Wednesday, June 30, 2010

ข้อคิดต่อร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ

ข้อคิดเห็นและข้อเสนอจากเวทีสาธารณะ

เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ร่วมกับมูลนิธิผสานวัฒนธรรม โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม และสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน จัดเวทีสาธารณะว่าด้วย “ข้อคิดเห็นและข้อเสนอต่อร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ” วันที่ 29 มิถุนายน 2553 ที่ห้องประชุม 12 ตึก 3 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีภาคประชาชนจากหลายเครือข่ายเข้าร่วมแลกเปลี่ยนและเสนอความเห็น

ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ฯ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอไปเมื่อวันที่ 4 พ.ค. 2553

สาระร่างพระราชบัญญัติการชุมนุม สาธารณะ
พูนสุข พูนสุขเจริญ ตัวแทนจากเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน กล่าวสรุปสาระร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอสู่สภาฯ ว่า พ.ร.บ.นี้จะบังคับเฉพาะการชุมนุมที่อยู่ในพื้นที่สาธารณะ ทั้งนี้ ไม่มีองค์ประกอบด้านจำนวนว่าผู้เข้าร่วมจำนวนเท่าใดจึงจะเป็นการชุมนุม อย่างไรก็ตาม มีองค์ประกอบคือ เป็นการชุมนุมเพื่อเรียกร้อง สนับสนุน คัดค้าน หรือแสดงความเห็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เปิดให้บุคคลอื่นเข้าฟัง เข้าร่วม สนับสนุนการชุมนุมได้ ส่วน "ที่สาธารณะ" หมายถึงที่ที่เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่ประชาชนทั่วไปมีความชอบธรรมในการ ใช้ประโยชน์ร่วมกัน


สำหรับการชุมนุมที่กฎหมายนี้ยกเว้น ได้แก่ งานพระราชพิธี งานศาสนา การแสดงกิจกรรมมหรสพ การชุมนุมในสถานศึกษา การชุมนุมตามกฎหมาย สัมมนาวิชาการ ข้อยกเว้นตามกฎหมายเฉพาะ เช่น พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กฎอัยการศึก และการชุมนุมในสถานการณ์การเลือกตั้ง

การชุมนุมในที่สาธารณะที่เข้าองค์ประกอบข้างต้น ซึ่งจะกระทบความสะดวกของประชาชน ผู้จัดการชุมนุมต้องแจ้งต่อหัวหน้าสถานีตำรวจท้องที่ หรือบุคคลตามที่รัฐมนตรีกำหนด ทั้งนี้ วิธีรับแจ้งไม่ได้ระบุใน พ.ร.บ. แจ้งก่อนจัดการชุมนุม 72 ชั่วโมง กรณีฉุกเฉินสามารถผ่อนผันได้ โดยผู้รับแจ้งต้องพิจารณาภายใน 24 ชั่วโมง หากขอผ่อนผันแล้วเจ้าหน้าที่ไม่อนุญาต สามารถยื่นคำร้องต่อศาลได้ โดยคำสั่งศาลเป็นที่สุด

การชุมนุมที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความสะดวกของประชาชน ซึ่งต้องแจ้งการชุมนุมได้แก่ การชุมนุมสาธารณะที่ขัดขวางความสะดวกของประชาชนที่จะใช้หรือเข้าออกที่ สาธารณะนั้นตามปกติ หรือขัดขวางการให้บริการหรือใช้บริการท่าอากาศยาน ท่าเรือ สถานีขนส่งสาธารณะ ระบบการขนส่งสาธารณะ หรือการสื่อสารสาธารณะอื่น หรือกีดขวางทางเข้าออกตามสถานที่ตามมาตรา 8 (การชุมนุมต้องห้ามตามกฎหมาย) ได้แก่ สถานที่ประทับของพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระรัชทายาท และสถานที่พำนักของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ รัฐสภา ทำเนียบรัฐบาล ศาล และหน่วยงานของรัฐ ท่าอากาศยาน ท่าเรือ สถานีรถไฟ หรือสถานีขนส่งสาธารณะ โรงพยาบาล สถานศึกษา และศาสนสถาน ตลอดจนสถานทูตหรือสถานกงสุลของรัฐต่างประเทศ

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.นี้ คือ ผู้ชุมนุม เจ้าหน้าที่รัฐ องค์กรตุลาการ และประชาชนทั่วไป โดยผู้จัดการชุมนุม คือ ผู้จัดให้มีการชุมนุมสาธารณะ เป็นผู้เชิญชวนผู้อื่นให้ทำกิจกรรมร่วมกัน มีหน้าที่ต้องอยู่ร่วมการชุมนุมโดยตลอด ประกาศให้ผู้ชุมนุมทำตามหน้าที่ในการชุมนุม ไม่ส่งเสริมให้ผู้ชุมนุมไม่ปฎิบัติตามมาตรา 17 นั่นคือ ผู้ชุมนุมมีหน้าที่ไม่ก่อความไม่สะดวกกับประชาชนทั่วไป ไม่ปิดหน้า ไม่พกอาวุธ ไม่บุกรุกทำลายทรัพย์สินผู้อื่น ไม่ทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตราย ไม่ประทุษร้าย ไม่ขัดขวางเจ้าหน้าที่ในการปฎิบัติงาน และปฎิบัติตามคำสั่งด้วยวาจาของเจ้าพนักงาน

การชุมนุมต้องแจ้งระยะเวลาในการชุมนุม และชุมนุมตามระยะเวลาที่แจ้งไว้ การเดินขบวน ต้องแจ้งล่วงหน้าและได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานก่อน

ขณะที่ รัฐมีหน้าที่คุ้มครองความสะดวกของประชาชนและผู้ชุมนุม ประชาสัมพันธ์ให้ทราบว่าจะมีการชุมนุม อำนวยความสะดวกในการเปลี่ยนแปลงเส้นทาง ดูแล รักษาความปลอดภัย อำนวยความสะดวกตามที่ผู้จัดการชุมนุมร้องขอ ควบคุมการชุมนุมให้ถูกต้องตามกฎหมาย ประกาศให้ผู้ชุมนุมทราบถึงหน้าที่ สามารถดำเนินการให้เลิกการชุมนุมได้ ถ้าการชุมนุมก่อให้เกิดความวุ่นวาย

จินตนาระบุมีกฎหมายอื่นบังคับใช้อยู่แล้ว ชี้รัฐบาลกลัวผีการเมือง
จินตนา แก้วขาว แกนนำกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบ้านกรูด แสดงความเห็นว่า ไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายชุมนุมสาธารณะ เพราะมีกฎหมายอื่นบังคับใช้อยู่แล้ว เช่น กฎหมายอาญา อย่างไรก็ตาม ถ้าจำเป็นต้องมี ก็ต้องเลือกใช้กับเฉพาะกลุ่ม เพราะภาคประชาชนที่ต่อสู้กับโครงการขนาดใหญ่ เรื่องสิทธิที่ทำกินนั้นไม่มีผู้มีบารมีช่วยเหลือ ขณะที่กลุ่มที่ต่อสู้ทางการเมือง เช่นเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ รัฐบาล หรือการเลือกตั้ง มีคนคอยให้ความช่วยเหลือ

เธอวิจารณ์ว่า รัฐบาลกลัวผีการเมือง อยากจัดการทั้งสองสีให้อยู่ในระเบียบตามกรอบคิดของรัฐบาล จึงออกกฎหมายเช่นนี้ แต่ทั้งสองสีมีคนที่มีบารมีอยู่เบื้องหลัง กฎหมายนี้จึงจัดการได้แต่กับคนตัวเล็กๆ ที่ไม่มีบารมีอย่างพวกเธอเท่านั้น

ใน รายละเอียดของร่าง พ.ร.บ. เธอระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับการต้องแจ้งล่วงหน้าว่าจะจัดการชุมนุม เพราะบางครั้งการชุมนุมเป็นเรื่องเฉพาะหน้า เช่น เมื่อคืนเราเพิ่งรู้ว่าวันนี้จะมีการขุดดิน จึงต้องรีบชุมนุม นอกจากนี้ ยังมีความไม่ชัดเจนอีกหลายประการเช่น บางครั้งก็ต่างคนต่างไปชุมนุม จะเอาอะไรมาวัดว่าใครเป็นผู้จัดการชุมนุม ชาวบ้านเพิ่งมาจากสวน มีมีดพร้าติดตัวมาด้วยจะถือว่าเป็นอาวุธหรือไม่ หรือเจ้าหน้าที่ให้หยุดการชุมนุมได้ ถ้าการชุมนุมมีความวุ่นวาย ถามว่าเอาอะไรมาวัดว่าวุ่นวาย การชุมนุมของชาวบ้านไม่มีใครนั่งพับเพียบ ทุกคนชูธง ใช้เสียง เอะอะ เดินขวักไขว่ แล้วอะไรที่เรียกว่าเรียบร้อย

ที่ปรึกษาสมัชชาคนจนแนะกรรมการสิทธิฯ ลาออก หลังสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ
บารมี ชัยรัตน์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน กล่าวถึงการอ้างความเดือดร้อนจากการชุมนุมว่า ส่วนใหญ่เป็นความเดือดร้อนของคนกรุงเทพฯ โดยไม่คำนึงเลยว่า ที่อยู่ได้ทุกวันนี้มาจากการแย่งชิงทรัพยากรจากคนชั้นล่าง เมื่อชนชั้นล่างมาเรียกร้องคัดค้าน ชนชั้นกลางก็โวยวาย ขณะที่เราพลัดที่นาคาที่อยู่ ถูกจับ ถูกตีให้ชนชั้นกลางได้รับประโยชน์ นี่เป็นการเอาเปรียบทางชนชั้น นอกจากนี้ กฎหมายนี้ยังเป็นเครื่องมือของเจ้าหน้าที่ในการคุกคามผู้ชุมนุม รวมถึงอาจนำไปสู่การเรียกรับผลประโยชน์ด้วย

บารมี กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา ไม่เคยได้รับการอำนวยความสะดวกในการชุมนุมเลย ไม่ว่าเรื่องน้ำดื่ม หรือห้องน้ำ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังเข้าไปประกบแกนนำ ข่มขู่ไม่ให้มา โดยบอกว่าจะทำให้บ้านเมืองเดือดร้อน ดังนั้น เสนอว่า ก่อนออกกฎหมายแบบนี้ รัฐควรไปฝึกคนให้มีประสิทธิภาพในการเจรจาต่อรองและแก้ปัญหาก่อน รวมถึงควรออก พ.ร.บ.ส่งเสริมเสรีภาพในการชุมนุมด้วย

ทั้งนี้ เขาวิจารณ์คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ออกมาสนับสนุนกฎหมายฉบับนี้ ด้วยว่า คณะกรรมการสิทธิฯ ควรมีหน้าที่ปกป้องการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่จำกัดเสรีภาพ โดยเขาได้เสนอให้คณะกรรมการสิทธิฯ ลาออกจากตำแหน่ง

โอด แจ้งก่อนชุมนุม 3 วัน หนักกว่า กม.แรงงาน
สมศักดิ์ สุขยอด กลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก มองว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ขัดต่อรัฐธรรมนูญที่ให้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบและปราศจากอาวุธ นอกจากนี้ การต้องแจ้งก่อนจัดชุมนุม 72 ชั่วโมงนั้น มากกว่ากฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ซึ่งให้แจ้งการนัดหยุดงานก่อน 24 ชั่วโมงเสียอีก

เขาระบุด้วยว่า ไม่เห็นด้วยกับการกำหนดสถานที่ห้ามชุมนุม โดยมองว่า ไม่ว่าผู้ใช้แรงงาน หรือ เกษตรกร ก็ต้องเดินทางไปเรียกร้องต่อผู้มีหน้าที่รับผิดชอบอยู่แล้ว แต่ร่างนี้กลับห้ามการชุมนุมในที่ต่างๆ เช่น หน้าสถานทูต เขายกตัวอย่างว่า หากมีผู้มาลงทุน แล้วกดขี่ประชาชน ก็ต้องไปชุมนุมที่สถานทูตประเทศนั้น แต่กฎหมายกลับไม่ให้ชุมนุม การทำเช่นนี้ นอกจากจะทำให้เห็นว่ารัฐบาลไม่สนับสนุนให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการเรียก ร้องแล้ว ยังเปิดโอกาสให้คนต่างชาติมาทำลายคนไทยอีกด้วย

พร้อม เข้าสู่กระบวนการ กม. หากละเมิดสิทธิผู้อื่น
กรณ์อุมา พงษ์น้อย ประธานกลุ่มรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก กล่าวถึงกรณีที่มีผู้แย้งว่า หากไม่มี พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ ผู้ชุมนุมอาจละเมิดสิทธิของประชาชนที่ไม่ได้ชุมนุมได้ว่า พวกเธอไม่เคยปฎิเสธกฎกติกาของบ้านเมือง ตลอดเวลาที่ต่อสู้ เจอคดีจำนวนมาก ซึ่งพวกเธอก็พร้อมเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย เพราะเข้าใจว่าการต่อสู้จำเป็นต้องแลก

"เมื่อคิดว่าเรากระทบ สิทธิคนอื่น ก็ดำเนินคดีอาญากับเราได้ เราพร้อมเข้าสู่การพิจารณา" กรณ์อุมา กล่าวและว่า ไม่ว่ากฎหมายนี้จะมีขึ้นเพื่อจัดการกับกลุ่มใดก็ไม่เห็นด้วยทั้งนั้น โดยตั้งคำถามว่า หากมีกฎหมายนี้แล้ว วันหนึ่งมีรัฐบาลที่ทุจริตโกงกิน ใช้อำนาจเกินขอบเขต จะเกิดอะไรขึ้น ดังนั้น จึงมองว่า ทุกวันนี้มีกฎหมายอาญาที่ใช้ได้อยู่แล้ว ไม่ควรมีซ้ำซ้อนขึ้นมาอีก

ชี้ กม.ช่วยรัฐบาลได้เปรียบ ไม่ต้องแก้ปัญหา แค่รอม็อบกลับ
พงษ์อนันต์ ช่วงธรรม เครือข่ายสลัมสี่ภาค กล่าวแสดงความไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะทั้งฉบับ โดยระบุว่า การออกกฎหมายแบบนี้ คนที่ได้เปรียบคือรัฐบาล เพราะไม่ต้องกังวลว่าจะแก้ปัญหาหรือไม่ เพราะเมื่อผู้จัดการชุมนุมแจ้งว่าจะมีการชุมนุม รัฐมนตรีก็เตรียมหนีไปแล้ว หากผู้ชุมนุมไม่ชุมนุมตามระยะเวลาที่แจ้ง ก็จะถูกสลาย สุดท้ายรัฐมนตรีก็ไม่ต้องแก้ปัญหา

เขามองว่า แนวคิดนี้น่าจะมาจากทหาร ตำรวจ ที่ขี้เกียจตากแดดฝน รัฐบาลที่กลัวคนอยู่ตรงข้ามจะมาล้มตัวเอง เลยพยายามผลักกฎหมายออกมา ทำให้ความเดือดร้อนตกกับคนจน ทั้งนี้ การต้องแจ้งว่าจะชุมนุมกี่วันนั้นทำได้ยากเพราะผู้ชุมนุมเองก็ไม่อาจทราบ ได้ว่า ปัญหาของพวกเขาจะได้รับการแก้ไขเมื่อใด รวมถึงสถานที่ต่างๆ ที่ห้ามชุมนุมนั้นก็ล้วนแต่เป็นที่ที่ประชาชนต้องไปชุมนุมเพราะต้องการให้คน ที่อยู่ในที่เหล่านั้นแก้ปัญหาให้ หากไม่อนุญาตให้ชุมนุม จะมีอะไรที่เอื้อให้ปัญหาของประชาชนได้รับการแก้ไข

นอกจากนี้ เขายังมองว่า การชุมนุมทางการเมืองก็ควรได้รับสิทธิเช่นเดียวกัน พวกเขามีสิทธิบอกว่า เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไร ทั้งนี้ มองว่า ตำรวจ ทหาร มีหน้าที่เพียงควบคุมการชุมนุมให้อยู่ในขอบเขต ไม่ลิดรอนสิทธิจนเกินเหตุ ส่วนเรื่องการชุมนุมที่อาจขัดขวางการใช้บริการท่าอากาศยานหรือท่าเรือนั้นก็ มีกฎหมายเฉพาะของแต่ละที่ควบคุมอยู่แล้ว

จี้ยกเลิก ร่าง พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ ชี้ขัด รธน.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากเวทีสาธารณะดังกล่าว องค์กรภาคประชาชนที่เข้าร่วมมีความเห็นร่วมกันว่าองค์กรภาคประชาชนจะคัดค้าน ร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ อย่างถึงที่สุด และขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องยกเลิกหรือขอถอนร่างพระราชบัญญัตินี้ เนื่องจากเสรีภาพในการชุมนุมเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่ทำให้ประชาชนสามารถ เข้าถึงสิทธิต่างๆ อันพึงมีพึงได้ การจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมโดยพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และกระทบต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง

ทั้ง นี้ องค์กรภาคประชาชนจะติดตาม ประมวลข้อมูล เหตุผล และรายชื่อเพื่อยื่นเสนอคัดค้านร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อนกยกรัฐมนตรี หน่วยงานของรัฐ พรรคการเมืองต่างๆ และผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างถึงที่สุด และจะเดินหน้ารณรงค์ขยายแนวร่วมภาคประชาสังคมและสาธารณชนเพื่อคัดค้านร่าง พระราชบัญญัตินี้อย่างต่อเนื่องต่อไป

00000000000000000000000000000000

คำแถลงองค์กรภาคประชาชนต่อร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ……

สืบเนื่องจากการจัดเวทีสาธารณะว่าด้วย “ข้อคิดเห็นและข้อเสนอต่อร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ” ขึ้นในวันอังคารที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ เวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๓๐ น. ณ ห้องประชุม ๑๒ ตึก ๓ (เกษมอุทยานิน) คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ……นำเสนอมุมมองของภาคประชาชนต่อร่างกฎหมายดังกล่าว ตลอดจนรวบรวมข้อเสนอแนะในการจัดการการใช้เสรีภาพในการชุมนุมเพื่อเป็นไปใน ทางคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนนั้น

จากเวทีสาธารณะดังกล่าว องค์กรภาคประชาชนดังมีรายชื่อท้ายคำแถลง มีความเห็นร่วมกันว่าองค์กรภาคประชาชนขอคัดค้านร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ อย่างถึงที่สุด และขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องยกเลิกหรือขอถอนร่างพระราชบัญญัตินี้ เนื่องจากเสรีภาพในการชุมนุมเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่ทำให้ประชาชนสามารถ เข้าถึงสิทธิต่างๆ อันพึงมีพึงได้ การจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมโดยพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และกระทบต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง

ทั้งนี้ องค์กรภาคประชาชนจะติดตามประมวลข้อมูล เหตุผล และรายชื่อเพื่อยื่นเสนอคัดค้านร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อนกยกรัฐมนตรี หน่วยงานของรัฐ พรรคการเมืองต่างๆ และผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างถึงที่สุด และจะเดินหน้ารณรงค์ขยายแนวร่วมภาคประชาสังคมและสาธารณชนเพื่อคัดค้านร่าง พระราชบัญญัตินี้อย่างต่อเนื่องต่อไป

ด้วยจิตคารวะ

วัน ที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๓

๑. เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
๒. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
๓. โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม
๔. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
๕. กลุ่มรักท้องถิ่นบ่อนอก
๖. กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด
๗. เครือข่ายสลัมสี่ภาค
๘. สมัชชาคนจน
๙. ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ (อิสาน)
๑๐. เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย (คปท.)
๑๑. เครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบางสะพาน
๑๒. กลุ่มอนุรักษ์ทับสะแก
๑๓. กลุ่มอนุรักษ์บ้านเกิดอ่าวน้อย
๑๔. กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบางสะพาน
๑๕. ศูนย์ช่วยเหลือและจัดการวิกฤตแรงงาน
๑๖. กลุ่มแรงงานภาคตะวันออก
๑๗. กลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจภาคตะวันออก
๑๘. สมานฉันท์แรงงานไทย
๑๙. กลุ่มเพื่อนประชาชน (F.O.P)
๒๐. RSA.
๒๑. เครือข่ายแรงงานตรวจสอบผลกระทบเงินกู้ของรัฐ (ALNI)
๒๒. ศูนย์ประสานงานเครือข่ายภาคประชาชน
๒๓. เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.)
๒๔. สหภาพแรงงานรถไฟไทย
๒๕. มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย
๒๖. สมานฉันท์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
๒๗. สภาเครือข่ายองค์กรเกษตรกรแห่งประเทศไทย (สค.ปท.)

ข้อคิดต่อร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ

ข้อคิดเห็นและข้อเสนอจากเวทีสาธารณะ

เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ร่วมกับมูลนิธิผสานวัฒนธรรม โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม และสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน จัดเวทีสาธารณะว่าด้วย “ข้อคิดเห็นและข้อเสนอต่อร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ” วันที่ 29 มิถุนายน 2553 ที่ห้องประชุม 12 ตึก 3 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีภาคประชาชนจากหลายเครือข่ายเข้าร่วมแลกเปลี่ยนและเสนอความเห็น

ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ฯ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอไปเมื่อวันที่ 4 พ.ค. 2553

สาระร่างพระราชบัญญัติการชุมนุม สาธารณะ
พูนสุข พูนสุขเจริญ ตัวแทนจากเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน กล่าวสรุปสาระร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอสู่สภาฯ ว่า พ.ร.บ.นี้จะบังคับเฉพาะการชุมนุมที่อยู่ในพื้นที่สาธารณะ ทั้งนี้ ไม่มีองค์ประกอบด้านจำนวนว่าผู้เข้าร่วมจำนวนเท่าใดจึงจะเป็นการชุมนุม อย่างไรก็ตาม มีองค์ประกอบคือ เป็นการชุมนุมเพื่อเรียกร้อง สนับสนุน คัดค้าน หรือแสดงความเห็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เปิดให้บุคคลอื่นเข้าฟัง เข้าร่วม สนับสนุนการชุมนุมได้ ส่วน "ที่สาธารณะ" หมายถึงที่ที่เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่ประชาชนทั่วไปมีความชอบธรรมในการ ใช้ประโยชน์ร่วมกัน


สำหรับการชุมนุมที่กฎหมายนี้ยกเว้น ได้แก่ งานพระราชพิธี งานศาสนา การแสดงกิจกรรมมหรสพ การชุมนุมในสถานศึกษา การชุมนุมตามกฎหมาย สัมมนาวิชาการ ข้อยกเว้นตามกฎหมายเฉพาะ เช่น พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กฎอัยการศึก และการชุมนุมในสถานการณ์การเลือกตั้ง

การชุมนุมในที่สาธารณะที่เข้าองค์ประกอบข้างต้น ซึ่งจะกระทบความสะดวกของประชาชน ผู้จัดการชุมนุมต้องแจ้งต่อหัวหน้าสถานีตำรวจท้องที่ หรือบุคคลตามที่รัฐมนตรีกำหนด ทั้งนี้ วิธีรับแจ้งไม่ได้ระบุใน พ.ร.บ. แจ้งก่อนจัดการชุมนุม 72 ชั่วโมง กรณีฉุกเฉินสามารถผ่อนผันได้ โดยผู้รับแจ้งต้องพิจารณาภายใน 24 ชั่วโมง หากขอผ่อนผันแล้วเจ้าหน้าที่ไม่อนุญาต สามารถยื่นคำร้องต่อศาลได้ โดยคำสั่งศาลเป็นที่สุด

การชุมนุมที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความสะดวกของประชาชน ซึ่งต้องแจ้งการชุมนุมได้แก่ การชุมนุมสาธารณะที่ขัดขวางความสะดวกของประชาชนที่จะใช้หรือเข้าออกที่ สาธารณะนั้นตามปกติ หรือขัดขวางการให้บริการหรือใช้บริการท่าอากาศยาน ท่าเรือ สถานีขนส่งสาธารณะ ระบบการขนส่งสาธารณะ หรือการสื่อสารสาธารณะอื่น หรือกีดขวางทางเข้าออกตามสถานที่ตามมาตรา 8 (การชุมนุมต้องห้ามตามกฎหมาย) ได้แก่ สถานที่ประทับของพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระรัชทายาท และสถานที่พำนักของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ รัฐสภา ทำเนียบรัฐบาล ศาล และหน่วยงานของรัฐ ท่าอากาศยาน ท่าเรือ สถานีรถไฟ หรือสถานีขนส่งสาธารณะ โรงพยาบาล สถานศึกษา และศาสนสถาน ตลอดจนสถานทูตหรือสถานกงสุลของรัฐต่างประเทศ

