรกรได้แม้ตายก็ไม่เสียดายชีวิต

ทราบว่าอาจารย์เคยเป็นข้าราชการกรมป่าไม้
ผมเดินเข้ากรมป่าไม้ด้วยความคิดว่าชีวิตต้องการเรียนรู้และใช้วิชาวนศาสตร์ ที่เรียนเพื่อพัฒนาตัวเองและสังคม แรกเริ่มผมทำงานในส่วนการจัดการที่ดินป่าสงวนที่ จ.ตาก ทำทุกอย่างตั้งแต่ภารโรงถึงวิทยากร ได้เรียนรู้จากชาวต่างชาติที่มาทำโครงการในไทย มีโอกาสสำรวจป่าทั่วประเทศและร่วมงานกับเอ็นจีโอหลายกลุ่ม ซึ่งผมมีความสุขดี

แต่พอโตมาระดับหนึ่งก็เริ่มมีปัญหาเพราะต้องทำงานวางแผนระดับกรมชี้แจง ต่อสภาผู้แทนราษฎรทุกปีร่วมกับผู้บริหารระดับสูง ต้องติดต่อกับนักการเมืองมากขึ้น รู้สึกตัวเองอยู่กับมายาคติเหมือน เราวางแผนแต่บนกระดาษ บอกว่าต้องอนุรักษ์ป่าอย่างไร ของบประมาณเท่าไร แต่ไปไม่ถึงข้างล่าง ชุมชนมีปัญหาแต่ไม่มีกระบวนการแก้ไขฟื้นฟูเลย

ทำไมถึงผันตัวจากข้าราชการมาเป็นเกษตรกร จนได้ฉายาว่า “ดร.เกษตรกร”
ผม มาวิเคราะห์ตัวเองเพราะอึดอัดมาก รู้สึกเหมือนไม่มีเพื่อนร่วมงานที่ร่วมคิดร่วมหาทางออกให้ชาวบ้านจริงๆ มีแต่คนพูดถึงผลประโยชน์ จะทำอย่างไรให้ได้งบมา แต่ไม่เคยพูดเลยว่าจะทำงานกับชุมชนอย่างไรให้ได้ผลและมีประสิทธิภาพ จึงตัดสินใจลาออกไปบังกลาเทศในฐานะผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ

วันหนึ่งผู้เชี่ยวชาญที่นั่นคนหนึ่งเขาพูดกระแทกใจผมมาก บอกว่าบ้านเมืองมีปัญหา แต่เรากลับมาทำงานต่างประเทศ ผมจึงกลับมาและทำงานกับชุมชนมากขึ้น โดยเฉพาะการขับเคลื่อนแนวคิดป่าชุมชน เพื่อเสริมสร้างความรู้ ศักยภาพให้ชุมชนในการดูแลรักษาและจัดการทรัพยากรท้องถิ่น ลดอำนาจบริหารส่วนกลางมาสู่ชุมชนมากขึ้น

แต่การต่อสู้กว่า 10 ปีไม่ค่อยประสบความสำเร็จ ถูกต่อต้านจากชนชั้นกลางและนักอนุรักษ์นิยมที่มีอคติมองชุมชนเป็นคนทำลายป่า เกิดกระแส “เขียวเข้ม” หรือการอนุรักษ์ป่าด้วยวิธีทางกฎหมาย ตอนนั้นเราสู้กระแสไม่ไหว คิดอยากไปสร้างโลกใหม่ที่น่าอยู่ จึงไปฟื้นที่ดินมรดก 20 ไร่ ที่ จ.ปราจีนบุรี ใช้เวลา 7 ปี สร้างธรรมเกษตรขึ้น โดยปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ มีทุกอย่างที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตไม่ใช่มีไว้เพื่อรับใช้มนุษย์ มีการฝึกอบรมรวมกลุ่มเกษตรกรเป็นเครือข่ายแบบไม่เป็นทางการ พูดคุยและหาทางออกของปัญหาร่วมกัน

อะไรที่ทำให้อาจารย์ตัดสินใจลงไปทำงานกับชุมชนแบบเต็มตัว
ชนบทที่เราวาดฝันไว้ไม่ได้สงบอย่างที่คิด ยิ่งอยู่ใกล้เกษตรกรยิ่งเจอปัญหา บางคนเดินเข้ามาขอทำงานเพราะไม่มีเงินซื้อข้าวให้ลูกกิน บางคนมาขอค่าเล่าเรียน ผมมาคิดว่า “เฮ้ย..ชนบทไม่น่ามีค่าใช้จ่ายมาก แต่ทำไมไม่มีเงินเอาลูกเข้าโรงเรียน จนพบว่าปัญหาทุกอย่างมันเกิดจากหนี้สิน เพราะขาดทุนทุกปี ปีที่ผลผลิตดีก็ถูกดราคา ส่วนปีที่ไม่ดีก็ยิ่งหนักต้องกู้หนี้จากธนาคาร ดอกเบี้ยท่วมหัว บางคนไปกู้นอกระบบอีก ทำอย่างไรก็ไม่คุ้มทุน สุดท้ายก็สูญเสียที่ดิน”

ผม เคยถามในที่ประชุมว่าใครมีที่ดินเป็นของตัวเองบ้าง ไม่มีใครยกมือ พอถามอายุเฉลี่ยก็ 50 กว่าปีขึ้น จึงมาคิดว่าถ้าอีก 10 ปีข้างหน้ายังเป็นอยู่อย่างนี้เกษตรกรล่มสลายแน่ ผมจึงเริ่มทำงาน โดยเชื่อมโยงเกษตรกรกับฐานทรัพยากรทำให้ทั้ง 2 เรื่องเดินไปคู่กัน รณรงค์การแก้ไขปัญหาทั้งระบบแบบวงครบวงจร เริ่มจากวิธีคิด การผลิต และการจัดการจนมีหลักประกันว่าเมื่อทำการเกษตรแล้วต้องมีรายได้พอเลี้ยงครอบ ครัว ไม่ใช่แค่ราคาประกันต่อเกวียนอย่างที่รัฐทำอยู่

ที่ผ่านมา ปัญหาภาคเกษตรกรรม มีอะไรที่ได้รับการแก้ไขจากรัฐบาลหรือไม่อย่างไร
มีบ้าง อย่างเรื่องหนี้นอกระบบ รัฐบาลก็มีมาตรการหลายอย่าง แต่ก็ยังช่วยได้แค่บางกลุ่ม เกษตรกรที่เป็นคนส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ ซึ่งหากยังเป็นเช่นนี้ไม่เกิน 10 ปี คงล่มสลายแน่นอน เพราะปัญหาเคลื่อนตัวเร็วกว่าความพยายามในการแก้ปัญหา

ถ้าถามว่าปัญหาที่แก้ไขสำเร็จมีบ้างไหม ตอบว่าไม่มีเลย เพราะเราพูดกันแต่การแก้ไขระยะสั้น อย่างเรื่องหนี้บางคนปลดได้ตั้งแต่ปี 2548 แต่ต้องกลับไปกู้ใหม่อีก เพราะไม่มีการฟื้นฟูอาชีพ ผมจึงบอกว่าถึงแก้หนี้ได้แต่ยังไม่จบ ต้องมีกระบวนการฟื้นฟูชีวิตเกษตรกรคือต้องทำให้เขาคิดได้เองว่าจะจัดการตน เองอย่างไร เพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ที่เป็นหลักประกันระยะยาว มีเงินออมไว้เป็นสวัสดิการยามเจ็บป่วย

ประเด็นหลักๆ ที่อาจารย์สนใจเป็นพิเศษ คือเรื่องหนี้สินและการฟื้นฟูชีวิตเกษตรกร
ผม ดูเรื่องนโยบายการจัดการหนี้และการฟื้นฟูเกษตรกร ที่เห็นตอนนี้รัฐบาลออกมาบอกว่าแก้ไปได้ 4-5 แสนราย แต่ยังเป็นมาตรการระยะสั้น เพียงดึงหนี้นอกระบบมาอยู่ในระบบเท่านั้น ยังไม่ได้จัดระบบความคิดและระบบการบริหารจัดการให้ชาวบ้านมีวินัยทางการเงิน อย่างแท้จริง ซึ่งจะทำได้ก็ต่อเมื่อปรับระบบคิด ส่งเสริมการประกอบอาชีพ และสร้างระบบสวัสดิการ โดยให้ทุกอย่างเชื่อมโยงกัน

นอกจากนั้นยังมีเรื่องที่ดินและทรัพยากร ที่เป็นปัญหามาก ขณะที่นโยบายหรือมาตรการแก้ไขยังไม่ไปถึงไหน แม้จะมีโฉนดชุมชน ซึ่งเป็นเพียงรูปแบบการจัดกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่แก้ปัญหาแค่ปลายเหตุ ยังกระจายการถือครองที่ดินไปยังชาวบ้านไม่ได้