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.นี้ คือ ผู้ชุมนุม เจ้าหน้าที่รัฐ องค์กรตุลาการ และประชาชนทั่วไป โดยผู้จัดการชุมนุม คือ ผู้จัดให้มีการชุมนุมสาธารณะ เป็นผู้เชิญชวนผู้อื่นให้ทำกิจกรรมร่วมกัน มีหน้าที่ต้องอยู่ร่วมการชุมนุมโดยตลอด ประกาศให้ผู้ชุมนุมทำตามหน้าที่ในการชุมนุม ไม่ส่งเสริมให้ผู้ชุมนุมไม่ปฎิบัติตามมาตรา 17 นั่นคือ ผู้ชุมนุมมีหน้าที่ไม่ก่อความไม่สะดวกกับประชาชนทั่วไป ไม่ปิดหน้า ไม่พกอาวุธ ไม่บุกรุกทำลายทรัพย์สินผู้อื่น ไม่ทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตราย ไม่ประทุษร้าย ไม่ขัดขวางเจ้าหน้าที่ในการปฎิบัติงาน และปฎิบัติตามคำสั่งด้วยวาจาของเจ้าพนักงาน

การชุมนุมต้องแจ้งระยะเวลาในการชุมนุม และชุมนุมตามระยะเวลาที่แจ้งไว้ การเดินขบวน ต้องแจ้งล่วงหน้าและได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานก่อน

ขณะที่ รัฐมีหน้าที่คุ้มครองความสะดวกของประชาชนและผู้ชุมนุม ประชาสัมพันธ์ให้ทราบว่าจะมีการชุมนุม อำนวยความสะดวกในการเปลี่ยนแปลงเส้นทาง ดูแล รักษาความปลอดภัย อำนวยความสะดวกตามที่ผู้จัดการชุมนุมร้องขอ ควบคุมการชุมนุมให้ถูกต้องตามกฎหมาย ประกาศให้ผู้ชุมนุมทราบถึงหน้าที่ สามารถดำเนินการให้เลิกการชุมนุมได้ ถ้าการชุมนุมก่อให้เกิดความวุ่นวาย

จินตนาระบุมีกฎหมายอื่นบังคับใช้อยู่แล้ว ชี้รัฐบาลกลัวผีการเมือง
จินตนา แก้วขาว แกนนำกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบ้านกรูด แสดงความเห็นว่า ไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายชุมนุมสาธารณะ เพราะมีกฎหมายอื่นบังคับใช้อยู่แล้ว เช่น กฎหมายอาญา อย่างไรก็ตาม ถ้าจำเป็นต้องมี ก็ต้องเลือกใช้กับเฉพาะกลุ่ม เพราะภาคประชาชนที่ต่อสู้กับโครงการขนาดใหญ่ เรื่องสิทธิที่ทำกินนั้นไม่มีผู้มีบารมีช่วยเหลือ ขณะที่กลุ่มที่ต่อสู้ทางการเมือง เช่นเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ รัฐบาล หรือการเลือกตั้ง มีคนคอยให้ความช่วยเหลือ

เธอวิจารณ์ว่า รัฐบาลกลัวผีการเมือง อยากจัดการทั้งสองสีให้อยู่ในระเบียบตามกรอบคิดของรัฐบาล จึงออกกฎหมายเช่นนี้ แต่ทั้งสองสีมีคนที่มีบารมีอยู่เบื้องหลัง กฎหมายนี้จึงจัดการได้แต่กับคนตัวเล็กๆ ที่ไม่มีบารมีอย่างพวกเธอเท่านั้น

ใน รายละเอียดของร่าง พ.ร.บ. เธอระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับการต้องแจ้งล่วงหน้าว่าจะจัดการชุมนุม เพราะบางครั้งการชุมนุมเป็นเรื่องเฉพาะหน้า เช่น เมื่อคืนเราเพิ่งรู้ว่าวันนี้จะมีการขุดดิน จึงต้องรีบชุมนุม นอกจากนี้ ยังมีความไม่ชัดเจนอีกหลายประการเช่น บางครั้งก็ต่างคนต่างไปชุมนุม จะเอาอะไรมาวัดว่าใครเป็นผู้จัดการชุมนุม ชาวบ้านเพิ่งมาจากสวน มีมีดพร้าติดตัวมาด้วยจะถือว่าเป็นอาวุธหรือไม่ หรือเจ้าหน้าที่ให้หยุดการชุมนุมได้ ถ้าการชุมนุมมีความวุ่นวาย ถามว่าเอาอะไรมาวัดว่าวุ่นวาย การชุมนุมของชาวบ้านไม่มีใครนั่งพับเพียบ ทุกคนชูธง ใช้เสียง เอะอะ เดินขวักไขว่ แล้วอะไรที่เรียกว่าเรียบร้อย

ที่ปรึกษาสมัชชาคนจนแนะกรรมการสิทธิฯ ลาออก หลังสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ
บารมี ชัยรัตน์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน กล่าวถึงการอ้างความเดือดร้อนจากการชุมนุมว่า ส่วนใหญ่เป็นความเดือดร้อนของคนกรุงเทพฯ โดยไม่คำนึงเลยว่า ที่อยู่ได้ทุกวันนี้มาจากการแย่งชิงทรัพยากรจากคนชั้นล่าง เมื่อชนชั้นล่างมาเรียกร้องคัดค้าน ชนชั้นกลางก็โวยวาย ขณะที่เราพลัดที่นาคาที่อยู่ ถูกจับ ถูกตีให้ชนชั้นกลางได้รับประโยชน์ นี่เป็นการเอาเปรียบทางชนชั้น นอกจากนี้ กฎหมายนี้ยังเป็นเครื่องมือของเจ้าหน้าที่ในการคุกคามผู้ชุมนุม รวมถึงอาจนำไปสู่การเรียกรับผลประโยชน์ด้วย

บารมี กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา ไม่เคยได้รับการอำนวยความสะดวกในการชุมนุมเลย ไม่ว่าเรื่องน้ำดื่ม หรือห้องน้ำ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังเข้าไปประกบแกนนำ ข่มขู่ไม่ให้มา โดยบอกว่าจะทำให้บ้านเมืองเดือดร้อน ดังนั้น เสนอว่า ก่อนออกกฎหมายแบบนี้ รัฐควรไปฝึกคนให้มีประสิทธิภาพในการเจรจาต่อรองและแก้ปัญหาก่อน รวมถึงควรออก พ.ร.บ.ส่งเสริมเสรีภาพในการชุมนุมด้วย

ทั้งนี้ เขาวิจารณ์คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ออกมาสนับสนุนกฎหมายฉบับนี้ ด้วยว่า คณะกรรมการสิทธิฯ ควรมีหน้าที่ปกป้องการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่จำกัดเสรีภาพ โดยเขาได้เสนอให้คณะกรรมการสิทธิฯ ลาออกจากตำแหน่ง

โอด แจ้งก่อนชุมนุม 3 วัน หนักกว่า กม.แรงงาน
สมศักดิ์ สุขยอด กลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก มองว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ขัดต่อรัฐธรรมนูญที่ให้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบและปราศจากอาวุธ นอกจากนี้ การต้องแจ้งก่อนจัดชุมนุม 72 ชั่วโมงนั้น มากกว่ากฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ซึ่งให้แจ้งการนัดหยุดงานก่อน 24 ชั่วโมงเสียอีก

เขาระบุด้วยว่า ไม่เห็นด้วยกับการกำหนดสถานที่ห้ามชุมนุม โดยมองว่า ไม่ว่าผู้ใช้แรงงาน หรือ เกษตรกร ก็ต้องเดินทางไปเรียกร้องต่อผู้มีหน้าที่รับผิดชอบอยู่แล้ว แต่ร่างนี้กลับห้ามการชุมนุมในที่ต่างๆ เช่น หน้าสถานทูต เขายกตัวอย่างว่า หากมีผู้มาลงทุน แล้วกดขี่ประชาชน ก็ต้องไปชุมนุมที่สถานทูตประเทศนั้น แต่กฎหมายกลับไม่ให้ชุมนุม การทำเช่นนี้ นอกจากจะทำให้เห็นว่ารัฐบาลไม่สนับสนุนให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการเรียก ร้องแล้ว ยังเปิดโอกาสให้คนต่างชาติมาทำลายคนไทยอีกด้วย

พร้อม เข้าสู่กระบวนการ กม. หากละเมิดสิทธิผู้อื่น
กรณ์อุมา พงษ์น้อย ประธานกลุ่มรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก กล่าวถึงกรณีที่มีผู้แย้งว่า หากไม่มี พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ ผู้ชุมนุมอาจละเมิดสิทธิของประชาชนที่ไม่ได้ชุมนุมได้ว่า พวกเธอไม่เคยปฎิเสธกฎกติกาของบ้านเมือง ตลอดเวลาที่ต่อสู้ เจอคดีจำนวนมาก ซึ่งพวกเธอก็พร้อมเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย เพราะเข้าใจว่าการต่อสู้จำเป็นต้องแลก

"เมื่อคิดว่าเรากระทบ สิทธิคนอื่น ก็ดำเนินคดีอาญากับเราได้ เราพร้อมเข้าสู่การพิจารณา" กรณ์อุมา กล่าวและว่า ไม่ว่ากฎหมายนี้จะมีขึ้นเพื่อจัดการกับกลุ่มใดก็ไม่เห็นด้วยทั้งนั้น โดยตั้งคำถามว่า หากมีกฎหมายนี้แล้ว วันหนึ่งมีรัฐบาลที่ทุจริตโกงกิน ใช้อำนาจเกินขอบเขต จะเกิดอะไรขึ้น ดังนั้น จึงมองว่า ทุกวันนี้มีกฎหมายอาญาที่ใช้ได้อยู่แล้ว ไม่ควรมีซ้ำซ้อนขึ้นมาอีก

ชี้ กม.ช่วยรัฐบาลได้เปรียบ ไม่ต้องแก้ปัญหา แค่รอม็อบกลับ
พงษ์อนันต์ ช่วงธรรม เครือข่ายสลัมสี่ภาค กล่าวแสดงความไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะทั้งฉบับ โดยระบุว่า การออกกฎหมายแบบนี้ คนที่ได้เปรียบคือรัฐบาล เพราะไม่ต้องกังวลว่าจะแก้ปัญหาหรือไม่ เพราะเมื่อผู้จัดการชุมนุมแจ้งว่าจะมีการชุมนุม รัฐมนตรีก็เตรียมหนีไปแล้ว หากผู้ชุมนุมไม่ชุมนุมตามระยะเวลาที่แจ้ง ก็จะถูกสลาย สุดท้ายรัฐมนตรีก็ไม่ต้องแก้ปัญหา

เขามองว่า แนวคิดนี้น่าจะมาจากทหาร ตำรวจ ที่ขี้เกียจตากแดดฝน รัฐบาลที่กลัวคนอยู่ตรงข้ามจะมาล้มตัวเอง เลยพยายามผลักกฎหมายออกมา ทำให้ความเดือดร้อนตกกับคนจน ทั้งนี้ การต้องแจ้งว่าจะชุมนุมกี่วันนั้นทำได้ยากเพราะผู้ชุมนุมเองก็ไม่อาจทราบ ได้ว่า ปัญหาของพวกเขาจะได้รับการแก้ไขเมื่อใด รวมถึงสถานที่ต่างๆ ที่ห้ามชุมนุมนั้นก็ล้วนแต่เป็นที่ที่ประชาชนต้องไปชุมนุมเพราะต้องการให้คน ที่อยู่ในที่เหล่านั้นแก้ปัญหาให้ หากไม่อนุญาตให้ชุมนุม จะมีอะไรที่เอื้อให้ปัญหาของประชาชนได้รับการแก้ไข

นอกจากนี้ เขายังมองว่า การชุมนุมทางการเมืองก็ควรได้รับสิทธิเช่นเดียวกัน พวกเขามีสิทธิบอกว่า เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไร ทั้งนี้ มองว่า ตำรวจ ทหาร มีหน้าที่เพียงควบคุมการชุมนุมให้อยู่ในขอบเขต ไม่ลิดรอนสิทธิจนเกินเหตุ ส่วนเรื่องการชุมนุมที่อาจขัดขวางการใช้บริการท่าอากาศยานหรือท่าเรือนั้นก็ มีกฎหมายเฉพาะของแต่ละที่ควบคุมอยู่แล้ว

จี้ยกเลิก ร่าง พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ ชี้ขัด รธน.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากเวทีสาธารณะดังกล่าว องค์กรภาคประชาชนที่เข้าร่วมมีความเห็นร่วมกันว่าองค์กรภาคประชาชนจะคัดค้าน ร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ อย่างถึงที่สุด และขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องยกเลิกหรือขอถอนร่างพระราชบัญญัตินี้ เนื่องจากเสรีภาพในการชุมนุมเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่ทำให้ประชาชนสามารถ เข้าถึงสิทธิต่างๆ อันพึงมีพึงได้ การจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมโดยพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และกระทบต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง

ทั้ง นี้ องค์กรภาคประชาชนจะติดตาม ประมวลข้อมูล เหตุผล และรายชื่อเพื่อยื่นเสนอคัดค้านร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อนกยกรัฐมนตรี หน่วยงานของรัฐ พรรคการเมืองต่างๆ และผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างถึงที่สุด และจะเดินหน้ารณรงค์ขยายแนวร่วมภาคประชาสังคมและสาธารณชนเพื่อคัดค้านร่าง พระราชบัญญัตินี้อย่างต่อเนื่องต่อไป

00000000000000000000000000000000

คำแถลงองค์กรภาคประชาชนต่อร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ……

สืบเนื่องจากการจัดเวทีสาธารณะว่าด้วย “ข้อคิดเห็นและข้อเสนอต่อร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ” ขึ้นในวันอังคารที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ เวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๓๐ น. ณ ห้องประชุม ๑๒ ตึก ๓ (เกษมอุทยานิน) คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ……นำเสนอมุมมองของภาคประชาชนต่อร่างกฎหมายดังกล่าว ตลอดจนรวบรวมข้อเสนอแนะในการจัดการการใช้เสรีภาพในการชุมนุมเพื่อเป็นไปใน ทางคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนนั้น

จากเวทีสาธารณะดังกล่าว องค์กรภาคประชาชนดังมีรายชื่อท้ายคำแถลง มีความเห็นร่วมกันว่าองค์กรภาคประชาชนขอคัดค้านร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ อย่างถึงที่สุด และขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องยกเลิกหรือขอถอนร่างพระราชบัญญัตินี้ เนื่องจากเสรีภาพในการชุมนุมเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่ทำให้ประชาชนสามารถ เข้าถึงสิทธิต่างๆ อันพึงมีพึงได้ การจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมโดยพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และกระทบต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง

ทั้งนี้ องค์กรภาคประชาชนจะติดตามประมวลข้อมูล เหตุผล และรายชื่อเพื่อยื่นเสนอคัดค้านร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อนกยกรัฐมนตรี หน่วยงานของรัฐ พรรคการเมืองต่างๆ และผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างถึงที่สุด และจะเดินหน้ารณรงค์ขยายแนวร่วมภาคประชาสังคมและสาธารณชนเพื่อคัดค้านร่าง พระราชบัญญัตินี้อย่างต่อเนื่องต่อไป

ด้วยจิตคารวะ

วัน ที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๓

๑. เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
๒. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
๓. โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม
๔. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
๕. กลุ่มรักท้องถิ่นบ่อนอก
๖. กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด
๗. เครือข่ายสลัมสี่ภาค
๘. สมัชชาคนจน
๙. ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ (อิสาน)
๑๐. เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย (คปท.)
๑๑. เครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบางสะพาน
๑๒. กลุ่มอนุรักษ์ทับสะแก
๑๓. กลุ่มอนุรักษ์บ้านเกิดอ่าวน้อย
๑๔. กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบางสะพาน
๑๕. ศูนย์ช่วยเหลือและจัดการวิกฤตแรงงาน
๑๖. กลุ่มแรงงานภาคตะวันออก
๑๗. กลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจภาคตะวันออก
๑๘. สมานฉันท์แรงงานไทย
๑๙. กลุ่มเพื่อนประชาชน (F.O.P)
๒๐. RSA.
๒๑. เครือข่ายแรงงานตรวจสอบผลกระทบเงินกู้ของรัฐ (ALNI)
๒๒. ศูนย์ประสานงานเครือข่ายภาคประชาชน
๒๓. เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.)
๒๔. สหภาพแรงงานรถไฟไทย
๒๕. มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย
๒๖. สมานฉันท์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
๒๗. สภาเครือข่ายองค์กรเกษตรกรแห่งประเทศไทย (สค.ปท.)

ข้อคิดต่อร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ

ข้อคิดเห็นและข้อเสนอจากเวทีสาธารณะ

เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ร่วมกับมูลนิธิผสานวัฒนธรรม โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม และสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน จัดเวทีสาธารณะว่าด้วย “ข้อคิดเห็นและข้อเสนอต่อร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ” วันที่ 29 มิถุนายน 2553 ที่ห้องประชุม 12 ตึก 3 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีภาคประชาชนจากหลายเครือข่ายเข้าร่วมแลกเปลี่ยนและเสนอความเห็น

ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ฯ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอไปเมื่อวันที่ 4 พ.ค. 2553

สาระร่างพระราชบัญญัติการชุมนุม สาธารณะ
พูนสุข พูนสุขเจริญ ตัวแทนจากเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน กล่าวสรุปสาระร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอสู่สภาฯ ว่า พ.ร.บ.นี้จะบังคับเฉพาะการชุมนุมที่อยู่ในพื้นที่สาธารณะ ทั้งนี้ ไม่มีองค์ประกอบด้านจำนวนว่าผู้เข้าร่วมจำนวนเท่าใดจึงจะเป็นการชุมนุม อย่างไรก็ตาม มีองค์ประกอบคือ เป็นการชุมนุมเพื่อเรียกร้อง สนับสนุน คัดค้าน หรือแสดงความเห็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เปิดให้บุคคลอื่นเข้าฟัง เข้าร่วม สนับสนุนการชุมนุมได้ ส่วน "ที่สาธารณะ" หมายถึงที่ที่เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่ประชาชนทั่วไปมีความชอบธรรมในการ ใช้ประโยชน์ร่วมกัน


สำหรับการชุมนุมที่กฎหมายนี้ยกเว้น ได้แก่ งานพระราชพิธี งานศาสนา การแสดงกิจกรรมมหรสพ การชุมนุมในสถานศึกษา การชุมนุมตามกฎหมาย สัมมนาวิชาการ ข้อยกเว้นตามกฎหมายเฉพาะ เช่น พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กฎอัยการศึก และการชุมนุมในสถานการณ์การเลือกตั้ง

การชุมนุมในที่สาธารณะที่เข้าองค์ประกอบข้างต้น ซึ่งจะกระทบความสะดวกของประชาชน ผู้จัดการชุมนุมต้องแจ้งต่อหัวหน้าสถานีตำรวจท้องที่ หรือบุคคลตามที่รัฐมนตรีกำหนด ทั้งนี้ วิธีรับแจ้งไม่ได้ระบุใน พ.ร.บ. แจ้งก่อนจัดการชุมนุม 72 ชั่วโมง กรณีฉุกเฉินสามารถผ่อนผันได้ โดยผู้รับแจ้งต้องพิจารณาภายใน 24 ชั่วโมง หากขอผ่อนผันแล้วเจ้าหน้าที่ไม่อนุญาต สามารถยื่นคำร้องต่อศาลได้ โดยคำสั่งศาลเป็นที่สุด

การชุมนุมที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความสะดวกของประชาชน ซึ่งต้องแจ้งการชุมนุมได้แก่ การชุมนุมสาธารณะที่ขัดขวางความสะดวกของประชาชนที่จะใช้หรือเข้าออกที่ สาธารณะนั้นตามปกติ หรือขัดขวางการให้บริการหรือใช้บริการท่าอากาศยาน ท่าเรือ สถานีขนส่งสาธารณะ ระบบการขนส่งสาธารณะ หรือการสื่อสารสาธารณะอื่น หรือกีดขวางทางเข้าออกตามสถานที่ตามมาตรา 8 (การชุมนุมต้องห้ามตามกฎหมาย) ได้แก่ สถานที่ประทับของพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระรัชทายาท และสถานที่พำนักของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ รัฐสภา ทำเนียบรัฐบาล ศาล และหน่วยงานของรัฐ ท่าอากาศยาน ท่าเรือ สถานีรถไฟ หรือสถานีขนส่งสาธารณะ โรงพยาบาล สถานศึกษา และศาสนสถาน ตลอดจนสถานทูตหรือสถานกงสุลของรัฐต่างประเทศ

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.นี้ คือ ผู้ชุมนุม เจ้าหน้าที่รัฐ องค์กรตุลาการ และประชาชนทั่วไป โดยผู้จัดการชุมนุม คือ ผู้จัดให้มีการชุมนุมสาธารณะ เป็นผู้เชิญชวนผู้อื่นให้ทำกิจกรรมร่วมกัน มีหน้าที่ต้องอยู่ร่วมการชุมนุมโดยตลอด ประกาศให้ผู้ชุมนุมทำตามหน้าที่ในการชุมนุม ไม่ส่งเสริมให้ผู้ชุมนุมไม่ปฎิบัติตามมาตรา 17 นั่นคือ ผู้ชุมนุมมีหน้าที่ไม่ก่อความไม่สะดวกกับประชาชนทั่วไป ไม่ปิดหน้า ไม่พกอาวุธ ไม่บุกรุกทำลายทรัพย์สินผู้อื่น ไม่ทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตราย ไม่ประทุษร้าย ไม่ขัดขวางเจ้าหน้าที่ในการปฎิบัติงาน และปฎิบัติตามคำสั่งด้วยวาจาของเจ้าพนักงาน

การชุมนุมต้องแจ้งระยะเวลาในการชุมนุม และชุมนุมตามระยะเวลาที่แจ้งไว้ การเดินขบวน ต้องแจ้งล่วงหน้าและได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานก่อน

ขณะที่ รัฐมีหน้าที่คุ้มครองความสะดวกของประชาชนและผู้ชุมนุม ประชาสัมพันธ์ให้ทราบว่าจะมีการชุมนุม อำนวยความสะดวกในการเปลี่ยนแปลงเส้นทาง ดูแล รักษาความปลอดภัย อำนวยความสะดวกตามที่ผู้จัดการชุมนุมร้องขอ ควบคุมการชุมนุมให้ถูกต้องตามกฎหมาย ประกาศให้ผู้ชุมนุมทราบถึงหน้าที่ สามารถดำเนินการให้เลิกการชุมนุมได้ ถ้าการชุมนุมก่อให้เกิดความวุ่นวาย

จินตนาระบุมีกฎหมายอื่นบังคับใช้อยู่แล้ว ชี้รัฐบาลกลัวผีการเมือง
จินตนา แก้วขาว แกนนำกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบ้านกรูด แสดงความเห็นว่า ไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายชุมนุมสาธารณะ เพราะมีกฎหมายอื่นบังคับใช้อยู่แล้ว เช่น กฎหมายอาญา อย่างไรก็ตาม ถ้าจำเป็นต้องมี ก็ต้องเลือกใช้กับเฉพาะกลุ่ม เพราะภาคประชาชนที่ต่อสู้กับโครงการขนาดใหญ่ เรื่องสิทธิที่ทำกินนั้นไม่มีผู้มีบารมีช่วยเหลือ ขณะที่กลุ่มที่ต่อสู้ทางการเมือง เช่นเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ รัฐบาล หรือการเลือกตั้ง มีคนคอยให้ความช่วยเหลือ

เธอวิจารณ์ว่า รัฐบาลกลัวผีการเมือง อยากจัดการทั้งสองสีให้อยู่ในระเบียบตามกรอบคิดของรัฐบาล จึงออกกฎหมายเช่นนี้ แต่ทั้งสองสีมีคนที่มีบารมีอยู่เบื้องหลัง กฎหมายนี้จึงจัดการได้แต่กับคนตัวเล็กๆ ที่ไม่มีบารมีอย่างพวกเธอเท่านั้น

ใน รายละเอียดของร่าง พ.ร.บ. เธอระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับการต้องแจ้งล่วงหน้าว่าจะจัดการชุมนุม เพราะบางครั้งการชุมนุมเป็นเรื่องเฉพาะหน้า เช่น เมื่อคืนเราเพิ่งรู้ว่าวันนี้จะมีการขุดดิน จึงต้องรีบชุมนุม นอกจากนี้ ยังมีความไม่ชัดเจนอีกหลายประการเช่น บางครั้งก็ต่างคนต่างไปชุมนุม จะเอาอะไรมาวัดว่าใครเป็นผู้จัดการชุมนุม ชาวบ้านเพิ่งมาจากสวน มีมีดพร้าติดตัวมาด้วยจะถือว่าเป็นอาวุธหรือไม่ หรือเจ้าหน้าที่ให้หยุดการชุมนุมได้ ถ้าการชุมนุมมีความวุ่นวาย ถามว่าเอาอะไรมาวัดว่าวุ่นวาย การชุมนุมของชาวบ้านไม่มีใครนั่งพับเพียบ ทุกคนชูธง ใช้เสียง เอะอะ เดินขวักไขว่ แล้วอะไรที่เรียกว่าเรียบร้อย

ที่ปรึกษาสมัชชาคนจนแนะกรรมการสิทธิฯ ลาออก หลังสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ
บารมี ชัยรัตน์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน กล่าวถึงการอ้างความเดือดร้อนจากการชุมนุมว่า ส่วนใหญ่เป็นความเดือดร้อนของคนกรุงเทพฯ โดยไม่คำนึงเลยว่า ที่อยู่ได้ทุกวันนี้มาจากการแย่งชิงทรัพยากรจากคนชั้นล่าง เมื่อชนชั้นล่างมาเรียกร้องคัดค้าน ชนชั้นกลางก็โวยวาย ขณะที่เราพลัดที่นาคาที่อยู่ ถูกจับ ถูกตีให้ชนชั้นกลางได้รับประโยชน์ นี่เป็นการเอาเปรียบทางชนชั้น นอกจากนี้ กฎหมายนี้ยังเป็นเครื่องมือของเจ้าหน้าที่ในการคุกคามผู้ชุมนุม รวมถึงอาจนำไปสู่การเรียกรับผลประโยชน์ด้วย

บารมี กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา ไม่เคยได้รับการอำนวยความสะดวกในการชุมนุมเลย ไม่ว่าเรื่องน้ำดื่ม หรือห้องน้ำ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังเข้าไปประกบแกนนำ ข่มขู่ไม่ให้มา โดยบอกว่าจะทำให้บ้านเมืองเดือดร้อน ดังนั้น เสนอว่า ก่อนออกกฎหมายแบบนี้ รัฐควรไปฝึกคนให้มีประสิทธิภาพในการเจรจาต่อรองและแก้ปัญหาก่อน รวมถึงควรออก พ.ร.บ.ส่งเสริมเสรีภาพในการชุมนุมด้วย

ทั้งนี้ เขาวิจารณ์คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ออกมาสนับสนุนกฎหมายฉบับนี้ ด้วยว่า คณะกรรมการสิทธิฯ ควรมีหน้าที่ปกป้องการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่จำกัดเสรีภาพ โดยเขาได้เสนอให้คณะกรรมการสิทธิฯ ลาออกจากตำแหน่ง

โอด แจ้งก่อนชุมนุม 3 วัน หนักกว่า กม.แรงงาน
สมศักดิ์ สุขยอด กลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก มองว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ขัดต่อรัฐธรรมนูญที่ให้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบและปราศจากอาวุธ นอกจากนี้ การต้องแจ้งก่อนจัดชุมนุม 72 ชั่วโมงนั้น มากกว่ากฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ซึ่งให้แจ้งการนัดหยุดงานก่อน 24 ชั่วโมงเสียอีก

เขาระบุด้วยว่า ไม่เห็นด้วยกับการกำหนดสถานที่ห้ามชุมนุม โดยมองว่า ไม่ว่าผู้ใช้แรงงาน หรือ เกษตรกร ก็ต้องเดินทางไปเรียกร้องต่อผู้มีหน้าที่รับผิดชอบอยู่แล้ว แต่ร่างนี้กลับห้ามการชุมนุมในที่ต่างๆ เช่น หน้าสถานทูต เขายกตัวอย่างว่า หากมีผู้มาลงทุน แล้วกดขี่ประชาชน ก็ต้องไปชุมนุมที่สถานทูตประเทศนั้น แต่กฎหมายกลับไม่ให้ชุมนุม การทำเช่นนี้ นอกจากจะทำให้เห็นว่ารัฐบาลไม่สนับสนุนให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการเรียก ร้องแล้ว ยังเปิดโอกาสให้คนต่างชาติมาทำลายคนไทยอีกด้วย

พร้อม เข้าสู่กระบวนการ กม. หากละเมิดสิทธิผู้อื่น
กรณ์อุมา พงษ์น้อย ประธานกลุ่มรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก กล่าวถึงกรณีที่มีผู้แย้งว่า หากไม่มี พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ ผู้ชุมนุมอาจละเมิดสิทธิของประชาชนที่ไม่ได้ชุมนุมได้ว่า พวกเธอไม่เคยปฎิเสธกฎกติกาของบ้านเมือง ตลอดเวลาที่ต่อสู้ เจอคดีจำนวนมาก ซึ่งพวกเธอก็พร้อมเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย เพราะเข้าใจว่าการต่อสู้จำเป็นต้องแลก

"เมื่อคิดว่าเรากระทบ สิทธิคนอื่น ก็ดำเนินคดีอาญากับเราได้ เราพร้อมเข้าสู่การพิจารณา" กรณ์อุมา กล่าวและว่า ไม่ว่ากฎหมายนี้จะมีขึ้นเพื่อจัดการกับกลุ่มใดก็ไม่เห็นด้วยทั้งนั้น โดยตั้งคำถามว่า หากมีกฎหมายนี้แล้ว วันหนึ่งมีรัฐบาลที่ทุจริตโกงกิน ใช้อำนาจเกินขอบเขต จะเกิดอะไรขึ้น ดังนั้น จึงมองว่า ทุกวันนี้มีกฎหมายอาญาที่ใช้ได้อยู่แล้ว ไม่ควรมีซ้ำซ้อนขึ้นมาอีก

ชี้ กม.ช่วยรัฐบาลได้เปรียบ ไม่ต้องแก้ปัญหา แค่รอม็อบกลับ
พงษ์อนันต์ ช่วงธรรม เครือข่ายสลัมสี่ภาค กล่าวแสดงความไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะทั้งฉบับ โดยระบุว่า การออกกฎหมายแบบนี้ คนที่ได้เปรียบคือรัฐบาล เพราะไม่ต้องกังวลว่าจะแก้ปัญหาหรือไม่ เพราะเมื่อผู้จัดการชุมนุมแจ้งว่าจะมีการชุมนุม รัฐมนตรีก็เตรียมหนีไปแล้ว หากผู้ชุมนุมไม่ชุมนุมตามระยะเวลาที่แจ้ง ก็จะถูกสลาย สุดท้ายรัฐมนตรีก็ไม่ต้องแก้ปัญหา

เขามองว่า แนวคิดนี้น่าจะมาจากทหาร ตำรวจ ที่ขี้เกียจตากแดดฝน รัฐบาลที่กลัวคนอยู่ตรงข้ามจะมาล้มตัวเอง เลยพยายามผลักกฎหมายออกมา ทำให้ความเดือดร้อนตกกับคนจน ทั้งนี้ การต้องแจ้งว่าจะชุมนุมกี่วันนั้นทำได้ยากเพราะผู้ชุมนุมเองก็ไม่อาจทราบ ได้ว่า ปัญหาของพวกเขาจะได้รับการแก้ไขเมื่อใด รวมถึงสถานที่ต่างๆ ที่ห้ามชุมนุมนั้นก็ล้วนแต่เป็นที่ที่ประชาชนต้องไปชุมนุมเพราะต้องการให้คน ที่อยู่ในที่เหล่านั้นแก้ปัญหาให้ หากไม่อนุญาตให้ชุมนุม จะมีอะไรที่เอื้อให้ปัญหาของประชาชนได้รับการแก้ไข

นอกจากนี้ เขายังมองว่า การชุมนุมทางการเมืองก็ควรได้รับสิทธิเช่นเดียวกัน พวกเขามีสิทธิบอกว่า เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไร ทั้งนี้ มองว่า ตำรวจ ทหาร มีหน้าที่เพียงควบคุมการชุมนุมให้อยู่ในขอบเขต ไม่ลิดรอนสิทธิจนเกินเหตุ ส่วนเรื่องการชุมนุมที่อาจขัดขวางการใช้บริการท่าอากาศยานหรือท่าเรือนั้นก็ มีกฎหมายเฉพาะของแต่ละที่ควบคุมอยู่แล้ว

จี้ยกเลิก ร่าง พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ ชี้ขัด รธน.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากเวทีสาธารณะดังกล่าว องค์กรภาคประชาชนที่เข้าร่วมมีความเห็นร่วมกันว่าองค์กรภาคประชาชนจะคัดค้าน ร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ อย่างถึงที่สุด และขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องยกเลิกหรือขอถอนร่างพระราชบัญญัตินี้ เนื่องจากเสรีภาพในการชุมนุมเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่ทำให้ประชาชนสามารถ เข้าถึงสิทธิต่างๆ อันพึงมีพึงได้ การจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมโดยพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และกระทบต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง

ทั้ง นี้ องค์กรภาคประชาชนจะติดตาม ประมวลข้อมูล เหตุผล และรายชื่อเพื่อยื่นเสนอคัดค้านร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อนกยกรัฐมนตรี หน่วยงานของรัฐ พรรคการเมืองต่างๆ และผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างถึงที่สุด และจะเดินหน้ารณรงค์ขยายแนวร่วมภาคประชาสังคมและสาธารณชนเพื่อคัดค้านร่าง พระราชบัญญัตินี้อย่างต่อเนื่องต่อไป

00000000000000000000000000000000

คำแถลงองค์กรภาคประชาชนต่อร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ……

สืบเนื่องจากการจัดเวทีสาธารณะว่าด้วย “ข้อคิดเห็นและข้อเสนอต่อร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ” ขึ้นในวันอังคารที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ เวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๓๐ น. ณ ห้องประชุม ๑๒ ตึก ๓ (เกษมอุทยานิน) คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ……นำเสนอมุมมองของภาคประชาชนต่อร่างกฎหมายดังกล่าว ตลอดจนรวบรวมข้อเสนอแนะในการจัดการการใช้เสรีภาพในการชุมนุมเพื่อเป็นไปใน ทางคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนนั้น

จากเวทีสาธารณะดังกล่าว องค์กรภาคประชาชนดังมีรายชื่อท้ายคำแถลง มีความเห็นร่วมกันว่าองค์กรภาคประชาชนขอคัดค้านร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ อย่างถึงที่สุด และขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องยกเลิกหรือขอถอนร่างพระราชบัญญัตินี้ เนื่องจากเสรีภาพในการชุมนุมเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่ทำให้ประชาชนสามารถ เข้าถึงสิทธิต่างๆ อันพึงมีพึงได้ การจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมโดยพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และกระทบต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง

ทั้งนี้ องค์กรภาคประชาชนจะติดตามประมวลข้อมูล เหตุผล และรายชื่อเพื่อยื่นเสนอคัดค้านร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อนกยกรัฐมนตรี หน่วยงานของรัฐ พรรคการเมืองต่างๆ และผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างถึงที่สุด และจะเดินหน้ารณรงค์ขยายแนวร่วมภาคประชาสังคมและสาธารณชนเพื่อคัดค้านร่าง พระราชบัญญัตินี้อย่างต่อเนื่องต่อไป

ด้วยจิตคารวะ

วัน ที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๓

๑. เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
๒. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
๓. โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม
๔. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
๕. กลุ่มรักท้องถิ่นบ่อนอก
๖. กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด
๗. เครือข่ายสลัมสี่ภาค
๘. สมัชชาคนจน
๙. ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ (อิสาน)
๑๐. เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย (คปท.)
๑๑. เครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบางสะพาน
๑๒. กลุ่มอนุรักษ์ทับสะแก
๑๓. กลุ่มอนุรักษ์บ้านเกิดอ่าวน้อย
๑๔. กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบางสะพาน
๑๕. ศูนย์ช่วยเหลือและจัดการวิกฤตแรงงาน
๑๖. กลุ่มแรงงานภาคตะวันออก
๑๗. กลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจภาคตะวันออก
๑๘. สมานฉันท์แรงงานไทย
๑๙. กลุ่มเพื่อนประชาชน (F.O.P)
๒๐. RSA.
๒๑. เครือข่ายแรงงานตรวจสอบผลกระทบเงินกู้ของรัฐ (ALNI)
๒๒. ศูนย์ประสานงานเครือข่ายภาคประชาชน
๒๓. เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.)
๒๔. สหภาพแรงงานรถไฟไทย
๒๕. มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย
๒๖. สมานฉันท์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
๒๗. สภาเครือข่ายองค์กรเกษตรกรแห่งประเทศไทย (สค.ปท.)

มิติใหม่การชุมนุมทางการเมือง

ในระบอบประชาธิปไตย

"ตลาดนัดรัฐศาสตร์" วันที่ 14 มิ.ย. 2553
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(ประชาไท : ข้อมูลและภาพ)

จัดการเสวนาหัวข้อ “มิติใหม่การชุมนุมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย กรณีการชุมนุมของกลุ่มเสื้อสีต่างๆ” โดยวิทยากรประกอบด้วย ศ. ดร. ชัยวัฒน์ สถาอานันท์, ผศ. ดร. ประภาส ปิ่นตบแต่ง และ รศ. อภิชาติ สถิตนิรมัย ดำเนินรายการโดย รศ. ดร. ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


รศ.อภิชาติ สถิตนิรมัย จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ใครคือเสื้อเหลืองเสื้อแดง ผมทำวิจัยจากหมู่บ้านในจังหวัดนครปฐม หนึ่งหมู่บ้าน เป็นตัวอย่าง โดยการเก็บข้อมูลประมาณ 2-3 เดือนที่ผ่านมา มาจากแบบสอบถาม 100 ชุด ไม่สามารถอ้างความเป็นตัวแทนทางวิทยาศาสตร์หรือมีนัยยะสำคัญทางสถิติใดๆ ทั้งสิ้น แต่เชื่อว่ามันเป็นตัวแทนที่ดีของหนึ่งหมู่บ้าน ซึ่งมีโปรเจ็กต์ต่อไป

กลุ่มคนที่สนับสนุนฝ่ายเสื้อเหลืองคือข้าราชการ พ่อค้า นักธุรกิจ และเกษตรกรรมเล็กน้อย มีการศึกษาสูงกว่าแดง จบปริญญาตรีขึ้นไป รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 31,000 บาท

ฝ่ายที่สนับสนุนเสื้อแดงคือ ลูกจ้างและเกษตรกร มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 17,000 บาท โดยสรุปคือเสื้อแดงไม่ใช่คนจนแต่จนกว่าเสื้อเหลือง ฐานะทางเศรษฐกิจสังคมของเสื้อเหลืองคือมีงานประจำ มีการศึกษาและฐานะทางสังคมสูงกว่า

ประเด็นประชานิยมและความเหลื่อมล้ำเกี่ยวกับเหลืองแดงอย่างไรบ้าง - จากการสำรวจในหมู่บ้านดังกล่าวพบว่าส่วนใหญ่ทั้งฝ่ายเหลืองและแดงตอบว่าตัวเองเป็นชนชั้นกลาง แต่คนที่เป็นเหลืองจัดตัวเองว่าเป็นคนจนถึง 26-27 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่คนที่สนับสนุนฝ่ายเสื้อแดงคิดว่าตัวเองรวย ทั้งนี้ ฝ่ายที่สนับสนุนเสื้อเหลืองมีทัศนคติต่อความว่าช่องว่างระหว่างคนรวยและจนนั้นห่างมากจนรับไม่ได้มากกว่าเสื้อแดง

อย่างน้อยเราสรุปได้ว่าความคับข้องใจของคนเสื้อแดงไม่ได้อยู่ที่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ขณะที่คนเสื้อเหลืองรู้สึกมากกว่า สรุปว่าความยากจนในเชิงภาวะวิสัย ไม่ใช่ปัญหาของคนเสื้อแดง คือตัวเลขรายได้เป็นหมื่นบาทต่อเดือน เส้นความยากจนของไทยปัจจุบันตกประมาณเดือนละพันกว่าบาทต่อเดือน คนเหล่านี้ไม่ใช่คนจนแน่นอน สองความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ในทางอัตวิสัย เป็นปัญหากับเสื้อเหลืองมากกว่าเสื้อแดง พูดง่ายๆ ว่าเสื้อเหลืองไม่พอเพียงกว่าคนเสื้อแดงด้วยซ้ำ เพราะเสื้อเหลืองคิดว่าตัวเองจนมากกว่าเสื้อแดง และเห็นว่าช่องว่างทางการกระขายรายได้สูงเกินไปจนรับไม่ได้มากกว่าคนเสื้อแดง คนเสื้อเหลืองจึงไม่พอเพียงมากกว่าคนเสื้อแดง

ฉะนั้นถ้าความยากจนความเหลื่อมล้ำไม่ใช่สาเหตุของคนเสื้อแดง ถ้าเช่นนั้นมีอะไรบ้าง ผมไปโฟกัสกรุ๊ปที่อุบล และเชียงใหม่คนเสื้อแดงอุบลตอบว่ารู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ รู้สึกว่าตนถูกดูหมิ่นเหยียดหยามเพราะมีฐานะยากจน ความรู้น้อย รู้สึกว่าสังคมแบ่งชนชั้น รู้สึกว่าไม่มีความเป็นธรรมทางสังคม รู้สึกว่าทำอะไรก็ผิด มาชุมนุมนั่งกับพื้นก็ผิด เฮ็ดหยังก็ผิด ยิ่งรู้สึกว่าต้องต่อสู้ เพื่อขอทวงสิทธิของเราคืน โดยเรียกร้องให้ยุบสภา สังคมนี้มีปัญหาความไม่เท่าเทียม มีปัญหาเรื่องเส้นสาย เรามันเป็นคนไร้เส้น ม็อบก็ม็อบไม่มีเส้น (ผมสัมภาษณ์ก่อนแผนปรองดองของนายกจะออกมา)

ฉะนั้นความคับข้องใจที่เกิดขึ้นมันไม่ได้เป็นความคับข้องใจทั้งในแง่เศรษฐกิจทั้งอัตตวิสัยและภาวะวิสัย แต่ในแง่ความคับข้องใจมีความแตกต่างระหว่างพื้นที่ คนนครปฐมไม่ค่อยรู้สึกคับข้องใจอะไร เขาประเมินว่า 10 ปีที่ผ่านมา เขารูสึกว่ามันดีขึ้นและมองไปข้างหน้าก็ดีขึ้น และเห็นว่าการดีขึ้นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความขยันและความเก่งของตัวบุคคล สำหรับนครปฐม สังคมไม่ได้มีความอยุติธรรมทางชนชั้น สังคมยังเปิดโอกาส

แต่คนเสื้อแดงอุบล รู้สึกว่าแม้แต่ไปโรงพยาบาลก็ถูกแซงคิวจากคนแต่งตัวดี ฐานะดี สอบเข้าได้ ก็ไม่มีเส้น เป็นปมอิสาน และปมอิสานนี้เสื้อเหลืองก็เป็น เสื้อเหลืองคนอิสานก็รู้สึกมีปมอิสานเช่นกัน คนนครปฐมไม่มีปมทั้งแดงและเหลือง แต่สำหรับแดงเชียงใหม่ ถ้าถามอนาคต ไม่แน่ใจ แต่ที่ผ่านมารู้สึกชีวิตดี แต่ไม่รู้สึกเหมือนคนเสื้อแดงอุบล ไม่มีปมเชียงใหม่ มีแต่ปมอิสาน ความเป็น ‘คนเมือง’ (คนพื้นเมืองเชียงใหม่) ไม่รู้สึกรุนแรงอะไร ยังไม่รู้สึกว่าเป็นอาณานิคมของคนกรุงเทพฯ แดงนครปฐมมีฐานะดี แต่ก็เป็นหนี้ตกเป็นแสนบาทต่อหัว แต่มีที่ดินเฉลี่ย 15 ไร่ มีรถกระบะเฉลี่ยมากกว่าครอบครัวละ 1 คัน

ประชานิยม ใครได้ประโยชน์โดยตรงบ้าง-ในทุกโครงการประชานิยมเสื้อแดงได้ใช้บริการโดยตรงมากกว่าเสื้อเหลืองอย่างเห็นได้ชัด และมากกว่าคนเป็นกลาง เช่น โครงการ 30 บาท เสื้อแดงระบุว่าได้ใช้ประโยชน์ 81 เปอร์เซ็นต์ เสื้อเหลือง 40 กว่าเปอร์เซ็นต์

เพราะฉะนั้น ประชานิยมโดนใจจริง เหตุใดจึงโดนใจจริง ถ้ากลับไปดูที่อาชีพของคนเสื้อแดงคือคนที่อยู่นอกระบบประกันสังคมทุกชนิด ไม่ได้เป็นราชการ ไม่ใช่แรงงานในระบบ ไม่มีฐานะรวยมากอย่างพ่อค้า ฉะนั้นค่ารักษาพยาบาลของเขาจึงจำเป็น เขาอยู่นอกระบบบริการและประกันสังคมทุกชนิด และวิถีชีวิตของเขาผูกพันอย่างแนบแน่นกับภาวะเศรษฐกิจมหภาค ทำงานเป็นเกษตรกรปลูกข้าวมากกว่า 5 ครั้งต่อปี ใช้เครื่องจักร และเคมี โครงการประกันราคาข้าวในสมัยทักษิณจึงเป็นประโยชน์มากต่อพวกเขา เศรษฐกิจไทยเป็นขนาดเล็กแบบเปิด ความผันผวนต่อภาวะทางเศรษฐกิจจากภายนอกประเทศ มันส่งผลโดยตรงต่อเขา และการออม ก็ไม่มีมาก และไม่สามารถที่จะดูดซับภาวะความผันผวนจากภายนอกได้ ฉะนั้นในการตีความของผม โครงการประชานิยมจึงออกแบบไว้เพื่อรองรับช็อค (ผลกระทบกะทันหัน) ที่จะเกิดกับทุกคนได้ 30 บาทสำหรับกรณีเจ็บป่วย โครงการกองทุนหมู่บ้านรองรับภาวะที่ต้องกู้ยืม กลไกของ 30 บาทในทางเศรษฐศาสตร์ก็คือการรองรับระบบให้การบริโภคดำเนินต่อไปได้อย่างสม่ำเสมอ และทำให้กระแสเงินดีขึ้น ไม่ว่าจะมิติกู้เพื่อบริโภคหรือการลงทุน แต่ก็ทำให้เขามีหลักประกันมากขึ้น เป็น Social Safety Net แบบหนึ่ง ตัวหลักของประชานิยมที่ถูกใจมากก็คือ สองอย่างนี้เพราะตอบรับกับความต้องการทางเศรษฐกิจยุคใหม่ของชาวบ้าน ชาวบ้านในชนบทไม่ใช่สังคมชาวนาอีกต่อไปแล้ว ไม่ใช่ชาวนารายย่อยแบบในอดีตที่พึ่งตนเอง ผลิตข้าวแล้วเก็บไว้กินเหลือจึงขาย ภาพนี้ไม่มีอีกแล้ว ที่ชัยภูมิ ชาวนาชาวไร่แม้จะยากจนมาก แต่ใช้รถไถ ใช้ปุ๋ยหมดแล้ว ฉะนั้นสังคมของเขาไม่ใช่สังคมเอื้ออาทร สมานฉันท์ รักใครกลมเกลียวแบบในอดีตอีกต่อไป แต่ Modern Economic Lifestyle ทำให้ระบบประกันสังคมแบบอดีตพังทลายไป แต่ก่อนที่เคยช่วยเหลือกันได้ มันแตกสลายไป สรุปคือประชานิยมมันตอบรับกับ Modern Need

ถามต่อว่าคนเสื้อแดงมาประท้วงเพราะอะไร คำตอบหลักๆ คือ ต่อต้านรัฐประหาร ต่อต้านอภิสิทธิ์ ไม่มีคำตอบว่าต่อต้านอำมาตย์ ตอบว่าเป็นเสื้อแดงความยากจนแค่หกเปอร์เซ็นต์ ไม่มีใครเลือกตอบเรื่องความเหลื่อมล้ำเลยว่าเป็นสาเหตุของการมาชุมนุม สรุปในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ ความขัดแย้งครั้งนี้มีสาเหตุมาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจน้อย มันเป็นความขัดแย้งทางการเมืองเป็นหลักโดยเฉพาะเรื่องสิทธิและความเท่าเทียมในสิทธิทางการเมือง