อาจารย์มีโมเดลการแก้ปัญหาหนี้สินเกษตร และปัญหาที่ดินชาบ้านอย่างไร
เรื่อง หนี้สินและการฟื้นฟูชีวิตเกษตรกร ผมเห็นว่า 1. ต้องแก้ทั้งระบบ โดยใช้วิธีการเหมือนครั้งแก้วิกฤติต้มยำกุ้ง คือรัฐซื้อหนี้ทั้งหมดแล้วนำมาบริหารจัดการโดยระบบกองทุนเดียว 2.รัฐต้องยอมรับด้วยว่าหนี้สินมากมายเหล่านี้ส่วนหนึ่งเกิดจากนโยบายของรัฐ และกระบวนการพัฒนาที่ไม่สมดุลและยั่งยืน ผลักให้เกษตรกรเข้าสู่ทุนนิยมโดยไม่มีความพร้อม จุดนี้รัฐต้องรับผิดชอบ 3.กระบวนการแก้ปัญหาต้องเกิดจาก 3 ส่วน คือ รัฐ เกษตรกร และสถาบันการเงิน

ส่วนเรื่องที่ดินก็คล้าย กันคือรัฐต้องซื้อที่ดินรกร้าง ที่ดินไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่มีอยู่ 20-30 ล้านไร่ มาให้หมดแล้วนำมาบริหารจัดการให้กับผู้ที่ต้องการใช้ประโยชน์แท้จริง ไม่ใช่ปล่อยซื้อขายเก็งกำไร รับรองแก้ปัญหาเกษตรกรได้หมด แถมมีผลิตภัณฑ์สำหรับการเป็นครัวโลกอย่างเหลือเฟือ แต่ทั้งนี้ต้องทำอย่างครบวงจรคือนอกจากผลิตต้องคิดเรื่องจัดการตลาดโดยยึด หลักการรวมตัว ดังนั้น พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติ ที่กำลังจะออกมาจึงจำเป็นมากเพราะส่งเสริมการรวมตัวและเสนอแผนต่อคณะรัฐมนตรีได้โดยตรง

เป็นมาอย่างไรจึงเข้ามาเป็นหนึ่งในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ
วัน หนึ่งผมอภิปรายอยู่ที่เครือข่ายภาคตะวันออก ก็ได้รับโทรศัพท์จากคุณอานันท์ ปันยารชุน ประธาน คปร.ชวนเข้าร่วมด้วย เพราะเห็นว่าผมทำงานด้านการเกษตรมาเยอะและเห็นผมเป็นเกษตรกรคนหนึ่งด้วย เมื่อท่านเห็นว่ามีประโยชน์ก็ยินดีช่วย เราเองก็เห็นว่ามันไม่ได้เหนือบ่ากว่าแรงอะไร จึงตอบรับและนำเรื่องที่ทำงานอยู่มาขับเคลื่อนต่อ

2 เดือนที่ผ่านมาสำหรับ คปร. ตอนนี้ได้ข้อสรุปอะไรบ้าง และทิศทางต่อไปจะเป็นอย่างไร
เราได้กรอบการทำงานที่ชัดเจนและครบสมบูรณ์แบบแล้ว ว่าจะมีปรัชญาและวิธีขับเคลื่อนงานเชิงประเด็นต่างๆ เช่น ปัญหาหนี้สิน การศึกษา การกระจายอำนาจ ต่อไปจะเริ่มคุยว่าภายใต้กรอบนี้จะมีแนวทางแต่ละประเด็นอย่างไรบ้าง เฉพาะกลุ่มประเด็นและทรัพยากรเราเสนอเป็นกรณีศึกษาเพื่อชี้ให้เห็นว่าแต่ละ พื้นที่มีปัญหาที่เกิดจากวิธีการคิดและปฏิบัติที่ต่างกันระหว่างรัฐ เอกชนและชาวบ้าน ต้องแก้ทั้งสามเส้านี้

ชาวบ้านบอกว่าต้องปฏิรูประบบราชการ จึงปฏิรูปประเทศได้ ในฐานะข้าราชการเก่า มองเรื่องนี้อย่างไร
ข้อ เสนอนี้ตรงประเด็นที่สุด เพราะระบบราชการเป็นประโยชน์หากเราเป็นนายและใช้มันอย่างมีประโยชน์ แต่ถ้าเมื่อใดที่ถูกมันใช้ ครอบงำได้เมื่อนั้นเป็นโทษมหันต์ ตอนอยู่ในระบบเป็นข้าราชการตัวเล็กๆ ไม่สามารถเป็นนายมันได้จึงต้องเดินออกมา

แต่การแก้ไขเรื่องที่ เหมือนแห มีปมหลายปมซ้อนกันไปมา บางปมเป็นเงื่อนตายแก้ไม่ได้ง่ายๆ เห็นว่าถ้าจะแก้ต้องแก้ที่คน ซึ่งเป็นปมปัญหา สำหรับชุมชนต้องทำให้ข้าราชการมาเป็นเพื่อนไม่ใช่ศัตรู เพราะยิ่งเป็นปรปักษ์กันมากเท่าไร ยิ่งทำไม่รู้รู้ว่าปมซุกซ่อนอยู่ตรงไหนสุดท้ายก็มองไม่เห็นวิธีแก้

หลัก ใหญ่คือ

1.ข้าราชการต้องปรับกันเองภายในก่อน โดยมีสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เข้ามาเป็นหลักในการผลักดัน โดยมีประชาชนคอยจี้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่ให้รับใช้กันเองแต่มุ่งเป้าไปที่การรับใช้ประชาชน

2.ปรับระบบการเมืองและราชการให้ถ่วงดุลกัน ให้การเมืองชี้นำราชการให้รับใช้ประชาชน สุดท้ายคือการลดเงื่อนไขการทำงานบางอย่าง เช่น กฎหมายบางฉบับที่บังคับมากเกินไป

อาจารย์มอง คปร. เป็นความหวังในการแก้ปัญหาของชาวบ้านได้แค่ไหน อย่างไร
คปร. เป็นเครื่องมือของชาวบ้าน ถ้ามีเครื่องมือแล้วไม่นำไปใช้เหมือนมีช้อนมีจานวางไว้บนโต๊ะ แต่ไม่หยิบไปเมื่อไรจะถึงปากถึงท้อง วิธีการใช้เครื่องมือชนิดนี้ก็คือการเดินเข้ามาพูดคุย เสนอแนะ เพื่อให้ออกมาเป็นมติแล้วขับเคลื่อนออกไปโดยประชาชน ไม่ใช่คณะกรรมการเพียง 20 กว่าคน เราเป็นเพียงผู้จัดหาช่องทางให้ประชาชนทำงานร่วมกับรัฐบาลเท่านั้น

ต้องใช้เวลานานแค่ไหนชาวบ้านจึงจะเห็นผลลัพธ์สุดท้าย
บางเรื่องไม่นาน บางเรื่องอาจต้องใช้เวลา แต่บางเรื่องไม่รู้ว่าตายไปแล้วจะสำเร็จหรือเปล่า แต่สำหรับระยะเวลา 3 ปีผมหวังว่าจะแก้ปัญหาหนี้สินและฟื้นฟูเกษตรกรให้สามารถเคลื่อนด้วยตัวเอง ได้ ถัดมาเป็นเรื่องการกระจายทรัพยากรให้อยู่ที่ชุมชนท้องถิ่น ที่ดินถึงมือคนไร้ที่ทำกิน ถ้าทำ 3 เรื่องนี้ได้แค่นี้ผมเฮแล้ว ตายพรุ่งนี้ก็ไม่เสียดายชีวิต
…………………………………………………

ต้อง ยอมรับว่าการปฏิรูปประเทศ ภายใต้โครงสร้างสังคม เศรษฐกิจ การเมืองที่ซับซ้อนในปัจจุบัน ไม่ใช่งานง่าย และต้องใช้เวลานาน แต่ ดร.เกษตรกรผู้นี้ยังคงมุ่งมั่นและเชื่อเสมอว่าไม่ว่าใครจะสวมหมวกใบ ไหนในตอนนี้ “ทุกคน”ล้วนมีส่วนร่วมยกเครื่องประเทศไทยสู่เป้าหมายเดียวกันคือสร้างความ เป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำให้สังคม.