ผศ.ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
งานวิจัยที่ผมทำร่วมกับอาจารย์อภิชาติที่ จ.นครปฐม เราคงได้ข้อสรุปใหญ่ๆ ว่าถ้าเราดูคนเสื้อแดงไม่ใช่รากหญ้า แต่เป็นยอดหญ้า คือคนที่เข้ามาสัมพันธ์กับระบบเศรษฐกิจการตลาด ชีวิตผูกพันกับเมือง มีการคาขายเป็นผู้ประกอบการรายย่อย ถ้าดูนครปฐมก็ยิ่งชัดมาก เพราะไปหลายหมู่บ้าน ที่อื่นๆ เมื่อดูภาพคนที่มา 1 คัน 10 คน แสนคันก็ 1 ล้านคน ประมาณ 1 หมู่บ้านก็คือ 1 คันรถ ตัวอย่างจาก จ.นครปฐม ผู้ร่วมชุมนุมคนหนึ่งเป็นคนยอดหญ้าเป็นคนที่เป็นพ่อค้า ขายบัวที่ปากคลองตลาดเสร็จก็ไปชุมนุมที่สนามหลวง วิถีของคนพวกนี้ ผูกพันกับเศรษฐกิจ เดินขบวนมาเป็นยี่สิบครั้ง ฉะนั้น อย่าไปบอกว่าพวกเขาเป็นพวกวัวควายถูกจูงมา

ในเชิงอุดมการณเสื้อเหลืองเสื้อแดง ถ้าเป็นเสื้อเหลือง จะออกไปทาง พอช. สสส. เศรษฐกิจพอเพียงยกเว้น พอช. สายอิสานไปทำโรงเรียนการเมืองเยอะ แต่มีนัยยะสำคัญเยอะนะ เวลาพูดเรื่องการปฏิรูปการเมืองอะไรต่างๆ เอาเข้าจริงลงไประดับชุมชน ที่โยงลงไปถึงคนแค่สายเดียว พวกสีเหลืองมีอยู่ไม่เท่าไหร่ แดงเกิน 70 เปอร์เซ็นต์แล้ว และชีวิตคนพวกนี้สัมพันธ์อยู่กับการเมือง เขาอยู่ไม่ได้ถ้าไม่เข้าไปต่อรอง ฉะนั้นการเลือกตั้งเป็นกลไกสำคัญทำให้พวกเขาเข้าถึงทรัพยากรของรัฐ และเขาไม่ได้บอกว่านักเลือกตั้งไม่ได้อัปรีย์ แต่นึกถึงเราไปเที่ยวท้องนาเจอปลักน้ำ ต้องการกินน้ำแต่เจอปลิง มันก็เหมือนชาวบ้านต้องการน้ำเจอทักษิณ ผู้คนเขาใช้ประโยชน์มันได้ ชีวิตเขาเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองชัดเจนมากแล้ว อย่าหาว่าเขาเป็นพวกวัวควายที่ถูกจูงมา

ประชานิยมนั้นคนที่ได้จริงๆ วงขอบมันไม่กว้างมากหรอก ยกเว้นสามสิบบาท แต่เราจะเห็นได้ชัดมากว่านักการเมืองหรือหัวคะแนนที่เอาคนเข้ามา ผมว่าเราต้องเข้าใจว่าเป็นเรื่องปกติ ที่จะต้องมีทรัพยากรที่เชื่อมโยงสิ่งเหล่านี้เข้ามา ผมเห็นด้วยว่ามันไม่ได้เป็นความคับข้องใจแบบนักจิตวิทยามวลชนในยุคที่อธิบายว่าคนเข้ามาปฏิวัติ เพราะคับข้องใจ สติแตก แต่คนเสื้อแดงเขาเข้ามาด้วยประโยชน์ที่เกิดจากกระบวนการสร้างและจรรโลงประชาธิปไตย เขาเข้ามาในฐานะกลุ่มผลประโยชน์ที่เข้ามาใช้พื้นที่ทางการเมืองของเขารักษาสิทธิเลือกตั้ง รักษานายกของเขา พรรคการเมืองของเขา

อีกเรื่องคือ คนพวกนี้ถ้าเราดูสังกัดกลุ่มองค์กร พวกเขาแสดงทัศนะชัดเจน พรบ. ปกครองท้องที่ให้พวกผู้ใหญ่บ้านกำนันอยู่จนเกษียณ เขาไม่ชอบ เพราะมันกระทบต่อเรื่องการกระจายทรัพยากร มันกระทบกับชีวิตเขามาก

ผมคิดว่าถ้าจะตอบคำถามว่าใครคือคนเสื้อแดง หรือปรากฏการณ์การชุมนุมของคนเสื้อแดง ผมคงเน้นการอธิบายในระดับข้างล่าง มันสะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการสร้างและจรรโลงประชาธิปไตยไทยอย่างไร ซึ่งผมอยากจะตอบ คือ หนึ่ง ผลของคนเสื้อแดงมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ยอดหญ้าเหล่านี้ต้องเข้าไปสัมพันธ์อยู่กับนโยบายการเมืองต่างๆ คนพวกนี้ต่างไปจากพวกที่เป็นการเมืองภาคประชาชนที่ผมเข้าไปเกี่ยวข้องอยู่มากหน่อย พวกคนจนแบบสมัชชาคนจน มวลชนนี้เป็นมวลชนอีกมิติหนึ่งและต่างไปจากชาวนาแบบสหพันธ์ชาวนาชาวไร่

สองคือ เราคงเห็นว่าคนเหล่านี้เกิดขึ้นมาเพราะมีพื้นที่ทางการเมืองใหม่ขึ้นมา มีการปฏิรูปการเมือง ทำให้ชีวิตเขาเข้าไปสัมพันธ์กับการเมืองมากขึ้น สัมผัสกับหัวคะแนน นักการเมือง นักเลือกตั้งอะไรต่างๆ และสัมพันธ์กับการกระจายทรัพยากร มีผลต่อชีวิตของพวกเขา รถไถขนาดกลาง หรือเครื่องสูบน้ำ เอสเอ็มแอลก็ไปซื้อของเหล่านี้ ไม่ใช่ว่าประชานิยมมันไม่มีฟังก์ชั่นอะไรเลย

แต่อีกส่วนหนึ่งที่เราต้องเข้าใจการเกิดขึ้นของคนเสื้อแดงที่เข้ามารวมตัวกันก็คือเรื่องความสัมพันธ์กับเครือข่ายนักการเมืองนักเลือกตั้ง ไม่มีชาวบ้านที่ไหนหรอกที่ออกเงินมาเอง เรามองเห็นว่าแกนนำหลักๆ หมดเนื้อหมดตัวกันไปเยอะทีเดียว

แต่จากการสอบถามทัศนคติคนเสื้อแดง 400 กว่าคนจากการชุมนุม คนเหล่านี้เคยร่วมเรียกร้องทางการเมืองหลายครั้ง ไม่ใช่มวลชนที่เฉื่อยชา และจากการสอบถาม พวกเขาอธิบายตัวเองว่าเป็นผู้ที่รักประชาธิปไตย

กระบวนการของคนเสื้อแดงเหล่านี้เป็นความพยายามอธิบายมวลชนจากข้างล่าง ไม่ได้ดูที่ข้างบน

ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เมื่อวานมีคนโทรศัพท์ไปที่บ้าน แล้วก็จะเชิญผมไปพูดในรายการที่เขาจะจัดวันเสาร์หน้า ตอนนี้เวลาใครเชิญไปพูดอะไรก็ไม่ค่อยอยากไป เพราะเบื่อ แต่เขาพูดกับผม บอกว่าคยทำงานกับผมเมื่อหลายปีก่อน และเคยอยู่ในคลาสของผม และที่สำคัญลูกของเขาถูกยิงตายเมื่อวันที่ 15 พ.ค. เลยอยากจะเชิญผมไปพูด เขาทำงานกับผมในมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ลูกเขาคือสมาพันธ์ ศรีเทพ ชื่อเล่นชื่อน้องเฌอ หรือสุรเฌอ เด็กคนนี้ถูกยิงวันที่ 15 พ.ค.ที่ซอยราชปรารภ 18 ตอนที่ถูกยิงไม่ตาย ดูจากรอยเลือด เด็กคนนี้ทำหลายอย่างก่อนหน้านั้น เช่นเอามือสีขาวห้ามคนไทยฆ่ากันไปแขวนไว้ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และเมื่อปีก่อนเป็นการ์ดของพันธมิตร คราวนี้เขาก็พยายามรณรงค์ไม่ให้คนฆ่ากัน ผมปฏิเสธเขาไป จริงๆ ผมบอกเขาไปว่าถ้าผมไม่ติดสิ่งที่ทำ แต่เหตุผลคือผมต้องไปสอน วิชาTU112 ซึ่งมีนักศึกษาลงทะเบียนกว่าสองพันคน

ผมเริ่มแบบนี้ ผมคิดว่าวิธีที่เราคิดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับการชุมนุม ว่ามีอะไรใหม่ไหม ผมคิดว่า วิธีที่ความรุนแรงได้ Shape (ก่อร่าง) มันทำให้ทุกอย่างใหม่

ข้อสังเกตข้อแรก ในตารางที่อาจารย์อภิชาติเสนอ คือคนที่ไม่สนับสนุนฝ่ายใดมากกว่าเหลืองและแดง คำถามนี้สำคัญมากสำหรับผม คือผมไม่แน่ใจว่ามันใช่ในระดับประเทศ คือเรามักจะคิดว่าคนที่อยู่ตรงกลางมีมาก ถ้าเราเชื่ออย่างนั้นวิธีจัดการปัญหาความขัดแย้งมีอย่างหนึ่ง แต่ถ้าไม่ใช่ ก็ยุ่งเหมือนกัน จากข้อมูลของอาจารย์อภิชาติ ผู้ไม่สนับสนุนฝ่ายใดยังมากกว่าแดงและเหลือง

และสอง ฝ่ายแดงและเหลืองพอๆ กันในนครปฐม ซึ่งไม่แน่ว่าจะใช้ภาพนี้ในชนบทอื่นๆ ในไทย ประการที่สาม เวลาที่คนเหล่านี้ตอบเราว่าเหตุใดจึงมา มาเพราะสามเหตุผลคือ ต่อต้านรัฐประหาร สองมาตรฐานและอภิสิทธิ์ไม่มีความชอบธรรม คำถามของผมคือถ้าประชาชนในประทศไทยวันนี้ ถ้าเราคิดว่ามันเป็นขบวนการและตามที่อาจารย์อภิชาตพูดว่ามีประสบการณ์และขบวนการเหล่านี้ถูก Politicize แล้ว คำตอบเลย Political มันจึงเป็นคำตอบที่บอกว่าเหตุผลที่มาเป็นเพราะปัญหาทางการเมืองแม้จะเป็นเรื่องอื่นก็ตาม เพราะว่าเมื่ออยู่ในขบวนการบางอย่างวัตถุประสงค์ของขบวนการจึงสำคัญ เพราะขบวนการมีการจัดตั้ง และกำหนดตัวนิยาม การตอบจึงตอบภายใต้กรอบของขบวนการ

ประการที่ 4 ที่น่าสนใจ อาจารย์ประภาสบอกว่าคนเหล่านี้เขามาเพื่อพิทักษ์ปกป้องพรรคการเมืองของเขา นายกรัฐมนตรีของเขา ซึ่งน่าสนว่าบางทีคนที่เขาลุกมาทำอะไรแบบนี้คือเขากำลังพิทักษ์สินค้าของเขา โลกมีสินค้าหลายอย่างแต่บางอย่างมี Super Commodity คือการพิทักษ์ของที่เขาจะได้จากนโยบายหลายๆ อย่างด้วยเหตุนี้จึงเป็นเหตุเป็นผลว่าเพราะเหตุใดพรรคการเมืองของเขาจึงสำคัญ ก็ไม่ใช่หรือว่าที่ผ่านมาพรรคการเมืองหลายๆ พรรคต้องแย่งชิงกันทางนโยบาย คือทำให้นโยบายเป็นสินค้าที่จะเลือกซื้อเลือกใช้ และเมื่อเขาได้มา แล้วถูกแย่งไป ไม่ต่าง อะไรกับการพยายามรักษาป่า หรือยางพาราให้มีราคาสูง

เวลาบอกว่า ใหม่ มันใหม่สำหรับใคร สำหรับผมคือมีไหม คำอธิบายใหม่ๆ อาจารย์ประภาสบอกว่า ทฤษฎีความคับข้องใจใช้ไม่ได้แล้ว ปัญหาคือ ความความคับข้องใจไม่สัมพันธ์กับการ Collect (รวมกลุ่ม) แต่มันไปสู้ความ Aggress (ความก้าวร้าว) และเป็นไปได้ เมื่อถูกนำพาไปให้เกิดความคาดหวังอย่างสูง และความรุนแรงจะเกิดขึ้นเมื่อไม่ได้ในสิ่งที่คาดหวัง ทำให้เราเห็นว่าเมื่อมีสิ่งที่รัฐบาลหรือสังคมเสนอ แล้วถูกปิด ความคาดหวังเป็นไปไม่ได้ ก็เกิดความผิดหวังสูงและความก้าวร้าวก็เกิดขึ้น

สิ่งที่ผมเห็นว่าใหม่ มี 4 เรื่องคือ
1.เรื่องความโกรธ
2.ข่าวลือ
3.สี
4.การก่อการร้าย ที่รัฐบาลชอบพูด

หนึ่ง ความโกรธ สิ่งที่ทำลายความคาดหวังให้เกิดความผิดหวังและก้าวร้าว มีมาก เหมือนว่ามีอำนาจหลายอันที่ทำงานอยู่ในสังคมไทย และบางครั้งเมื่อประตูบางอย่างจะเปิด มันก็ถูกปิด และเมื่อถูกปิดไปเรื่อยๆ ความโกรธนี้ก็มากขึ้นมหาศาล ผมได้คุยกับเพื่อนจากสถานทูตออสเตรเลียในร้านอาหารแห่งหนึ่งซึ่งเป็นของญาติ ปรากฏว่ามีคนเดินเข้ามาแล้วก็ไปโวยวายอยู่นอกร้าน เจ้าของร้านบอกว่าเขาด่าผม เรื่องอะไรนี่ผมไม่รู้ เจ้าของร้านเขาบอกว่าคงไม่ใช่เรื่องอื่น คงเป็นเรื่องการบ้านการเมือง คงทำให้เขารู้สึกอึดอัดมาก คือเขาอาจจะอยากให้ผมอยู่ที่หนึ่ง แต่ผมไม่อยู่ คือความโกรธบางครั้งมาจากความรู้สึกรักหรือเป็นพวกเดียวกัน รวมทั้งการเข้าไปหรือพาเพื่อนบางคนเข้าไปผมอาจจะไปรุกรานพื้นที่ของเขา พื้นที่นั้น สมมติเป็นพื้นที่สีเหลือง แต่ผมเอาเพื่อนสีแดงเข้าไปด้วย คือผมคิดว่าเขาไปกะผมไม่น่าจะมีปัญหา แต่ผมคิดว่าผมสำคัญตัวผิด

ขบวนการประชาชนขณะนี้ เป็นขบวนการประชาชนที่เต็มไปด้วยอารมณ์ เราไม่สามารถเข้าใจการเมืองได้ถ้าเราไม่เข้าใจความโกรธ ว่ามันทำงานอย่างไร ความโกรธนี้เป็นอาการที่มีอยู่ในสังคมนี้ ในหลายๆ วัฒนธรรมไม่ได้แปลว่าไม่ดี ถ้าคุณเป็นชาวโรมันคุณควรจะโกรธเพราะความโกรธสัมพันธ์กับความเป็นชาย คำถามคือ ขบวนการพวกนี้เป็นชายมากไปหรือเปล่า จนลืมอะไรไปอีกหลายอย่าง

สอง ข่าวลือ ข่าวลือนี้น่าสนใจในความเห็นของผม ข่าวลือเพิ่มความเข้าข้นของขบวนการในลักษณะนี้ คือ ความไม่ชัดเจน เปิดโอกาสให้แต่ละคนที่มารับฟังข่าวลือ แล้วเพิ่มตอนต่างๆ ไปได้ ข่าวลือก็จะผลิตซ้ำตัวมันเองในลักษณะที่พิสดารมากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้น่าสนใจและควบคุมไม่ได้ ถามว่าอะไรที่เป็นเงื่อนไขให้ข่าวลือเผยแพร่ ผมคิดว่า พรก. ฉุกเฉิน การปิดกั้นสื่อ การควบคุมสื่อ ทำให้ข่าวลือเผยแพร่ไป เพราะข่าวลือไม่ใช่การระบายออก แต่เป็นเครื่องมือทางการเมือง ขณะนี้สังคมนี้กำลังจะมีข่าวลือเต็มไปหมด และขบวนการประชาชนในสภาพที่ถูกจำกัดพื้นที่และบทบาท สิ่งที่เขาจะทำคือข่าวลือ

สาม เรื่องสี ความขัดแย้งทางการเมืองจำเป็นต้องอาศัยอัตลักษณ์ การใช้อัตลักษณ์โดยสี สัมพันธ์กับการเห็น ถ้าสัมพันธ์กับการเห็น มันกลายเป็นของซึ่งเป็นรูปธรรมจับต้องได้ แต่มีข้อจำกัด แต่สีผิวนั้นลอกได้แต่ยาก แต่เสื้อนั้นน่าสนใจเป็นของถอดได้ใส่ได้ ถ้าถอดได้ใส่ได้ การเคลื่อนไหวของผู้คนก็สามารถใช้สีเสื้อทั้งในแง่ป้องกันตัวและใช้เล่นงานคนอื่น คือเสื้อขณะนี้เป็นสัญลักษณ์ เราลงทุนไปกับสัญลักษณ์แบบนี้เยอะ เราวัดคนบนฐานของสัญลักษณ์ที่แต่ละคนใช้ ของแบบนี้จะเพิ่มระดับของการแบ่งขั้วในสังคมไทยให้มากขึ้น ทำให้เป็นอันตรายในการคิดเรื่องนี้ และผลของการเมืองที่มีสีเสื้อแบบนี้ส่งผลให้บางมหาวิทยาลัยออกแบบเสื้อที่ดูไม่ได้เลยออกมา

สี่ การก่อการร้าย รัฐบาลใช้คำนี้ เมื่อเช้านายกก็พูดอย่างนี้อีกว่าการเจรจาปรองดองจะไม่ทำกับผู้ก่อการร้าย แต่คำถามคือ คำว่าก่อการร้ายแปลว่าอะไรไม่แน่นอน แต่ผมคิดว่าสาระสำคัญของประเด็นก่อการร้ายไม่ได้อยู่ที่ความรุนแรง แต่อยู่ที่ความกลัว สิ่งที่การก่อการร้ายผลิตไม่ใช้ความรุนแรง แต่เป็นการผลิตความไม่แน่นอนในชีวิต ภายใต้ชีวิตที่ไม่แน่นอน คือความกลัว สังคมการเมืองทุกอันโดยไม่มีข้อยกเว้น ต้องทำงานบนฐานของความแน่นอนบางอย่าง สิ่งที่รบกวนสิ่งเหล่านี้คือการรบกวนชีวิตทางการเมืองของสังคม ทำให้สังคมอยู่ลำบาก ชีวิตซึ่งเป็นปกติหายไป ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากความกลัว แต่ทุกครั้งที่รัฐบาลใช้คำหรือแนวคิดหรือกระทั่งวาทกรรมใช้เรื่องการก่อการร้ายผมไม่ทราบว่ารัฐบาลทราบหรือเปล่าว่า คุณลักษณ์อย่างหนึ่งของการก่อการร้าย คือมันจะเป็นสงครามที่ไม่มีวันสิ้นสุด เวลาที่สหรัฐประกาศการต่อสู้กับการก่อการร้ายมันจะไม่สิ้นสุดเพราะคู่ต่อสู้จะไม่ใช่แค่บินลาเดน พูดจากฝั่งอเมริกันคุณจะทำอะไรกับบินลาเดน ถ้าคุณฆ่าบินลาเดน คุณจะสร้างบินลาเดนขึ้นมาอีกเยอะ คุณจะเอาชนะยังไง

เวลาที่รัฐบาลกำลังพูดเรื่องการก่อการร้าย ผมหวังว่ารัฐบาลจะเข้าใจว่ากำลังพูดถึงอะไร การต่อสู้กับการก่อการร้ายคือการต่อสู้กับวิธีการไม่ใช้คน

อันสุดท้ายของการก่อการร้ายคือ ถ้าจะสู้จริงๆ ประเทศที่เก่งที่สุดคืออิสราเอล สิ่งที่เขาพยายามจะทำคือพยายามจะป้องกันไม่ให้คนกลายเป็นผู้ก่อการร้าย โดยอธิบายว่า การเคลื่อนตัวของมนุษย์มันเคลื่อนตัวจากการเป็นนักเคลื่อนไหว (Activist)ก่อน เมื่อเป็นนักเคลื่อนไหว พอถูกกดดันถูกรังแก ก็จะขยับไปเป็นกองกำลัง (Militant) และจากนั้นกลายเป็นการก่อการร้าย (Terrorist) ถ้าเช่นนั้นรัฐบาลประเทศต่างๆ ถ้ายังมีสติอยู่บ้างก็คือการพยายาหาวิธีการไม่ให้คนเคลื่อนจากความเป็นนักเคลื่อนไหว ไปเป็นกองกำลัง เพราะนักเคลื่อนไหวต้องการพื้นที่ทางการเมือง กองกำลังต้องการการยอมรับในบางระดับ ถ้าเราป้องกันได้ ก็ป้องกันการก่อการร้ายได้ ในที่สุดแล้ว รัฐผลิตสิ่งนี้เองหรือไม่ทั้งในระดับวาทกรรมและปฏิบัติ ตกลงเราอยู่ในประเทศที่ขณะนี้ผู้คนแตกแยกกันจริงๆ แล้ว และถ้าเราดูคนที่เลือกประชาธิปัตย์และไทยรักไทย เราหนีไม่พ้นระดับสิบล้านทั้งคู่ และเมื่อดูความโกรธความไม่พอใจที่มีสูง ขณะที่คนกลางๆ มีน้อยลง ในเวลาแบบนี้การย้ำเรื่องการก่อการร้ายเป็นเรื่องอันตราย
ในเวลาแบบนี้ ผมอยากให้ลองฟังเสียงจากผู้สูญเสียดู คุณพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพพ่อของ สมาพันธ์ ศรีเทพ เขาเขียนในเฟซบุ๊ก "พี่ทหารครับ ผมเข้าใจพี่ ผมอโหสิ เราต่างเป็นเหยื่อด้วยกันทุกคนครับ" หากเฌอทำการล่วงเกินหรือจาบจ้วงท่านผู้ใดมาก่อน มารดาและบิดา ขออโหสิกรรมมา ณ ที่นี้ ควรมิควรแล้วแต่กรุณา"

ดร.ชลิดาภรณ์ : ถามอาจารย์ชัยวัฒน์ว่า ความโกรธที่น่ากลัวคือความโกรธระหว่างคนในสังคมคือเพื่อน ซึ่งไม่น่าจะอยู่ในสเกลขนาดนี้ และยิ่งพุ่งขึ้นผ่านการฆ่าฟัน มีคนจำนวนมากเชื่อว่าความจริง จะสลายความโกรธ จะทำให้ข่าวลือหมดพลัง จะทำให้คนเลิกคิดที่จะใช้ความรุนแรงและสีที่ใช้เป็นอัตลักษณ์หมดความหมาย อาจารย์คิดว่าความจริงจะสลายทั้งหมดไหม หรือความจริงจะยิ่งแหลมมากและยิ่งบาดเรา

ศ.ดร.ชัยวัฒน์ : ในความรุนแรงในสงครามความขัดแย้งที่ถึงตาย สิ่งที่ตายก่อนหรือเจ็บก่อนคือความจริง แต่ผมคิดว่าไม่ใช่ในสงครามอย่างเดียว แต่ในความขัดแย้งก็ด้วย ความจริงเป็นเหยื่อรายแรก เมื่อกี๊นั่งอยู่กับนักข่าว นักข่าวเล่าให้ฟัง เราดูภาพที่ Nick Nostitz นำเสนอ เราได้ดูในโทรทัศน์ ได้รู้ว่าโทรทัศน์รับคำสั่งว่าภาพทหารถืออาวุธอย่าเอาขึ้นจอ ในทางกลับกันถ้าเราดู ASTV หรือ People Channel เราหวังหรือว่าจะได้เห็นภาพเหล่านั้น