“3 ปีแก้ 3 ปัญหาชาวบ้านได้ แม้ตายไม่เสียดายชีวิต”

ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์
โดย โต๊ะข่าวเพื่อชุมชน ศูนย์ข่าวอิศรา

น้ำเสียงมุ่งมั่นแต่อารมณ์ดีของ “เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์” ผู้ผันชีวิตจากข้าราชการกรมป่าไม้ จนได้ฉายาว่า “ดร.เกษตรกร” และปัจจุบันเป็นหนึ่งในคณะกรรมการปฏิรูป(คปร.) สะท้อนว่าชนบทถูกรุกล้ำด้วยกระบวนการ-นโยบายพัฒนาที่ขาดสมดุล และภายใต้วาระงาน 3 ปีหากแก้ปัญหาหนี้สินฟื้นฟูชีวิตเกษตรกรได้แม้ตายก็ไม่เสียดายชีวิต

ทราบว่าอาจารย์เคยเป็นข้าราชการกรมป่าไม้
ผมเดินเข้ากรมป่าไม้ด้วยความคิดว่าชีวิตต้องการเรียนรู้และใช้วิชาวนศาสตร์ ที่เรียนเพื่อพัฒนาตัวเองและสังคม แรกเริ่มผมทำงานในส่วนการจัดการที่ดินป่าสงวนที่ จ.ตาก ทำทุกอย่างตั้งแต่ภารโรงถึงวิทยากร ได้เรียนรู้จากชาวต่างชาติที่มาทำโครงการในไทย มีโอกาสสำรวจป่าทั่วประเทศและร่วมงานกับเอ็นจีโอหลายกลุ่ม ซึ่งผมมีความสุขดี

แต่พอโตมาระดับหนึ่งก็เริ่มมีปัญหาเพราะต้องทำงานวางแผนระดับกรมชี้แจง ต่อสภาผู้แทนราษฎรทุกปีร่วมกับผู้บริหารระดับสูง ต้องติดต่อกับนักการเมืองมากขึ้น รู้สึกตัวเองอยู่กับมายาคติเหมือน เราวางแผนแต่บนกระดาษ บอกว่าต้องอนุรักษ์ป่าอย่างไร ของบประมาณเท่าไร แต่ไปไม่ถึงข้างล่าง ชุมชนมีปัญหาแต่ไม่มีกระบวนการแก้ไขฟื้นฟูเลย

ทำไมถึงผันตัวจากข้าราชการมาเป็นเกษตรกร จนได้ฉายาว่า “ดร.เกษตรกร”
ผม มาวิเคราะห์ตัวเองเพราะอึดอัดมาก รู้สึกเหมือนไม่มีเพื่อนร่วมงานที่ร่วมคิดร่วมหาทางออกให้ชาวบ้านจริงๆ มีแต่คนพูดถึงผลประโยชน์ จะทำอย่างไรให้ได้งบมา แต่ไม่เคยพูดเลยว่าจะทำงานกับชุมชนอย่างไรให้ได้ผลและมีประสิทธิภาพ จึงตัดสินใจลาออกไปบังกลาเทศในฐานะผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ

วันหนึ่งผู้เชี่ยวชาญที่นั่นคนหนึ่งเขาพูดกระแทกใจผมมาก บอกว่าบ้านเมืองมีปัญหา แต่เรากลับมาทำงานต่างประเทศ ผมจึงกลับมาและทำงานกับชุมชนมากขึ้น โดยเฉพาะการขับเคลื่อนแนวคิดป่าชุมชน เพื่อเสริมสร้างความรู้ ศักยภาพให้ชุมชนในการดูแลรักษาและจัดการทรัพยากรท้องถิ่น ลดอำนาจบริหารส่วนกลางมาสู่ชุมชนมากขึ้น

แต่การต่อสู้กว่า 10 ปีไม่ค่อยประสบความสำเร็จ ถูกต่อต้านจากชนชั้นกลางและนักอนุรักษ์นิยมที่มีอคติมองชุมชนเป็นคนทำลายป่า เกิดกระแส “เขียวเข้ม” หรือการอนุรักษ์ป่าด้วยวิธีทางกฎหมาย ตอนนั้นเราสู้กระแสไม่ไหว คิดอยากไปสร้างโลกใหม่ที่น่าอยู่ จึงไปฟื้นที่ดินมรดก 20 ไร่ ที่ จ.ปราจีนบุรี ใช้เวลา 7 ปี สร้างธรรมเกษตรขึ้น โดยปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ มีทุกอย่างที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตไม่ใช่มีไว้เพื่อรับใช้มนุษย์ มีการฝึกอบรมรวมกลุ่มเกษตรกรเป็นเครือข่ายแบบไม่เป็นทางการ พูดคุยและหาทางออกของปัญหาร่วมกัน

อะไรที่ทำให้อาจารย์ตัดสินใจลงไปทำงานกับชุมชนแบบเต็มตัว
ชนบทที่เราวาดฝันไว้ไม่ได้สงบอย่างที่คิด ยิ่งอยู่ใกล้เกษตรกรยิ่งเจอปัญหา บางคนเดินเข้ามาขอทำงานเพราะไม่มีเงินซื้อข้าวให้ลูกกิน บางคนมาขอค่าเล่าเรียน ผมมาคิดว่า “เฮ้ย..ชนบทไม่น่ามีค่าใช้จ่ายมาก แต่ทำไมไม่มีเงินเอาลูกเข้าโรงเรียน จนพบว่าปัญหาทุกอย่างมันเกิดจากหนี้สิน เพราะขาดทุนทุกปี ปีที่ผลผลิตดีก็ถูกดราคา ส่วนปีที่ไม่ดีก็ยิ่งหนักต้องกู้หนี้จากธนาคาร ดอกเบี้ยท่วมหัว บางคนไปกู้นอกระบบอีก ทำอย่างไรก็ไม่คุ้มทุน สุดท้ายก็สูญเสียที่ดิน”

ผม เคยถามในที่ประชุมว่าใครมีที่ดินเป็นของตัวเองบ้าง ไม่มีใครยกมือ พอถามอายุเฉลี่ยก็ 50 กว่าปีขึ้น จึงมาคิดว่าถ้าอีก 10 ปีข้างหน้ายังเป็นอยู่อย่างนี้เกษตรกรล่มสลายแน่ ผมจึงเริ่มทำงาน โดยเชื่อมโยงเกษตรกรกับฐานทรัพยากรทำให้ทั้ง 2 เรื่องเดินไปคู่กัน รณรงค์การแก้ไขปัญหาทั้งระบบแบบวงครบวงจร เริ่มจากวิธีคิด การผลิต และการจัดการจนมีหลักประกันว่าเมื่อทำการเกษตรแล้วต้องมีรายได้พอเลี้ยงครอบ ครัว ไม่ใช่แค่ราคาประกันต่อเกวียนอย่างที่รัฐทำอยู่

ที่ผ่านมา ปัญหาภาคเกษตรกรรม มีอะไรที่ได้รับการแก้ไขจากรัฐบาลหรือไม่อย่างไร
มีบ้าง อย่างเรื่องหนี้นอกระบบ รัฐบาลก็มีมาตรการหลายอย่าง แต่ก็ยังช่วยได้แค่บางกลุ่ม เกษตรกรที่เป็นคนส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ ซึ่งหากยังเป็นเช่นนี้ไม่เกิน 10 ปี คงล่มสลายแน่นอน เพราะปัญหาเคลื่อนตัวเร็วกว่าความพยายามในการแก้ปัญหา

ถ้าถามว่าปัญหาที่แก้ไขสำเร็จมีบ้างไหม ตอบว่าไม่มีเลย เพราะเราพูดกันแต่การแก้ไขระยะสั้น อย่างเรื่องหนี้บางคนปลดได้ตั้งแต่ปี 2548 แต่ต้องกลับไปกู้ใหม่อีก เพราะไม่มีการฟื้นฟูอาชีพ ผมจึงบอกว่าถึงแก้หนี้ได้แต่ยังไม่จบ ต้องมีกระบวนการฟื้นฟูชีวิตเกษตรกรคือต้องทำให้เขาคิดได้เองว่าจะจัดการตน เองอย่างไร เพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ที่เป็นหลักประกันระยะยาว มีเงินออมไว้เป็นสวัสดิการยามเจ็บป่วย

ประเด็นหลักๆ ที่อาจารย์สนใจเป็นพิเศษ คือเรื่องหนี้สินและการฟื้นฟูชีวิตเกษตรกร
ผม ดูเรื่องนโยบายการจัดการหนี้และการฟื้นฟูเกษตรกร ที่เห็นตอนนี้รัฐบาลออกมาบอกว่าแก้ไปได้ 4-5 แสนราย แต่ยังเป็นมาตรการระยะสั้น เพียงดึงหนี้นอกระบบมาอยู่ในระบบเท่านั้น ยังไม่ได้จัดระบบความคิดและระบบการบริหารจัดการให้ชาวบ้านมีวินัยทางการเงิน อย่างแท้จริง ซึ่งจะทำได้ก็ต่อเมื่อปรับระบบคิด ส่งเสริมการประกอบอาชีพ และสร้างระบบสวัสดิการ โดยให้ทุกอย่างเชื่อมโยงกัน

นอกจากนั้นยังมีเรื่องที่ดินและทรัพยากร ที่เป็นปัญหามาก ขณะที่นโยบายหรือมาตรการแก้ไขยังไม่ไปถึงไหน แม้จะมีโฉนดชุมชน ซึ่งเป็นเพียงรูปแบบการจัดกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่แก้ปัญหาแค่ปลายเหตุ ยังกระจายการถือครองที่ดินไปยังชาวบ้านไม่ได้