ประการสอง ในห้องผมซึ่งรกมาก มีภาพเล็กๆ ที่ลูกศิษย์เอามาให้ ภาพนั้นคือตุ๊กตาผ้าแล้วถูกบดแล้วยับ และมีข้อเขียนบอกว่า The truth will set you Free but first it will make you miserable -ความจริงจะทำให้คุณเป็นอิสระ แต่ก่อนจะเป็นอิสระท่านจะยับยุ่ย จะต้องบาดเจ็บสาหัสก่อน ถ้าคุณไม่พร้อมจะยอมรับเอาแผลเหล่านี้ ความจริงก็ไม่ใช่คำตอบ แล้วผมคิดว่าสังคมไทยอาจจะไม่พร้อมสำหรับความจริงเหล่านี้

มิติใหม่การชุมนุมทางการเมือง

ในระบอบประชาธิปไตย

"ตลาดนัดรัฐศาสตร์" วันที่ 14 มิ.ย. 2553
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(ประชาไท : ข้อมูลและภาพ)

จัดการเสวนาหัวข้อ “มิติใหม่การชุมนุมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย กรณีการชุมนุมของกลุ่มเสื้อสีต่างๆ” โดยวิทยากรประกอบด้วย ศ. ดร. ชัยวัฒน์ สถาอานันท์, ผศ. ดร. ประภาส ปิ่นตบแต่ง และ รศ. อภิชาติ สถิตนิรมัย ดำเนินรายการโดย รศ. ดร. ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


รศ.อภิชาติ สถิตนิรมัย จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ใครคือเสื้อเหลืองเสื้อแดง ผมทำวิจัยจากหมู่บ้านในจังหวัดนครปฐม หนึ่งหมู่บ้าน เป็นตัวอย่าง โดยการเก็บข้อมูลประมาณ 2-3 เดือนที่ผ่านมา มาจากแบบสอบถาม 100 ชุด ไม่สามารถอ้างความเป็นตัวแทนทางวิทยาศาสตร์หรือมีนัยยะสำคัญทางสถิติใดๆ ทั้งสิ้น แต่เชื่อว่ามันเป็นตัวแทนที่ดีของหนึ่งหมู่บ้าน ซึ่งมีโปรเจ็กต์ต่อไป

กลุ่มคนที่สนับสนุนฝ่ายเสื้อเหลืองคือข้าราชการ พ่อค้า นักธุรกิจ และเกษตรกรรมเล็กน้อย มีการศึกษาสูงกว่าแดง จบปริญญาตรีขึ้นไป รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 31,000 บาท

ฝ่ายที่สนับสนุนเสื้อแดงคือ ลูกจ้างและเกษตรกร มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 17,000 บาท โดยสรุปคือเสื้อแดงไม่ใช่คนจนแต่จนกว่าเสื้อเหลือง ฐานะทางเศรษฐกิจสังคมของเสื้อเหลืองคือมีงานประจำ มีการศึกษาและฐานะทางสังคมสูงกว่า

ประเด็นประชานิยมและความเหลื่อมล้ำเกี่ยวกับเหลืองแดงอย่างไรบ้าง - จากการสำรวจในหมู่บ้านดังกล่าวพบว่าส่วนใหญ่ทั้งฝ่ายเหลืองและแดงตอบว่าตัวเองเป็นชนชั้นกลาง แต่คนที่เป็นเหลืองจัดตัวเองว่าเป็นคนจนถึง 26-27 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่คนที่สนับสนุนฝ่ายเสื้อแดงคิดว่าตัวเองรวย ทั้งนี้ ฝ่ายที่สนับสนุนเสื้อเหลืองมีทัศนคติต่อความว่าช่องว่างระหว่างคนรวยและจนนั้นห่างมากจนรับไม่ได้มากกว่าเสื้อแดง

อย่างน้อยเราสรุปได้ว่าความคับข้องใจของคนเสื้อแดงไม่ได้อยู่ที่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ขณะที่คนเสื้อเหลืองรู้สึกมากกว่า สรุปว่าความยากจนในเชิงภาวะวิสัย ไม่ใช่ปัญหาของคนเสื้อแดง คือตัวเลขรายได้เป็นหมื่นบาทต่อเดือน เส้นความยากจนของไทยปัจจุบันตกประมาณเดือนละพันกว่าบาทต่อเดือน คนเหล่านี้ไม่ใช่คนจนแน่นอน สองความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ในทางอัตวิสัย เป็นปัญหากับเสื้อเหลืองมากกว่าเสื้อแดง พูดง่ายๆ ว่าเสื้อเหลืองไม่พอเพียงกว่าคนเสื้อแดงด้วยซ้ำ เพราะเสื้อเหลืองคิดว่าตัวเองจนมากกว่าเสื้อแดง และเห็นว่าช่องว่างทางการกระขายรายได้สูงเกินไปจนรับไม่ได้มากกว่าคนเสื้อแดง คนเสื้อเหลืองจึงไม่พอเพียงมากกว่าคนเสื้อแดง

ฉะนั้นถ้าความยากจนความเหลื่อมล้ำไม่ใช่สาเหตุของคนเสื้อแดง ถ้าเช่นนั้นมีอะไรบ้าง ผมไปโฟกัสกรุ๊ปที่อุบล และเชียงใหม่คนเสื้อแดงอุบลตอบว่ารู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ รู้สึกว่าตนถูกดูหมิ่นเหยียดหยามเพราะมีฐานะยากจน ความรู้น้อย รู้สึกว่าสังคมแบ่งชนชั้น รู้สึกว่าไม่มีความเป็นธรรมทางสังคม รู้สึกว่าทำอะไรก็ผิด มาชุมนุมนั่งกับพื้นก็ผิด เฮ็ดหยังก็ผิด ยิ่งรู้สึกว่าต้องต่อสู้ เพื่อขอทวงสิทธิของเราคืน โดยเรียกร้องให้ยุบสภา สังคมนี้มีปัญหาความไม่เท่าเทียม มีปัญหาเรื่องเส้นสาย เรามันเป็นคนไร้เส้น ม็อบก็ม็อบไม่มีเส้น (ผมสัมภาษณ์ก่อนแผนปรองดองของนายกจะออกมา)

ฉะนั้นความคับข้องใจที่เกิดขึ้นมันไม่ได้เป็นความคับข้องใจทั้งในแง่เศรษฐกิจทั้งอัตตวิสัยและภาวะวิสัย แต่ในแง่ความคับข้องใจมีความแตกต่างระหว่างพื้นที่ คนนครปฐมไม่ค่อยรู้สึกคับข้องใจอะไร เขาประเมินว่า 10 ปีที่ผ่านมา เขารูสึกว่ามันดีขึ้นและมองไปข้างหน้าก็ดีขึ้น และเห็นว่าการดีขึ้นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความขยันและความเก่งของตัวบุคคล สำหรับนครปฐม สังคมไม่ได้มีความอยุติธรรมทางชนชั้น สังคมยังเปิดโอกาส

แต่คนเสื้อแดงอุบล รู้สึกว่าแม้แต่ไปโรงพยาบาลก็ถูกแซงคิวจากคนแต่งตัวดี ฐานะดี สอบเข้าได้ ก็ไม่มีเส้น เป็นปมอิสาน และปมอิสานนี้เสื้อเหลืองก็เป็น เสื้อเหลืองคนอิสานก็รู้สึกมีปมอิสานเช่นกัน คนนครปฐมไม่มีปมทั้งแดงและเหลือง แต่สำหรับแดงเชียงใหม่ ถ้าถามอนาคต ไม่แน่ใจ แต่ที่ผ่านมารู้สึกชีวิตดี แต่ไม่รู้สึกเหมือนคนเสื้อแดงอุบล ไม่มีปมเชียงใหม่ มีแต่ปมอิสาน ความเป็น ‘คนเมือง’ (คนพื้นเมืองเชียงใหม่) ไม่รู้สึกรุนแรงอะไร ยังไม่รู้สึกว่าเป็นอาณานิคมของคนกรุงเทพฯ แดงนครปฐมมีฐานะดี แต่ก็เป็นหนี้ตกเป็นแสนบาทต่อหัว แต่มีที่ดินเฉลี่ย 15 ไร่ มีรถกระบะเฉลี่ยมากกว่าครอบครัวละ 1 คัน

ประชานิยม ใครได้ประโยชน์โดยตรงบ้าง-ในทุกโครงการประชานิยมเสื้อแดงได้ใช้บริการโดยตรงมากกว่าเสื้อเหลืองอย่างเห็นได้ชัด และมากกว่าคนเป็นกลาง เช่น โครงการ 30 บาท เสื้อแดงระบุว่าได้ใช้ประโยชน์ 81 เปอร์เซ็นต์ เสื้อเหลือง 40 กว่าเปอร์เซ็นต์

เพราะฉะนั้น ประชานิยมโดนใจจริง เหตุใดจึงโดนใจจริง ถ้ากลับไปดูที่อาชีพของคนเสื้อแดงคือคนที่อยู่นอกระบบประกันสังคมทุกชนิด ไม่ได้เป็นราชการ ไม่ใช่แรงงานในระบบ ไม่มีฐานะรวยมากอย่างพ่อค้า ฉะนั้นค่ารักษาพยาบาลของเขาจึงจำเป็น เขาอยู่นอกระบบบริการและประกันสังคมทุกชนิด และวิถีชีวิตของเขาผูกพันอย่างแนบแน่นกับภาวะเศรษฐกิจมหภาค ทำงานเป็นเกษตรกรปลูกข้าวมากกว่า 5 ครั้งต่อปี ใช้เครื่องจักร และเคมี โครงการประกันราคาข้าวในสมัยทักษิณจึงเป็นประโยชน์มากต่อพวกเขา เศรษฐกิจไทยเป็นขนาดเล็กแบบเปิด ความผันผวนต่อภาวะทางเศรษฐกิจจากภายนอกประเทศ มันส่งผลโดยตรงต่อเขา และการออม ก็ไม่มีมาก และไม่สามารถที่จะดูดซับภาวะความผันผวนจากภายนอกได้ ฉะนั้นในการตีความของผม โครงการประชานิยมจึงออกแบบไว้เพื่อรองรับช็อค (ผลกระทบกะทันหัน) ที่จะเกิดกับทุกคนได้ 30 บาทสำหรับกรณีเจ็บป่วย โครงการกองทุนหมู่บ้านรองรับภาวะที่ต้องกู้ยืม กลไกของ 30 บาทในทางเศรษฐศาสตร์ก็คือการรองรับระบบให้การบริโภคดำเนินต่อไปได้อย่างสม่ำเสมอ และทำให้กระแสเงินดีขึ้น ไม่ว่าจะมิติกู้เพื่อบริโภคหรือการลงทุน แต่ก็ทำให้เขามีหลักประกันมากขึ้น เป็น Social Safety Net แบบหนึ่ง ตัวหลักของประชานิยมที่ถูกใจมากก็คือ สองอย่างนี้เพราะตอบรับกับความต้องการทางเศรษฐกิจยุคใหม่ของชาวบ้าน ชาวบ้านในชนบทไม่ใช่สังคมชาวนาอีกต่อไปแล้ว ไม่ใช่ชาวนารายย่อยแบบในอดีตที่พึ่งตนเอง ผลิตข้าวแล้วเก็บไว้กินเหลือจึงขาย ภาพนี้ไม่มีอีกแล้ว ที่ชัยภูมิ ชาวนาชาวไร่แม้จะยากจนมาก แต่ใช้รถไถ ใช้ปุ๋ยหมดแล้ว ฉะนั้นสังคมของเขาไม่ใช่สังคมเอื้ออาทร สมานฉันท์ รักใครกลมเกลียวแบบในอดีตอีกต่อไป แต่ Modern Economic Lifestyle ทำให้ระบบประกันสังคมแบบอดีตพังทลายไป แต่ก่อนที่เคยช่วยเหลือกันได้ มันแตกสลายไป สรุปคือประชานิยมมันตอบรับกับ Modern Need

ถามต่อว่าคนเสื้อแดงมาประท้วงเพราะอะไร คำตอบหลักๆ คือ ต่อต้านรัฐประหาร ต่อต้านอภิสิทธิ์ ไม่มีคำตอบว่าต่อต้านอำมาตย์ ตอบว่าเป็นเสื้อแดงความยากจนแค่หกเปอร์เซ็นต์ ไม่มีใครเลือกตอบเรื่องความเหลื่อมล้ำเลยว่าเป็นสาเหตุของการมาชุมนุม สรุปในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ ความขัดแย้งครั้งนี้มีสาเหตุมาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจน้อย มันเป็นความขัดแย้งทางการเมืองเป็นหลักโดยเฉพาะเรื่องสิทธิและความเท่าเทียมในสิทธิทางการเมือง

ผศ.ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
งานวิจัยที่ผมทำร่วมกับอาจารย์อภิชาติที่ จ.นครปฐม เราคงได้ข้อสรุปใหญ่ๆ ว่าถ้าเราดูคนเสื้อแดงไม่ใช่รากหญ้า แต่เป็นยอดหญ้า คือคนที่เข้ามาสัมพันธ์กับระบบเศรษฐกิจการตลาด ชีวิตผูกพันกับเมือง มีการคาขายเป็นผู้ประกอบการรายย่อย ถ้าดูนครปฐมก็ยิ่งชัดมาก เพราะไปหลายหมู่บ้าน ที่อื่นๆ เมื่อดูภาพคนที่มา 1 คัน 10 คน แสนคันก็ 1 ล้านคน ประมาณ 1 หมู่บ้านก็คือ 1 คันรถ ตัวอย่างจาก จ.นครปฐม ผู้ร่วมชุมนุมคนหนึ่งเป็นคนยอดหญ้าเป็นคนที่เป็นพ่อค้า ขายบัวที่ปากคลองตลาดเสร็จก็ไปชุมนุมที่สนามหลวง วิถีของคนพวกนี้ ผูกพันกับเศรษฐกิจ เดินขบวนมาเป็นยี่สิบครั้ง ฉะนั้น อย่าไปบอกว่าพวกเขาเป็นพวกวัวควายถูกจูงมา

ในเชิงอุดมการณเสื้อเหลืองเสื้อแดง ถ้าเป็นเสื้อเหลือง จะออกไปทาง พอช. สสส. เศรษฐกิจพอเพียงยกเว้น พอช. สายอิสานไปทำโรงเรียนการเมืองเยอะ แต่มีนัยยะสำคัญเยอะนะ เวลาพูดเรื่องการปฏิรูปการเมืองอะไรต่างๆ เอาเข้าจริงลงไประดับชุมชน ที่โยงลงไปถึงคนแค่สายเดียว พวกสีเหลืองมีอยู่ไม่เท่าไหร่ แดงเกิน 70 เปอร์เซ็นต์แล้ว และชีวิตคนพวกนี้สัมพันธ์อยู่กับการเมือง เขาอยู่ไม่ได้ถ้าไม่เข้าไปต่อรอง ฉะนั้นการเลือกตั้งเป็นกลไกสำคัญทำให้พวกเขาเข้าถึงทรัพยากรของรัฐ และเขาไม่ได้บอกว่านักเลือกตั้งไม่ได้อัปรีย์ แต่นึกถึงเราไปเที่ยวท้องนาเจอปลักน้ำ ต้องการกินน้ำแต่เจอปลิง มันก็เหมือนชาวบ้านต้องการน้ำเจอทักษิณ ผู้คนเขาใช้ประโยชน์มันได้ ชีวิตเขาเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองชัดเจนมากแล้ว อย่าหาว่าเขาเป็นพวกวัวควายที่ถูกจูงมา

ประชานิยมนั้นคนที่ได้จริงๆ วงขอบมันไม่กว้างมากหรอก ยกเว้นสามสิบบาท แต่เราจะเห็นได้ชัดมากว่านักการเมืองหรือหัวคะแนนที่เอาคนเข้ามา ผมว่าเราต้องเข้าใจว่าเป็นเรื่องปกติ ที่จะต้องมีทรัพยากรที่เชื่อมโยงสิ่งเหล่านี้เข้ามา ผมเห็นด้วยว่ามันไม่ได้เป็นความคับข้องใจแบบนักจิตวิทยามวลชนในยุคที่อธิบายว่าคนเข้ามาปฏิวัติ เพราะคับข้องใจ สติแตก แต่คนเสื้อแดงเขาเข้ามาด้วยประโยชน์ที่เกิดจากกระบวนการสร้างและจรรโลงประชาธิปไตย เขาเข้ามาในฐานะกลุ่มผลประโยชน์ที่เข้ามาใช้พื้นที่ทางการเมืองของเขารักษาสิทธิเลือกตั้ง รักษานายกของเขา พรรคการเมืองของเขา

อีกเรื่องคือ คนพวกนี้ถ้าเราดูสังกัดกลุ่มองค์กร พวกเขาแสดงทัศนะชัดเจน พรบ. ปกครองท้องที่ให้พวกผู้ใหญ่บ้านกำนันอยู่จนเกษียณ เขาไม่ชอบ เพราะมันกระทบต่อเรื่องการกระจายทรัพยากร มันกระทบกับชีวิตเขามาก

ผมคิดว่าถ้าจะตอบคำถามว่าใครคือคนเสื้อแดง หรือปรากฏการณ์การชุมนุมของคนเสื้อแดง ผมคงเน้นการอธิบายในระดับข้างล่าง มันสะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการสร้างและจรรโลงประชาธิปไตยไทยอย่างไร ซึ่งผมอยากจะตอบ คือ หนึ่ง ผลของคนเสื้อแดงมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ยอดหญ้าเหล่านี้ต้องเข้าไปสัมพันธ์อยู่กับนโยบายการเมืองต่างๆ คนพวกนี้ต่างไปจากพวกที่เป็นการเมืองภาคประชาชนที่ผมเข้าไปเกี่ยวข้องอยู่มากหน่อย พวกคนจนแบบสมัชชาคนจน มวลชนนี้เป็นมวลชนอีกมิติหนึ่งและต่างไปจากชาวนาแบบสหพันธ์ชาวนาชาวไร่

สองคือ เราคงเห็นว่าคนเหล่านี้เกิดขึ้นมาเพราะมีพื้นที่ทางการเมืองใหม่ขึ้นมา มีการปฏิรูปการเมือง ทำให้ชีวิตเขาเข้าไปสัมพันธ์กับการเมืองมากขึ้น สัมผัสกับหัวคะแนน นักการเมือง นักเลือกตั้งอะไรต่างๆ และสัมพันธ์กับการกระจายทรัพยากร มีผลต่อชีวิตของพวกเขา รถไถขนาดกลาง หรือเครื่องสูบน้ำ เอสเอ็มแอลก็ไปซื้อของเหล่านี้ ไม่ใช่ว่าประชานิยมมันไม่มีฟังก์ชั่นอะไรเลย

แต่อีกส่วนหนึ่งที่เราต้องเข้าใจการเกิดขึ้นของคนเสื้อแดงที่เข้ามารวมตัวกันก็คือเรื่องความสัมพันธ์กับเครือข่ายนักการเมืองนักเลือกตั้ง ไม่มีชาวบ้านที่ไหนหรอกที่ออกเงินมาเอง เรามองเห็นว่าแกนนำหลักๆ หมดเนื้อหมดตัวกันไปเยอะทีเดียว

แต่จากการสอบถามทัศนคติคนเสื้อแดง 400 กว่าคนจากการชุมนุม คนเหล่านี้เคยร่วมเรียกร้องทางการเมืองหลายครั้ง ไม่ใช่มวลชนที่เฉื่อยชา และจากการสอบถาม พวกเขาอธิบายตัวเองว่าเป็นผู้ที่รักประชาธิปไตย

กระบวนการของคนเสื้อแดงเหล่านี้เป็นความพยายามอธิบายมวลชนจากข้างล่าง ไม่ได้ดูที่ข้างบน

ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เมื่อวานมีคนโทรศัพท์ไปที่บ้าน แล้วก็จะเชิญผมไปพูดในรายการที่เขาจะจัดวันเสาร์หน้า ตอนนี้เวลาใครเชิญไปพูดอะไรก็ไม่ค่อยอยากไป เพราะเบื่อ แต่เขาพูดกับผม บอกว่าคยทำงานกับผมเมื่อหลายปีก่อน และเคยอยู่ในคลาสของผม และที่สำคัญลูกของเขาถูกยิงตายเมื่อวันที่ 15 พ.ค. เลยอยากจะเชิญผมไปพูด เขาทำงานกับผมในมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ลูกเขาคือสมาพันธ์ ศรีเทพ ชื่อเล่นชื่อน้องเฌอ หรือสุรเฌอ เด็กคนนี้ถูกยิงวันที่ 15 พ.ค.ที่ซอยราชปรารภ 18 ตอนที่ถูกยิงไม่ตาย ดูจากรอยเลือด เด็กคนนี้ทำหลายอย่างก่อนหน้านั้น เช่นเอามือสีขาวห้ามคนไทยฆ่ากันไปแขวนไว้ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และเมื่อปีก่อนเป็นการ์ดของพันธมิตร คราวนี้เขาก็พยายามรณรงค์ไม่ให้คนฆ่ากัน ผมปฏิเสธเขาไป จริงๆ ผมบอกเขาไปว่าถ้าผมไม่ติดสิ่งที่ทำ แต่เหตุผลคือผมต้องไปสอน วิชาTU112 ซึ่งมีนักศึกษาลงทะเบียนกว่าสองพันคน

ผมเริ่มแบบนี้ ผมคิดว่าวิธีที่เราคิดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับการชุมนุม ว่ามีอะไรใหม่ไหม ผมคิดว่า วิธีที่ความรุนแรงได้ Shape (ก่อร่าง) มันทำให้ทุกอย่างใหม่

ข้อสังเกตข้อแรก ในตารางที่อาจารย์อภิชาติเสนอ คือคนที่ไม่สนับสนุนฝ่ายใดมากกว่าเหลืองและแดง คำถามนี้สำคัญมากสำหรับผม คือผมไม่แน่ใจว่ามันใช่ในระดับประเทศ คือเรามักจะคิดว่าคนที่อยู่ตรงกลางมีมาก ถ้าเราเชื่ออย่างนั้นวิธีจัดการปัญหาความขัดแย้งมีอย่างหนึ่ง แต่ถ้าไม่ใช่ ก็ยุ่งเหมือนกัน จากข้อมูลของอาจารย์อภิชาติ ผู้ไม่สนับสนุนฝ่ายใดยังมากกว่าแดงและเหลือง

และสอง ฝ่ายแดงและเหลืองพอๆ กันในนครปฐม ซึ่งไม่แน่ว่าจะใช้ภาพนี้ในชนบทอื่นๆ ในไทย ประการที่สาม เวลาที่คนเหล่านี้ตอบเราว่าเหตุใดจึงมา มาเพราะสามเหตุผลคือ ต่อต้านรัฐประหาร สองมาตรฐานและอภิสิทธิ์ไม่มีความชอบธรรม คำถามของผมคือถ้าประชาชนในประทศไทยวันนี้ ถ้าเราคิดว่ามันเป็นขบวนการและตามที่อาจารย์อภิชาตพูดว่ามีประสบการณ์และขบวนการเหล่านี้ถูก Politicize แล้ว คำตอบเลย Political มันจึงเป็นคำตอบที่บอกว่าเหตุผลที่มาเป็นเพราะปัญหาทางการเมืองแม้จะเป็นเรื่องอื่นก็ตาม เพราะว่าเมื่ออยู่ในขบวนการบางอย่างวัตถุประสงค์ของขบวนการจึงสำคัญ เพราะขบวนการมีการจัดตั้ง และกำหนดตัวนิยาม การตอบจึงตอบภายใต้กรอบของขบวนการ

ประการที่ 4 ที่น่าสนใจ อาจารย์ประภาสบอกว่าคนเหล่านี้เขามาเพื่อพิทักษ์ปกป้องพรรคการเมืองของเขา นายกรัฐมนตรีของเขา ซึ่งน่าสนว่าบางทีคนที่เขาลุกมาทำอะไรแบบนี้คือเขากำลังพิทักษ์สินค้าของเขา โลกมีสินค้าหลายอย่างแต่บางอย่างมี Super Commodity คือการพิทักษ์ของที่เขาจะได้จากนโยบายหลายๆ อย่างด้วยเหตุนี้จึงเป็นเหตุเป็นผลว่าเพราะเหตุใดพรรคการเมืองของเขาจึงสำคัญ ก็ไม่ใช่หรือว่าที่ผ่านมาพรรคการเมืองหลายๆ พรรคต้องแย่งชิงกันทางนโยบาย คือทำให้นโยบายเป็นสินค้าที่จะเลือกซื้อเลือกใช้ และเมื่อเขาได้มา แล้วถูกแย่งไป ไม่ต่าง อะไรกับการพยายามรักษาป่า หรือยางพาราให้มีราคาสูง