อาจารย์มีโมเดลการแก้ปัญหาหนี้สินเกษตร และปัญหาที่ดินชาบ้านอย่างไร
เรื่อง หนี้สินและการฟื้นฟูชีวิตเกษตรกร ผมเห็นว่า 1. ต้องแก้ทั้งระบบ โดยใช้วิธีการเหมือนครั้งแก้วิกฤติต้มยำกุ้ง คือรัฐซื้อหนี้ทั้งหมดแล้วนำมาบริหารจัดการโดยระบบกองทุนเดียว 2.รัฐต้องยอมรับด้วยว่าหนี้สินมากมายเหล่านี้ส่วนหนึ่งเกิดจากนโยบายของรัฐ และกระบวนการพัฒนาที่ไม่สมดุลและยั่งยืน ผลักให้เกษตรกรเข้าสู่ทุนนิยมโดยไม่มีความพร้อม จุดนี้รัฐต้องรับผิดชอบ 3.กระบวนการแก้ปัญหาต้องเกิดจาก 3 ส่วน คือ รัฐ เกษตรกร และสถาบันการเงิน

ส่วนเรื่องที่ดินก็คล้าย กันคือรัฐต้องซื้อที่ดินรกร้าง ที่ดินไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่มีอยู่ 20-30 ล้านไร่ มาให้หมดแล้วนำมาบริหารจัดการให้กับผู้ที่ต้องการใช้ประโยชน์แท้จริง ไม่ใช่ปล่อยซื้อขายเก็งกำไร รับรองแก้ปัญหาเกษตรกรได้หมด แถมมีผลิตภัณฑ์สำหรับการเป็นครัวโลกอย่างเหลือเฟือ แต่ทั้งนี้ต้องทำอย่างครบวงจรคือนอกจากผลิตต้องคิดเรื่องจัดการตลาดโดยยึด หลักการรวมตัว ดังนั้น พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติ ที่กำลังจะออกมาจึงจำเป็นมากเพราะส่งเสริมการรวมตัวและเสนอแผนต่อคณะรัฐมนตรีได้โดยตรง

เป็นมาอย่างไรจึงเข้ามาเป็นหนึ่งในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ
วัน หนึ่งผมอภิปรายอยู่ที่เครือข่ายภาคตะวันออก ก็ได้รับโทรศัพท์จากคุณอานันท์ ปันยารชุน ประธาน คปร.ชวนเข้าร่วมด้วย เพราะเห็นว่าผมทำงานด้านการเกษตรมาเยอะและเห็นผมเป็นเกษตรกรคนหนึ่งด้วย เมื่อท่านเห็นว่ามีประโยชน์ก็ยินดีช่วย เราเองก็เห็นว่ามันไม่ได้เหนือบ่ากว่าแรงอะไร จึงตอบรับและนำเรื่องที่ทำงานอยู่มาขับเคลื่อนต่อ

2 เดือนที่ผ่านมาสำหรับ คปร. ตอนนี้ได้ข้อสรุปอะไรบ้าง และทิศทางต่อไปจะเป็นอย่างไร
เราได้กรอบการทำงานที่ชัดเจนและครบสมบูรณ์แบบแล้ว ว่าจะมีปรัชญาและวิธีขับเคลื่อนงานเชิงประเด็นต่างๆ เช่น ปัญหาหนี้สิน การศึกษา การกระจายอำนาจ ต่อไปจะเริ่มคุยว่าภายใต้กรอบนี้จะมีแนวทางแต่ละประเด็นอย่างไรบ้าง เฉพาะกลุ่มประเด็นและทรัพยากรเราเสนอเป็นกรณีศึกษาเพื่อชี้ให้เห็นว่าแต่ละ พื้นที่มีปัญหาที่เกิดจากวิธีการคิดและปฏิบัติที่ต่างกันระหว่างรัฐ เอกชนและชาวบ้าน ต้องแก้ทั้งสามเส้านี้

ชาวบ้านบอกว่าต้องปฏิรูประบบราชการ จึงปฏิรูปประเทศได้ ในฐานะข้าราชการเก่า มองเรื่องนี้อย่างไร
ข้อ เสนอนี้ตรงประเด็นที่สุด เพราะระบบราชการเป็นประโยชน์หากเราเป็นนายและใช้มันอย่างมีประโยชน์ แต่ถ้าเมื่อใดที่ถูกมันใช้ ครอบงำได้เมื่อนั้นเป็นโทษมหันต์ ตอนอยู่ในระบบเป็นข้าราชการตัวเล็กๆ ไม่สามารถเป็นนายมันได้จึงต้องเดินออกมา

แต่การแก้ไขเรื่องที่ เหมือนแห มีปมหลายปมซ้อนกันไปมา บางปมเป็นเงื่อนตายแก้ไม่ได้ง่ายๆ เห็นว่าถ้าจะแก้ต้องแก้ที่คน ซึ่งเป็นปมปัญหา สำหรับชุมชนต้องทำให้ข้าราชการมาเป็นเพื่อนไม่ใช่ศัตรู เพราะยิ่งเป็นปรปักษ์กันมากเท่าไร ยิ่งทำไม่รู้รู้ว่าปมซุกซ่อนอยู่ตรงไหนสุดท้ายก็มองไม่เห็นวิธีแก้

หลัก ใหญ่คือ

1.ข้าราชการต้องปรับกันเองภายในก่อน โดยมีสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เข้ามาเป็นหลักในการผลักดัน โดยมีประชาชนคอยจี้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่ให้รับใช้กันเองแต่มุ่งเป้าไปที่การรับใช้ประชาชน

2.ปรับระบบการเมืองและราชการให้ถ่วงดุลกัน ให้การเมืองชี้นำราชการให้รับใช้ประชาชน สุดท้ายคือการลดเงื่อนไขการทำงานบางอย่าง เช่น กฎหมายบางฉบับที่บังคับมากเกินไป

อาจารย์มอง คปร. เป็นความหวังในการแก้ปัญหาของชาวบ้านได้แค่ไหน อย่างไร
คปร. เป็นเครื่องมือของชาวบ้าน ถ้ามีเครื่องมือแล้วไม่นำไปใช้เหมือนมีช้อนมีจานวางไว้บนโต๊ะ แต่ไม่หยิบไปเมื่อไรจะถึงปากถึงท้อง วิธีการใช้เครื่องมือชนิดนี้ก็คือการเดินเข้ามาพูดคุย เสนอแนะ เพื่อให้ออกมาเป็นมติแล้วขับเคลื่อนออกไปโดยประชาชน ไม่ใช่คณะกรรมการเพียง 20 กว่าคน เราเป็นเพียงผู้จัดหาช่องทางให้ประชาชนทำงานร่วมกับรัฐบาลเท่านั้น

ต้องใช้เวลานานแค่ไหนชาวบ้านจึงจะเห็นผลลัพธ์สุดท้าย
บางเรื่องไม่นาน บางเรื่องอาจต้องใช้เวลา แต่บางเรื่องไม่รู้ว่าตายไปแล้วจะสำเร็จหรือเปล่า แต่สำหรับระยะเวลา 3 ปีผมหวังว่าจะแก้ปัญหาหนี้สินและฟื้นฟูเกษตรกรให้สามารถเคลื่อนด้วยตัวเอง ได้ ถัดมาเป็นเรื่องการกระจายทรัพยากรให้อยู่ที่ชุมชนท้องถิ่น ที่ดินถึงมือคนไร้ที่ทำกิน ถ้าทำ 3 เรื่องนี้ได้แค่นี้ผมเฮแล้ว ตายพรุ่งนี้ก็ไม่เสียดายชีวิต
…………………………………………………

ต้อง ยอมรับว่าการปฏิรูปประเทศ ภายใต้โครงสร้างสังคม เศรษฐกิจ การเมืองที่ซับซ้อนในปัจจุบัน ไม่ใช่งานง่าย และต้องใช้เวลานาน แต่ ดร.เกษตรกรผู้นี้ยังคงมุ่งมั่นและเชื่อเสมอว่าไม่ว่าใครจะสวมหมวกใบ ไหนในตอนนี้ “ทุกคน”ล้วนมีส่วนร่วมยกเครื่องประเทศไทยสู่เป้าหมายเดียวกันคือสร้างความ เป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำให้สังคม.