เวลาบอกว่า ใหม่ มันใหม่สำหรับใคร สำหรับผมคือมีไหม คำอธิบายใหม่ๆ อาจารย์ประภาสบอกว่า ทฤษฎีความคับข้องใจใช้ไม่ได้แล้ว ปัญหาคือ ความความคับข้องใจไม่สัมพันธ์กับการ Collect (รวมกลุ่ม) แต่มันไปสู้ความ Aggress (ความก้าวร้าว) และเป็นไปได้ เมื่อถูกนำพาไปให้เกิดความคาดหวังอย่างสูง และความรุนแรงจะเกิดขึ้นเมื่อไม่ได้ในสิ่งที่คาดหวัง ทำให้เราเห็นว่าเมื่อมีสิ่งที่รัฐบาลหรือสังคมเสนอ แล้วถูกปิด ความคาดหวังเป็นไปไม่ได้ ก็เกิดความผิดหวังสูงและความก้าวร้าวก็เกิดขึ้น

สิ่งที่ผมเห็นว่าใหม่ มี 4 เรื่องคือ
1.เรื่องความโกรธ
2.ข่าวลือ
3.สี
4.การก่อการร้าย ที่รัฐบาลชอบพูด

หนึ่ง ความโกรธ สิ่งที่ทำลายความคาดหวังให้เกิดความผิดหวังและก้าวร้าว มีมาก เหมือนว่ามีอำนาจหลายอันที่ทำงานอยู่ในสังคมไทย และบางครั้งเมื่อประตูบางอย่างจะเปิด มันก็ถูกปิด และเมื่อถูกปิดไปเรื่อยๆ ความโกรธนี้ก็มากขึ้นมหาศาล ผมได้คุยกับเพื่อนจากสถานทูตออสเตรเลียในร้านอาหารแห่งหนึ่งซึ่งเป็นของญาติ ปรากฏว่ามีคนเดินเข้ามาแล้วก็ไปโวยวายอยู่นอกร้าน เจ้าของร้านบอกว่าเขาด่าผม เรื่องอะไรนี่ผมไม่รู้ เจ้าของร้านเขาบอกว่าคงไม่ใช่เรื่องอื่น คงเป็นเรื่องการบ้านการเมือง คงทำให้เขารู้สึกอึดอัดมาก คือเขาอาจจะอยากให้ผมอยู่ที่หนึ่ง แต่ผมไม่อยู่ คือความโกรธบางครั้งมาจากความรู้สึกรักหรือเป็นพวกเดียวกัน รวมทั้งการเข้าไปหรือพาเพื่อนบางคนเข้าไปผมอาจจะไปรุกรานพื้นที่ของเขา พื้นที่นั้น สมมติเป็นพื้นที่สีเหลือง แต่ผมเอาเพื่อนสีแดงเข้าไปด้วย คือผมคิดว่าเขาไปกะผมไม่น่าจะมีปัญหา แต่ผมคิดว่าผมสำคัญตัวผิด

ขบวนการประชาชนขณะนี้ เป็นขบวนการประชาชนที่เต็มไปด้วยอารมณ์ เราไม่สามารถเข้าใจการเมืองได้ถ้าเราไม่เข้าใจความโกรธ ว่ามันทำงานอย่างไร ความโกรธนี้เป็นอาการที่มีอยู่ในสังคมนี้ ในหลายๆ วัฒนธรรมไม่ได้แปลว่าไม่ดี ถ้าคุณเป็นชาวโรมันคุณควรจะโกรธเพราะความโกรธสัมพันธ์กับความเป็นชาย คำถามคือ ขบวนการพวกนี้เป็นชายมากไปหรือเปล่า จนลืมอะไรไปอีกหลายอย่าง

สอง ข่าวลือ ข่าวลือนี้น่าสนใจในความเห็นของผม ข่าวลือเพิ่มความเข้าข้นของขบวนการในลักษณะนี้ คือ ความไม่ชัดเจน เปิดโอกาสให้แต่ละคนที่มารับฟังข่าวลือ แล้วเพิ่มตอนต่างๆ ไปได้ ข่าวลือก็จะผลิตซ้ำตัวมันเองในลักษณะที่พิสดารมากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้น่าสนใจและควบคุมไม่ได้ ถามว่าอะไรที่เป็นเงื่อนไขให้ข่าวลือเผยแพร่ ผมคิดว่า พรก. ฉุกเฉิน การปิดกั้นสื่อ การควบคุมสื่อ ทำให้ข่าวลือเผยแพร่ไป เพราะข่าวลือไม่ใช่การระบายออก แต่เป็นเครื่องมือทางการเมือง ขณะนี้สังคมนี้กำลังจะมีข่าวลือเต็มไปหมด และขบวนการประชาชนในสภาพที่ถูกจำกัดพื้นที่และบทบาท สิ่งที่เขาจะทำคือข่าวลือ

สาม เรื่องสี ความขัดแย้งทางการเมืองจำเป็นต้องอาศัยอัตลักษณ์ การใช้อัตลักษณ์โดยสี สัมพันธ์กับการเห็น ถ้าสัมพันธ์กับการเห็น มันกลายเป็นของซึ่งเป็นรูปธรรมจับต้องได้ แต่มีข้อจำกัด แต่สีผิวนั้นลอกได้แต่ยาก แต่เสื้อนั้นน่าสนใจเป็นของถอดได้ใส่ได้ ถ้าถอดได้ใส่ได้ การเคลื่อนไหวของผู้คนก็สามารถใช้สีเสื้อทั้งในแง่ป้องกันตัวและใช้เล่นงานคนอื่น คือเสื้อขณะนี้เป็นสัญลักษณ์ เราลงทุนไปกับสัญลักษณ์แบบนี้เยอะ เราวัดคนบนฐานของสัญลักษณ์ที่แต่ละคนใช้ ของแบบนี้จะเพิ่มระดับของการแบ่งขั้วในสังคมไทยให้มากขึ้น ทำให้เป็นอันตรายในการคิดเรื่องนี้ และผลของการเมืองที่มีสีเสื้อแบบนี้ส่งผลให้บางมหาวิทยาลัยออกแบบเสื้อที่ดูไม่ได้เลยออกมา

สี่ การก่อการร้าย รัฐบาลใช้คำนี้ เมื่อเช้านายกก็พูดอย่างนี้อีกว่าการเจรจาปรองดองจะไม่ทำกับผู้ก่อการร้าย แต่คำถามคือ คำว่าก่อการร้ายแปลว่าอะไรไม่แน่นอน แต่ผมคิดว่าสาระสำคัญของประเด็นก่อการร้ายไม่ได้อยู่ที่ความรุนแรง แต่อยู่ที่ความกลัว สิ่งที่การก่อการร้ายผลิตไม่ใช้ความรุนแรง แต่เป็นการผลิตความไม่แน่นอนในชีวิต ภายใต้ชีวิตที่ไม่แน่นอน คือความกลัว สังคมการเมืองทุกอันโดยไม่มีข้อยกเว้น ต้องทำงานบนฐานของความแน่นอนบางอย่าง สิ่งที่รบกวนสิ่งเหล่านี้คือการรบกวนชีวิตทางการเมืองของสังคม ทำให้สังคมอยู่ลำบาก ชีวิตซึ่งเป็นปกติหายไป ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากความกลัว แต่ทุกครั้งที่รัฐบาลใช้คำหรือแนวคิดหรือกระทั่งวาทกรรมใช้เรื่องการก่อการร้ายผมไม่ทราบว่ารัฐบาลทราบหรือเปล่าว่า คุณลักษณ์อย่างหนึ่งของการก่อการร้าย คือมันจะเป็นสงครามที่ไม่มีวันสิ้นสุด เวลาที่สหรัฐประกาศการต่อสู้กับการก่อการร้ายมันจะไม่สิ้นสุดเพราะคู่ต่อสู้จะไม่ใช่แค่บินลาเดน พูดจากฝั่งอเมริกันคุณจะทำอะไรกับบินลาเดน ถ้าคุณฆ่าบินลาเดน คุณจะสร้างบินลาเดนขึ้นมาอีกเยอะ คุณจะเอาชนะยังไง

เวลาที่รัฐบาลกำลังพูดเรื่องการก่อการร้าย ผมหวังว่ารัฐบาลจะเข้าใจว่ากำลังพูดถึงอะไร การต่อสู้กับการก่อการร้ายคือการต่อสู้กับวิธีการไม่ใช้คน

อันสุดท้ายของการก่อการร้ายคือ ถ้าจะสู้จริงๆ ประเทศที่เก่งที่สุดคืออิสราเอล สิ่งที่เขาพยายามจะทำคือพยายามจะป้องกันไม่ให้คนกลายเป็นผู้ก่อการร้าย โดยอธิบายว่า การเคลื่อนตัวของมนุษย์มันเคลื่อนตัวจากการเป็นนักเคลื่อนไหว (Activist)ก่อน เมื่อเป็นนักเคลื่อนไหว พอถูกกดดันถูกรังแก ก็จะขยับไปเป็นกองกำลัง (Militant) และจากนั้นกลายเป็นการก่อการร้าย (Terrorist) ถ้าเช่นนั้นรัฐบาลประเทศต่างๆ ถ้ายังมีสติอยู่บ้างก็คือการพยายาหาวิธีการไม่ให้คนเคลื่อนจากความเป็นนักเคลื่อนไหว ไปเป็นกองกำลัง เพราะนักเคลื่อนไหวต้องการพื้นที่ทางการเมือง กองกำลังต้องการการยอมรับในบางระดับ ถ้าเราป้องกันได้ ก็ป้องกันการก่อการร้ายได้ ในที่สุดแล้ว รัฐผลิตสิ่งนี้เองหรือไม่ทั้งในระดับวาทกรรมและปฏิบัติ ตกลงเราอยู่ในประเทศที่ขณะนี้ผู้คนแตกแยกกันจริงๆ แล้ว และถ้าเราดูคนที่เลือกประชาธิปัตย์และไทยรักไทย เราหนีไม่พ้นระดับสิบล้านทั้งคู่ และเมื่อดูความโกรธความไม่พอใจที่มีสูง ขณะที่คนกลางๆ มีน้อยลง ในเวลาแบบนี้การย้ำเรื่องการก่อการร้ายเป็นเรื่องอันตราย
ในเวลาแบบนี้ ผมอยากให้ลองฟังเสียงจากผู้สูญเสียดู คุณพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพพ่อของ สมาพันธ์ ศรีเทพ เขาเขียนในเฟซบุ๊ก "พี่ทหารครับ ผมเข้าใจพี่ ผมอโหสิ เราต่างเป็นเหยื่อด้วยกันทุกคนครับ" หากเฌอทำการล่วงเกินหรือจาบจ้วงท่านผู้ใดมาก่อน มารดาและบิดา ขออโหสิกรรมมา ณ ที่นี้ ควรมิควรแล้วแต่กรุณา"

ดร.ชลิดาภรณ์ : ถามอาจารย์ชัยวัฒน์ว่า ความโกรธที่น่ากลัวคือความโกรธระหว่างคนในสังคมคือเพื่อน ซึ่งไม่น่าจะอยู่ในสเกลขนาดนี้ และยิ่งพุ่งขึ้นผ่านการฆ่าฟัน มีคนจำนวนมากเชื่อว่าความจริง จะสลายความโกรธ จะทำให้ข่าวลือหมดพลัง จะทำให้คนเลิกคิดที่จะใช้ความรุนแรงและสีที่ใช้เป็นอัตลักษณ์หมดความหมาย อาจารย์คิดว่าความจริงจะสลายทั้งหมดไหม หรือความจริงจะยิ่งแหลมมากและยิ่งบาดเรา

ศ.ดร.ชัยวัฒน์ : ในความรุนแรงในสงครามความขัดแย้งที่ถึงตาย สิ่งที่ตายก่อนหรือเจ็บก่อนคือความจริง แต่ผมคิดว่าไม่ใช่ในสงครามอย่างเดียว แต่ในความขัดแย้งก็ด้วย ความจริงเป็นเหยื่อรายแรก เมื่อกี๊นั่งอยู่กับนักข่าว นักข่าวเล่าให้ฟัง เราดูภาพที่ Nick Nostitz นำเสนอ เราได้ดูในโทรทัศน์ ได้รู้ว่าโทรทัศน์รับคำสั่งว่าภาพทหารถืออาวุธอย่าเอาขึ้นจอ ในทางกลับกันถ้าเราดู ASTV หรือ People Channel เราหวังหรือว่าจะได้เห็นภาพเหล่านั้น

ประการสอง ในห้องผมซึ่งรกมาก มีภาพเล็กๆ ที่ลูกศิษย์เอามาให้ ภาพนั้นคือตุ๊กตาผ้าแล้วถูกบดแล้วยับ และมีข้อเขียนบอกว่า The truth will set you Free but first it will make you miserable -ความจริงจะทำให้คุณเป็นอิสระ แต่ก่อนจะเป็นอิสระท่านจะยับยุ่ย จะต้องบาดเจ็บสาหัสก่อน ถ้าคุณไม่พร้อมจะยอมรับเอาแผลเหล่านี้ ความจริงก็ไม่ใช่คำตอบ แล้วผมคิดว่าสังคมไทยอาจจะไม่พร้อมสำหรับความจริงเหล่านี้

มิติใหม่การชุมนุมทางการเมือง

ในระบอบประชาธิปไตย

"ตลาดนัดรัฐศาสตร์" วันที่ 14 มิ.ย. 2553
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(ประชาไท : ข้อมูลและภาพ)

จัดการเสวนาหัวข้อ “มิติใหม่การชุมนุมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย กรณีการชุมนุมของกลุ่มเสื้อสีต่างๆ” โดยวิทยากรประกอบด้วย ศ. ดร. ชัยวัฒน์ สถาอานันท์, ผศ. ดร. ประภาส ปิ่นตบแต่ง และ รศ. อภิชาติ สถิตนิรมัย ดำเนินรายการโดย รศ. ดร. ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


รศ.อภิชาติ สถิตนิรมัย จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ใครคือเสื้อเหลืองเสื้อแดง ผมทำวิจัยจากหมู่บ้านในจังหวัดนครปฐม หนึ่งหมู่บ้าน เป็นตัวอย่าง โดยการเก็บข้อมูลประมาณ 2-3 เดือนที่ผ่านมา มาจากแบบสอบถาม 100 ชุด ไม่สามารถอ้างความเป็นตัวแทนทางวิทยาศาสตร์หรือมีนัยยะสำคัญทางสถิติใดๆ ทั้งสิ้น แต่เชื่อว่ามันเป็นตัวแทนที่ดีของหนึ่งหมู่บ้าน ซึ่งมีโปรเจ็กต์ต่อไป

กลุ่มคนที่สนับสนุนฝ่ายเสื้อเหลืองคือข้าราชการ พ่อค้า นักธุรกิจ และเกษตรกรรมเล็กน้อย มีการศึกษาสูงกว่าแดง จบปริญญาตรีขึ้นไป รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 31,000 บาท

ฝ่ายที่สนับสนุนเสื้อแดงคือ ลูกจ้างและเกษตรกร มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 17,000 บาท โดยสรุปคือเสื้อแดงไม่ใช่คนจนแต่จนกว่าเสื้อเหลือง ฐานะทางเศรษฐกิจสังคมของเสื้อเหลืองคือมีงานประจำ มีการศึกษาและฐานะทางสังคมสูงกว่า

ประเด็นประชานิยมและความเหลื่อมล้ำเกี่ยวกับเหลืองแดงอย่างไรบ้าง - จากการสำรวจในหมู่บ้านดังกล่าวพบว่าส่วนใหญ่ทั้งฝ่ายเหลืองและแดงตอบว่าตัวเองเป็นชนชั้นกลาง แต่คนที่เป็นเหลืองจัดตัวเองว่าเป็นคนจนถึง 26-27 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่คนที่สนับสนุนฝ่ายเสื้อแดงคิดว่าตัวเองรวย ทั้งนี้ ฝ่ายที่สนับสนุนเสื้อเหลืองมีทัศนคติต่อความว่าช่องว่างระหว่างคนรวยและจนนั้นห่างมากจนรับไม่ได้มากกว่าเสื้อแดง

อย่างน้อยเราสรุปได้ว่าความคับข้องใจของคนเสื้อแดงไม่ได้อยู่ที่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ขณะที่คนเสื้อเหลืองรู้สึกมากกว่า สรุปว่าความยากจนในเชิงภาวะวิสัย ไม่ใช่ปัญหาของคนเสื้อแดง คือตัวเลขรายได้เป็นหมื่นบาทต่อเดือน เส้นความยากจนของไทยปัจจุบันตกประมาณเดือนละพันกว่าบาทต่อเดือน คนเหล่านี้ไม่ใช่คนจนแน่นอน สองความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ในทางอัตวิสัย เป็นปัญหากับเสื้อเหลืองมากกว่าเสื้อแดง พูดง่ายๆ ว่าเสื้อเหลืองไม่พอเพียงกว่าคนเสื้อแดงด้วยซ้ำ เพราะเสื้อเหลืองคิดว่าตัวเองจนมากกว่าเสื้อแดง และเห็นว่าช่องว่างทางการกระขายรายได้สูงเกินไปจนรับไม่ได้มากกว่าคนเสื้อแดง คนเสื้อเหลืองจึงไม่พอเพียงมากกว่าคนเสื้อแดง

ฉะนั้นถ้าความยากจนความเหลื่อมล้ำไม่ใช่สาเหตุของคนเสื้อแดง ถ้าเช่นนั้นมีอะไรบ้าง ผมไปโฟกัสกรุ๊ปที่อุบล และเชียงใหม่คนเสื้อแดงอุบลตอบว่ารู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ รู้สึกว่าตนถูกดูหมิ่นเหยียดหยามเพราะมีฐานะยากจน ความรู้น้อย รู้สึกว่าสังคมแบ่งชนชั้น รู้สึกว่าไม่มีความเป็นธรรมทางสังคม รู้สึกว่าทำอะไรก็ผิด มาชุมนุมนั่งกับพื้นก็ผิด เฮ็ดหยังก็ผิด ยิ่งรู้สึกว่าต้องต่อสู้ เพื่อขอทวงสิทธิของเราคืน โดยเรียกร้องให้ยุบสภา สังคมนี้มีปัญหาความไม่เท่าเทียม มีปัญหาเรื่องเส้นสาย เรามันเป็นคนไร้เส้น ม็อบก็ม็อบไม่มีเส้น (ผมสัมภาษณ์ก่อนแผนปรองดองของนายกจะออกมา)

ฉะนั้นความคับข้องใจที่เกิดขึ้นมันไม่ได้เป็นความคับข้องใจทั้งในแง่เศรษฐกิจทั้งอัตตวิสัยและภาวะวิสัย แต่ในแง่ความคับข้องใจมีความแตกต่างระหว่างพื้นที่ คนนครปฐมไม่ค่อยรู้สึกคับข้องใจอะไร เขาประเมินว่า 10 ปีที่ผ่านมา เขารูสึกว่ามันดีขึ้นและมองไปข้างหน้าก็ดีขึ้น และเห็นว่าการดีขึ้นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความขยันและความเก่งของตัวบุคคล สำหรับนครปฐม สังคมไม่ได้มีความอยุติธรรมทางชนชั้น สังคมยังเปิดโอกาส

แต่คนเสื้อแดงอุบล รู้สึกว่าแม้แต่ไปโรงพยาบาลก็ถูกแซงคิวจากคนแต่งตัวดี ฐานะดี สอบเข้าได้ ก็ไม่มีเส้น เป็นปมอิสาน และปมอิสานนี้เสื้อเหลืองก็เป็น เสื้อเหลืองคนอิสานก็รู้สึกมีปมอิสานเช่นกัน คนนครปฐมไม่มีปมทั้งแดงและเหลือง แต่สำหรับแดงเชียงใหม่ ถ้าถามอนาคต ไม่แน่ใจ แต่ที่ผ่านมารู้สึกชีวิตดี แต่ไม่รู้สึกเหมือนคนเสื้อแดงอุบล ไม่มีปมเชียงใหม่ มีแต่ปมอิสาน ความเป็น ‘คนเมือง’ (คนพื้นเมืองเชียงใหม่) ไม่รู้สึกรุนแรงอะไร ยังไม่รู้สึกว่าเป็นอาณานิคมของคนกรุงเทพฯ แดงนครปฐมมีฐานะดี แต่ก็เป็นหนี้ตกเป็นแสนบาทต่อหัว แต่มีที่ดินเฉลี่ย 15 ไร่ มีรถกระบะเฉลี่ยมากกว่าครอบครัวละ 1 คัน

ประชานิยม ใครได้ประโยชน์โดยตรงบ้าง-ในทุกโครงการประชานิยมเสื้อแดงได้ใช้บริการโดยตรงมากกว่าเสื้อเหลืองอย่างเห็นได้ชัด และมากกว่าคนเป็นกลาง เช่น โครงการ 30 บาท เสื้อแดงระบุว่าได้ใช้ประโยชน์ 81 เปอร์เซ็นต์ เสื้อเหลือง 40 กว่าเปอร์เซ็นต์

เพราะฉะนั้น ประชานิยมโดนใจจริง เหตุใดจึงโดนใจจริง ถ้ากลับไปดูที่อาชีพของคนเสื้อแดงคือคนที่อยู่นอกระบบประกันสังคมทุกชนิด ไม่ได้เป็นราชการ ไม่ใช่แรงงานในระบบ ไม่มีฐานะรวยมากอย่างพ่อค้า ฉะนั้นค่ารักษาพยาบาลของเขาจึงจำเป็น เขาอยู่นอกระบบบริการและประกันสังคมทุกชนิด และวิถีชีวิตของเขาผูกพันอย่างแนบแน่นกับภาวะเศรษฐกิจมหภาค ทำงานเป็นเกษตรกรปลูกข้าวมากกว่า 5 ครั้งต่อปี ใช้เครื่องจักร และเคมี โครงการประกันราคาข้าวในสมัยทักษิณจึงเป็นประโยชน์มากต่อพวกเขา เศรษฐกิจไทยเป็นขนาดเล็กแบบเปิด ความผันผวนต่อภาวะทางเศรษฐกิจจากภายนอกประเทศ มันส่งผลโดยตรงต่อเขา และการออม ก็ไม่มีมาก และไม่สามารถที่จะดูดซับภาวะความผันผวนจากภายนอกได้ ฉะนั้นในการตีความของผม โครงการประชานิยมจึงออกแบบไว้เพื่อรองรับช็อค (ผลกระทบกะทันหัน) ที่จะเกิดกับทุกคนได้ 30 บาทสำหรับกรณีเจ็บป่วย โครงการกองทุนหมู่บ้านรองรับภาวะที่ต้องกู้ยืม กลไกของ 30 บาทในทางเศรษฐศาสตร์ก็คือการรองรับระบบให้การบริโภคดำเนินต่อไปได้อย่างสม่ำเสมอ และทำให้กระแสเงินดีขึ้น ไม่ว่าจะมิติกู้เพื่อบริโภคหรือการลงทุน แต่ก็ทำให้เขามีหลักประกันมากขึ้น เป็น Social Safety Net แบบหนึ่ง ตัวหลักของประชานิยมที่ถูกใจมากก็คือ สองอย่างนี้เพราะตอบรับกับความต้องการทางเศรษฐกิจยุคใหม่ของชาวบ้าน ชาวบ้านในชนบทไม่ใช่สังคมชาวนาอีกต่อไปแล้ว ไม่ใช่ชาวนารายย่อยแบบในอดีตที่พึ่งตนเอง ผลิตข้าวแล้วเก็บไว้กินเหลือจึงขาย ภาพนี้ไม่มีอีกแล้ว ที่ชัยภูมิ ชาวนาชาวไร่แม้จะยากจนมาก แต่ใช้รถไถ ใช้ปุ๋ยหมดแล้ว ฉะนั้นสังคมของเขาไม่ใช่สังคมเอื้ออาทร สมานฉันท์ รักใครกลมเกลียวแบบในอดีตอีกต่อไป แต่ Modern Economic Lifestyle ทำให้ระบบประกันสังคมแบบอดีตพังทลายไป แต่ก่อนที่เคยช่วยเหลือกันได้ มันแตกสลายไป สรุปคือประชานิยมมันตอบรับกับ Modern Need