“3 ปีแก้ 3 ปัญหาชาวบ้านได้ แม้ตายไม่เสียดายชีวิต”

ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์
โดย โต๊ะข่าวเพื่อชุมชน ศูนย์ข่าวอิศรา

น้ำเสียงมุ่งมั่นแต่อารมณ์ดีของ “เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์” ผู้ผันชีวิตจากข้าราชการกรมป่าไม้ จนได้ฉายาว่า “ดร.เกษตรกร” และปัจจุบันเป็นหนึ่งในคณะกรรมการปฏิรูป(คปร.) สะท้อนว่าชนบทถูกรุกล้ำด้วยกระบวนการ-นโยบายพัฒนาที่ขาดสมดุล และภายใต้วาระงาน 3 ปีหากแก้ปัญหาหนี้สินฟื้นฟูชีวิตเกษตรกรได้แม้ตายก็ไม่เสียดายชีวิต

ทราบว่าอาจารย์เคยเป็นข้าราชการกรมป่าไม้
ผมเดินเข้ากรมป่าไม้ด้วยความคิดว่าชีวิตต้องการเรียนรู้และใช้วิชาวนศาสตร์ ที่เรียนเพื่อพัฒนาตัวเองและสังคม แรกเริ่มผมทำงานในส่วนการจัดการที่ดินป่าสงวนที่ จ.ตาก ทำทุกอย่างตั้งแต่ภารโรงถึงวิทยากร ได้เรียนรู้จากชาวต่างชาติที่มาทำโครงการในไทย มีโอกาสสำรวจป่าทั่วประเทศและร่วมงานกับเอ็นจีโอหลายกลุ่ม ซึ่งผมมีความสุขดี

แต่พอโตมาระดับหนึ่งก็เริ่มมีปัญหาเพราะต้องทำงานวางแผนระดับกรมชี้แจง ต่อสภาผู้แทนราษฎรทุกปีร่วมกับผู้บริหารระดับสูง ต้องติดต่อกับนักการเมืองมากขึ้น รู้สึกตัวเองอยู่กับมายาคติเหมือน เราวางแผนแต่บนกระดาษ บอกว่าต้องอนุรักษ์ป่าอย่างไร ของบประมาณเท่าไร แต่ไปไม่ถึงข้างล่าง ชุมชนมีปัญหาแต่ไม่มีกระบวนการแก้ไขฟื้นฟูเลย

ทำไมถึงผันตัวจากข้าราชการมาเป็นเกษตรกร จนได้ฉายาว่า “ดร.เกษตรกร”
ผม มาวิเคราะห์ตัวเองเพราะอึดอัดมาก รู้สึกเหมือนไม่มีเพื่อนร่วมงานที่ร่วมคิดร่วมหาทางออกให้ชาวบ้านจริงๆ มีแต่คนพูดถึงผลประโยชน์ จะทำอย่างไรให้ได้งบมา แต่ไม่เคยพูดเลยว่าจะทำงานกับชุมชนอย่างไรให้ได้ผลและมีประสิทธิภาพ จึงตัดสินใจลาออกไปบังกลาเทศในฐานะผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ

วันหนึ่งผู้เชี่ยวชาญที่นั่นคนหนึ่งเขาพูดกระแทกใจผมมาก บอกว่าบ้านเมืองมีปัญหา แต่เรากลับมาทำงานต่างประเทศ ผมจึงกลับมาและทำงานกับชุมชนมากขึ้น โดยเฉพาะการขับเคลื่อนแนวคิดป่าชุมชน เพื่อเสริมสร้างความรู้ ศักยภาพให้ชุมชนในการดูแลรักษาและจัดการทรัพยากรท้องถิ่น ลดอำนาจบริหารส่วนกลางมาสู่ชุมชนมากขึ้น

แต่การต่อสู้กว่า 10 ปีไม่ค่อยประสบความสำเร็จ ถูกต่อต้านจากชนชั้นกลางและนักอนุรักษ์นิยมที่มีอคติมองชุมชนเป็นคนทำลายป่า เกิดกระแส “เขียวเข้ม” หรือการอนุรักษ์ป่าด้วยวิธีทางกฎหมาย ตอนนั้นเราสู้กระแสไม่ไหว คิดอยากไปสร้างโลกใหม่ที่น่าอยู่ จึงไปฟื้นที่ดินมรดก 20 ไร่ ที่ จ.ปราจีนบุรี ใช้เวลา 7 ปี สร้างธรรมเกษตรขึ้น โดยปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ มีทุกอย่างที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตไม่ใช่มีไว้เพื่อรับใช้มนุษย์ มีการฝึกอบรมรวมกลุ่มเกษตรกรเป็นเครือข่ายแบบไม่เป็นทางการ พูดคุยและหาทางออกของปัญหาร่วมกัน

อะไรที่ทำให้อาจารย์ตัดสินใจลงไปทำงานกับชุมชนแบบเต็มตัว
ชนบทที่เราวาดฝันไว้ไม่ได้สงบอย่างที่คิด ยิ่งอยู่ใกล้เกษตรกรยิ่งเจอปัญหา บางคนเดินเข้ามาขอทำงานเพราะไม่มีเงินซื้อข้าวให้ลูกกิน บางคนมาขอค่าเล่าเรียน ผมมาคิดว่า “เฮ้ย..ชนบทไม่น่ามีค่าใช้จ่ายมาก แต่ทำไมไม่มีเงินเอาลูกเข้าโรงเรียน จนพบว่าปัญหาทุกอย่างมันเกิดจากหนี้สิน เพราะขาดทุนทุกปี ปีที่ผลผลิตดีก็ถูกดราคา ส่วนปีที่ไม่ดีก็ยิ่งหนักต้องกู้หนี้จากธนาคาร ดอกเบี้ยท่วมหัว บางคนไปกู้นอกระบบอีก ทำอย่างไรก็ไม่คุ้มทุน สุดท้ายก็สูญเสียที่ดิน”

ผม เคยถามในที่ประชุมว่าใครมีที่ดินเป็นของตัวเองบ้าง ไม่มีใครยกมือ พอถามอายุเฉลี่ยก็ 50 กว่าปีขึ้น จึงมาคิดว่าถ้าอีก 10 ปีข้างหน้ายังเป็นอยู่อย่างนี้เกษตรกรล่มสลายแน่ ผมจึงเริ่มทำงาน โดยเชื่อมโยงเกษตรกรกับฐานทรัพยากรทำให้ทั้ง 2 เรื่องเดินไปคู่กัน รณรงค์การแก้ไขปัญหาทั้งระบบแบบวงครบวงจร เริ่มจากวิธีคิด การผลิต และการจัดการจนมีหลักประกันว่าเมื่อทำการเกษตรแล้วต้องมีรายได้พอเลี้ยงครอบ ครัว ไม่ใช่แค่ราคาประกันต่อเกวียนอย่างที่รัฐทำอยู่

ที่ผ่านมา ปัญหาภาคเกษตรกรรม มีอะไรที่ได้รับการแก้ไขจากรัฐบาลหรือไม่อย่างไร
มีบ้าง อย่างเรื่องหนี้นอกระบบ รัฐบาลก็มีมาตรการหลายอย่าง แต่ก็ยังช่วยได้แค่บางกลุ่ม เกษตรกรที่เป็นคนส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ ซึ่งหากยังเป็นเช่นนี้ไม่เกิน 10 ปี คงล่มสลายแน่นอน เพราะปัญหาเคลื่อนตัวเร็วกว่าความพยายามในการแก้ปัญหา

ถ้าถามว่าปัญหาที่แก้ไขสำเร็จมีบ้างไหม ตอบว่าไม่มีเลย เพราะเราพูดกันแต่การแก้ไขระยะสั้น อย่างเรื่องหนี้บางคนปลดได้ตั้งแต่ปี 2548 แต่ต้องกลับไปกู้ใหม่อีก เพราะไม่มีการฟื้นฟูอาชีพ ผมจึงบอกว่าถึงแก้หนี้ได้แต่ยังไม่จบ ต้องมีกระบวนการฟื้นฟูชีวิตเกษตรกรคือต้องทำให้เขาคิดได้เองว่าจะจัดการตน เองอย่างไร เพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ที่เป็นหลักประกันระยะยาว มีเงินออมไว้เป็นสวัสดิการยามเจ็บป่วย

ประเด็นหลักๆ ที่อาจารย์สนใจเป็นพิเศษ คือเรื่องหนี้สินและการฟื้นฟูชีวิตเกษตรกร
ผม ดูเรื่องนโยบายการจัดการหนี้และการฟื้นฟูเกษตรกร ที่เห็นตอนนี้รัฐบาลออกมาบอกว่าแก้ไปได้ 4-5 แสนราย แต่ยังเป็นมาตรการระยะสั้น เพียงดึงหนี้นอกระบบมาอยู่ในระบบเท่านั้น ยังไม่ได้จัดระบบความคิดและระบบการบริหารจัดการให้ชาวบ้านมีวินัยทางการเงิน อย่างแท้จริง ซึ่งจะทำได้ก็ต่อเมื่อปรับระบบคิด ส่งเสริมการประกอบอาชีพ และสร้างระบบสวัสดิการ โดยให้ทุกอย่างเชื่อมโยงกัน

นอกจากนั้นยังมีเรื่องที่ดินและทรัพยากร ที่เป็นปัญหามาก ขณะที่นโยบายหรือมาตรการแก้ไขยังไม่ไปถึงไหน แม้จะมีโฉนดชุมชน ซึ่งเป็นเพียงรูปแบบการจัดกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่แก้ปัญหาแค่ปลายเหตุ ยังกระจายการถือครองที่ดินไปยังชาวบ้านไม่ได้

อาจารย์มีโมเดลการแก้ปัญหาหนี้สินเกษตร และปัญหาที่ดินชาบ้านอย่างไร
เรื่อง หนี้สินและการฟื้นฟูชีวิตเกษตรกร ผมเห็นว่า 1. ต้องแก้ทั้งระบบ โดยใช้วิธีการเหมือนครั้งแก้วิกฤติต้มยำกุ้ง คือรัฐซื้อหนี้ทั้งหมดแล้วนำมาบริหารจัดการโดยระบบกองทุนเดียว 2.รัฐต้องยอมรับด้วยว่าหนี้สินมากมายเหล่านี้ส่วนหนึ่งเกิดจากนโยบายของรัฐ และกระบวนการพัฒนาที่ไม่สมดุลและยั่งยืน ผลักให้เกษตรกรเข้าสู่ทุนนิยมโดยไม่มีความพร้อม จุดนี้รัฐต้องรับผิดชอบ 3.กระบวนการแก้ปัญหาต้องเกิดจาก 3 ส่วน คือ รัฐ เกษตรกร และสถาบันการเงิน

ส่วนเรื่องที่ดินก็คล้าย กันคือรัฐต้องซื้อที่ดินรกร้าง ที่ดินไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่มีอยู่ 20-30 ล้านไร่ มาให้หมดแล้วนำมาบริหารจัดการให้กับผู้ที่ต้องการใช้ประโยชน์แท้จริง ไม่ใช่ปล่อยซื้อขายเก็งกำไร รับรองแก้ปัญหาเกษตรกรได้หมด แถมมีผลิตภัณฑ์สำหรับการเป็นครัวโลกอย่างเหลือเฟือ แต่ทั้งนี้ต้องทำอย่างครบวงจรคือนอกจากผลิตต้องคิดเรื่องจัดการตลาดโดยยึด หลักการรวมตัว ดังนั้น พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติ ที่กำลังจะออกมาจึงจำเป็นมากเพราะส่งเสริมการรวมตัวและเสนอแผนต่อคณะรัฐมนตรีได้โดยตรง

เป็นมาอย่างไรจึงเข้ามาเป็นหนึ่งในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ
วัน หนึ่งผมอภิปรายอยู่ที่เครือข่ายภาคตะวันออก ก็ได้รับโทรศัพท์จากคุณอานันท์ ปันยารชุน ประธาน คปร.ชวนเข้าร่วมด้วย เพราะเห็นว่าผมทำงานด้านการเกษตรมาเยอะและเห็นผมเป็นเกษตรกรคนหนึ่งด้วย เมื่อท่านเห็นว่ามีประโยชน์ก็ยินดีช่วย เราเองก็เห็นว่ามันไม่ได้เหนือบ่ากว่าแรงอะไร จึงตอบรับและนำเรื่องที่ทำงานอยู่มาขับเคลื่อนต่อ

2 เดือนที่ผ่านมาสำหรับ คปร. ตอนนี้ได้ข้อสรุปอะไรบ้าง และทิศทางต่อไปจะเป็นอย่างไร
เราได้กรอบการทำงานที่ชัดเจนและครบสมบูรณ์แบบแล้ว ว่าจะมีปรัชญาและวิธีขับเคลื่อนงานเชิงประเด็นต่างๆ เช่น ปัญหาหนี้สิน การศึกษา การกระจายอำนาจ ต่อไปจะเริ่มคุยว่าภายใต้กรอบนี้จะมีแนวทางแต่ละประเด็นอย่างไรบ้าง เฉพาะกลุ่มประเด็นและทรัพยากรเราเสนอเป็นกรณีศึกษาเพื่อชี้ให้เห็นว่าแต่ละ พื้นที่มีปัญหาที่เกิดจากวิธีการคิดและปฏิบัติที่ต่างกันระหว่างรัฐ เอกชนและชาวบ้าน ต้องแก้ทั้งสามเส้านี้

ชาวบ้านบอกว่าต้องปฏิรูประบบราชการ จึงปฏิรูปประเทศได้ ในฐานะข้าราชการเก่า มองเรื่องนี้อย่างไร
ข้อ เสนอนี้ตรงประเด็นที่สุด เพราะระบบราชการเป็นประโยชน์หากเราเป็นนายและใช้มันอย่างมีประโยชน์ แต่ถ้าเมื่อใดที่ถูกมันใช้ ครอบงำได้เมื่อนั้นเป็นโทษมหันต์ ตอนอยู่ในระบบเป็นข้าราชการตัวเล็กๆ ไม่สามารถเป็นนายมันได้จึงต้องเดินออกมา

แต่การแก้ไขเรื่องที่ เหมือนแห มีปมหลายปมซ้อนกันไปมา บางปมเป็นเงื่อนตายแก้ไม่ได้ง่ายๆ เห็นว่าถ้าจะแก้ต้องแก้ที่คน ซึ่งเป็นปมปัญหา สำหรับชุมชนต้องทำให้ข้าราชการมาเป็นเพื่อนไม่ใช่ศัตรู เพราะยิ่งเป็นปรปักษ์กันมากเท่าไร ยิ่งทำไม่รู้รู้ว่าปมซุกซ่อนอยู่ตรงไหนสุดท้ายก็มองไม่เห็นวิธีแก้

หลัก ใหญ่คือ

1.ข้าราชการต้องปรับกันเองภายในก่อน โดยมีสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เข้ามาเป็นหลักในการผลักดัน โดยมีประชาชนคอยจี้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่ให้รับใช้กันเองแต่มุ่งเป้าไปที่การรับใช้ประชาชน

2.ปรับระบบการเมืองและราชการให้ถ่วงดุลกัน ให้การเมืองชี้นำราชการให้รับใช้ประชาชน สุดท้ายคือการลดเงื่อนไขการทำงานบางอย่าง เช่น กฎหมายบางฉบับที่บังคับมากเกินไป

อาจารย์มอง คปร. เป็นความหวังในการแก้ปัญหาของชาวบ้านได้แค่ไหน อย่างไร
คปร. เป็นเครื่องมือของชาวบ้าน ถ้ามีเครื่องมือแล้วไม่นำไปใช้เหมือนมีช้อนมีจานวางไว้บนโต๊ะ แต่ไม่หยิบไปเมื่อไรจะถึงปากถึงท้อง วิธีการใช้เครื่องมือชนิดนี้ก็คือการเดินเข้ามาพูดคุย เสนอแนะ เพื่อให้ออกมาเป็นมติแล้วขับเคลื่อนออกไปโดยประชาชน ไม่ใช่คณะกรรมการเพียง 20 กว่าคน เราเป็นเพียงผู้จัดหาช่องทางให้ประชาชนทำงานร่วมกับรัฐบาลเท่านั้น

ต้องใช้เวลานานแค่ไหนชาวบ้านจึงจะเห็นผลลัพธ์สุดท้าย
บางเรื่องไม่นาน บางเรื่องอาจต้องใช้เวลา แต่บางเรื่องไม่รู้ว่าตายไปแล้วจะสำเร็จหรือเปล่า แต่สำหรับระยะเวลา 3 ปีผมหวังว่าจะแก้ปัญหาหนี้สินและฟื้นฟูเกษตรกรให้สามารถเคลื่อนด้วยตัวเอง ได้ ถัดมาเป็นเรื่องการกระจายทรัพยากรให้อยู่ที่ชุมชนท้องถิ่น ที่ดินถึงมือคนไร้ที่ทำกิน ถ้าทำ 3 เรื่องนี้ได้แค่นี้ผมเฮแล้ว ตายพรุ่งนี้ก็ไม่เสียดายชีวิต
…………………………………………………

ต้อง ยอมรับว่าการปฏิรูปประเทศ ภายใต้โครงสร้างสังคม เศรษฐกิจ การเมืองที่ซับซ้อนในปัจจุบัน ไม่ใช่งานง่าย และต้องใช้เวลานาน แต่ ดร.เกษตรกรผู้นี้ยังคงมุ่งมั่นและเชื่อเสมอว่าไม่ว่าใครจะสวมหมวกใบ ไหนในตอนนี้ “ทุกคน”ล้วนมีส่วนร่วมยกเครื่องประเทศไทยสู่เป้าหมายเดียวกันคือสร้างความ เป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำให้สังคม.

Saturday, September 25, 2010

ภายใต้ตุลาการภิวัฒน์...ผู้ใช้กฎหมายเป็นใหญ่ ?

ตุลาการภิวัฒน์ในทัศนะ อ.ปิยบุตร แสงกนกกุล “เราต้องเชื่อมั่นในศาล ผ่านเหตุผลของการตัดสินของศาล”


อ.ปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงทัศนะถึงอำนาจของฝ่ายตุลาการในการบังคับใช้กฏหมาย การใช้อำนาจโดยตรงของศาลคือการตัดสินคดี ก็เป็นเรื่องที่ศาลกระทำด้วยความยากลำบาก เพราะศาลในฐานะสถาบันที่รักษาความสืบเนื่องจากหลักการในอดีต และคำนึงผลประโยชน์ยาวไกลที่สุดของประเทศ การตรวจการทำหน้าที่ของฝ่ายตุลาการต้องสามารถทำได้ และเราต้องเชื่อมั่นในศาล ผ่านเหตุผลของการตัดสินของศาล

Content By Voice TV

ภายใต้ตุลาการภิวัฒน์...ผู้ใช้กฎหมายเป็นใหญ่ ?