ถามต่อว่าคนเสื้อแดงมาประท้วงเพราะอะไร คำตอบหลักๆ คือ ต่อต้านรัฐประหาร ต่อต้านอภิสิทธิ์ ไม่มีคำตอบว่าต่อต้านอำมาตย์ ตอบว่าเป็นเสื้อแดงความยากจนแค่หกเปอร์เซ็นต์ ไม่มีใครเลือกตอบเรื่องความเหลื่อมล้ำเลยว่าเป็นสาเหตุของการมาชุมนุม สรุปในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ ความขัดแย้งครั้งนี้มีสาเหตุมาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจน้อย มันเป็นความขัดแย้งทางการเมืองเป็นหลักโดยเฉพาะเรื่องสิทธิและความเท่าเทียมในสิทธิทางการเมือง

ผศ.ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
งานวิจัยที่ผมทำร่วมกับอาจารย์อภิชาติที่ จ.นครปฐม เราคงได้ข้อสรุปใหญ่ๆ ว่าถ้าเราดูคนเสื้อแดงไม่ใช่รากหญ้า แต่เป็นยอดหญ้า คือคนที่เข้ามาสัมพันธ์กับระบบเศรษฐกิจการตลาด ชีวิตผูกพันกับเมือง มีการคาขายเป็นผู้ประกอบการรายย่อย ถ้าดูนครปฐมก็ยิ่งชัดมาก เพราะไปหลายหมู่บ้าน ที่อื่นๆ เมื่อดูภาพคนที่มา 1 คัน 10 คน แสนคันก็ 1 ล้านคน ประมาณ 1 หมู่บ้านก็คือ 1 คันรถ ตัวอย่างจาก จ.นครปฐม ผู้ร่วมชุมนุมคนหนึ่งเป็นคนยอดหญ้าเป็นคนที่เป็นพ่อค้า ขายบัวที่ปากคลองตลาดเสร็จก็ไปชุมนุมที่สนามหลวง วิถีของคนพวกนี้ ผูกพันกับเศรษฐกิจ เดินขบวนมาเป็นยี่สิบครั้ง ฉะนั้น อย่าไปบอกว่าพวกเขาเป็นพวกวัวควายถูกจูงมา

ในเชิงอุดมการณเสื้อเหลืองเสื้อแดง ถ้าเป็นเสื้อเหลือง จะออกไปทาง พอช. สสส. เศรษฐกิจพอเพียงยกเว้น พอช. สายอิสานไปทำโรงเรียนการเมืองเยอะ แต่มีนัยยะสำคัญเยอะนะ เวลาพูดเรื่องการปฏิรูปการเมืองอะไรต่างๆ เอาเข้าจริงลงไประดับชุมชน ที่โยงลงไปถึงคนแค่สายเดียว พวกสีเหลืองมีอยู่ไม่เท่าไหร่ แดงเกิน 70 เปอร์เซ็นต์แล้ว และชีวิตคนพวกนี้สัมพันธ์อยู่กับการเมือง เขาอยู่ไม่ได้ถ้าไม่เข้าไปต่อรอง ฉะนั้นการเลือกตั้งเป็นกลไกสำคัญทำให้พวกเขาเข้าถึงทรัพยากรของรัฐ และเขาไม่ได้บอกว่านักเลือกตั้งไม่ได้อัปรีย์ แต่นึกถึงเราไปเที่ยวท้องนาเจอปลักน้ำ ต้องการกินน้ำแต่เจอปลิง มันก็เหมือนชาวบ้านต้องการน้ำเจอทักษิณ ผู้คนเขาใช้ประโยชน์มันได้ ชีวิตเขาเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองชัดเจนมากแล้ว อย่าหาว่าเขาเป็นพวกวัวควายที่ถูกจูงมา

ประชานิยมนั้นคนที่ได้จริงๆ วงขอบมันไม่กว้างมากหรอก ยกเว้นสามสิบบาท แต่เราจะเห็นได้ชัดมากว่านักการเมืองหรือหัวคะแนนที่เอาคนเข้ามา ผมว่าเราต้องเข้าใจว่าเป็นเรื่องปกติ ที่จะต้องมีทรัพยากรที่เชื่อมโยงสิ่งเหล่านี้เข้ามา ผมเห็นด้วยว่ามันไม่ได้เป็นความคับข้องใจแบบนักจิตวิทยามวลชนในยุคที่อธิบายว่าคนเข้ามาปฏิวัติ เพราะคับข้องใจ สติแตก แต่คนเสื้อแดงเขาเข้ามาด้วยประโยชน์ที่เกิดจากกระบวนการสร้างและจรรโลงประชาธิปไตย เขาเข้ามาในฐานะกลุ่มผลประโยชน์ที่เข้ามาใช้พื้นที่ทางการเมืองของเขารักษาสิทธิเลือกตั้ง รักษานายกของเขา พรรคการเมืองของเขา

อีกเรื่องคือ คนพวกนี้ถ้าเราดูสังกัดกลุ่มองค์กร พวกเขาแสดงทัศนะชัดเจน พรบ. ปกครองท้องที่ให้พวกผู้ใหญ่บ้านกำนันอยู่จนเกษียณ เขาไม่ชอบ เพราะมันกระทบต่อเรื่องการกระจายทรัพยากร มันกระทบกับชีวิตเขามาก

ผมคิดว่าถ้าจะตอบคำถามว่าใครคือคนเสื้อแดง หรือปรากฏการณ์การชุมนุมของคนเสื้อแดง ผมคงเน้นการอธิบายในระดับข้างล่าง มันสะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการสร้างและจรรโลงประชาธิปไตยไทยอย่างไร ซึ่งผมอยากจะตอบ คือ หนึ่ง ผลของคนเสื้อแดงมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ยอดหญ้าเหล่านี้ต้องเข้าไปสัมพันธ์อยู่กับนโยบายการเมืองต่างๆ คนพวกนี้ต่างไปจากพวกที่เป็นการเมืองภาคประชาชนที่ผมเข้าไปเกี่ยวข้องอยู่มากหน่อย พวกคนจนแบบสมัชชาคนจน มวลชนนี้เป็นมวลชนอีกมิติหนึ่งและต่างไปจากชาวนาแบบสหพันธ์ชาวนาชาวไร่

สองคือ เราคงเห็นว่าคนเหล่านี้เกิดขึ้นมาเพราะมีพื้นที่ทางการเมืองใหม่ขึ้นมา มีการปฏิรูปการเมือง ทำให้ชีวิตเขาเข้าไปสัมพันธ์กับการเมืองมากขึ้น สัมผัสกับหัวคะแนน นักการเมือง นักเลือกตั้งอะไรต่างๆ และสัมพันธ์กับการกระจายทรัพยากร มีผลต่อชีวิตของพวกเขา รถไถขนาดกลาง หรือเครื่องสูบน้ำ เอสเอ็มแอลก็ไปซื้อของเหล่านี้ ไม่ใช่ว่าประชานิยมมันไม่มีฟังก์ชั่นอะไรเลย

แต่อีกส่วนหนึ่งที่เราต้องเข้าใจการเกิดขึ้นของคนเสื้อแดงที่เข้ามารวมตัวกันก็คือเรื่องความสัมพันธ์กับเครือข่ายนักการเมืองนักเลือกตั้ง ไม่มีชาวบ้านที่ไหนหรอกที่ออกเงินมาเอง เรามองเห็นว่าแกนนำหลักๆ หมดเนื้อหมดตัวกันไปเยอะทีเดียว

แต่จากการสอบถามทัศนคติคนเสื้อแดง 400 กว่าคนจากการชุมนุม คนเหล่านี้เคยร่วมเรียกร้องทางการเมืองหลายครั้ง ไม่ใช่มวลชนที่เฉื่อยชา และจากการสอบถาม พวกเขาอธิบายตัวเองว่าเป็นผู้ที่รักประชาธิปไตย

กระบวนการของคนเสื้อแดงเหล่านี้เป็นความพยายามอธิบายมวลชนจากข้างล่าง ไม่ได้ดูที่ข้างบน

ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เมื่อวานมีคนโทรศัพท์ไปที่บ้าน แล้วก็จะเชิญผมไปพูดในรายการที่เขาจะจัดวันเสาร์หน้า ตอนนี้เวลาใครเชิญไปพูดอะไรก็ไม่ค่อยอยากไป เพราะเบื่อ แต่เขาพูดกับผม บอกว่าคยทำงานกับผมเมื่อหลายปีก่อน และเคยอยู่ในคลาสของผม และที่สำคัญลูกของเขาถูกยิงตายเมื่อวันที่ 15 พ.ค. เลยอยากจะเชิญผมไปพูด เขาทำงานกับผมในมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ลูกเขาคือสมาพันธ์ ศรีเทพ ชื่อเล่นชื่อน้องเฌอ หรือสุรเฌอ เด็กคนนี้ถูกยิงวันที่ 15 พ.ค.ที่ซอยราชปรารภ 18 ตอนที่ถูกยิงไม่ตาย ดูจากรอยเลือด เด็กคนนี้ทำหลายอย่างก่อนหน้านั้น เช่นเอามือสีขาวห้ามคนไทยฆ่ากันไปแขวนไว้ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และเมื่อปีก่อนเป็นการ์ดของพันธมิตร คราวนี้เขาก็พยายามรณรงค์ไม่ให้คนฆ่ากัน ผมปฏิเสธเขาไป จริงๆ ผมบอกเขาไปว่าถ้าผมไม่ติดสิ่งที่ทำ แต่เหตุผลคือผมต้องไปสอน วิชาTU112 ซึ่งมีนักศึกษาลงทะเบียนกว่าสองพันคน

ผมเริ่มแบบนี้ ผมคิดว่าวิธีที่เราคิดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับการชุมนุม ว่ามีอะไรใหม่ไหม ผมคิดว่า วิธีที่ความรุนแรงได้ Shape (ก่อร่าง) มันทำให้ทุกอย่างใหม่

ข้อสังเกตข้อแรก ในตารางที่อาจารย์อภิชาติเสนอ คือคนที่ไม่สนับสนุนฝ่ายใดมากกว่าเหลืองและแดง คำถามนี้สำคัญมากสำหรับผม คือผมไม่แน่ใจว่ามันใช่ในระดับประเทศ คือเรามักจะคิดว่าคนที่อยู่ตรงกลางมีมาก ถ้าเราเชื่ออย่างนั้นวิธีจัดการปัญหาความขัดแย้งมีอย่างหนึ่ง แต่ถ้าไม่ใช่ ก็ยุ่งเหมือนกัน จากข้อมูลของอาจารย์อภิชาติ ผู้ไม่สนับสนุนฝ่ายใดยังมากกว่าแดงและเหลือง

และสอง ฝ่ายแดงและเหลืองพอๆ กันในนครปฐม ซึ่งไม่แน่ว่าจะใช้ภาพนี้ในชนบทอื่นๆ ในไทย ประการที่สาม เวลาที่คนเหล่านี้ตอบเราว่าเหตุใดจึงมา มาเพราะสามเหตุผลคือ ต่อต้านรัฐประหาร สองมาตรฐานและอภิสิทธิ์ไม่มีความชอบธรรม คำถามของผมคือถ้าประชาชนในประทศไทยวันนี้ ถ้าเราคิดว่ามันเป็นขบวนการและตามที่อาจารย์อภิชาตพูดว่ามีประสบการณ์และขบวนการเหล่านี้ถูก Politicize แล้ว คำตอบเลย Political มันจึงเป็นคำตอบที่บอกว่าเหตุผลที่มาเป็นเพราะปัญหาทางการเมืองแม้จะเป็นเรื่องอื่นก็ตาม เพราะว่าเมื่ออยู่ในขบวนการบางอย่างวัตถุประสงค์ของขบวนการจึงสำคัญ เพราะขบวนการมีการจัดตั้ง และกำหนดตัวนิยาม การตอบจึงตอบภายใต้กรอบของขบวนการ

ประการที่ 4 ที่น่าสนใจ อาจารย์ประภาสบอกว่าคนเหล่านี้เขามาเพื่อพิทักษ์ปกป้องพรรคการเมืองของเขา นายกรัฐมนตรีของเขา ซึ่งน่าสนว่าบางทีคนที่เขาลุกมาทำอะไรแบบนี้คือเขากำลังพิทักษ์สินค้าของเขา โลกมีสินค้าหลายอย่างแต่บางอย่างมี Super Commodity คือการพิทักษ์ของที่เขาจะได้จากนโยบายหลายๆ อย่างด้วยเหตุนี้จึงเป็นเหตุเป็นผลว่าเพราะเหตุใดพรรคการเมืองของเขาจึงสำคัญ ก็ไม่ใช่หรือว่าที่ผ่านมาพรรคการเมืองหลายๆ พรรคต้องแย่งชิงกันทางนโยบาย คือทำให้นโยบายเป็นสินค้าที่จะเลือกซื้อเลือกใช้ และเมื่อเขาได้มา แล้วถูกแย่งไป ไม่ต่าง อะไรกับการพยายามรักษาป่า หรือยางพาราให้มีราคาสูง

เวลาบอกว่า ใหม่ มันใหม่สำหรับใคร สำหรับผมคือมีไหม คำอธิบายใหม่ๆ อาจารย์ประภาสบอกว่า ทฤษฎีความคับข้องใจใช้ไม่ได้แล้ว ปัญหาคือ ความความคับข้องใจไม่สัมพันธ์กับการ Collect (รวมกลุ่ม) แต่มันไปสู้ความ Aggress (ความก้าวร้าว) และเป็นไปได้ เมื่อถูกนำพาไปให้เกิดความคาดหวังอย่างสูง และความรุนแรงจะเกิดขึ้นเมื่อไม่ได้ในสิ่งที่คาดหวัง ทำให้เราเห็นว่าเมื่อมีสิ่งที่รัฐบาลหรือสังคมเสนอ แล้วถูกปิด ความคาดหวังเป็นไปไม่ได้ ก็เกิดความผิดหวังสูงและความก้าวร้าวก็เกิดขึ้น

สิ่งที่ผมเห็นว่าใหม่ มี 4 เรื่องคือ
1.เรื่องความโกรธ
2.ข่าวลือ
3.สี
4.การก่อการร้าย ที่รัฐบาลชอบพูด

หนึ่ง ความโกรธ สิ่งที่ทำลายความคาดหวังให้เกิดความผิดหวังและก้าวร้าว มีมาก เหมือนว่ามีอำนาจหลายอันที่ทำงานอยู่ในสังคมไทย และบางครั้งเมื่อประตูบางอย่างจะเปิด มันก็ถูกปิด และเมื่อถูกปิดไปเรื่อยๆ ความโกรธนี้ก็มากขึ้นมหาศาล ผมได้คุยกับเพื่อนจากสถานทูตออสเตรเลียในร้านอาหารแห่งหนึ่งซึ่งเป็นของญาติ ปรากฏว่ามีคนเดินเข้ามาแล้วก็ไปโวยวายอยู่นอกร้าน เจ้าของร้านบอกว่าเขาด่าผม เรื่องอะไรนี่ผมไม่รู้ เจ้าของร้านเขาบอกว่าคงไม่ใช่เรื่องอื่น คงเป็นเรื่องการบ้านการเมือง คงทำให้เขารู้สึกอึดอัดมาก คือเขาอาจจะอยากให้ผมอยู่ที่หนึ่ง แต่ผมไม่อยู่ คือความโกรธบางครั้งมาจากความรู้สึกรักหรือเป็นพวกเดียวกัน รวมทั้งการเข้าไปหรือพาเพื่อนบางคนเข้าไปผมอาจจะไปรุกรานพื้นที่ของเขา พื้นที่นั้น สมมติเป็นพื้นที่สีเหลือง แต่ผมเอาเพื่อนสีแดงเข้าไปด้วย คือผมคิดว่าเขาไปกะผมไม่น่าจะมีปัญหา แต่ผมคิดว่าผมสำคัญตัวผิด

ขบวนการประชาชนขณะนี้ เป็นขบวนการประชาชนที่เต็มไปด้วยอารมณ์ เราไม่สามารถเข้าใจการเมืองได้ถ้าเราไม่เข้าใจความโกรธ ว่ามันทำงานอย่างไร ความโกรธนี้เป็นอาการที่มีอยู่ในสังคมนี้ ในหลายๆ วัฒนธรรมไม่ได้แปลว่าไม่ดี ถ้าคุณเป็นชาวโรมันคุณควรจะโกรธเพราะความโกรธสัมพันธ์กับความเป็นชาย คำถามคือ ขบวนการพวกนี้เป็นชายมากไปหรือเปล่า จนลืมอะไรไปอีกหลายอย่าง

สอง ข่าวลือ ข่าวลือนี้น่าสนใจในความเห็นของผม ข่าวลือเพิ่มความเข้าข้นของขบวนการในลักษณะนี้ คือ ความไม่ชัดเจน เปิดโอกาสให้แต่ละคนที่มารับฟังข่าวลือ แล้วเพิ่มตอนต่างๆ ไปได้ ข่าวลือก็จะผลิตซ้ำตัวมันเองในลักษณะที่พิสดารมากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้น่าสนใจและควบคุมไม่ได้ ถามว่าอะไรที่เป็นเงื่อนไขให้ข่าวลือเผยแพร่ ผมคิดว่า พรก. ฉุกเฉิน การปิดกั้นสื่อ การควบคุมสื่อ ทำให้ข่าวลือเผยแพร่ไป เพราะข่าวลือไม่ใช่การระบายออก แต่เป็นเครื่องมือทางการเมือง ขณะนี้สังคมนี้กำลังจะมีข่าวลือเต็มไปหมด และขบวนการประชาชนในสภาพที่ถูกจำกัดพื้นที่และบทบาท สิ่งที่เขาจะทำคือข่าวลือ

สาม เรื่องสี ความขัดแย้งทางการเมืองจำเป็นต้องอาศัยอัตลักษณ์ การใช้อัตลักษณ์โดยสี สัมพันธ์กับการเห็น ถ้าสัมพันธ์กับการเห็น มันกลายเป็นของซึ่งเป็นรูปธรรมจับต้องได้ แต่มีข้อจำกัด แต่สีผิวนั้นลอกได้แต่ยาก แต่เสื้อนั้นน่าสนใจเป็นของถอดได้ใส่ได้ ถ้าถอดได้ใส่ได้ การเคลื่อนไหวของผู้คนก็สามารถใช้สีเสื้อทั้งในแง่ป้องกันตัวและใช้เล่นงานคนอื่น คือเสื้อขณะนี้เป็นสัญลักษณ์ เราลงทุนไปกับสัญลักษณ์แบบนี้เยอะ เราวัดคนบนฐานของสัญลักษณ์ที่แต่ละคนใช้ ของแบบนี้จะเพิ่มระดับของการแบ่งขั้วในสังคมไทยให้มากขึ้น ทำให้เป็นอันตรายในการคิดเรื่องนี้ และผลของการเมืองที่มีสีเสื้อแบบนี้ส่งผลให้บางมหาวิทยาลัยออกแบบเสื้อที่ดูไม่ได้เลยออกมา

สี่ การก่อการร้าย รัฐบาลใช้คำนี้ เมื่อเช้านายกก็พูดอย่างนี้อีกว่าการเจรจาปรองดองจะไม่ทำกับผู้ก่อการร้าย แต่คำถามคือ คำว่าก่อการร้ายแปลว่าอะไรไม่แน่นอน แต่ผมคิดว่าสาระสำคัญของประเด็นก่อการร้ายไม่ได้อยู่ที่ความรุนแรง แต่อยู่ที่ความกลัว สิ่งที่การก่อการร้ายผลิตไม่ใช้ความรุนแรง แต่เป็นการผลิตความไม่แน่นอนในชีวิต ภายใต้ชีวิตที่ไม่แน่นอน คือความกลัว สังคมการเมืองทุกอันโดยไม่มีข้อยกเว้น ต้องทำงานบนฐานของความแน่นอนบางอย่าง สิ่งที่รบกวนสิ่งเหล่านี้คือการรบกวนชีวิตทางการเมืองของสังคม ทำให้สังคมอยู่ลำบาก ชีวิตซึ่งเป็นปกติหายไป ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากความกลัว แต่ทุกครั้งที่รัฐบาลใช้คำหรือแนวคิดหรือกระทั่งวาทกรรมใช้เรื่องการก่อการร้ายผมไม่ทราบว่ารัฐบาลทราบหรือเปล่าว่า คุณลักษณ์อย่างหนึ่งของการก่อการร้าย คือมันจะเป็นสงครามที่ไม่มีวันสิ้นสุด เวลาที่สหรัฐประกาศการต่อสู้กับการก่อการร้ายมันจะไม่สิ้นสุดเพราะคู่ต่อสู้จะไม่ใช่แค่บินลาเดน พูดจากฝั่งอเมริกันคุณจะทำอะไรกับบินลาเดน ถ้าคุณฆ่าบินลาเดน คุณจะสร้างบินลาเดนขึ้นมาอีกเยอะ คุณจะเอาชนะยังไง

เวลาที่รัฐบาลกำลังพูดเรื่องการก่อการร้าย ผมหวังว่ารัฐบาลจะเข้าใจว่ากำลังพูดถึงอะไร การต่อสู้กับการก่อการร้ายคือการต่อสู้กับวิธีการไม่ใช้คน

อันสุดท้ายของการก่อการร้ายคือ ถ้าจะสู้จริงๆ ประเทศที่เก่งที่สุดคืออิสราเอล สิ่งที่เขาพยายามจะทำคือพยายามจะป้องกันไม่ให้คนกลายเป็นผู้ก่อการร้าย โดยอธิบายว่า การเคลื่อนตัวของมนุษย์มันเคลื่อนตัวจากการเป็นนักเคลื่อนไหว (Activist)ก่อน เมื่อเป็นนักเคลื่อนไหว พอถูกกดดันถูกรังแก ก็จะขยับไปเป็นกองกำลัง (Militant) และจากนั้นกลายเป็นการก่อการร้าย (Terrorist) ถ้าเช่นนั้นรัฐบาลประเทศต่างๆ ถ้ายังมีสติอยู่บ้างก็คือการพยายาหาวิธีการไม่ให้คนเคลื่อนจากความเป็นนักเคลื่อนไหว ไปเป็นกองกำลัง เพราะนักเคลื่อนไหวต้องการพื้นที่ทางการเมือง กองกำลังต้องการการยอมรับในบางระดับ ถ้าเราป้องกันได้ ก็ป้องกันการก่อการร้ายได้ ในที่สุดแล้ว รัฐผลิตสิ่งนี้เองหรือไม่ทั้งในระดับวาทกรรมและปฏิบัติ ตกลงเราอยู่ในประเทศที่ขณะนี้ผู้คนแตกแยกกันจริงๆ แล้ว และถ้าเราดูคนที่เลือกประชาธิปัตย์และไทยรักไทย เราหนีไม่พ้นระดับสิบล้านทั้งคู่ และเมื่อดูความโกรธความไม่พอใจที่มีสูง ขณะที่คนกลางๆ มีน้อยลง ในเวลาแบบนี้การย้ำเรื่องการก่อการร้ายเป็นเรื่องอันตราย
ในเวลาแบบนี้ ผมอยากให้ลองฟังเสียงจากผู้สูญเสียดู คุณพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพพ่อของ สมาพันธ์ ศรีเทพ เขาเขียนในเฟซบุ๊ก "พี่ทหารครับ ผมเข้าใจพี่ ผมอโหสิ เราต่างเป็นเหยื่อด้วยกันทุกคนครับ" หากเฌอทำการล่วงเกินหรือจาบจ้วงท่านผู้ใดมาก่อน มารดาและบิดา ขออโหสิกรรมมา ณ ที่นี้ ควรมิควรแล้วแต่กรุณา"

ดร.ชลิดาภรณ์ : ถามอาจารย์ชัยวัฒน์ว่า ความโกรธที่น่ากลัวคือความโกรธระหว่างคนในสังคมคือเพื่อน ซึ่งไม่น่าจะอยู่ในสเกลขนาดนี้ และยิ่งพุ่งขึ้นผ่านการฆ่าฟัน มีคนจำนวนมากเชื่อว่าความจริง จะสลายความโกรธ จะทำให้ข่าวลือหมดพลัง จะทำให้คนเลิกคิดที่จะใช้ความรุนแรงและสีที่ใช้เป็นอัตลักษณ์หมดความหมาย อาจารย์คิดว่าความจริงจะสลายทั้งหมดไหม หรือความจริงจะยิ่งแหลมมากและยิ่งบาดเรา