ตุลาการภิวัฒน์ในทัศนะ อ.ปิยบุตร แสงกนกกุล “เราต้องเชื่อมั่นในศาล ผ่านเหตุผลของการตัดสินของศาล”


อ.ปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงทัศนะถึงอำนาจของฝ่ายตุลาการในการบังคับใช้กฏหมาย การใช้อำนาจโดยตรงของศาลคือการตัดสินคดี ก็เป็นเรื่องที่ศาลกระทำด้วยความยากลำบาก เพราะศาลในฐานะสถาบันที่รักษาความสืบเนื่องจากหลักการในอดีต และคำนึงผลประโยชน์ยาวไกลที่สุดของประเทศ การตรวจการทำหน้าที่ของฝ่ายตุลาการต้องสามารถทำได้ และเราต้องเชื่อมั่นในศาล ผ่านเหตุผลของการตัดสินของศาล

Content By Voice TV

ภายใต้ตุลาการภิวัฒน์...ผู้ใช้กฎหมายเป็นใหญ่ ?

ตุลาการภิวัฒน์ในทัศนะ อ.ปิยบุตร แสงกนกกุล “เราต้องเชื่อมั่นในศาล ผ่านเหตุผลของการตัดสินของศาล”


อ.ปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงทัศนะถึงอำนาจของฝ่ายตุลาการในการบังคับใช้กฏหมาย การใช้อำนาจโดยตรงของศาลคือการตัดสินคดี ก็เป็นเรื่องที่ศาลกระทำด้วยความยากลำบาก เพราะศาลในฐานะสถาบันที่รักษาความสืบเนื่องจากหลักการในอดีต และคำนึงผลประโยชน์ยาวไกลที่สุดของประเทศ การตรวจการทำหน้าที่ของฝ่ายตุลาการต้องสามารถทำได้ และเราต้องเชื่อมั่นในศาล ผ่านเหตุผลของการตัดสินของศาล

Content By Voice TV

Friday, September 24, 2010

ปัญหาองค์การนำในขบวนการประชาธิปไตย (ตอนที่ ๑)

รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์
24 กันยายน 2553
ที่มา : ประชาไท
บทเรียนสำคัญประการหนึ่งจากการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยในช่วงมีนาคม-พฤษภาคม 2553 คือปัญหาการจัดการองค์การนำของขบวน ได้แก่ ประเด็นว่าด้วยสถานะของทักษิณ ชินวัตร แกนนำ นปช. “แดงทั้งแผ่นดิน” และลักษณะการจัดตั้งของขบวนประชาธิปไตย

1. เกี่ยวกับทักษิณ ชินวัตร
ปัญหาที่โต้แย้งกันมายาวนานประการหนึ่งคือ สถานะของทักษิณ ชินวัตรในขบวนการประชาธิปไตย ข้อถกเถียงส่วนหนึ่งเห็นว่า ทักษิณเป็นเพียงนักการเมืองที่ถูกกระทำจากรัฐประหาร 19 กันยายน จึงจำเป็นต้องใช้ประโยชน์จากการเคลื่อนไหวมวลชนเพื่อประโยชน์ตน และมีแต่ขบวนประชาธิปไตยต้องถอยห่างจากทักษิณเท่านั้น จึงจะพัฒนาเติบใหญ่เป็น “พลังประชาธิปไตยบริสุทธิ์” ได้ ความเห็นนี้มักจะมาจากปีกปัญญาชนฝ่ายประชาธิปไตย

ในทางตรงข้าม ก็มีความเห็นว่า ทักษิณ ชินวัตรคือผู้นำหนึ่งเดียวของฝ่ายประชาธิปไตย เป็นผู้ปฏิวัติสังคมที่จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงเชิง “ระบอบ” มีสถานะเยี่ยงผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เช่น นายปรีดี พนมยงค์

เราจะเข้าใจสถานะ บทบาท และขีดจำกัดของทักษิณได้ก็โดยดูจากประวัติศาสตร์ ดังเช่นที่นักปรัชญาเมธีผู้ยิ่งใหญ่ได้กล่าวไว้ว่า “ผู้คนแต่ละรุ่นนั้นถูกสาปด้วยมรดกจากคนรุ่นก่อนและจากอดีตของตนเอง”

ทักษิณ ชินวัตรมีภูมิหลังเติบโตจากต่างจังหวัด และก็เช่นเดียวกับไพร่สามัญชนที่ไต่ระดับสู่ชนชั้นนำได้สำเร็จคือ อาศัยการศึกษาและเข้าสู่เครือข่ายของระบอบจารีตนิยม ผ่านโรงเรียนเตรียมทหารและเข้าสู่ราชการตำรวจ ถูกหล่อหลอมด้วยอุดมการณ์ของจารีตนิยมมาอย่างเหนียวแน่น แม้ภายหลังจะออกจากราชการมาทำธุรกิจจนประสบความสำเร็จ ก็ยังต้องพึ่งพาอาศัยเครือข่ายราชการ รัฐวิสาหกิจและธุรกิจของจารีตนิยม ทั้งร่วมมือแบ่งปันผลประโยชน์และแข่งขันกัน ฉะนั้น ในทางอุดมการณ์การเมือง เขาจึงมีความโน้มเอียงทางจารีตนิยมเช่นเดียวกับสมาชิกชนชั้นนำอื่น ๆ นี่คือด้านที่เป็นจารีตนิยมล้าหลังของทักษิณ

แต่พื้นภูมิหลังต่างจังหวัดที่ดิ้นรนมาอย่างยากลำบาก ภายหลังมีประสบการณ์ทางธุรกิจและความสัมพันธ์กับระบอบโลกาภิวัฒน์ของโลก ทำให้ทักษิณมองเห็นจุดเปราะบางของระบบเศรษฐกิจไทย เมื่อเข้าสู่การเมือง ก็ต้องอาศัยกระบวนการเลือกตั้งในระบอบรัฐสภาเพื่อเข้าสู่อำนาจ ท้ายสุดยังถูกกระทำร้ายจากรัฐประหาร 19 กันยายน ทำให้เขาเห็นความสำคัญของประชาธิปไตย การเลือกตั้ง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน นี่คือด้านที่เป็นประชาธิปไตยก้าวหน้าของทักษิณ

ลักษณะสองด้านของทักษิณเป็นผลให้อุดมการณ์ทางการเมืองของเขามีลักษณะขัดแย้งกันเอง คือด้านหนึ่งก็ไม่กล้าแตกหักกับอำมาตยาธิปไตย ยังคงไว้ซึ่งเยื่อใย ความหวังลม ๆ แล้ง ๆ เพ้อฝันที่จะเจรจาต่อรองเพื่อประนีประนอมอยู่ร่ำไป ไม่ยอมรับความจริงว่า ฝ่ายเผด็จการต้องการทำลายตัวเขาอย่างถึงที่สุด ไม่มีความเชื่อมั่นว่า ฝ่ายประชาธิปไตยจะสามารถเอาชนะฝ่ายเผด็จการอำมาตยาธิปไตยได้ แม้เขาจะมีวิสัยทัศน์อันยอดเยี่ยมชัดเจนในการปฏิรูประบบเศรษฐกิจไทยตามแนวทางทุนนิยมโลกาภิวัฒน์และมีความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตยในเชิงนามธรรม แต่กลับไม่เข้าใจถึงลักษณะปฏิวัติและลักษณะที่ไม่อาจประนีประนอมกันได้ของการต่อสู้ทางชนชั้นและการต่อสู้สองแนวทางในขั้นตอนปัจจุบัน ไม่มีความชัดเจนในเป้าหมายของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และไม่มีวิสัยทัศน์รูปธรรมถึงการก่อรูประบอบประชาธิปไตยของไทยในอนาคต

แต่ในอีกด้านหนึ่ง ทักษิณก็เล็งเห็นความจำเป็นที่จะต้องต่อสู้กับระบอบอำมาตยาธิปไตยเพื่อช่วงชิงประชาธิปไตย ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ว่า ลำพังแต่เพียงกระบวนการเลือกตั้งและพรรคการเมืองในระบอบรัฐธรรมนูญ 2550 นั้นไม่เพียงพอที่จะต่อสู้เพื่อเอาชีวิตตนให้รอด และยิ่งไม่เพียงพอที่จะช่วงชิงประชาธิปไตย หากแต่ต้องอาศัยมวลชนก่อรูปเป็นขบวนประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง จึงจะสามารถต่อกรกับอำมาตยาธิปไตยได้

ท่าทีและจังหวะก้าวทางการเมืองของทักษิณ ชินวัตรจึงมีลักษณะไม่ชัดเจนและขัดแย้งในตัวเองเสมอมา คือ ด้านหนึ่งเขาให้การสนับสนุนและเข้าร่วมขบวนประชาธิปไตยอย่างเอาการเอางาน แต่ในอีกด้านหนึ่ง เขาก็ต่อสู้เพื่อต่อรองประนีประนอมเป็นหลัก ทั้งร้องขอ อ้อนวอน โดยหวังว่า ฝ่ายจารีตนิยมจะ “มีเหตุผล” พอที่จะยอมอ่อนข้อให้ฝ่ายประชาธิปไตย จังหวะก้าวของเขาในหลายครั้งเป็นเสมือนเอามวลชนไปต่อรองกับจารีตนิยม ก่อให้เกิดการถดถอยของขบวนประชาธิปไตยและความสับสนในหมู่มวลชน

ทักษิณ ชินวัตร มีสถานะเป็นสัญลักษณ์ของประชาธิปไตยอย่างแน่นอน มวลชนนับล้านคนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงในช่วงการบริหารของเขาภายใต้รัฐธรรมนูญ 2540 ว่ามีแต่ระบอบประชาธิปไตยเท่านั้นที่จะนำมาซึ่งประโยชน์ของประชาชนส่วนข้างมากของสังคม เปิดช่องให้ได้รับส่วนแบ่งอันชอบธรรมในโภคทรัพย์มวลรวมของประเทศเพื่อสิทธิ เสรีภาพ และความกินดีอยู่ดี ในแง่นี้ ทักษิณ ชินวัตรคือแรงบันดาลใจทางประชาธิปไตยของมวลชน

ทักษิณ ชินวัตร ยังมีสถานะเป็นผู้นำของขบวนประชาธิปไตยอีกด้วย แต่เขาไม่ใช่นักปฏิวัติสังคม เขาเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจากการเจรจาต่อรอง เป็นนักการเมืองแนวทางปฏิรูปที่ยังขาดความชัดเจนเชิงรูปธรรมของแนวทางประชาธิปไตย ฉะนั้น สถานะ “ผู้นำประชาธิปไตย” ของทักษิณ ชินวัตรจึงมีขีดจำกัด ซึ่งฝ่ายประชาธิปไตยจะต้องจัดการให้ถูกต้อง

“สถานะผู้นำประชาธิปไตย” ของทักษิณ ชินวัตรนั้น เป็นเชิงสัญลักษณ์ ไม่ใช่สถานะของผู้ชี้นำหรือผู้ชี้ขาดในทางยุทธศาสตร์ยุทธวิธี อันเนื่องมาจากขีดจำกัดข้างต้น อีกทั้งยังขาดประสบการณ์เคลื่อนไหวทางการเมืองในแนวทางมวลชน การที่เขาต้องอยู่ต่างประเทศเป็นเวลานาน ยิ่งทำให้ไม่สามารถกุมสภาพของการต่อสู้ทางการเมืองในประเทศไทยได้อย่างถูกต้อง การตัดสินใจเชิงยุทธศาสตร์ยุทธวิธีรูปธรรมในสภาพการณ์เช่นนี้จึงมีแนวโน้มผิดพลาดได้ง่าย

สถานะที่ถูกต้องของทักษิณในขบวนประชาธิปไตยจึงเปรียบเสมือนการดำรงตนเป็น “ประธานคณะกรรมการของบริษัท” คือ เป็นสัญลักษณ์และแรงบันดาลใจ รับรู้ทิศทางของขบวนประชาธิปไตย เข้าใจปัญหาทางหลักการและนโยบาย หนุนช่วยทุกวิถีทาง แต่ไม่บริหาร ไม่ลงสู่ยุทธศาสตร์ยุทธวิธีรูปธรรม ไม่แทรกแซงและไม่ตัดสินใจแทนฝ่ายบริหาร

2. คณะแกนนำนปช. และกลุ่มสามเกลอ “ความจริงวันนี้”
ในช่วงหนึ่งปีหลังเหตุการณ์เมษายน 2552 แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) “แดงทั้งแผ่นดิน” ได้ก่อรูปเป็นคณะแกนนำขึ้น แต่แกนกลางหลักยังคงเป็นกลุ่มสามเกลอ “ความจริงวันนี้” แม้ นปช.จะพยายามพัฒนาการนำแบบรวมหมู่ขึ้น แต่ก็ยังไม่เข้มแข็ง และเมื่อกลับมาเคลื่อนไหวอีกครั้งในช่วงมีนาคม-พฤษภาคม 2553 ก็ไม่อาจต้านทานกระแสการต่อสู้ที่สลับซับซ้อนได้

สาเหตุสำคัญคือ คณะแกนนำ นปช. มีเวลาในการสั่งสมประสบการณ์น้อยมาก มิได้ผ่านการต่อสู้ร่วมกันมายาวนานพอ ยังไม่สามารถหลอมรวมกันเป็นคณะนำที่เหนียวแน่น มีเอกภาพทางอุดมการณ์และแนวทางที่ชัดเจน เมื่อเผชิญกับสถานการณ์เสี่ยงอันตรายที่จะต้องตัดสินใจเพื่อกำหนดความเป็นความตาย ก็ไม่สามารถเห็นพ้องกันในทางยุทธศาสตร์ยุทธวิธีได้ เกิดการแตกแยกภายใน สูญเสียการกุมสภาพมวลชนและสภาพการเคลื่อนไหวไปในที่สุด

ปัจจุบัน คณะแกนนำ นปช. “แดงทั้งแผ่นดิน” ได้หมดสภาพการเป็นแกนนำของขบวนประชาธิปไตย กลายเป็นนักโทษการเมือง พวกเขารวมทั้งมวลชนอีกจำนวนมากที่ถูกจับกุมคุมขังจะเป็นเป้าหมายที่ขบวนประชาธิปไตยจะต้องต่อสู้เพื่อให้ได้อิสรภาพ พร้อมกับการบรรลุประชาธิปไตยที่แท้จริงในที่สุด

บทเรียนสำคัญคือ ขบวนประชาธิปไตยยังอ่อนเล็กเกินกว่าจะเผชิญหน้ากับฝ่ายเผด็จการได้โดยตรง นปช. “แดงทั้งแผ่นดิน” ยังไม่สามารถพัฒนาเป็นองค์กรแบบแผนที่เป็นเอกภาพ มีแนวทางบริหารทรัพยากรและการทำงานมวลชนอย่างเป็นระบบ หากแต่เป็นเพียงการเชื่อมโยงกันอย่างหลวม ๆ ระหว่างกลุ่มมวลชนในพื้นที่แกนนำพื้นที่กับคณะแกนนำนปช.ระดับชาติเท่านั้น

บทเรียนจากกลุ่มสามเกลอ “ความจริงวันนี้” คือ การเคลื่อนไหวมวลชนขนานใหญ่เพื่อบรรลุประชาธิปไตยนั้นไม่อาจประสบชัยชนะได้ด้วยเพียงโวหารและการแสดงบนเวที จุดอ่อนของพวกเขาคือ ความโน้มเอียงไปในทาง “นำโดยตัวบุคคล” ขาดความเชื่อมั่นในการนำรวมหมู่ จุดแข็งของพวกเขาในหมู่มวลชนก็คือ พวกเขามีสัมพันธ์แนบแน่นกับทักษิณ ชินวัตร แต่จุดแข็งดังกล่าวก็กลายเป็นผลเสียเมื่อมีการดึงเอาทักษิณเข้ามาพัวพันกับการตัดสินใจทางยุทธศาสตร์ยุทธวิธีเฉพาะหน้า กระทั่งอ้างเอาทักษิณมาขัดแย้งหรือปฏิเสธมติของคณะแกนนำรวมหมู่ดังที่เกิดขึ้นเมื่อพฤษภาคม 2553 เป็นการทำลายหลักการประชาธิปไตยภายในขบวนเสียเอง และสร้างความเสียหายแก่การเคลื่อนไหวมวลชนในที่สุด

แกนนำ นปช. บางคนที่มิได้ถูกจับกุมคุมขังและยังเคลื่อนไหวอย่างเปิดเผยต่อไปได้จะต้องสรุปบทเรียนความสำเร็จและจุดอ่อนที่ผ่านมาทั้งหมด รับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างจากรอบด้าน ต้องไม่ดำเนินการซ้ำรอยเดิม ไม่หันไปสู่การนำส่วนบุคคลแบบวีรชนเอกชน จัดระยะห่างกับทักษิณ ชินวัตรและพรรคเพื่อไทยให้เหมาะสม และที่สำคัญคือ เปิดใจร่วมมือกับมิตรสหายทั้งหลายในขบวนเพื่อเร่งปรับลักษณะองค์การนำและการจัดตั้งของขบวนประชาธิปไตยใหม่ เพื่อกลับมาต่อสู้ไปบรรลุประชาธิปไตยในที่สุด