ศ.ดร.ชัยวัฒน์ : ในความรุนแรงในสงครามความขัดแย้งที่ถึงตาย สิ่งที่ตายก่อนหรือเจ็บก่อนคือความจริง แต่ผมคิดว่าไม่ใช่ในสงครามอย่างเดียว แต่ในความขัดแย้งก็ด้วย ความจริงเป็นเหยื่อรายแรก เมื่อกี๊นั่งอยู่กับนักข่าว นักข่าวเล่าให้ฟัง เราดูภาพที่ Nick Nostitz นำเสนอ เราได้ดูในโทรทัศน์ ได้รู้ว่าโทรทัศน์รับคำสั่งว่าภาพทหารถืออาวุธอย่าเอาขึ้นจอ ในทางกลับกันถ้าเราดู ASTV หรือ People Channel เราหวังหรือว่าจะได้เห็นภาพเหล่านั้น

ประการสอง ในห้องผมซึ่งรกมาก มีภาพเล็กๆ ที่ลูกศิษย์เอามาให้ ภาพนั้นคือตุ๊กตาผ้าแล้วถูกบดแล้วยับ และมีข้อเขียนบอกว่า The truth will set you Free but first it will make you miserable -ความจริงจะทำให้คุณเป็นอิสระ แต่ก่อนจะเป็นอิสระท่านจะยับยุ่ย จะต้องบาดเจ็บสาหัสก่อน ถ้าคุณไม่พร้อมจะยอมรับเอาแผลเหล่านี้ ความจริงก็ไม่ใช่คำตอบ แล้วผมคิดว่าสังคมไทยอาจจะไม่พร้อมสำหรับความจริงเหล่านี้

Monday, June 28, 2010

พรมแดนความรู้ของการปฏิวัติสยาม 2475

การเสวนา"พรมแดนการเมือง พรมแดนความรู้ของการปฏิวัติสยาม พ.ศ.2475
วันที่ 24 มิถุนายน 2553 ในวาระการเปิดตัวหนังสือ "การปฏิวัติสยาม พ.ศ.2475"
ซึ่งแต่งโดย ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์

จัดงานเสวนา โดย
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ร่วมกับ สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน

โดยมีผู้เข้าร่วมอภิปรายอันได้แก่ อาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์ ชาตรี ประกิตนนทการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ดร.ณัฐพล ใจจริง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และนายศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการอิสระ ด้านรัฐศาสตร์ เข้าร่วมการสัมมนา ดำเนินรายการโดย อาจารย์ประจักษ์  ก้องกีรติ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


อ.ปิยบุตร แสงกนกกุล : ดร.ณัฐพล  ใจจริง : อ.ประจักษ์  ก้องกีรติ

โดย อ.ปิยบุตร แสงกนกกุล กล่าวว่า วันที่ 24 มิถุนายน หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองก็มีการประกาศของคณะราษฎร โดยมีหลักหกประการและธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว 27 มิถุนายน 2475 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตยฉบับแรกของไทย โดยมีเอกลักษณ์สำคัญคือ มีการดึงอำนาจอธิปไตยซึ่งเดิมเป็นของกษัตริย์ให้เป็นของประชาชน และกษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ ไม่มีพระราชอำนาจในการบริหารบ้านเมือง การกระทำของกษัตริย์ในทางการเมืองต้องมีผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการเสมอ

แต่สาระสำคัญบางส่วนได้ถูกแก้ไขในรัฐธรรมนูญฉบับถาวรสมัย 10 ธันวาคม 2475 เพราะเป็นผลผลิตในการต่อรองระหว่างคณะราษฎรกับสถาบันกษัตริย์ คณะราษฎรให้ความสำคัญกับรัฐธรรมนูญในฐานะเป็นกติกาพื้นฐานของการเมืองการปกครอง โดยพยายามทำให้เป็นอีกสถาบันหนึ่งต่อจากชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดยมีการให้สิทธิการเลือกตั้งแก่บุคคลทั่วไป

ในการบริหารราชการแผ่นดิน คณะราษฎรได้ผลักดันระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแบบใหม่ โดยแบ่งเป็นส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น แต่เรากลับพบว่า มีโครงการของคณะราษฎรที่เกี่ยวกับองค์กรตุลาการน้อยมาก อาทิ การเรียกร้องเอกราชทางการศาลได้อย่างสมบูรณ์, การกำหนดให้ศาลเป็นไปเป็นรูปแบบเดิมที่มีอยู่, ความพยายามในการจัดตั้งศาลปกครอง, การสร้างคณะกรรมการรัฐธรรมนูญ และการสร้างกลไกทางศาล เพื่อป้องกันและปราบปรามการโต้การปฏิวัติ แต่ก็มิได้มีการเข้าไปถึงอุดมการณ์ของศาลแต่อย่างใด เนื่องจากเห็นว่าศาลยุติธรรมไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเมืองแต่อย่างใด อาจเนื่องมาจากความไม่พร้อมของบุคลากร และไม่สามารถคาดคิดถึงอำนาจของศาลว่ามีมากเพียงใด คณะราษฎรมีภารกิจหลายด้านไม่สามารถจัดการได้หมดในเวลาอันจำกัด, คณะราษฎรคำนึงว่าศาลไม่มีความเกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครอง แต่ถึงกระนั้นการละเลย ไม่เปลี่ยนแปลงศาล ให้ดำเนินการให้สอดคล้องกับอุดมการณ์ปัจจุบันของคณะราษฎรก็กลายเป็นจุดอ่อนที่ส่งผลมาถึงปัจจุบัน เพราะเมื่อระบอบเก่าที่ดำรงมาเป็นเวลานาน มีการฝังอุดมการณ์ระบอบเก่าเข้าไปในกลไกของรัฐทั้งหลาย การเปลี่ยนแปลงการปกครองในระบอบใหม่ นอกจากจะฝังอุดมการณ์ในแบบใหม่ให้กับประชาชนแล้ว ยังจำเป็นต้องรื้ออุดมการณ์แบบเก่าที่ฝังอยู่ในกลไกของรัฐเดิมให้หมดสิ้นและปลูกฝังอุดมการณ์แบบใหม่เข้าแทนที่

ในปัจจุบัน กฎหมายกลายเป็นปัจจัยสำคัญของทุกสังคมทางการเมือง ทางความคิดทางนิติรัฐที่เบ่งบานไปทั่วโลก ทุกรัฐปรารถนาที่จะมีความอุดมสมบูรณ์ ความผาสุก ความมั่นคงปลอดภัย ความเจริญทางเศรษฐกิจ การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มนุษย์จึงสร้างกลไกทางสังคมบางอย่างมาเพื่อทำให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้อกลไกบางอย่างที่ทำให้รัฐมีความชอบธรรมในการใช้อำนาจและเป็นตัวจำกัดการใช้อำนาจนั้นด้วย จึงทำให้มีการสร้างกฎหมายขึ้นเมื่อความเป็นหลักการอันปฏิเสธมิได้ของนิติรัฐ ทำให้กฏหมายกลายเป็นศูนย์กลางของสังคม หากจะมีการปฏิวัติหรือการเปลี่ยนแปลงการปกครองแบบฉับพลัน ก็หนีไม่พ้นที่ต้องไปเกี่ยวพันกับกฏหมายทั้งในแง่รื้อกฏหมายเก่าและการสร้างระเบียบกฏหมายใหม่ เพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่ระบอบใหม่ อย่างไรก็ตามการสร้างระเบียบกฏหมายใหม่ เราต้องไม่เพียงสร้างแต่กฏหมายที่เป็นตัวบทเท่านั้น แต่ต้องสร้างอุดมการณ์กฏหมายใหม่ ซึ่งเป็นอุดมการณ์ที่สอดคล้องกับอุดมการณ์ในระบอบใหม่ ด้วยการปลูกฝังอุดมการณ์กฏหมายแบบระบอบใหม่เข้าไปยังผู้ปฏิบัติการทางกฏหมายทั้งหลาย จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ระบอบใหม่มีความยั่งยืนต่อไป

อ.ชาตรี ประกิตนนทการ ได้กล่าวถึงผลกระทบของเหตุการณ์ 2475 ต่อสถาปัตยกรรมไทย ซึ่งยังมีอุดมการณ์ต่อที่สืบทอดเป็นคู่ขัดแย้งต่อแนวคิดอนุรักษ์นิยมกับเสรีนิยม ซึ่งส่งผลต่อปัจจุบันอย่างเห็นได้ชัดแม้ว่าเราจะสามารถเห็นหรือสัมผัสหรือรับรู้ผลผลิตทางวัฒนธรรมในยุคนี้ได้ แต่เราจะรับรู้มันในตัวตนและความหมายใหม่ที่ไม่เหมือนเดิมเกิดการ "กลายพันธุ์" กล่าวคือ ไม่หลงเหลือสิ่งที่เป็นสาระสำคัญของกระบวนทัศน์แรก ซึ่งมีลักษณะการเข้าข้างฝ่ายคณะราษฎรแต่ปฏิเสธกลุ่มเจ้า จะถูกลดทอนมิติที่โจมตีฝ่ายเจ้าลง และพื้นที่และตัวตนของฝ่ายคณะราษฎรก็จะไม่ปรากฏให้เห็นเลย มีการสร้างคำอธิบายใหม่เพื่อที่จะสามารถอยู่ใต้ร่มเงาของกระบวนทัศน์ที่สองได้ ตัวอย่างที่สำคัญอาทิเช่น

-สมัยคณะราษฎรได้นำนาย "คอร์ราโด เฟโรชี" ช่างชาวอิตาเลียนที่รู้จักกันในชื่อ "ศิลป พีระศรี"มาเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ของกรมศิลปากรหลังปี 2475 เป็นกรณีที่แสดงให้เห็นถึงการพยายามที่จะผลักดันความรู้และประวัติศาสตร์บางอย่างมากจนเกินไป จนเกิดการมุ่งไปสู่ทิศทางอื่นโดยไม่คำนึงถึงพื้นฐานและข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์

-ด้านสถาปัตยกรรมในยุคสมัยนั้นอาจเรียกได้ว่า"สถาปัตยกรรมของคณะราษฎร" ซึ่งสร้างอยู่ในช่วง 15 ปีที่คณะราษฎรมีอำนาจ และมีรูปแบบเฉพาะไม่เหมือนยุดก่อนหน้าปึ 2475 และ ภายหลังปี 2490 โดยมีลักษณะเฉพาะที่เรียกว่า "การปฏิเสธอดีต" หรือในทางสถาปัตยกรรมจะมีการต่อต้านระบบที่วางอยู่ในสถาปัตยกรรมไทยมานานที่เรียกว่า "ฐานานุศักดิ์ทางสถาปัตยกรรม" คือการมีชนชั้นในทางสถาปัยกรรม นี่อาจเป็นยุคเดียวที่สถาปัตยกรรมโยงเป็นสากลที่ไม่ยุ่งกับบริบททางสังคมไทยเลย เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงผลพวงของการต่อสู้ทางอุดมการณ์ที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน และทำให้พื้นที่และความรู้ในแง่มุมทางศิลปวัฒนธรรมมีลักษณะอาการที่เรียกว่า "การอธิบายบางอย่างมากจนเกินไป ในขณะที่ก็ไม่อธิบายบางอย่างมากจนเกินไป" เช่นกัน

-การอนุรักษ์พื้นที่ทางวัฒนธรรม โดยไม่มีการสนใจหลักเกณฑ์พื้นฐานในการอนุรักษ์พื้นที่ทางวัฒนธรรมตามหลักการที่แท้จริง โดยเฉพาะสถาปัตยกรรมที่อยู่ในยุคคณะราษฎร ที่อยู่ในพื้นที่เขตเกาะรัตนโกสินทร์ ไม่มีอาคารสถานที่ใดได้รับการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์เลย ไม่ว่าจะเป็นอาคารที่อยู่ตลอดแนวถนนราชดำเนินหรืออนุสาวรีย์ประชาธิปไตยก็ตาม หรือแม้กระทั่งแต่การเปิดพื้นที่สาธารณะให้กับประชาชนก็พบว่าล้วนเกิดจากการ"ขจัดทิ้ง"มรดกอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับชนชั้นเจ้านายหรือศิลปะของชนชั้นสูงที่แวดล้อม สถาบันเช่นการทำลาย "โรงภาพยนตร์เฉลิมไทย" เพื่อสร้าง "พลับพลามหาเจษฎาบดินทร์" และเพื่อเปิดให้เห็น "โลหปราสาท" บริเวณวัดราชนัดดาราม เป็นต้น ซึ่งถือเป็น "การดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดของพลังอนุรักษ์นิยม" โดยแท้จริง

ความรู้ทางประวัติศาสตร์ศิลปวัฒนธรรมล้วนเป็นผลผลิตของความขัดแย้งที่ยังตกค้างอยู่ของการปฏิวัติเมื่อปี 2475 ซึ่งเป็นความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ยังเกี่ยวข้องกับบทบาทสถานะ ความสัมพันธ์ของสถาบันกษัตริย์ในสังคมไทย

ดร.ณัฐพล ใจจริง กล่าวว่า หากการปฏิวัติและการเมืองมวลชนเป็นผลผลิตของความเป็นสมัยใหม่ที่ก่อให้เกิดความก้าวหน้า มุ่งตรงไปสู่ความเสมอภาคของสรรพสิ่งในสังคม ลดทอนความสูงต่ำ สิ่งเหล่านี้สร้างความไม่พอใจให้กับเหล่าอภิชนในระบอบเก่า ความคิดและกระบวนการการต่อต้านการปฏิวัติหรือการต่อต้านความเป็นสมัยใหม่ ก็ถือกำเนิดขึ้น ดังนั้นหากการปฏิวัติปี 2475 ก็คือการพยายามสถาปนาการเมืองมวลชนตามแนวทางประชาธิปไตยการต่อต้านการปฏิวัติก็คือการพยายามสถาปนา "อภิชนาธิปไตย" ขึ้นมาในประเทศไทย ซึ่งก็เป็นการต่อต้านความเป็นการเมืองสมัยใหม่เราอาจเรียก "อภิชนาธิปไตย" นี่ว่า "เทวดาธิปไตย" ก็ย่อมได้

ความเป็นมาของการต่อต้านการปฏิวัติ แบ่งการศึกษาได้เป็นสามกลุ่ม กลุ่มแรกเป็นการศึกษาเรื่องภาวะก่อนการปฏิวัติ เพื่อที่จะได้ทราบว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติ โดยจะศึกษาด้านแนวคิดทางสังคม ลักษณะการเคลื่อนไหวทางสังคม ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง กลุ่มที่สองคือการศึกษาการปฏิวัติและเหตุการณ์การปฏิวัติ กลุ่มที่สามคือการศึกษาผลกระทบของการปฏิวัติและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น โดยแบ่งออกได้เป็นสามกลุ่ม

-กลุ่มชนชั้นสูง ซึ่งเห็นว่าการปฏิวัตินั้นจะนำมาแต่สิ่งที่เลวร้าย ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือนวนิยายเรื่อง "สี่แผ่นดิน" ของ "มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช" ซึ่งตีความว่า หลังปฏิวัตินั้นมีแต่ความเลวร้าย มีแต่ความยุ่งเหยิง และนำไปสู่การสวรรคตของพระมหากษัตริย์ ทำให้บ้านเมืองตกต่ำ

-กลุ่มนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่เชื่อในเรื่อง "อำมาตยาธิปไตย" โดยเชื่อว่าทหารทำให้เกิดปัญหาทางการเมือง และเชื่อว่าคณะราษฎรก็คือทหารทั้งสิ้น

-กลุ่มมาร์คซิสม์ ซึ่งนำโดย นายอุดม ศรีสุวรรณ เพราะเห็นว่าการปฏิวัติ 2475ไม่นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้าง

ส่วนผลกระทบด้านวัฒนธรรมนั้นมีกลุ่มเช่น กลุ่มชนชั้นสูงที่เห็นว่าการปฏิวัติทำให้บ้านเมืองเสื่อมโทรมเกิดการกดขี่ ห้ามกินหมากบังคับเรื่องการแต่งกาย

สิ่งที่หายไปจากการศึกษาจากที่กล่าวมาก็อย่างเช่น ผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังการปฏิวัติในด้านเศรษฐกิจและสังคม และการศึกษาด้านกลับของการปฏิวัติ หรือที่เรียกว่าการต่อต้านการปฏิวัติ และผลกระทบที่เกิดขึ้นตามมาซึ่งทำให้การปฏิวัติไม่สามารถมุ่งทะยานไปข้างหน้าได้ และมีอุปสรรคขัดขวาง โดยที่ผ่านมาเราพยายามที่จะศึกษาความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลง มากกว่าความพยายามที่จะต่อต้าน ยังไม่มีการศึกษาด้านการต่อต้านการปฏิวัติอย่างเพียงพอ เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจที่ว่า ทำไมเราจึงเคลื่อนที่ไปข้างหน้าไม่ได้ อะไรที่ทำให้เจตนารมณ์ของการสร้างการเมืองมวลชนไม่สามารถดำรงอยู่ได้

ดังนั้นปัญหาของการรักษาการปฏิวัติของปี 2475 ที่จะเคลื่อนตัวไปสู่ความเป็นการเมืองมวลชน ไม่ได้เกิดขึ้นจากความขัดแย้งภายในคณะราษฎรหรือความไม่พร้อมของประชาชนแต่เพียงอย่างเดียว แต่เกิดขึ้นจากการต่อต้านของกลุ่มชนชั้นสูงอีกด้วย ดังนั้นการศึกษาด้านการต่อต้านการปฏิวัติควบคู่ไปกับการปฏิวัติเพื่อที่จะทำให้การปฏิวัติในปี 2475 มีความหมายและมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การศึกษากำเนิดแนวคิดหรือกระบวนการและผลกระทบของการต่อต้านการปฏิวัติในมิติต่างๆเพื่อสร้างความเข้าใจที่แท้จริงว่าอะไรคือความหมายอันแท้จริงของ "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข"

ปัญหาที่สำคัญอย่างยิ่งของนักรัฐศาสตร์ที่สนใจเรื่องการเมืองวิเคราะห์ปัญหาต่างๆผิดไปก็คือการมองว่าทหารนั้นเป็นปํญหาอย่างยิ่งต่อประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถูกครอบงำทางความคิดด้าน "อำมาตยาธิปไตย" ทำให้การเกิดการมองปัญหาไม่ครบถ้วนโดยเพ่งเล็งมาทางทหารแต่เพียงฝ่ายเดียวทำให้กลุ่มอื่นๆที่ก่อให้เกิดปัญหาในการก้าวไปข้างหน้าเช่นกลุ่มอนุรักษ์นิยมไม่ได้ถูกควบรวมไปด้วยดังนั้นจึงเป็นความผิดพลาดอย่างยิ่งที่จะวิเคราะห์ปัญหาการเมืองไทยโดยไม่ได้ศึกษาความเคลื่อนไหวและการดำรงอยู่ของการปฏิวัติดังนั้นความหมายของคำว่า“อำมาตยาธิปไตย”หลังปี 2549 หรือแม้กระทั่งการนิยามความหมายของคำนี้ในการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ก็อาจเป็นสิ่งที่ถูกและมีความก้าวหน้ามากกว่าความรู้ทางวิชาการก็เป็นได้

อ.ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ กล่าวว่าหนังสือ"ปฏิวัติสยาม พ.ศ.2475" ของ อ.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์นั้น ก่อให้เกิดข้อสังเกตต่างๆเช่น

1.การทำให้เกิดข้อสงสัยที่ว่า สิ่งที่นักรัฐศาสตร์เรียกว่า"เจตจำนงทางการเมือง" ก่อนปี 2475 นั้น เกิดขึ้นได้อย่างไร

2.ทำให้เห็นภาพว่า เจตจำนงทางการเมืองของคนแต่ละกลุ่มกลายเป็นมวลรวมทางการเมืองที่มีพลังมหาศาล ต่อภาพทางการเมืองได้อย่างไร

3.ให้ความสำคัญกับการฉายภาพของการเกิดขึ้น ของกลุ่มคนรุ่นใหม่ๆในบริบทของสังคม ซึ่งเปลี่ยนจากสังคมสมัยเก่าเป็นสังคมสมัยใหม่ และพยายามที่จะดูว่าการเกิดขึ้นของประชาชนกลุ่มใหม่ๆนี้ มีความหมายทางการเมืองอย่างไรและทำให้เห็นว่าพลังของกลุ่มสถานภาพใหม่ๆที่เกิดขึ้นในเวลานั้นเป็นอย่างไร

นอกจากนั้นยังทำให้ผู้อ่านมองเห็นถึงการก่อรูปของเจตจำนงทางการเมืองในช่วงก่อนปี2475 ที่ทำผ่านพื้นที่ทางสาธารณะบางอย่างอย่างเป็นไปและค่อนข้างอิสระ โดยผ่านกลไกต่างๆอาทิ

-ผ่านตลาดโดยใช้หนังสือพิมพ์เป็นสื่อ
-ผ่านการจัดตั้งตนเองและมีการพูดถึงกลุ่มสมาคมอื่นๆอย่างกว้างขวาง
-ผ่านกลไกของรัฐบางส่วน

โดยเห็นว่ากองทัพและข้าราชการระดับกลาง เป็นตัวกลางที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง โดยสภาวะทางการเมืองและสังคมสมัยใหม่ ทำให้การจัดตั้งเจตจำนงทางการเมืองเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ ตัวกลางที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไม่ได้เชื่อมโยงกันด้วยอุดมการณ์ทางประชาธิปไตยของตะวันตกอย่างเป็นระบบ เนื่องจากไม่มีกลไกสำหรับผลิตอุดมการณ์กระแสรองในสังคมดำรงอยู่เลยในช่วงก่อนปี 2475 ไม่มีสถาบันการศึกษา กลุ่มปัญญาชน หรือสิ่งพิมพ์ที่ทำการเผยแพร่ความติดนี้ต่อมวลชนอย่างกว้างขวาง

ตัวแทนของการเปลี่ยนแปลงนั้นมีหลายกลุ่มมิได้มีเพียงแค่กลุ่มคณะราษฎรแต่อย่างใดโดยกลุ่มเหล่านี้สามารถเชื่อมโยงกันได้เพราะ

1.ความล้มเหลวของรัฐบาลสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในฐานะที่เป็นรัฐบาลของสยามประเทศ เช่น ประเด็นเรื่องเงินค่านา ค่าราชูปการ เป็นต้น

2.ความไม่สามารถปรับตัวของระบอบการเมือง ในการปล่อยให้คนกลุ่มใหม่ๆเข้าไปมีส่วนร่วมในระบอบ

3.การแสดงให้เห็นภาพว่า ระบบคุณค่าดั้งเดิมเกี่ยวกับคติด้านชาติกำเนิด ยศฐาบรรดาศักดิ์ โดยระบบคุณค่าชุดใหม่ที่ก่อตัวขึ้น แต่ยังไม่ถึงขั้นที่เป็นอุดมการณ์ที่มีความตายตัว โดยผ่านบทความ วรรณกรรม หรือฎีกา ซึ่งเป็นการนำเสนอโลกทัศน์แบบใหม่เรื่องความเท่าเทียมว่ามิได้ขึ้นอยู่กับชาติกำเนิด

นอกจากนั้นงานของ อ.นครินทร์ ทำให้เราได้เห็นภาพว่าจินตนาการของคนในสังคมมีความสำคัญเพียงใด มิใช่เพราะว่ามันสะท้อนให้เห็นข้อเท็จจริงทางสังคม แต่เพราะมันสะท้อนให้เราเห็นว่าคนแต่ละกลุ่มนั้น ได้ใช้ถ้อยคำหรือความหมายเพื่อการต่อสู้และต่อรองเพื่อให้ได้มาเพื่อสถานภาพทางสังคมของตนเองได้อย่างไร เป้าหมายของการศึกษาอาจใช่แค่เรื่องของการเสาะหาข้อเท็จจริงแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการดึงประเด็นเหล่านั้นเข้าสู่การพิจารณาพลวัฒน์ทางการเมืองและสังคมในระดับที่กว้างขวางออกไป

แต่สิ่งที่เราไม่ได้มองก็คือ การก่อตัวผ่านภาษา วัฒนธรรม จะเป็นไปได้หรือไม่ และถ้าหากใช้วิธีนี้เราจะสามารถมองเห็นสภาพทางชนชั้นของสังคมไทย ว่าเหมือนหรือแตกต่างกับสิ่งที่มีการศึกษาเรื่องปี 2475 อย่างไร